วันนี้ (26 กันยายน 2563) เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยการสนับสนุน ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน Smoke-free School Innovation 2020 ในเขตภาคใต้ เพื่อมอบรางวัลนวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่ดีเด่นที่พัฒนานวัตกรรมเพื่อการควบคุมยาสูบ
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ในแต่ละปี ประเทศไทยมีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้น 2 แสนคน โดยอายุเฉลี่ยของการติดบุหรี่อยู่ที่ 17 ปีเศษ ซึ่งนักสูบหน้าใหม่เหล่านี้ 70% จะเลิกสูบไม่ได้ไปตลอดชีวิต และนอกจากเสพติดแล้ว ครึ่งหนึ่งของเด็กที่เลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ จะป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาด้วยโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทุกฝ่ายในสังคมไทยจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบในการป้องกันเด็กไทยจากการเสพติดบุหรี่
ในโอกาสนี้ได้เปิดเผยข้อมูลสำรวจ “โครงการพัฒนามาตรการเฝ้าระวังและจำกัดการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบของเยาวชนใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย” ของหน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ ภาคเหนือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดย ผศ.ดร.จักรพันธ์ เพชรภูมิ
หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผลสำรวจการเข้าถึงยาสูบของนักเรียนชั้น ม.2 จำนวน 3,982 คนทั่วประเทศจาก 4 ภาค ภาคละ 1 อำเภอ ผลคือ นักเรียนส่วนใหญ่แม้จะมีทัศนคติไม่ดีต่อการสูบบุหรี่ แต่มีความรู้เรื่องสารพิษในบุหรี่ในระดับต่ำ และรับรู้ความเสี่ยงของการเป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในระดับปานกลาง ขณะที่การเข้าถึงยาสูบยังง่ายมาก โดย 63.75% ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบจากร้านสะดวกซื้อ หรือร้านขายของชำ โดยที่ 37.20% ไม่เคยถูกปฏิเสธจากร้านค้า 60.13% ซื้อแบบแบ่งขายเป็นมวน มีคำใช้จ่ายในการซื้อยาสูบเดือนละ 93 บาท 30.63% ขอจากเพื่อน หรือขอซื้อต่อจากเพื่อน ทั้งนี้ยังพบว่า 41.06% สูบในบ้านหรือบ้านเพื่อน 46.35% มีความคิดที่จะเลิกแต่ไม่เคยลงมือเลิก “ข้อมูลเหล่านี้แสดงถึงความสำคัญของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งครอบครัวโรงเรียน และชุมชนต้องมีส่วนร่วมกันอย่างแข็งขันมากขึ้น ในการป้องกันเด็ก ๆ จากการเสพติดบุหรี่” ผศ.ดร.จักรพันธ์ กล่าว
ด้านนางสุวิมล จันทร์เปรมปรุง คณะกรรมการบริหารเครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ กล่าวว่า เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ ได้ขับเคลื่อนโครงการพัฒนานวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่ โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาและยกระดับนวัตกรรมการดำเนินงานโรงเรียนปลอดบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมายเครือข่ายโรงเรียนปลอดบุหรี่ที่เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ได้สร้างไว้ โดยเป็นการพัฒนาให้เกิด “นวัตกรรมการดำเนินงานโรงเรียนปลอดบุหรี่” จากการใช้ มาตรการเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ที่มีมิติการดำเนินงานแต่ละมาตรการในเชิงลึก วัดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมตามหลักวิชาการ
ทั้งนี้ในภาคใต้มีโรงเรียนที่พัฒนานวัตกรรมทั้งหมด 11 แห่ง โดยมี 5 แห่งที่ได้รับโล่นวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่ดีเด่น เช่น โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 จ.สุราษฎร์ธานี นวัตกรรมชุดการเรียนรู้ เรื่อง NO smoking สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ชุด ประกอบไปด้วย ชุดที่ 1 ค้นหาความจริง ชุดที่ 2 บิงโกหรรษา ชุดที่ 3 ปริศนาคำทาย ชุดที่ 4 ความหมายจิ๊กซอว์ ชุดที่ 5 ลุยต่อเกมสารพิษ ชุดที่ 6 พิชิตขุมสมบัติ ผลการทดสอบด้านความรู้และเจตคติที่เกิดขึ้นพบว่านักเรียนมีคะแนนหลังใช้สูงกว่าก่อนใช้ชุดการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนตระหนักในเรื่องพิษภัยของบุหรี่ โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ จ.ตรังนวัตกรรมหนังตะลุงมีชีวิต พิชิตควันบุหรี่ เพื่อรณรงค์โทษของบุหรี่ โดยการใช้วัฒนรรมการละเล่นท้องถิ่นประจำภาคใต้แปลงเนื้อหาของเนื้อร้องเป็นรื่องโทษพิษภัย โรคร้ายของบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ฯลฯ ทำให้การสื่อสารเรื่องบุหรี่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย โรงเรียนคลองพนสฤษดิ์พิทยา จ.กระบี่ นวัตกรรมเกมมหาสนุกสร้างสรรค์ไอคิว นวดฝ่าเท้ากดจุดสะท้อนเลิกบุหรี่สมุนไพรช่วยเลิก ใช้สอดแทรกในการจัดการเรียนการสอน ทำให้เด็กเรียนรู้เรื่องบุหรี่ด้วยความสนุก และไม่น่าเบื่ออีกต่อไป.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบ บุหรี่ โดยการสนับสนุน ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน Smoke-free School Innovation 2020 ในเขตภาคใต้
วันนี้ (26 กันยายน 2563) เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยการสนับสนุน ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน Smoke-free School Innovation 2020 ในเขตภาคใต้ เพื่อมอบรางวัลนวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่ดีเด่นที่พัฒนานวัตกรรมเพื่อการควบคุมยาสูบ
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ในแต่ละปี ประเทศไทยมีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้น 2 แสนคน โดยอายุเฉลี่ยของการติดบุหรี่อยู่ที่ 17 ปีเศษ ซึ่งนักสูบหน้าใหม่เหล่านี้ 70% จะเลิกสูบไม่ได้ไปตลอดชีวิต และนอกจากเสพติดแล้ว ครึ่งหนึ่งของเด็กที่เลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ จะป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาด้วยโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทุกฝ่ายในสังคมไทยจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบในการป้องกันเด็กไทยจากการเสพติดบุหรี่
ในโอกาสนี้ได้เปิดเผยข้อมูลสำรวจ “โครงการพัฒนามาตรการเฝ้าระวังและจำกัดการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบของเยาวชนใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย” ของหน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ ภาคเหนือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดย ผศ.ดร.จักรพันธ์ เพชรภูมิ
หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผลสำรวจการเข้าถึงยาสูบของนักเรียนชั้น ม.2 จำนวน 3,982 คนทั่วประเทศจาก 4 ภาค ภาคละ 1 อำเภอ ผลคือ นักเรียนส่วนใหญ่แม้จะมีทัศนคติไม่ดีต่อการสูบบุหรี่ แต่มีความรู้เรื่องสารพิษในบุหรี่ในระดับต่ำ และรับรู้ความเสี่ยงของการเป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในระดับปานกลาง ขณะที่การเข้าถึงยาสูบยังง่ายมาก โดย 63.75% ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบจากร้านสะดวกซื้อ หรือร้านขายของชำ โดยที่ 37.20% ไม่เคยถูกปฏิเสธจากร้านค้า 60.13% ซื้อแบบแบ่งขายเป็นมวน มีคำใช้จ่ายในการซื้อยาสูบเดือนละ 93 บาท 30.63% ขอจากเพื่อน หรือขอซื้อต่อจากเพื่อน ทั้งนี้ยังพบว่า 41.06% สูบในบ้านหรือบ้านเพื่อน 46.35% มีความคิดที่จะเลิกแต่ไม่เคยลงมือเลิก “ข้อมูลเหล่านี้แสดงถึงความสำคัญของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งครอบครัวโรงเรียน และชุมชนต้องมีส่วนร่วมกันอย่างแข็งขันมากขึ้น ในการป้องกันเด็ก ๆ จากการเสพติดบุหรี่” ผศ.ดร.จักรพันธ์ กล่าว
ด้านนางสุวิมล จันทร์เปรมปรุง คณะกรรมการบริหารเครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ กล่าวว่า เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ ได้ขับเคลื่อนโครงการพัฒนานวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่ โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาและยกระดับนวัตกรรมการดำเนินงานโรงเรียนปลอดบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมายเครือข่ายโรงเรียนปลอดบุหรี่ที่เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ได้สร้างไว้ โดยเป็นการพัฒนาให้เกิด “นวัตกรรมการดำเนินงานโรงเรียนปลอดบุหรี่” จากการใช้ มาตรการเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ที่มีมิติการดำเนินงานแต่ละมาตรการในเชิงลึก วัดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมตามหลักวิชาการ
ทั้งนี้ในภาคใต้มีโรงเรียนที่พัฒนานวัตกรรมทั้งหมด 11 แห่ง โดยมี 5 แห่งที่ได้รับโล่นวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่ดีเด่น เช่น โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 จ.สุราษฎร์ธานี นวัตกรรมชุดการเรียนรู้ เรื่อง NO smoking สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ชุด ประกอบไปด้วย ชุดที่ 1 ค้นหาความจริง ชุดที่ 2 บิงโกหรรษา ชุดที่ 3 ปริศนาคำทาย ชุดที่ 4 ความหมายจิ๊กซอว์ ชุดที่ 5 ลุยต่อเกมสารพิษ ชุดที่ 6 พิชิตขุมสมบัติ ผลการทดสอบด้านความรู้และเจตคติที่เกิดขึ้นพบว่านักเรียนมีคะแนนหลังใช้สูงกว่าก่อนใช้ชุดการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนตระหนักในเรื่องพิษภัยของบุหรี่ โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ จ.ตรังนวัตกรรมหนังตะลุงมีชีวิต พิชิตควันบุหรี่ เพื่อรณรงค์โทษของบุหรี่ โดยการใช้วัฒนรรมการละเล่นท้องถิ่นประจำภาคใต้แปลงเนื้อหาของเนื้อร้องเป็นรื่องโทษพิษภัย โรคร้ายของบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ฯลฯ ทำให้การสื่อสารเรื่องบุหรี่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย โรงเรียนคลองพนสฤษดิ์พิทยา จ.กระบี่ นวัตกรรมเกมมหาสนุกสร้างสรรค์ไอคิว นวดฝ่าเท้ากดจุดสะท้อนเลิกบุหรี่สมุนไพรช่วยเลิก ใช้สอดแทรกในการจัดการเรียนการสอน ทำให้เด็กเรียนรู้เรื่องบุหรี่ด้วยความสนุก และไม่น่าเบื่ออีกต่อไป.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024