กฟผ. ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่งมอบฐานลงเกาะจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าให้แก่กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง เพื่อใช้ปลูกปะการังทดแทน ฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการประมงพื้นบ้าน บริเวณเกาะสิงห์-เกาะสังข์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
เมื่อวันที่ (3 สิงหาคม 2563) นางสุมิตรา กาญจนมิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง (อปก.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานในพิธีส่งมอบฐานลงเกาะจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า ภายใต้โครงการบ้านปลาปะการังเทียมจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า กฟผ. ประจำปี 2563 ให้แก่กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง และเครือข่ายนักดำน้ำอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ สำหรับนำไปใช้ปลูกปะการังทดแทน เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติและสร้างบ้านปลาปะการังเทียมให้สัตว์ทะเลอยู่อาศัยและหาอาหาร รวมทั้งสร้างความหลากหลายของระบบนิเวศ โดยมีนายไพฑูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นางอุไรวรรณ พันธ์ไพศาล หัวหน้ากองบริหาร (กบหก-ส.) อปก. นายสุนทร สุนทรโอวาท ผู้ใหญ่บ้านปากคลองหมู่ที่ 3 นายประจักษ์ ทองรัตน์ ประธานเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง เครือข่ายนักดำน้ำอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเล ชาวประมงในพื้นที่ และผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เข้าร่วมในพิธีครั้งนี้ ณ ท่าเทียบเรือบ้านปากคลอง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นางสุมิตรา กาญจนมิตร ช.อปก-1. กล่าวว่า กฟผ. ดำเนินการโครงการบ้านปลาฯ มาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริเวณเกาะทะลุ ได้นำบ้านปลาปะการังเทียมมาวางแล้ว จำนวน 2 ครั้ง พบว่า ระบบนิเวศมีความหลากหลายมากขึ้น ปะการังสามารถเกาะและเติบโตได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีสัตว์ทะเลชนิดต่าง ๆ เข้ามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกับกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล กระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดทำบ้านปลาปะการังเทียมและวางฐานลงเกาะจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติในพื้นที่เกาะทะลุมาโดยตลอด ในปี 2563 นี้ กฟผ. และกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ได้ร่วมกันพิจารณาเลือกพื้นที่เกาะสิงห์-เกาะสังข์ ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับเกาะทะลุ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการบ้านปลาฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ทะเลได้เป็นอย่างดี
“กฟผ. สนับสนุนลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าและวัสดุสำหรับจัดทำฐานลงเกาะเพื่อนำไปเป็นฐานสำหรับปลูกปะการังบริเวณเกาะสิงห์-เกาะสังข์ ให้แก่กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง จำนวน 100 ชุด คิดเป็นพื้นที่การปลูกแนวปะการังประมาณ 1 ไร่ ซึ่งเป็นแนวปะการังธรรมชาติเดิมที่เคยเสื่อมโทรม เพื่อฟื้นฟูแนวปะการัง สร้างความหลากหลายของระบบนิเวศ ส่งเสริมการประมงพื้นบ้านและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางทะเลของชุมชน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการบ้านปลาฯ จะช่วยฟื้นฟูแนวปะการังให้กลับมาอุดมสมบูรณ์และสร้างประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างเต็มที่ ” ช.อปก-1. กล่าวย้ำ
นายไพฑูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ในฐานะผู้รับผิดชอบการศึกษาและฟื้นฟูแนวปะการังด้วยวัสดุต่าง ๆ พบว่า ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าของ กฟผ. ที่นำมาใช้ผลิตโครงสร้างบ้านปลาปะการังเทียม มีความเหมาะสมและไม่ส่งผลต่อระบบนิเวศใต้ทะเล ที่สำคัญคือ ปะการังสามารถมาเกาะ เคลือบ และเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ดึงดูดให้ปลาและสัตว์ทะเลเข้ามาวางไข่และใช้เป็นที่หลบภัยของตัวอ่อน ทำให้ปริมาณสัตว์ทะเลในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น ชาวประมงก็จับปลาและสัตว์ทะเลไปจำหน่ายได้มากขึ้น
นายประจักษ์ ทองรัตน์ ประธานเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง ได้ดำน้ำสำรวจแนวปะการังเสื่อมโทรมบริเวณเกาะสิงห์-เกาะสังข์ ซึ่งเกิดการฟอกขาวจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จึงได้ร่วมกันปลูกปะการังเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติมาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน รวมจำนวน 5 ไร่ ซึ่งที่ผ่านมา กฟผ. ได้เข้ามาสนับสนุนบ้านปลาปะการังเทียม ฐานลงเกาะ และวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกปะการัง ช่วยให้สามารถขยายพื้นที่ฟื้นฟูแนวปะการังได้มากขึ้น และปะการังเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จากการติดตามและสำรวจการปลูกปะการังฯ พบว่า มีไข่ปลา ไข่กุ้ง ไข่ปู อยู่ในบ้านปลาฯ เป็นจำนวนมาก กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ทะเล ช่วยให้ระบบนิเวศมีความหลากหลาย รวมทั้งช่วยเพิ่มศักยภาพในการท่องเที่ยวของชุมชน ชาวบ้านและชาวประมงมีรายได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้ โครงการบ้านปลาปะการังเทียมฯ กฟผ. ถือเป็นภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ กฟผ. นอกเหนือไปจากภารกิจในการผลิตและส่งไฟฟ้า เพื่อรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ รวมทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนอีกด้วย.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กฟผ. ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่งมอบฐานลงเกาะเพื่อปลูกปะการัง ให้แก่กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง ภายใต้โครงการบ้านปลาฯ กฟผ.
กฟผ. ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่งมอบฐานลงเกาะจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าให้แก่กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง เพื่อใช้ปลูกปะการังทดแทน ฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการประมงพื้นบ้าน บริเวณเกาะสิงห์-เกาะสังข์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
เมื่อวันที่ (3 สิงหาคม 2563) นางสุมิตรา กาญจนมิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง (อปก.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานในพิธีส่งมอบฐานลงเกาะจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า ภายใต้โครงการบ้านปลาปะการังเทียมจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า กฟผ. ประจำปี 2563 ให้แก่กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง และเครือข่ายนักดำน้ำอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ สำหรับนำไปใช้ปลูกปะการังทดแทน เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติและสร้างบ้านปลาปะการังเทียมให้สัตว์ทะเลอยู่อาศัยและหาอาหาร รวมทั้งสร้างความหลากหลายของระบบนิเวศ โดยมีนายไพฑูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นางอุไรวรรณ พันธ์ไพศาล หัวหน้ากองบริหาร (กบหก-ส.) อปก. นายสุนทร สุนทรโอวาท ผู้ใหญ่บ้านปากคลองหมู่ที่ 3 นายประจักษ์ ทองรัตน์ ประธานเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง เครือข่ายนักดำน้ำอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเล ชาวประมงในพื้นที่ และผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เข้าร่วมในพิธีครั้งนี้ ณ ท่าเทียบเรือบ้านปากคลอง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นางสุมิตรา กาญจนมิตร ช.อปก-1. กล่าวว่า กฟผ. ดำเนินการโครงการบ้านปลาฯ มาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริเวณเกาะทะลุ ได้นำบ้านปลาปะการังเทียมมาวางแล้ว จำนวน 2 ครั้ง พบว่า ระบบนิเวศมีความหลากหลายมากขึ้น ปะการังสามารถเกาะและเติบโตได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีสัตว์ทะเลชนิดต่าง ๆ เข้ามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกับกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล กระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดทำบ้านปลาปะการังเทียมและวางฐานลงเกาะจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติในพื้นที่เกาะทะลุมาโดยตลอด ในปี 2563 นี้ กฟผ. และกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ได้ร่วมกันพิจารณาเลือกพื้นที่เกาะสิงห์-เกาะสังข์ ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับเกาะทะลุ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการบ้านปลาฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ทะเลได้เป็นอย่างดี
“กฟผ. สนับสนุนลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าและวัสดุสำหรับจัดทำฐานลงเกาะเพื่อนำไปเป็นฐานสำหรับปลูกปะการังบริเวณเกาะสิงห์-เกาะสังข์ ให้แก่กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง จำนวน 100 ชุด คิดเป็นพื้นที่การปลูกแนวปะการังประมาณ 1 ไร่ ซึ่งเป็นแนวปะการังธรรมชาติเดิมที่เคยเสื่อมโทรม เพื่อฟื้นฟูแนวปะการัง สร้างความหลากหลายของระบบนิเวศ ส่งเสริมการประมงพื้นบ้านและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางทะเลของชุมชน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการบ้านปลาฯ จะช่วยฟื้นฟูแนวปะการังให้กลับมาอุดมสมบูรณ์และสร้างประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างเต็มที่ ” ช.อปก-1. กล่าวย้ำ
นายไพฑูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ในฐานะผู้รับผิดชอบการศึกษาและฟื้นฟูแนวปะการังด้วยวัสดุต่าง ๆ พบว่า ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าของ กฟผ. ที่นำมาใช้ผลิตโครงสร้างบ้านปลาปะการังเทียม มีความเหมาะสมและไม่ส่งผลต่อระบบนิเวศใต้ทะเล ที่สำคัญคือ ปะการังสามารถมาเกาะ เคลือบ และเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ดึงดูดให้ปลาและสัตว์ทะเลเข้ามาวางไข่และใช้เป็นที่หลบภัยของตัวอ่อน ทำให้ปริมาณสัตว์ทะเลในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น ชาวประมงก็จับปลาและสัตว์ทะเลไปจำหน่ายได้มากขึ้น
นายประจักษ์ ทองรัตน์ ประธานเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง ได้ดำน้ำสำรวจแนวปะการังเสื่อมโทรมบริเวณเกาะสิงห์-เกาะสังข์ ซึ่งเกิดการฟอกขาวจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จึงได้ร่วมกันปลูกปะการังเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติมาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน รวมจำนวน 5 ไร่ ซึ่งที่ผ่านมา กฟผ. ได้เข้ามาสนับสนุนบ้านปลาปะการังเทียม ฐานลงเกาะ และวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกปะการัง ช่วยให้สามารถขยายพื้นที่ฟื้นฟูแนวปะการังได้มากขึ้น และปะการังเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จากการติดตามและสำรวจการปลูกปะการังฯ พบว่า มีไข่ปลา ไข่กุ้ง ไข่ปู อยู่ในบ้านปลาฯ เป็นจำนวนมาก กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ทะเล ช่วยให้ระบบนิเวศมีความหลากหลาย รวมทั้งช่วยเพิ่มศักยภาพในการท่องเที่ยวของชุมชน ชาวบ้านและชาวประมงมีรายได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้ โครงการบ้านปลาปะการังเทียมฯ กฟผ. ถือเป็นภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ กฟผ. นอกเหนือไปจากภารกิจในการผลิตและส่งไฟฟ้า เพื่อรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ รวมทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนอีกด้วย.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024