กฟผ. และบริษัท ซีคอท จำกัด ขอขอบคุณชาวสุราษฎร์ธานีที่พร้อมใจแสดงพลังการมีส่วนร่วม ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 เพื่อนำความคิดเห็นที่ได้ไปจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เกิดประโยชน์สูงสุดกับชาวสุราษฎร์ฯ และทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้มากที่สุด
ระหว่างวันที่ 3 – 4 สิงหาคม 2563 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดย บริษัท ซีคอท จำกัด จัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ต่อการจัดทำร่างรายงานและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในรายงาน EIA (Environmental Impact Assessment) โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1 – 2 โดยมีนายจเร ขวัญเกิด ปลัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสิทธิชัย ไทยเจริญ นายอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า กฟผ. พร้อมผู้เกี่ยวข้องร่วมงาน มีประชาชนในพื้นที่ศึกษาโครงการฯ ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำศาสนา และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 1,127 คน และมีผู้แสดงความคิดเห็นด้วยวาจา จำนวน 19 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากประชาชนในพื้นที่ อำเภอพุนพิน จำนวน 6 ตำบล ได้แก่ ต.พุนพิน ต.ท่าข้าม ต.หนองไทร ต.ท่าโรงช้าง ต.เขาหัวควาย ต.ท่าสะท้อน และอำเภอเมือง 1 ตำบล คือ ต.คลองน้อย รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงและประชาชนทั่วไป ณ ศูนย์การประชุม และแสดงสินค้านานาชาติ อุบลรัตนราชกัญญา สหกรณ์สุราษฎร์ธานี (โค-ออป) อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
นายจเร ขวัญเกิด ปลัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า มีความยินดีที่ กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาได้จัดรับฟัง ความคิดเห็น ครั้งที่ 2 เพื่อให้ประชาชนและทุกภาคส่วนได้มาร่วมรับฟังผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ ในแต่ละด้าน และร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำโครงการฯ จังหวัด สุราษฎร์ธานี ถือเป็นเมืองหลักของภาคใต้ มีอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพงัน และเขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่ให้เกิดไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 จึงมีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าให้จังหวัดและประเทศ
นายขรรชัย เกรียงไกรอุดม ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท ซีคอท จำกัด กล่าวว่า การจัดรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ บริษัทฯ ได้ให้ข้อมูลกับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับรายละเอียดการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ รวมถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดให้ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงการ ให้ครอบคลุมครบถ้วน ซึ่งเพิ่มเติมจาก การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562 ซึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตและแนวทาง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ได้มีการสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นจากทั้งหน่วยงานและประชาชนในระดับครัวเรือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนเมษายน 2563
สำหรับสิ่งที่ประชาชนยังมีความกังวล อาทิ การดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การเปิดโอกาสให้เยาวชนและชุมชนท้องถิ่นเข้าทำงานในโรงไฟฟ้า การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การส่งเสริมให้โรงไฟฟ้าเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านพลังงาน การให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาชุมชนจากงบประมาณกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้านั้น ทุกข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชน เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งบริษัทฯ จะนำไปปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1 – 2 ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาต่อไป
ด้าน นางศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า กฟผ. กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ที่สละเวลามาร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น ทุกท่านถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ ของการศึกษาโครงการฯ สำหรับทุกความคิดเห็น ทุกข้อเสนอแนะในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการฯ ซึ่ง กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาจะนำไปจัดทำรายงานให้ครบถ้วนและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่
โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1 และ 2 เป็นโรงไฟฟ้าที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของภาคใต้โดยเฉพาะ ฝั่งอันดามันที่ยังขาดโรงไฟฟ้าหลักในพื้นที่ พร้อมรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภาคใต้ ซึ่งจังหวัด สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้ามากเป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ โดยจะก่อสร้างบนพื้นที่โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานีเดิม ซึ่งปัจจุบันได้หยุดดำเนินการแล้วเนื่องจากหมดอายุการใช้งาน และยังเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมของระบบส่งไฟฟ้าอยู่แล้ว จึงช่วยลดการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้า ไม่เพิ่มต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า โครงการฯ มีขนาดกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดประมาณ 1,660 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก และน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) ชุดที่ 1 ในปี 2570 และชุดที่ 2 ในปี 2572 ตามลำดับ นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าใหม่จะช่วยสร้างรายได้และอาชีพให้กับท้องถิ่น ตลอดจนได้รับงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อนำไป พัฒนาชุมชนอีกด้วย
ทั้งนี้ ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถแสดงความคิดเห็นต่อเนื่องได้จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2563 โดย ส่งข้อคิดเห็นได้ที่ งานประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี กฟผ. โทรศัพท์ 077-242538 ต่อ 4249 โทรสาร 077-242537 หรือ นางสาวจันทิมา ยะนิล และนางสาวณัชชาวีร์ ชูดวงแก้ว บริษัท ซีคอท จำกัด เลขที่ 239 ถนนริมคลองประปา แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 โทรศัพท์ 0-2959-3600 ต่อ 410, 412-413 โทรสาร 0-2959-3535 หรือ E-mail: eedmail@secot.co.th.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ชาวสุราษฎร์ฯ พร้อมใจแสดงพลังร่วมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 เนืองแน่น
กฟผ. และบริษัท ซีคอท จำกัด ขอขอบคุณชาวสุราษฎร์ธานีที่พร้อมใจแสดงพลังการมีส่วนร่วม ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 เพื่อนำความคิดเห็นที่ได้ไปจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เกิดประโยชน์สูงสุดกับชาวสุราษฎร์ฯ และทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้มากที่สุด
ระหว่างวันที่ 3 – 4 สิงหาคม 2563 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดย บริษัท ซีคอท จำกัด จัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ต่อการจัดทำร่างรายงานและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในรายงาน EIA (Environmental Impact Assessment) โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1 – 2 โดยมีนายจเร ขวัญเกิด ปลัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสิทธิชัย ไทยเจริญ นายอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า กฟผ. พร้อมผู้เกี่ยวข้องร่วมงาน มีประชาชนในพื้นที่ศึกษาโครงการฯ ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำศาสนา และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 1,127 คน และมีผู้แสดงความคิดเห็นด้วยวาจา จำนวน 19 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากประชาชนในพื้นที่ อำเภอพุนพิน จำนวน 6 ตำบล ได้แก่ ต.พุนพิน ต.ท่าข้าม ต.หนองไทร ต.ท่าโรงช้าง ต.เขาหัวควาย ต.ท่าสะท้อน และอำเภอเมือง 1 ตำบล คือ ต.คลองน้อย รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงและประชาชนทั่วไป ณ ศูนย์การประชุม และแสดงสินค้านานาชาติ อุบลรัตนราชกัญญา สหกรณ์สุราษฎร์ธานี (โค-ออป) อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
นายจเร ขวัญเกิด ปลัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า มีความยินดีที่ กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาได้จัดรับฟัง ความคิดเห็น ครั้งที่ 2 เพื่อให้ประชาชนและทุกภาคส่วนได้มาร่วมรับฟังผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ ในแต่ละด้าน และร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำโครงการฯ จังหวัด สุราษฎร์ธานี ถือเป็นเมืองหลักของภาคใต้ มีอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพงัน และเขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่ให้เกิดไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 จึงมีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าให้จังหวัดและประเทศ
นายขรรชัย เกรียงไกรอุดม ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท ซีคอท จำกัด กล่าวว่า การจัดรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ บริษัทฯ ได้ให้ข้อมูลกับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับรายละเอียดการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ รวมถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดให้ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงการ ให้ครอบคลุมครบถ้วน ซึ่งเพิ่มเติมจาก การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562 ซึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตและแนวทาง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ได้มีการสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นจากทั้งหน่วยงานและประชาชนในระดับครัวเรือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนเมษายน 2563
สำหรับสิ่งที่ประชาชนยังมีความกังวล อาทิ การดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การเปิดโอกาสให้เยาวชนและชุมชนท้องถิ่นเข้าทำงานในโรงไฟฟ้า การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การส่งเสริมให้โรงไฟฟ้าเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านพลังงาน การให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาชุมชนจากงบประมาณกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้านั้น ทุกข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชน เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งบริษัทฯ จะนำไปปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1 – 2 ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาต่อไป
ด้าน นางศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า กฟผ. กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ที่สละเวลามาร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น ทุกท่านถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ ของการศึกษาโครงการฯ สำหรับทุกความคิดเห็น ทุกข้อเสนอแนะในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการฯ ซึ่ง กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาจะนำไปจัดทำรายงานให้ครบถ้วนและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่
โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1 และ 2 เป็นโรงไฟฟ้าที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของภาคใต้โดยเฉพาะ ฝั่งอันดามันที่ยังขาดโรงไฟฟ้าหลักในพื้นที่ พร้อมรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภาคใต้ ซึ่งจังหวัด สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้ามากเป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ โดยจะก่อสร้างบนพื้นที่โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานีเดิม ซึ่งปัจจุบันได้หยุดดำเนินการแล้วเนื่องจากหมดอายุการใช้งาน และยังเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมของระบบส่งไฟฟ้าอยู่แล้ว จึงช่วยลดการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้า ไม่เพิ่มต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า โครงการฯ มีขนาดกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดประมาณ 1,660 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก และน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) ชุดที่ 1 ในปี 2570 และชุดที่ 2 ในปี 2572 ตามลำดับ นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าใหม่จะช่วยสร้างรายได้และอาชีพให้กับท้องถิ่น ตลอดจนได้รับงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อนำไป พัฒนาชุมชนอีกด้วย
ทั้งนี้ ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถแสดงความคิดเห็นต่อเนื่องได้จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2563 โดย ส่งข้อคิดเห็นได้ที่ งานประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี กฟผ. โทรศัพท์ 077-242538 ต่อ 4249 โทรสาร 077-242537 หรือ นางสาวจันทิมา ยะนิล และนางสาวณัชชาวีร์ ชูดวงแก้ว บริษัท ซีคอท จำกัด เลขที่ 239 ถนนริมคลองประปา แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 โทรศัพท์ 0-2959-3600 ต่อ 410, 412-413 โทรสาร 0-2959-3535 หรือ E-mail: eedmail@secot.co.th.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024