สุดปลื้ม ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลาคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ระดับประเทศ ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท
ผศ.ทัศนียา คัญทะชา ประธานโปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลาซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา ร่วมกับเครือข่ายศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ โรงเรียนเครือข่าย และ ศิษย์เก่า ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ระดับประเทศ ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท โดยการประกวดจัดขึ้น ณ หอประชุมอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
ผศ.ทัศนียา กล่าวว่า ในการประกวดครั้งนี้ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลาได้ถ่ายทอดการแสดงชุด “ต้นกล้าวัฒนธรรม” แนวคิดของการแสดงนำมาจากวิถีชีวิตของศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ ที่ต้องการให้มีผู้สืบทอดมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ให้คงอยู่ต่อไป ศิลปินคือ กลไกสำคัญในการสืบสานและรักษาให้การแสดงพื้นบ้านคงอยู่ หากขาดศิลปินแล้วไร้ซึ่งผู้สืบทอดการแสดงพื้นบ้านก็จะสูญหายไปจากแผ่นดินไทย ซึ่งการแสดงชุดต้นกล้าวัฒนธรรมเป็นการสร้างสรรค์เชิงอนุรักษ์ โดยนำการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ 5 ประเภท ได้แก่ โนรา รองเง็ง ลิเกป่า ซัมเป็ง และ สิละ มาสร้างสรรค์ใหม่ให้สอดคล้องกับแนวคิดของการแสดง แต่ยังคงรักษารูปแบบและขนบบางอย่างของการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ดั้งเดิมไว้
สำหรับเนื้อเรื่องย่อการแสดงชุด “ต้นกล้าวัฒนธรรม” เป็นเรื่องราวของคุณยายท่านหนึ่ง ซึ่งท่านเป็นศิลปินโนรารุ่นเก่าที่เคยมีโอกาสรำโนราหน้าพระที่นั่งในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จมาเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ ในค่ำคืนหนึ่งพระจันทร์เต็มดวงคุณยายระลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงร้องไห้ หลานทั้งสองคนมาเห็นก็ตกใจจึงสอบถาม คุณยายจึงเล่าความทรงจำในอดีตให้หลานทั้งสองคนฟังถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงดูแลห่วงใยประชากรของพระองค์ แม้ในชุมชนที่ห่างไกลความเจริญพระองค์ก็ไม่ทอดทิ้ง
ในการเสด็จครั้งนั้นมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตามเสด็จมาด้วย ชาวบ้านได้จัดการแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง ซึ่งมีทั้งศิลปินชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ความปลาบปลื้มตื้นตันของคุณยายยังคงฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก แต่ตอนนี้คุณยายยังหาผู้สืบทอดไม่ได้ จึงกังวลและกลัวจะสูญหาย เมื่อหลานทั้งสองได้ฟังแล้วก็อยากทำให้ยายภูมิใจ หลานคนโตไปฝึกรำโนรา ส่วนหลานคนเล็กฝึกเต้นรองเง็งและซัมเป็ง และหลานทั้งสองคนก็ได้ร่วมแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อยายเห็นก็ดีใจและภูมิใจในตัวของหลานทั้งสองคนที่สามารถสืบสาน รักษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นมรดกของชาติไว้ได้ อนึ่ง คณะทำงานทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา ประกอบด้วย ครูผู้ถ่ายทอด ฝึกซ้อมและควบคุมการแสดง 1. ผศ.ทัศนียา คัญทะชา ประธานโปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง 2. อ.ยุทธพงศ์ ช่วยนาเขต อาจารย์โปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา 3. คุณครูสิรินาฏ หาญณรงค์ ครูโนรา ร.ร.แจ้งวิทยา 4. นายนิรันต์รักษ์ ทองคำ ศิษย์เก่าโปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง และเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ร้านคณนาถและศิลปินโนรา 5. อ.รัชยา วีรการณ์ อาจารย์โปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง มรภ.สงขลา
ครูผู้ถ่ายทอด ฝึกซ้อมและควบคุมดนตรี 1. นายอภิชาติ คัญทะชา หัวหน้าวงอัสลีมาลา และนักวิชาการศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลฯ 2. อ.ภูษิต สุวรรณมณี อาจารย์โปรแกรมดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา 3. ดร.กำจร กาญจนถาวร ข้าราชการบำนาญ โปรแกรมดุริยางคศาสตร์ มรภ.สงขลา 4. นางสาวปาจรีย์ นวลแก้ว ศิษย์เก่าโปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง และศิลปินนักร้องอิสระ
ฝ่ายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและแต่งหน้าทำผม โดยศิษย์เก่าโปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง มรภ.สงขลา 1. นายกิตภพ แก้วย้อย 2. นายณัฐกานต์ ฤทธิ์ฉิ้ม 3. นายสันชัย ปัจฉิมเพชร
ศิลปินพื้นบ้านผู้ให้ข้อมูลและเป็นที่ปรึกษา 1.โนราละมัยศิลป์ ศรีรักษา ศิลปินโนรา จ.สงขลา 2. โนราโจ๊กดาวรุ่ง ศิลปินโนรา จ.สงขลา 3. นายมะยาเต็ง สาเมาะ ศิลปินสิละ จ.ยะลา 4. นายสมโชค ประโมงกิจ ศิลปินรองเง็งชาวเล คณะพรสวรรค์ เกาะสิเหร่ จ.ภูเก็ต 5. นายก่อเกียรติ สุขธรานนท์ ศิลปินรองเง็ง จ.ปัตตานี 6. นายเชาว์ จันทรจิตร ศิลปินรองเง็ง อ.เทพา จ.สงขลา
คณะที่ปรึกษาในการสร้างสรรค์ 1. ผศ.ดร.ไชยวุธ โกศล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขล 2. อ.รวิสรา ศรีชัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ 3. อ.โอภาส อิสโม ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.สงขลา 4. นายวิวัฒน์ เชื้อแหลม ข้าราชการครู ร.ร.เทศบาล 5 วัดหัวป้อมนอก 5. นางสุรีพร สงค์ประกอบ รองผู้อำนวยการ ร.ร.เทศบาล 5 วัดหัวป้อมนอก.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา” คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม”
สุดปลื้ม ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลาคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ระดับประเทศ ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท
ผศ.ทัศนียา คัญทะชา ประธานโปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลาซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา ร่วมกับเครือข่ายศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ โรงเรียนเครือข่าย และ ศิษย์เก่า ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ระดับประเทศ ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท โดยการประกวดจัดขึ้น ณ หอประชุมอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
ผศ.ทัศนียา กล่าวว่า ในการประกวดครั้งนี้ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลาได้ถ่ายทอดการแสดงชุด “ต้นกล้าวัฒนธรรม” แนวคิดของการแสดงนำมาจากวิถีชีวิตของศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ ที่ต้องการให้มีผู้สืบทอดมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ให้คงอยู่ต่อไป ศิลปินคือ กลไกสำคัญในการสืบสานและรักษาให้การแสดงพื้นบ้านคงอยู่ หากขาดศิลปินแล้วไร้ซึ่งผู้สืบทอดการแสดงพื้นบ้านก็จะสูญหายไปจากแผ่นดินไทย ซึ่งการแสดงชุดต้นกล้าวัฒนธรรมเป็นการสร้างสรรค์เชิงอนุรักษ์ โดยนำการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ 5 ประเภท ได้แก่ โนรา รองเง็ง ลิเกป่า ซัมเป็ง และ สิละ มาสร้างสรรค์ใหม่ให้สอดคล้องกับแนวคิดของการแสดง แต่ยังคงรักษารูปแบบและขนบบางอย่างของการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ดั้งเดิมไว้
สำหรับเนื้อเรื่องย่อการแสดงชุด “ต้นกล้าวัฒนธรรม” เป็นเรื่องราวของคุณยายท่านหนึ่ง ซึ่งท่านเป็นศิลปินโนรารุ่นเก่าที่เคยมีโอกาสรำโนราหน้าพระที่นั่งในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จมาเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ ในค่ำคืนหนึ่งพระจันทร์เต็มดวงคุณยายระลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงร้องไห้ หลานทั้งสองคนมาเห็นก็ตกใจจึงสอบถาม คุณยายจึงเล่าความทรงจำในอดีตให้หลานทั้งสองคนฟังถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงดูแลห่วงใยประชากรของพระองค์ แม้ในชุมชนที่ห่างไกลความเจริญพระองค์ก็ไม่ทอดทิ้ง
ในการเสด็จครั้งนั้นมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตามเสด็จมาด้วย ชาวบ้านได้จัดการแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง ซึ่งมีทั้งศิลปินชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ความปลาบปลื้มตื้นตันของคุณยายยังคงฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก แต่ตอนนี้คุณยายยังหาผู้สืบทอดไม่ได้ จึงกังวลและกลัวจะสูญหาย เมื่อหลานทั้งสองได้ฟังแล้วก็อยากทำให้ยายภูมิใจ หลานคนโตไปฝึกรำโนรา ส่วนหลานคนเล็กฝึกเต้นรองเง็งและซัมเป็ง และหลานทั้งสองคนก็ได้ร่วมแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อยายเห็นก็ดีใจและภูมิใจในตัวของหลานทั้งสองคนที่สามารถสืบสาน รักษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นมรดกของชาติไว้ได้
อนึ่ง คณะทำงานทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา ประกอบด้วย ครูผู้ถ่ายทอด ฝึกซ้อมและควบคุมการแสดง 1. ผศ.ทัศนียา คัญทะชา ประธานโปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง 2. อ.ยุทธพงศ์ ช่วยนาเขต อาจารย์โปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา 3. คุณครูสิรินาฏ หาญณรงค์ ครูโนรา ร.ร.แจ้งวิทยา 4. นายนิรันต์รักษ์ ทองคำ ศิษย์เก่าโปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง และเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ร้านคณนาถและศิลปินโนรา 5. อ.รัชยา วีรการณ์ อาจารย์โปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง มรภ.สงขลา
ครูผู้ถ่ายทอด ฝึกซ้อมและควบคุมดนตรี 1. นายอภิชาติ คัญทะชา หัวหน้าวงอัสลีมาลา และนักวิชาการศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลฯ 2. อ.ภูษิต สุวรรณมณี อาจารย์โปรแกรมดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา 3. ดร.กำจร กาญจนถาวร ข้าราชการบำนาญ โปรแกรมดุริยางคศาสตร์ มรภ.สงขลา 4. นางสาวปาจรีย์ นวลแก้ว ศิษย์เก่าโปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง และศิลปินนักร้องอิสระ
ฝ่ายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและแต่งหน้าทำผม โดยศิษย์เก่าโปรแกรมนาฏศิลป์และการแสดง มรภ.สงขลา 1. นายกิตภพ แก้วย้อย 2. นายณัฐกานต์ ฤทธิ์ฉิ้ม 3. นายสันชัย ปัจฉิมเพชร
ศิลปินพื้นบ้านผู้ให้ข้อมูลและเป็นที่ปรึกษา 1.โนราละมัยศิลป์ ศรีรักษา ศิลปินโนรา จ.สงขลา 2. โนราโจ๊กดาวรุ่ง ศิลปินโนรา จ.สงขลา 3. นายมะยาเต็ง สาเมาะ ศิลปินสิละ จ.ยะลา 4. นายสมโชค ประโมงกิจ ศิลปินรองเง็งชาวเล คณะพรสวรรค์ เกาะสิเหร่ จ.ภูเก็ต 5. นายก่อเกียรติ สุขธรานนท์ ศิลปินรองเง็ง จ.ปัตตานี 6. นายเชาว์ จันทรจิตร ศิลปินรองเง็ง อ.เทพา จ.สงขลา
คณะที่ปรึกษาในการสร้างสรรค์ 1. ผศ.ดร.ไชยวุธ โกศล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขล 2. อ.รวิสรา ศรีชัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ 3. อ.โอภาส อิสโม ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.สงขลา 4. นายวิวัฒน์ เชื้อแหลม ข้าราชการครู ร.ร.เทศบาล 5 วัดหัวป้อมนอก 5. นางสุรีพร สงค์ประกอบ รองผู้อำนวยการ ร.ร.เทศบาล 5 วัดหัวป้อมนอก.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024