วันที่ 22 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น. พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย นายการุณ สกุลประดิษฐ์ นายชลำ อรรถธรรม ที่ปรึกษาผู้แทนของรัฐบาล และ ดร.วาทิต มีสนุ่น ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากบริบทและสภาพแวดล้อมของสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีอัตตลักษณ์และเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งทางด้านภาษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ ด้วยมีภัยแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาได้พยายามขจัดปัญหาต่างๆเพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ไปในทิศทางที่ดีสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งปัญหาด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของประชาชนในพื้นที่ทุกช่วงวัยนั้น เป็นปัญหาพื้นฐานที่จำเป็นประการหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อีกทั้งภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติเป็นกุญแจสำคัญในการสื่อสารทางสังคมไทย สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ เสริมสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ดี ที่จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบถึงปัญหา อุปสรรค ของการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อรับทราบข้อเสนอแนะ แนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้การดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี ผู้บริหารและครูในสถาบันการศึกษาปอเนาะ ผู้บริหารและครูในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา สื่อมวลชนในพื้นที่ บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนทั่วไป จำนวนทั้งสิ้น ๗๓ คน โดยเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหน้า และศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 22 – 24 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมหรรษา เจบี หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล กล่าวว่า จากปัญหาการใช้ภาษาไทยของประชาชนในพื้นที่เป็นปัญหาที่สำคัญอันจะส่งผลกระทบถึงปัญหาการใช้ชีวิตประจำวันและการเข้าถึงบริการภาครัฐ เช่น ปัญหาในการติดต่อเจ้าหน้าที่ในสถานที่ราชการปัญหาการเข้าถึงการบริการในโรงพยาบาลและสถานพยาบาล ปัญหาการไม่ได้รับโอกาสในการประกอบอาชีพ ปัญหาการติดต่อสื่อสารในการค้าขาย และปัญหาความไม่เข้าใจในการรับชมรับฟังข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านโทรทัศน์และวิทยุ เป็นต้น ดังนั้น รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงได้เน้นย้ำให้มีการสอนภาษาไทยให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐได้มากขึ้นนอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังได้ให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาไทยในสื่อสาร เพื่อให้สามารถติดตามข่าวสารของทางราชการผ่านสื่อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคณะทำงานด้านการพัฒนาอีกหลายคณะที่ให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารเพราะการรู้ภาษาไทย จะสร้างโอกาสให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพการมีงานทำมีความสามารถในการสื่อสารกับคนนอกพื้นที่ อันส่งผลให้เกิดการขยายฐานการลงทุนและการค้าขยายโอกาสทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป ในอนาคตอย่างไรก็ตามยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของภาครัฐ โดยมีแนวคิดที่ว่าการส่งเสริมภาษาไทยจะมาบดบังอัตลักษณ์ของภาษามลายูถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้ภาษาเพิ่มเติม โดยไม่ได้กีดกันการใช้ภาษาถิ่นซึ่งนิยมใช้ในครัวเรือนและในชุมชนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่อยู่อย่างดั้งเดิมแล้วดังนั้นการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย จึงมีความมุ่งหวังที่จะสร้างโอกาสในการสื่อสาร ให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับการเสริมสร้างการพัฒนาในด้านอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพตามที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จะทำให้เราทราบถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างยั่งยืนต่อไป.
ภาพ/ข่าว โดย ส่วนสร้างการรับรู้ สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า
ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
วันที่ 22 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น. พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย นายการุณ สกุลประดิษฐ์ นายชลำ อรรถธรรม ที่ปรึกษาผู้แทนของรัฐบาล และ ดร.วาทิต มีสนุ่น ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากบริบทและสภาพแวดล้อมของสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีอัตตลักษณ์และเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งทางด้านภาษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ ด้วยมีภัยแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาได้พยายามขจัดปัญหาต่างๆเพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ไปในทิศทางที่ดีสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งปัญหาด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของประชาชนในพื้นที่ทุกช่วงวัยนั้น เป็นปัญหาพื้นฐานที่จำเป็นประการหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อีกทั้งภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติเป็นกุญแจสำคัญในการสื่อสารทางสังคมไทย สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ เสริมสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ดี ที่จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบถึงปัญหา อุปสรรค ของการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อรับทราบข้อเสนอแนะ แนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้การดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี ผู้บริหารและครูในสถาบันการศึกษาปอเนาะ ผู้บริหารและครูในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา สื่อมวลชนในพื้นที่ บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนทั่วไป จำนวนทั้งสิ้น ๗๓ คน โดยเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหน้า และศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 22 – 24 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมหรรษา เจบี หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล กล่าวว่า จากปัญหาการใช้ภาษาไทยของประชาชนในพื้นที่เป็นปัญหาที่สำคัญอันจะส่งผลกระทบถึงปัญหาการใช้ชีวิตประจำวันและการเข้าถึงบริการภาครัฐ เช่น ปัญหาในการติดต่อเจ้าหน้าที่ในสถานที่ราชการปัญหาการเข้าถึงการบริการในโรงพยาบาลและสถานพยาบาล ปัญหาการไม่ได้รับโอกาสในการประกอบอาชีพ ปัญหาการติดต่อสื่อสารในการค้าขาย และปัญหาความไม่เข้าใจในการรับชมรับฟังข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านโทรทัศน์และวิทยุ เป็นต้น ดังนั้น รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงได้เน้นย้ำให้มีการสอนภาษาไทยให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐได้มากขึ้นนอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังได้ให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาไทยในสื่อสาร เพื่อให้สามารถติดตามข่าวสารของทางราชการผ่านสื่อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคณะทำงานด้านการพัฒนาอีกหลายคณะที่ให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารเพราะการรู้ภาษาไทย จะสร้างโอกาสให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพการมีงานทำมีความสามารถในการสื่อสารกับคนนอกพื้นที่ อันส่งผลให้เกิดการขยายฐานการลงทุนและการค้าขยายโอกาสทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป ในอนาคตอย่างไรก็ตามยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของภาครัฐ โดยมีแนวคิดที่ว่าการส่งเสริมภาษาไทยจะมาบดบังอัตลักษณ์ของภาษามลายูถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้ภาษาเพิ่มเติม โดยไม่ได้กีดกันการใช้ภาษาถิ่นซึ่งนิยมใช้ในครัวเรือนและในชุมชนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่อยู่อย่างดั้งเดิมแล้วดังนั้นการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย จึงมีความมุ่งหวังที่จะสร้างโอกาสในการสื่อสาร ให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับการเสริมสร้างการพัฒนาในด้านอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพตามที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จะทำให้เราทราบถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างยั่งยืนต่อไป.
ภาพ/ข่าว โดย ส่วนสร้างการรับรู้ สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า
ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024