จากการจัดเวทีรับฟังความเห็น โครงการเมืองต้นแบบ 4 หรือโครงการ “จะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” โครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่ทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.จัดขึ้นที่โรงเรียนจะนะวิทยา และที่สนาม อบต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา เมื่อวันนี้ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา โครงการดังกล่าว ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่เป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมา ศอ.บต. ได้มีการขับเคลื่อนเมืองต้นแบบ 3 แห่ง ประกอบด้วยเมืองต้นแบบหนองจิก เบตง สุไหงโกลก เพื่อพัฒนาให้เกิดความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วในระดับหนึ่ง
ภายหลังจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ดร.ชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น กรณีการจัดชุดรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นและเสนอแนะในเวที ฯ ว่า ไม่ได้เป็นการขัดขวางกลุ่มเห็นต่าง หรือกลุ่มเอ็นจีโอ ที่จะเข้ามาคัดค้าน แต่กังวลเรื่องมือที่ 3 ที่อาจแฝงเข้ามาก่อกวนสร้างสถานการณ์ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอาจจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ในขณะเดียวกันก็ได้เปิดเวทีรับฟังความเห็นในลักษณะเดียวกัน ที่สนาม อบต.ตลิ่งชัน อีกจุดหนึ่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนที่ไม่สะดวกเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นในเวทีที่โรงเรียนจะนะวิทยาได้ ซึ่งมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เข้มงวด ประชาชนที่สนใจสามารถเข้าร่วมรับฟังได้
สำหรับวิธีการรับฟังและการจัดเก็บข้อมูลความเห็นของประชาชน ของ ศอ.บต. ดร.ชนธัญ กล่าวว่า มีช่องทางรับข้อมูลความต้องการของประชาชนจาก 4 วิธีการ ประกอบด้วย ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ข้อมูลจากการโฟกัสกรุ๊ป 36 กลุ่มอาชีพ การสัมภาษณ์รายครัวเรือน และการรับฟังในเวทีแสดงความคิดเห็น ในขณะนี้มีข้อมูลความคิดเห็นจากประชาชนกว่า 10,000 รายแล้ว ซึ่งพียงพอต่อความต้องการของการดำเนินงาน แต่อย่างไรก็ดีสำหรับคำถามล่วงหน้าของรัฐบาลก่อนรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่นั้น ตาม มติครม.เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เป็นเพียงนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ อ.จะนะ ให้มีความทัดเทียมกับการพัฒนาในพื้นที่ 3 จังหวัด ซึ่งเป็นเพียงหลักการเชิงนโยบาย เพื่อพัฒนาเท่านั้น
รองเลขาธิการ ศอ.บต. เผยอีกว่า ความคิดเห็นในขณะนี้ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะไปในทิศทางใด แต่อยากให้พี่น้องประชาชนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในส่วนการจัดเก็บข้อมูล ได้ให้ภาคประชาชนดำเนินการจัดเก็บ สรุป และวิเคราะห์ความคิดเห็นที่ได้จากการจัดเก็บมาก่อนหน้านี้เอง ซึ่งจะนำมาประมวลผลร่วมกับความคิดเห็นในวันนี้ เพื่อจะนำเข้าสู่กลไกของทางราชการต่อไป และคาดว่า ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เพื่อประกาศผลและจะนำเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต สำหรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในประเด็นใดนั้น จะนำไปอยู่ในรายงานการศึกษาผลกระทบ อะไรที่ประชาชนเสนอ และมีความกังวล หรือมีความต้องการ เรื่องใดที่ไม่อยากให้ทำ เช่น การทำท่าเรือ ประชาชนยอมรับได้ แต่เสนอให้ชดเชย เป็นจำนวนเงิน 120,000 บาทต่อครัวเรือน ก็จะต้องนำไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ยืนยันว่า “เมืองอุตสาหกรรมต้นแบบที่ 4 แห่งนี้จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่เฉพาะพี่น้องชาวประมง นักเรียนนักศึกษา และคนไทยจากมาเลเซียที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เท่านั้น แต่เมืองอุตสาหกรรมต้นแบบแห่งนี้ จะเป็นศูนย์กลางสำคัญในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะภาคการเกษตรคือ การพัฒนาด้านเกษตรอุตสาหกรรม” ทั้งนี้ อุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต จะดำเนินการภายใต้อุตสาหกรรม 5 ประเภท คือ อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมฮาลาแห่งแรกที่จะตอบสนองความต้องการของประชากรมุสลิมทั่วโลกกว่า 2.2 พันล้านคน 4.อุตสาหกรรมแห่งอนาคต และ 5. อุตสาหกรรมทางการแพทย์.
ภาพ/ข่าว โดย ส่วนสร้างการรับรู้ สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า
ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
รองเลขาฯ ศอ.บต. ไขข้อข้องใจ เวทีรับฟังความเห็น “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต”
จากการจัดเวทีรับฟังความเห็น โครงการเมืองต้นแบบ 4 หรือโครงการ “จะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” โครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่ทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.จัดขึ้นที่โรงเรียนจะนะวิทยา และที่สนาม อบต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา เมื่อวันนี้ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา โครงการดังกล่าว ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่เป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมา ศอ.บต. ได้มีการขับเคลื่อนเมืองต้นแบบ 3 แห่ง ประกอบด้วยเมืองต้นแบบหนองจิก เบตง สุไหงโกลก เพื่อพัฒนาให้เกิดความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วในระดับหนึ่ง
ภายหลังจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ดร.ชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น กรณีการจัดชุดรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นและเสนอแนะในเวที ฯ ว่า ไม่ได้เป็นการขัดขวางกลุ่มเห็นต่าง หรือกลุ่มเอ็นจีโอ ที่จะเข้ามาคัดค้าน แต่กังวลเรื่องมือที่ 3 ที่อาจแฝงเข้ามาก่อกวนสร้างสถานการณ์ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอาจจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ในขณะเดียวกันก็ได้เปิดเวทีรับฟังความเห็นในลักษณะเดียวกัน ที่สนาม อบต.ตลิ่งชัน อีกจุดหนึ่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนที่ไม่สะดวกเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นในเวทีที่โรงเรียนจะนะวิทยาได้ ซึ่งมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เข้มงวด ประชาชนที่สนใจสามารถเข้าร่วมรับฟังได้
สำหรับวิธีการรับฟังและการจัดเก็บข้อมูลความเห็นของประชาชน ของ ศอ.บต. ดร.ชนธัญ กล่าวว่า มีช่องทางรับข้อมูลความต้องการของประชาชนจาก 4 วิธีการ ประกอบด้วย ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ข้อมูลจากการโฟกัสกรุ๊ป 36 กลุ่มอาชีพ การสัมภาษณ์รายครัวเรือน และการรับฟังในเวทีแสดงความคิดเห็น ในขณะนี้มีข้อมูลความคิดเห็นจากประชาชนกว่า 10,000 รายแล้ว ซึ่งพียงพอต่อความต้องการของการดำเนินงาน แต่อย่างไรก็ดีสำหรับคำถามล่วงหน้าของรัฐบาลก่อนรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่นั้น ตาม มติครม.เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เป็นเพียงนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ อ.จะนะ ให้มีความทัดเทียมกับการพัฒนาในพื้นที่ 3 จังหวัด ซึ่งเป็นเพียงหลักการเชิงนโยบาย เพื่อพัฒนาเท่านั้น
รองเลขาธิการ ศอ.บต. เผยอีกว่า ความคิดเห็นในขณะนี้ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะไปในทิศทางใด แต่อยากให้พี่น้องประชาชนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในส่วนการจัดเก็บข้อมูล ได้ให้ภาคประชาชนดำเนินการจัดเก็บ สรุป และวิเคราะห์ความคิดเห็นที่ได้จากการจัดเก็บมาก่อนหน้านี้เอง ซึ่งจะนำมาประมวลผลร่วมกับความคิดเห็นในวันนี้ เพื่อจะนำเข้าสู่กลไกของทางราชการต่อไป และคาดว่า ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เพื่อประกาศผลและจะนำเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต สำหรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในประเด็นใดนั้น จะนำไปอยู่ในรายงานการศึกษาผลกระทบ อะไรที่ประชาชนเสนอ และมีความกังวล หรือมีความต้องการ เรื่องใดที่ไม่อยากให้ทำ เช่น การทำท่าเรือ ประชาชนยอมรับได้ แต่เสนอให้ชดเชย เป็นจำนวนเงิน 120,000 บาทต่อครัวเรือน ก็จะต้องนำไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ยืนยันว่า “เมืองอุตสาหกรรมต้นแบบที่ 4 แห่งนี้จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่เฉพาะพี่น้องชาวประมง นักเรียนนักศึกษา และคนไทยจากมาเลเซียที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เท่านั้น แต่เมืองอุตสาหกรรมต้นแบบแห่งนี้ จะเป็นศูนย์กลางสำคัญในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะภาคการเกษตรคือ การพัฒนาด้านเกษตรอุตสาหกรรม” ทั้งนี้ อุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต จะดำเนินการภายใต้อุตสาหกรรม 5 ประเภท คือ อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมฮาลาแห่งแรกที่จะตอบสนองความต้องการของประชากรมุสลิมทั่วโลกกว่า 2.2 พันล้านคน 4.อุตสาหกรรมแห่งอนาคต และ 5. อุตสาหกรรมทางการแพทย์.
ภาพ/ข่าว โดย ส่วนสร้างการรับรู้ สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า
ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024