นอกจากนั้น ยังได้ขยายผลงานวิจัยโดยสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยได้รับทุนจากต่างประเทศในการทำวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการ ได้แก่ ทุน Centre national de la recherche scientifique เพื่อทำวิจัยที่ Institute of Materials Jean Rouxel, Université de Nantes และขณะที่ทำวิจัยยังได้รับเชิญเป็น visiting lecturer ที่ Départment Materiaux, Ecole Polytechnique de l’Université de Nantes ปัจจุบันเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยร่วมไทย-ฝรั่งเศส Franco-Thai Cooperation Programme in Higher Education and Research เรื่อง New eco-efficient constructing materials from waste poly(ethylene terephthalate) (PET) and renewable resources Université de Nantes, Le Mans Université และ Université de Haute Alsace
“ผศ.ดร.พลพัฒน์ รวมเจริญ” มรภ.สงขลา รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น ใช้องค์ความรู้ทางพอลิเมอร์พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน-ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม
สุดปลื้ม “ผศ.ดร.พลพัฒน์ รวมเจริญ” รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและยุทธศาสตร์สถาบัน มรภ.สงขลา รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 6 ราชภัฏ ราชภักดิ์ : สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ใช้องค์ความรู้ทางพอลิเมอร์ ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน-ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำผู้ที่ได้รางวัลนักวิจัยดีเด่น ผศ.ดร.พลพัฒน์ รวมเจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและยุทธศาสตร์สถาบัน สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา เข้ารับประทานโล่รางวัลจาก พันโท หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล ผู้แทนพระองค์ ในการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 6 ราชภัฏ ราชภักดิ์ : สืบสานศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน” ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต กรุงเทพฯ
ผศ.ดร.พลพัฒน์ กล่าวว่า ผลงานวิจัยอยู่ในสาขาพอลิเมอร์ โดยเส้นทางของผลงานเริ่มจากการทำวิจัยพื้นฐานในระดับห้องปฏิบัติการ จากการทำงานอย่างต่อเนื่องจนสามารถการขยายผลงานวิจัยโดยสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ และสามารถใช้องค์ความรู้จากการวิจัยเพื่อช่วยชุมชนและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังจะเห็นได้จากการทำวิจัยเพื่อสังเคราะห์วัสดุพอลิเมอร์จากสารตั้งต้นที่ได้จากธรรมชาติและพลาสติกที่ใช้แล้ว เช่น การทำผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติที่ผ่านการดัดแปรโครงสร้างทางเคมีให้มีสมบัติเฉพาะใกล้เคียงกับยางสังเคราะห์ เช่น มีสมบัติทนน้ำมัน สามารถใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงและทนโอโซนได้
ผลิตภัณฑ์โฟมและไม้เทียมจากขวดน้ำดื่มที่ใช้แล้ว เพื่อนำขยะพลาสติกมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมุลค่าเพิ่ม โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก วช.และ สกว. ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และจดอนุสิทธิบัตร นอกจากนั้น ยังได้รับการเผยแพร่ในการจัดแสดงนิทรรศการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561 (Thailand Research Expo 2018)
นอกจากนั้น ยังได้ขยายผลงานวิจัยโดยสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยได้รับทุนจากต่างประเทศในการทำวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการ ได้แก่ ทุน Centre national de la recherche scientifique เพื่อทำวิจัยที่ Institute of Materials Jean Rouxel, Université de Nantes และขณะที่ทำวิจัยยังได้รับเชิญเป็น visiting lecturer ที่ Départment Materiaux, Ecole Polytechnique de l’Université de Nantes ปัจจุบันเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยร่วมไทย-ฝรั่งเศส Franco-Thai Cooperation Programme in Higher Education and Research เรื่อง New eco-efficient constructing materials from waste poly(ethylene terephthalate) (PET) and renewable resources Université de Nantes, Le Mans Université และ Université de Haute Alsace
การใช้องค์ความรู้จากการวิจัยเพื่อช่วยชุมชนและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งจากการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดองค์ความรู้เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีตามความต้องการของชุมชนและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ดังนี้
1. ชุมชนทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล ในการทำผลิตภัณฑ์ไม้กาบหมากเป็นภาชนะและอุปกรณ์ใช้สอย เป็นการส่งเสริมอาชีพของประชาชนในชุมชน
2. ได้รับการสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อผลิตไม้เทียมน้ำหนักเบาภายใต้โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อสนับสนุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ทำให้สามารถผลิตไม้เทียมที่มีน้ำหนักลดลงกว่าเดิม ส่งผลให้ช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง และเป็นประโยชน์ช่วยให้ผู้ใช้แรงงานสามารถขนย้ายไม้เทียมในการก่อสร้างได้โดยสะดวกและปลอดภัยขึ้น
“ขอขอบคุณทีมวิจัยทุกคน ทั้งอาจารย์ นักศึกษา รวมทั้งผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนชาวบ้านในชุมชนทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล ที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จครั้งนี้ และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา ที่ให้การสนับสนุนการทำวิจัยด้วยดีตลอดมา” ผศ.ดร.พลพัฒน์ กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024