สุดเจ๋ง “อาจารย์ศิวะ อินทะโคตร” หลักสูตรทัศนศิลป์ มรภ.สงขลา สร้างชื่อให้ประเทศไทยต่อเนื่อง ล่าสุดคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันสีน้ำออนไลน์นานาชาติ WATERCOLOR 2020 ท่ามกลางผลงานที่ส่งเข้าประกวด 322 ชิ้น จากศิลปิน 12 ประเทศทั่วโลก
อาจารย์ศิวะ อินทะโคตร อาจารย์ประจำหลักสูตรทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ตนได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ในการแข่งขันสีน้ำออนไลน์นานาชาติ WATERCOLOR 2020 จัดโดยกลุ่มเครือข่ายศิลปิน Ronger Gari (The Vehicle of Colour ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายศิลปินที่จัดการแข่งขันภาพสีน้ำและจัดกิจกรรมทางศิลปะมาตั้งแต่ปี 2559 การแข่งขันสีน้ำออนไลน์นานาชาติ WATERCOLOR 2020 ทางกลุ่มเครือข่ายได้เปิดให้ศิลปินที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปสามารถส่งผลงานสีน้ำได้ โดยไม่จำกัดขนาดและหัวข้อการประกวด ส่งโดยการโพสต์ภาพและรายละเอียดของผลงานไปที่หน้ากลุ่มเพจ Ronger Gari ตามกำหนดระยะเวลาการเปิดรับสมัคร เมื่อครบกำหนดจึงมีการคัดเลือกตัดสินโดยคณะกรรมการจากประเทศต่างๆ อาทิ บังคลาเทศ อินเดีย ไทย ฯลฯ
อาจารย์ศิวะ กล่าวว่า ศิลปินจาก 12 ประเทศส่งผลงานเข้าร่วมประกวด มีผลงานรวมทั้งสิ้น 322 ชิ้น โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกและตัดสินผลงานที่ดีที่สุด 10 ชิ้น แบ่งเป็นผลงานรางวัลชนะเลิศ (Winner) 3 ชิ้น คือ รางวัลที่ 1 2 และ 3 และผลงานรางวัลกิตติมศักดิ์ (Honorary) อีก 7 รางวัล ซึ่งรางวัลที่ 1 ได้แก่ Zannatul Ferdous Meem จากประเทศบังกลาเทศ รางวัลที่ 2 Siwa Inthakhot (ศิวะ อินทะโคตร) จากประเทศไทย รางวัลที่ 3 Sourav Bonik จากประเทศบังกลาเทศ โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 2 3 ได้รับใบประกาศนียบัตรและเงินรางวัล TK 5,000 3,000 และ 2,000 ตามลำดับ
อาจารย์ประจำหลักสูตรทัศนศิลป์ มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า ผลงานที่ตนสร้างสรรค์ขึ้นมีชื่อว่า สีสันของภาพหุ่นนิ่ง (Colorful still life) ใช้เทคนิคสีน้ำในการสร้างสรรค์ผลงานขนาด 56 x 38 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน เนื่องจากการประกวดไม่ได้จำกัดหัวข้อและขนาด จึงได้นำผลงานที่กำลังสนใจทดลองค้นคว้าอยู่ส่งเข้าร่วมแข่งขัน คือเป็นผลงานในชุดที่ทดลองการเกิดคราบและปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างน้ำกับสี เช่น การลงสีไปก่อนแล้วรอจังหวะให้สีหมาดค่อยหยอดน้ำหรือหยดน้ำสลัดน้ำตามลงไป เพื่อหาจังหวะการเกิดคราบที่แตกต่างกัน หรือการลงสีไปก่อนขณะที่สียังเปียกอยู่ จึงค่อยสลัดสีตามลงไป ทั้งสีข้น สีเหลว จนกระทั่งมีแต่น้ำ หรือการโรยผงสีบางจุดในพื้นที่ที่สียังไม่แห้งดี ผงสีจะละลายและกระจายตัววิ่งไปตามทิศทางของน้ำ ทำให้เกิดความงามของคราบ ความอิสระของเทคนิค ให้ความเป็นสีน้ำแสดงตัวออกมาให้มากที่สุด โดยบังคับและควบคุม (จากผู้ทำ) ให้น้อยที่สุด และนำมาปรับใช้กับการวาดภาพในหัวข้อต่างๆ ผลงานชิ้นนี้ได้นำเทคนิคที่กล่าวมาปรับใช้กับภาพหุ่นนิ่ง คือ ผลไม้ หม้อดิน เป็นแนวเรื่องธรรมดา แต่เน้นสาระไปที่การวางกลุ่มสีและแสงเงาให้เกิดจังหวะที่ตัดกัน และใช้เทคนิคการสร้างคราบต่างๆ เป็นอากาศในภาพและสร้างความเชื่อมโยงกัน ให้เกิดเป็นเอกภาพในชิ้นงาน ซึ่งการได้รับเลือกจากคณะกรรมการได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 น่าจะเกิดจากความโดดเด่นของสีและเทคนิคที่แตกต่างจาก ผลงานชิ้นอื่นๆ ที่ส่งเข้าร่วมประกวด ถึงแม้จะเป็นเพียงแนวเรื่องธรรมดา แต่การสร้างบุคลิกของเทคนิคมีความน่าสนใจและมีลักษณะเฉพาะ ที่เปิดช่องทางให้กับงานในรูปแบบนี้ได้มีแนวทางที่เป็นทางเลือกที่เปิดกว้างขึ้น และสามารถนำไปต่อยอดสร้างสรรค์งานได้ต่อๆ ไป.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สุดเจ๋ง “อ.ศิวะ อินทะโคตร” มรภ.สงขลา ชนะเลิศอันดับ 2 แข่งขันสีน้ำออนไลน์นานาชาติ
สุดเจ๋ง “อาจารย์ศิวะ อินทะโคตร” หลักสูตรทัศนศิลป์ มรภ.สงขลา สร้างชื่อให้ประเทศไทยต่อเนื่อง ล่าสุดคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันสีน้ำออนไลน์นานาชาติ WATERCOLOR 2020 ท่ามกลางผลงานที่ส่งเข้าประกวด 322 ชิ้น จากศิลปิน 12 ประเทศทั่วโลก
อาจารย์ศิวะ อินทะโคตร อาจารย์ประจำหลักสูตรทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ตนได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ในการแข่งขันสีน้ำออนไลน์นานาชาติ WATERCOLOR 2020 จัดโดยกลุ่มเครือข่ายศิลปิน Ronger Gari (The Vehicle of Colour ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายศิลปินที่จัดการแข่งขันภาพสีน้ำและจัดกิจกรรมทางศิลปะมาตั้งแต่ปี 2559 การแข่งขันสีน้ำออนไลน์นานาชาติ WATERCOLOR 2020 ทางกลุ่มเครือข่ายได้เปิดให้ศิลปินที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปสามารถส่งผลงานสีน้ำได้ โดยไม่จำกัดขนาดและหัวข้อการประกวด ส่งโดยการโพสต์ภาพและรายละเอียดของผลงานไปที่หน้ากลุ่มเพจ Ronger Gari ตามกำหนดระยะเวลาการเปิดรับสมัคร เมื่อครบกำหนดจึงมีการคัดเลือกตัดสินโดยคณะกรรมการจากประเทศต่างๆ อาทิ บังคลาเทศ อินเดีย ไทย ฯลฯ
อาจารย์ศิวะ กล่าวว่า ศิลปินจาก 12 ประเทศส่งผลงานเข้าร่วมประกวด มีผลงานรวมทั้งสิ้น 322 ชิ้น โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกและตัดสินผลงานที่ดีที่สุด 10 ชิ้น แบ่งเป็นผลงานรางวัลชนะเลิศ (Winner) 3 ชิ้น คือ รางวัลที่ 1 2 และ 3 และผลงานรางวัลกิตติมศักดิ์ (Honorary) อีก 7 รางวัล ซึ่งรางวัลที่ 1 ได้แก่ Zannatul Ferdous Meem จากประเทศบังกลาเทศ รางวัลที่ 2 Siwa Inthakhot (ศิวะ อินทะโคตร) จากประเทศไทย รางวัลที่ 3 Sourav Bonik จากประเทศบังกลาเทศ โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 2 3 ได้รับใบประกาศนียบัตรและเงินรางวัล TK 5,000 3,000 และ 2,000 ตามลำดับ
อาจารย์ประจำหลักสูตรทัศนศิลป์ มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า ผลงานที่ตนสร้างสรรค์ขึ้นมีชื่อว่า สีสันของภาพหุ่นนิ่ง (Colorful still life) ใช้เทคนิคสีน้ำในการสร้างสรรค์ผลงานขนาด 56 x 38 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน เนื่องจากการประกวดไม่ได้จำกัดหัวข้อและขนาด จึงได้นำผลงานที่กำลังสนใจทดลองค้นคว้าอยู่ส่งเข้าร่วมแข่งขัน คือเป็นผลงานในชุดที่ทดลองการเกิดคราบและปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างน้ำกับสี เช่น การลงสีไปก่อนแล้วรอจังหวะให้สีหมาดค่อยหยอดน้ำหรือหยดน้ำสลัดน้ำตามลงไป เพื่อหาจังหวะการเกิดคราบที่แตกต่างกัน หรือการลงสีไปก่อนขณะที่สียังเปียกอยู่ จึงค่อยสลัดสีตามลงไป ทั้งสีข้น สีเหลว จนกระทั่งมีแต่น้ำ หรือการโรยผงสีบางจุดในพื้นที่ที่สียังไม่แห้งดี ผงสีจะละลายและกระจายตัววิ่งไปตามทิศทางของน้ำ ทำให้เกิดความงามของคราบ ความอิสระของเทคนิค ให้ความเป็นสีน้ำแสดงตัวออกมาให้มากที่สุด โดยบังคับและควบคุม (จากผู้ทำ) ให้น้อยที่สุด และนำมาปรับใช้กับการวาดภาพในหัวข้อต่างๆ
ผลงานชิ้นนี้ได้นำเทคนิคที่กล่าวมาปรับใช้กับภาพหุ่นนิ่ง คือ ผลไม้ หม้อดิน เป็นแนวเรื่องธรรมดา แต่เน้นสาระไปที่การวางกลุ่มสีและแสงเงาให้เกิดจังหวะที่ตัดกัน และใช้เทคนิคการสร้างคราบต่างๆ เป็นอากาศในภาพและสร้างความเชื่อมโยงกัน ให้เกิดเป็นเอกภาพในชิ้นงาน ซึ่งการได้รับเลือกจากคณะกรรมการได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 น่าจะเกิดจากความโดดเด่นของสีและเทคนิคที่แตกต่างจาก ผลงานชิ้นอื่นๆ ที่ส่งเข้าร่วมประกวด ถึงแม้จะเป็นเพียงแนวเรื่องธรรมดา แต่การสร้างบุคลิกของเทคนิคมีความน่าสนใจและมีลักษณะเฉพาะ ที่เปิดช่องทางให้กับงานในรูปแบบนี้ได้มีแนวทางที่เป็นทางเลือกที่เปิดกว้างขึ้น และสามารถนำไปต่อยอดสร้างสรรค์งานได้ต่อๆ ไป.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024