เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2563 ที่โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ตำบลขุนช่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว จ.จันทบุรี แก้ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม เสริมความมั่นคงระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมี นายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมส่วนราชการให้การต้อนรับและรับฟังบรรยายสรุปจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงความคืบหน้าในการก่อสร้าง ปัญหาอุปสรรค และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
นายนิพนธ์ กล่าวว่า “วันนี้ได้มาตรวจติดตามความคืบหน้าของโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยจากการติดตามรับฟังความคืบหน้าถ้าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ของกรมชลประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รวมทั้งปัญหาน้ำแล้งและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ซึ่งหากเจอสถานการณ์น้ำไหลหลากต้องจัดหาที่ในการกักเก็บน้ำ หาที่ให้น้ำอยู่ นอกจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แล้ว หนอง คลอง บึง ยังมีความจำเป็นในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพราะพื้นที่บริเวณนี้ยังคงประสบปัญหาภัยแล้งอยู่อย่างต่อเนื่องทุกปี และขาดพื้นที่ในการกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน โดยจะต้องสร้างที่ให้น้ำอยู่และทำทางให้น้ำไหล จึงจะสามารถแก้ปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมได้ อย่างยั่งยืนและเป็นระบบ
ทั้งนี้ได้มอบแนวทางในการแก้ปัญหาเมื่อเจอมรสุมโดยเฉพาะหลายพื้น ประสบปัญหาอุทกภัยทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพี่น้องประชาชน จึงขอย้ำแนวทางในการช่วยเหลือสิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลชีวิตของพี่น้องประชาชนเป็นอันดับแรก ตลอดจนช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัยดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัยอย่างดีที่สุดประชาชนให้มีอาหารครบทั้ง 3 มื้อ และฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว พร้อมประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมั่นใจว่าทางจังหวัดได้เตรียมแผนการดำเนินงานเหล่านี้ไว้อยู่แล้ว
โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว เป็น 1 ใน 4 โครงการในลำน้ำย่อยของลุ่มน้ำคลองวังโตนด ซึ่งประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองประแกด อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด และอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว โดยในพื้นที่มักประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินการศึกษาจัดทำแผนหลักในการพัฒนาแหล่งน้ำ และศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี แล้วเสร็จเมื่อปี 2538 ซึ่งผลการศึกษาได้เสนอให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 4 แห่ง เพื่อประโยชน์ทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ลดความรุนแรงของอุทกภัย ตลอดจนการผลักดันน้ำเค็มเพื่อคุณภาพน้ำที่ดีเหมาะต่อการนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค
ทั้งนี้เมื่อโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว มีระยะก่อสร้างตามแผนคือ 6 ปี พ.ศ. 2560 – 2565 แล้วเสร็จจะเก็บกักน้ำได้ 80.70 ล้าน ลบ.ม. ใช้สำหรับการเกษตรและอุปโภคบริโภคให้กับราษฎรในเขตพื้นที่โครงการ ประมาณ 1,600 ครัวเรือน ส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก 62,000 ไร่ ส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเดือนละ 420,000 ลบ.ม. รวมทั้งจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด ให้ราษฎรสามารถทำการประมงเพื่อเป็นรายได้เสริมและเป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับการอุปโภคและบริโภค การท่องเที่ยว เพื่อรองรับแผนยุทธศาสตร์โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 70 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี และยังสามารถชะลอน้ำหลาก และบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองโตนด ตลอดจนรักษาระบบนิเวศน์ และผลักดันน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้งได้อีกด้วย.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นิพนธ์ ย้ำ โมเดล “สร้างที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้น้ำไหล” แก้ไขปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง ได้ยั่งยืนและเป็นระบบ พร้อมลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าก่อสร้างอ่างเก็บน้ำฯ ที่ จ.จันทบุรี
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2563 ที่โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ตำบลขุนช่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว จ.จันทบุรี แก้ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม เสริมความมั่นคงระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมี นายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมส่วนราชการให้การต้อนรับและรับฟังบรรยายสรุปจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงความคืบหน้าในการก่อสร้าง ปัญหาอุปสรรค และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
นายนิพนธ์ กล่าวว่า “วันนี้ได้มาตรวจติดตามความคืบหน้าของโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยจากการติดตามรับฟังความคืบหน้าถ้าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ของกรมชลประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รวมทั้งปัญหาน้ำแล้งและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ซึ่งหากเจอสถานการณ์น้ำไหลหลากต้องจัดหาที่ในการกักเก็บน้ำ หาที่ให้น้ำอยู่ นอกจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แล้ว หนอง คลอง บึง ยังมีความจำเป็นในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพราะพื้นที่บริเวณนี้ยังคงประสบปัญหาภัยแล้งอยู่อย่างต่อเนื่องทุกปี และขาดพื้นที่ในการกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน โดยจะต้องสร้างที่ให้น้ำอยู่และทำทางให้น้ำไหล จึงจะสามารถแก้ปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมได้ อย่างยั่งยืนและเป็นระบบ
ทั้งนี้ได้มอบแนวทางในการแก้ปัญหาเมื่อเจอมรสุมโดยเฉพาะหลายพื้น ประสบปัญหาอุทกภัยทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพี่น้องประชาชน จึงขอย้ำแนวทางในการช่วยเหลือสิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลชีวิตของพี่น้องประชาชนเป็นอันดับแรก ตลอดจนช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัยดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัยอย่างดีที่สุดประชาชนให้มีอาหารครบทั้ง 3 มื้อ และฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว พร้อมประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมั่นใจว่าทางจังหวัดได้เตรียมแผนการดำเนินงานเหล่านี้ไว้อยู่แล้ว
โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว เป็น 1 ใน 4 โครงการในลำน้ำย่อยของลุ่มน้ำคลองวังโตนด ซึ่งประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองประแกด อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด และอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว โดยในพื้นที่มักประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินการศึกษาจัดทำแผนหลักในการพัฒนาแหล่งน้ำ และศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี แล้วเสร็จเมื่อปี 2538 ซึ่งผลการศึกษาได้เสนอให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 4 แห่ง เพื่อประโยชน์ทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ลดความรุนแรงของอุทกภัย ตลอดจนการผลักดันน้ำเค็มเพื่อคุณภาพน้ำที่ดีเหมาะต่อการนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค
ทั้งนี้เมื่อโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว มีระยะก่อสร้างตามแผนคือ 6 ปี พ.ศ. 2560 – 2565 แล้วเสร็จจะเก็บกักน้ำได้ 80.70 ล้าน ลบ.ม. ใช้สำหรับการเกษตรและอุปโภคบริโภคให้กับราษฎรในเขตพื้นที่โครงการ ประมาณ 1,600 ครัวเรือน ส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก 62,000 ไร่ ส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเดือนละ 420,000 ลบ.ม. รวมทั้งจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด ให้ราษฎรสามารถทำการประมงเพื่อเป็นรายได้เสริมและเป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับการอุปโภคและบริโภค การท่องเที่ยว เพื่อรองรับแผนยุทธศาสตร์โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 70 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี และยังสามารถชะลอน้ำหลาก และบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองโตนด ตลอดจนรักษาระบบนิเวศน์ และผลักดันน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้งได้อีกด้วย.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024