คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา ลงพื้นที่ ต.เขาขาว จ.สตูล ทำโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยวส่งเสริมความรักสามัคคีเทิดไท้องค์ราชัน ชูความโดดเด่นเชิงวัฒนธรรมเป็นจุดขายสร้างรายได้สร้างความยั่งยืนให้ชุมชน จับมือคณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมบูรณาการทุกมิติ
ผศ.นาถนเรศ อาคาสุวรรณ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยววิถีชุมชนบูรณาการความรักสามัคคีเทิดไท้องค์ราชัน” ซึ่งเป็นโครงการตามพระบรมราโชบายในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อพัฒนา ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล ให้เป็นชุมชนต้นแบบในการพัฒนาเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 2 แหล่ง ได้แก่ 1) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวถ้ำทะลุ 2) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตลาดนานาสตูลจีโอพาร์ค กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มกาแฟโบราณ บ้านนาข่าเหนือ 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าวบ้านนาข่าเหนือ 3) กลุ่มโคขุน เขาขาว 4) กลุ่มสตรีตัดเย็บ บ้านบ่อหิน 5) กลุ่มขนมกะหรี่ปั๊บ บ้านหาญ 6) กลุ่มทำขนม บ้านดาหลำ
ผศ.นาถนเรศ กล่าวว่า ทั้งนี้ เมื่อวัน 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้ลงพื้นที่ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล จัดโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยวส่งเสริมความรักสามัคคีเทิดไท้องค์ราชัน กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวชุมชนเขาขาว ด้วยความร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร วิทยากรโดย ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา นำไปสู่การพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบที่มีการพัฒนาเชิงบูรณาการในทุกมิติที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน ยกระดับผู้ประกอบการในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน และพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้มีศักยภาพพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว ตลอดจนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนทางธรรมชาติและเชิงวัฒนธรรมให้มีศักยภาพพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวอีกว่า ต.เขาขาว เป็นพื้นที่หนึ่งที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา สร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ จึงทำให้ทางคณะฯ ทราบถึงศักยภาพของชุมชนเขาขาวที่มีความโดดเด่นในเชิงวัฒนธรรม ทั้งในเชิงทางกายภาพที่มีพื้นที่เป็นภูเขาและพื้นที่ราบ ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของ จ.สตูล ทั้งยังมีความหลากหลายด้านทรัพยากร พืชพรรณประจำถิ่น วิถีชีวิต ศิลปหัตถกรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ซึ่งจากการลงพื้นที่เพื่อร่วมดำเนินงานกับชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น ทำให้ทราบว่าการจัดการท่องเที่ยวใน ต.เขาขาว มีผลสัมฤทธิ์น้อยกว่าศักยภาพที่ชุมชนมี และชุมชนได้แสดงความจำนงต้องการร่วมมือกับทางคณะฯ ในการพัฒนาชุมชนให้มีความรักสามัคคี พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีรายได้อย่างพอเพียงสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน
ด้าน ดร.รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา กล่าวว่า การท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมโดยแท้จริงแล้วก็คือ ชุมชนผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเป็นผู้เสนอความงดงามทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นสู่ผู้ท่องเที่ยวภายนอก โดยความคาดหวังของการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมายถึง การที่ชุมชนผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวได้มีบทบาทต่อการบริหารจัดการ และทำนุบำรุงคงคุณค่าแห่ง ความงดงามเอาไว้ให้ยั่งยืน โดยความเข้าใจและมีจิตสำนึกถึงความเป็นเจ้าของ รวมทั้งมีสิทธิ์กำหนดแนวทางการพัฒนาไปด้วยกัน บทบาทจากชุมชนดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นเครื่องรับประกันความยั่งยืนของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เพราะแหล่งท่องเที่ยวไม่อาจดำรงอยู่ได้ หากขาดผู้ที่เป็นเจ้าของที่ถือว่าอยู่ใกล้ชิดและมีความเข้าใจในวัฒนธรรมของตนเองที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างนักท่องเที่ยว และองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องเข้ามามีความเกี่ยวพันกับระบบการบริหารจัดการ และวงจรการท่องเที่ยวในชุมชนทั้งหมด
ดร.รัชชพงษ์ กล่าวอีกว่า แม้ว่าในระยะหลังหลายฝ่ายจะเข้าใจในบทบาทของชุมชนต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนอยู่บ้างแล้ว แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ศักยภาพของชุมชนขาดการศึกษาและสนับสนุนให้เป็นพลังส่วนหนึ่งในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ประกอบกับท่ามกลางกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นเพียงกลยุทธ์ของการสร้างความเติบโตของรายได้ แต่ว่าส่งผลข้างเคียงคือความล่มสลายของวิถีชีวิตคนท้องถิ่น อันเป็นผลจากนโยบายการท่องเที่ยวแบบแยกส่วน และละเลยมิติทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยว
“การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้มีบทบาทหน้าที่หรือมีอำนาจในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของตนเองโดยกำหนดแนวทางการพัฒนา และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น และนำไปสู่การส่งเสริมการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จึงเป็นทางเลือกของการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่ควรพลิกฟื้นศักยภาพของชุมชน โดยการศึกษาวิธีคิดและภูมิปัญญา แนวทางในการเสริมสร้างการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของตนเอง ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และก่อให้เกิดความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน พัฒนาและกระจายรายได้ให้ประชาชนในชุมชนผ่านผลิตภัณฑ์และสินค้าชุมชนที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน” รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
คณะมนุษย์ฯ มรภ.สงขลา ลงพื้นที่พัฒนา ต.เขาขาว ทุกมิติ ชูความโดดเด่นเชิงวัฒนธรรม สู่ชุมชนต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยว
คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา ลงพื้นที่ ต.เขาขาว จ.สตูล ทำโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยวส่งเสริมความรักสามัคคีเทิดไท้องค์ราชัน ชูความโดดเด่นเชิงวัฒนธรรมเป็นจุดขายสร้างรายได้สร้างความยั่งยืนให้ชุมชน จับมือคณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมบูรณาการทุกมิติ
ผศ.นาถนเรศ อาคาสุวรรณ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยววิถีชุมชนบูรณาการความรักสามัคคีเทิดไท้องค์ราชัน” ซึ่งเป็นโครงการตามพระบรมราโชบายในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อพัฒนา ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล ให้เป็นชุมชนต้นแบบในการพัฒนาเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 2 แหล่ง ได้แก่ 1) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวถ้ำทะลุ 2) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตลาดนานาสตูลจีโอพาร์ค กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มกาแฟโบราณ บ้านนาข่าเหนือ 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าวบ้านนาข่าเหนือ 3) กลุ่มโคขุน เขาขาว 4) กลุ่มสตรีตัดเย็บ บ้านบ่อหิน 5) กลุ่มขนมกะหรี่ปั๊บ บ้านหาญ 6) กลุ่มทำขนม บ้านดาหลำ
ผศ.นาถนเรศ กล่าวว่า ทั้งนี้ เมื่อวัน 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้ลงพื้นที่ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล จัดโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยวส่งเสริมความรักสามัคคีเทิดไท้องค์ราชัน กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวชุมชนเขาขาว ด้วยความร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร วิทยากรโดย ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา นำไปสู่การพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบที่มีการพัฒนาเชิงบูรณาการในทุกมิติที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน ยกระดับผู้ประกอบการในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน และพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้มีศักยภาพพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว ตลอดจนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนทางธรรมชาติและเชิงวัฒนธรรมให้มีศักยภาพพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวอีกว่า ต.เขาขาว เป็นพื้นที่หนึ่งที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา สร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ จึงทำให้ทางคณะฯ ทราบถึงศักยภาพของชุมชนเขาขาวที่มีความโดดเด่นในเชิงวัฒนธรรม ทั้งในเชิงทางกายภาพที่มีพื้นที่เป็นภูเขาและพื้นที่ราบ ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของ จ.สตูล ทั้งยังมีความหลากหลายด้านทรัพยากร พืชพรรณประจำถิ่น วิถีชีวิต ศิลปหัตถกรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ซึ่งจากการลงพื้นที่เพื่อร่วมดำเนินงานกับชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น ทำให้ทราบว่าการจัดการท่องเที่ยวใน ต.เขาขาว มีผลสัมฤทธิ์น้อยกว่าศักยภาพที่ชุมชนมี และชุมชนได้แสดงความจำนงต้องการร่วมมือกับทางคณะฯ ในการพัฒนาชุมชนให้มีความรักสามัคคี พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีรายได้อย่างพอเพียงสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน
ด้าน ดร.รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา กล่าวว่า การท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมโดยแท้จริงแล้วก็คือ ชุมชนผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเป็นผู้เสนอความงดงามทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นสู่ผู้ท่องเที่ยวภายนอก โดยความคาดหวังของการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมายถึง การที่ชุมชนผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวได้มีบทบาทต่อการบริหารจัดการ และทำนุบำรุงคงคุณค่าแห่ง ความงดงามเอาไว้ให้ยั่งยืน โดยความเข้าใจและมีจิตสำนึกถึงความเป็นเจ้าของ รวมทั้งมีสิทธิ์กำหนดแนวทางการพัฒนาไปด้วยกัน บทบาทจากชุมชนดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นเครื่องรับประกันความยั่งยืนของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เพราะแหล่งท่องเที่ยวไม่อาจดำรงอยู่ได้ หากขาดผู้ที่เป็นเจ้าของที่ถือว่าอยู่ใกล้ชิดและมีความเข้าใจในวัฒนธรรมของตนเองที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างนักท่องเที่ยว และองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องเข้ามามีความเกี่ยวพันกับระบบการบริหารจัดการ และวงจรการท่องเที่ยวในชุมชนทั้งหมด
ดร.รัชชพงษ์ กล่าวอีกว่า แม้ว่าในระยะหลังหลายฝ่ายจะเข้าใจในบทบาทของชุมชนต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนอยู่บ้างแล้ว แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ศักยภาพของชุมชนขาดการศึกษาและสนับสนุนให้เป็นพลังส่วนหนึ่งในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ประกอบกับท่ามกลางกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นเพียงกลยุทธ์ของการสร้างความเติบโตของรายได้ แต่ว่าส่งผลข้างเคียงคือความล่มสลายของวิถีชีวิตคนท้องถิ่น อันเป็นผลจากนโยบายการท่องเที่ยวแบบแยกส่วน และละเลยมิติทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยว
“การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้มีบทบาทหน้าที่หรือมีอำนาจในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของตนเองโดยกำหนดแนวทางการพัฒนา และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น และนำไปสู่การส่งเสริมการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จึงเป็นทางเลือกของการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่ควรพลิกฟื้นศักยภาพของชุมชน โดยการศึกษาวิธีคิดและภูมิปัญญา แนวทางในการเสริมสร้างการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของตนเอง ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และก่อให้เกิดความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน พัฒนาและกระจายรายได้ให้ประชาชนในชุมชนผ่านผลิตภัณฑ์และสินค้าชุมชนที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน” รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024