หน่วยงาน 4 องค์กรหลัก พพ. กนอ. สสท. และ อบก. ผนึกกำลังร่วมกับอีกกว่า 20 หน่วยงานชั้นนำด้านพลังงาน อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาวิชาการครั้งประวัติศาสตร์ สร้างพิมพ์เขียว “นำไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” ย้ำเป็นเวทีบูรณาการความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนร่วมกันลดใช้พลังงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เรียนรู้เทคโนโลยีสีเขียว และวางแผนสร้างความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ไทยผงาดในเวทีโลกอย่างยั่งยืน
17 กันยายน 2556 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกันจัดงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “Energy: Main Road to Low Carbon Society” เพื่อนำเสนอผลงานอันโดดเด่นด้านนวัตกรรมพลังงานและพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนเพื่อกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และประชาชนเกิดความตระหนักและเล็งเห็นแนวทางในการพัฒนาพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศต่อไป
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งมีเป้าหมายระบุว่า ประเทศจะต้องเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ภายในปี 2564 พพ.ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งถือเป็นกลไกหลักของการขับเคลื่อนตามเป้าหมายดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องเร่งสร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วนในสังคมหันมาใส่ใจการใช้พลังงาน โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด ทั้งจากกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่ง ซึ่งถือเป็น 2 ภาคส่วนหลักที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึงกว่าร้อยละ 70 ซึ่งการสัมมนาในวันนี้จะมีการพูดคุยหาทางออกในมิติต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ภาคส่วนดังกล่าวลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปด้วย
ทั้งนี้ ผลจากการสัมมนาในหัวข้อที่สำคัญต่าง ๆ ครั้งนี้ จะเป็นเหมือนพิมพ์เขียวตั้งต้นในการนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจในการลงทุนเพื่อนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว แนวทางการจำหน่ายคาร์บอนเครดิต การออกแบบบ้านจัดสรรและอาคารให้เป็นแบบอนุรักษ์พลังงาน การอบรมเรื่องฉลากประสิทธิภาพสูงในอุปกรณ์พลังงานต่าง ๆ ตลอดจนนวัตกรรมด้านการส่งเสริมพลังงานทางเลือกของไทย การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้ทุกชุมชนสามารถเป็นผู้ผลิตเองได้ โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกว่า 20 หน่วยงาน ซึ่ง พพ. มั่นใจว่าจะเป็นก้าวสำคัญให้ประเทศไทยไปสู่เป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ขณะนี้ กนอ.ได้ปรับแนวคิดจากนิคมอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมเปลี่ยนมาเป็น Eco Industrial Town หรือ “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีดุลภาพและยั่งยืน โดยผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ผู้ประกอบการ รัฐ ชุมชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นิคมอุตสาหกรรมเข้าไปตั้งอยู่จะต้องได้รับประโยชน์ร่วมกันและสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ โดยจะใช้หลักการมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล
โดยขณะนี้ กนอ. ได้รณรงค์เรื่องเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศไปแล้ว 15 นิคมฯ จากนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 48 แห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะนิคมฯ เกิดใหม่ก็จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ตั้งแต่การออกแบบให้เป็นนิคมฯ สีเขียว ส่วนในอนาคต กนอ.มีวิสัยทัศน์ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกโดยเฉพาะ โดยจะร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ดังนั้นพลังงานทางเลือกถือเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับโอกาสของนิคมอุตสาหกรรมของไทยในอนาคต
ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า จากความต้องการพลังงานของประเทศ ที่นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณพลังงานที่มีกลับลดน้อยลงเรื่อย ๆ อันเนื่องจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดที่ใช้แล้วหมดไปเป็นหลัก ประกอบกับการนำเข้าพลังงานบางส่วนจากต่างประเทศ ล้วนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศทั้งสิ้น ซึ่งทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญร่วมกัน คือการสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงการหาแหล่งพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเท่าทันเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิต และการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ซึ่งการสัมมนาวันนี้จะเป็นการนำเอามุมมองในแง่ต่าง ๆ ของเรื่องพลังงานจากผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ท่าน มาเป็นข้อมูลในการพัฒนาประเทศลำดับต่อไป
นางประเสริฐสุข จามรมาน (รักษาการ) ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กล่าวว่าปัจจุบัน อบก.ได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศหรือ CITC (Climate Change International Training Centre) เพื่อเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และมุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลางของประเทศอาเซียนในการบริหารจัดการเรื่องนี้ด้วย รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านองค์ความรู้ในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพด้านการลดก๊าซเรือนกระจกต่อไป.
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สัมมนาครั้งประวัติศาสตร์นำประเทศไทยก้าวสู่ “สังคมคาร์บอนต่ำ”
หน่วยงาน 4 องค์กรหลัก พพ. กนอ. สสท. และ อบก. ผนึกกำลังร่วมกับอีกกว่า 20 หน่วยงานชั้นนำด้านพลังงาน อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาวิชาการครั้งประวัติศาสตร์ สร้างพิมพ์เขียว “นำไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” ย้ำเป็นเวทีบูรณาการความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนร่วมกันลดใช้พลังงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เรียนรู้เทคโนโลยีสีเขียว และวางแผนสร้างความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ไทยผงาดในเวทีโลกอย่างยั่งยืน
17 กันยายน 2556 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกันจัดงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “Energy: Main Road to Low Carbon Society” เพื่อนำเสนอผลงานอันโดดเด่นด้านนวัตกรรมพลังงานและพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนเพื่อกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และประชาชนเกิดความตระหนักและเล็งเห็นแนวทางในการพัฒนาพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศต่อไป
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งมีเป้าหมายระบุว่า ประเทศจะต้องเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ภายในปี 2564 พพ.ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งถือเป็นกลไกหลักของการขับเคลื่อนตามเป้าหมายดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องเร่งสร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วนในสังคมหันมาใส่ใจการใช้พลังงาน โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด ทั้งจากกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่ง ซึ่งถือเป็น 2 ภาคส่วนหลักที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึงกว่าร้อยละ 70 ซึ่งการสัมมนาในวันนี้จะมีการพูดคุยหาทางออกในมิติต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ภาคส่วนดังกล่าวลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปด้วย
ทั้งนี้ ผลจากการสัมมนาในหัวข้อที่สำคัญต่าง ๆ ครั้งนี้ จะเป็นเหมือนพิมพ์เขียวตั้งต้นในการนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจในการลงทุนเพื่อนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว แนวทางการจำหน่ายคาร์บอนเครดิต การออกแบบบ้านจัดสรรและอาคารให้เป็นแบบอนุรักษ์พลังงาน การอบรมเรื่องฉลากประสิทธิภาพสูงในอุปกรณ์พลังงานต่าง ๆ ตลอดจนนวัตกรรมด้านการส่งเสริมพลังงานทางเลือกของไทย การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้ทุกชุมชนสามารถเป็นผู้ผลิตเองได้ โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกว่า 20 หน่วยงาน ซึ่ง พพ. มั่นใจว่าจะเป็นก้าวสำคัญให้ประเทศไทยไปสู่เป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ขณะนี้ กนอ.ได้ปรับแนวคิดจากนิคมอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมเปลี่ยนมาเป็น Eco Industrial Town หรือ “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีดุลภาพและยั่งยืน โดยผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ผู้ประกอบการ รัฐ ชุมชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นิคมอุตสาหกรรมเข้าไปตั้งอยู่จะต้องได้รับประโยชน์ร่วมกันและสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ โดยจะใช้หลักการมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล
โดยขณะนี้ กนอ. ได้รณรงค์เรื่องเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศไปแล้ว 15 นิคมฯ จากนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 48 แห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะนิคมฯ เกิดใหม่ก็จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ตั้งแต่การออกแบบให้เป็นนิคมฯ สีเขียว ส่วนในอนาคต กนอ.มีวิสัยทัศน์ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกโดยเฉพาะ โดยจะร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ดังนั้นพลังงานทางเลือกถือเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับโอกาสของนิคมอุตสาหกรรมของไทยในอนาคต
ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า จากความต้องการพลังงานของประเทศ ที่นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณพลังงานที่มีกลับลดน้อยลงเรื่อย ๆ อันเนื่องจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดที่ใช้แล้วหมดไปเป็นหลัก ประกอบกับการนำเข้าพลังงานบางส่วนจากต่างประเทศ ล้วนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศทั้งสิ้น ซึ่งทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญร่วมกัน คือการสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงการหาแหล่งพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเท่าทันเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิต และการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ซึ่งการสัมมนาวันนี้จะเป็นการนำเอามุมมองในแง่ต่าง ๆ ของเรื่องพลังงานจากผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ท่าน มาเป็นข้อมูลในการพัฒนาประเทศลำดับต่อไป
นางประเสริฐสุข จามรมาน (รักษาการ) ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กล่าวว่าปัจจุบัน อบก.ได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศหรือ CITC (Climate Change International Training Centre) เพื่อเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และมุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลางของประเทศอาเซียนในการบริหารจัดการเรื่องนี้ด้วย รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านองค์ความรู้ในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพด้านการลดก๊าซเรือนกระจกต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024