ในขณะที่สถานการณ์ COVID-19 กำลังทำให้หลายคนเผชิญความยากลำบาก โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่ไม่สามารถเดินทางข้ามพรหมแดนกลับไปยังประเทศบ้านเกิดได้ ทว่า นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวกัมพูชาที่มาเรียนยัง มรภ.สงขลา กลับเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการลุกขึ้นร่วมมือร่วมใจกับเพื่อนนักศึกษาชาวไทย ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเอง พร้อมสานต่อเป็นโครงการปันสุข แบ่งปันผักไร้สารพิษแก่เพื่อนๆ ที่ขาดแคลน
อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษาและคุณลักษณะบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เล่าว่า ในช่วงปีที่ผ่านมามีนักศึกษาชาวกัมพูชา จำนวน 6 คน มาเข้าเรียนในคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมไทยได้ดีมาก และหนึ่งในนั้นคือ นาย BUNNGY TE ได้รับเลือกจากเพื่อนๆ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในการเป็นผู้นำนักศึกษาดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับอีก 6 คณะของมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ในช่วงวิกฤตสถานการณ์ COVID-19 ที่ระบาดรุนแรงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้นักศึกษาชาวกัมพูชาทั้ง 6 คน ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ตนในฐานะที่ทำงานใกล้ชิดกับกลุ่มนักศึกษา จึงเกิดแนวคิดในการหากิจกรรมต่าง ๆ ให้นักศึกษากลุ่มนี้ได้ทำ ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยงานในด้านต่าง ๆ ของกองพัฒนานักศึกษา อาทิ ช่วยรวบรวมเอกสารเงินกู้ให้พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ ช่วยเช็คครุภัณฑ์พร้อมทั้งเขียนหมายเลขกำกับ ช่วยทาสีปรับปรุงห้องทำงานองค์การนักศึกษา ภาคปกติ (เก่า) ห้องงานกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นต้น เหล่านักศึกษากัมพูชาและเพื่อนนักศึกษาชาวไทย คือ นายทินกร หวังสป ประธานสภานักศึกษา ภาคปกติ ซึ่งเดินทางกลับบ้านเกิด จ.กระบี่ ไม่ได้ จึงช่วยกันปลูกพืชผักนานาชนิดไว้รับประทาน บนพื้นที่ว่างเปล่าด้านข้างหอพักปาริฉัตรของมหาวิทยาลัย
ประกอบกับทางจังหวัดสงขลา มีนโยบายให้ประชาชนปลูกพืชผักไว้รับประทานในครัวเรือน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทางในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ตนจึงขอความอนุเคราะห์ไปยัง ผศ.ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ในการนำเครื่องจักรช่วยปรับพื้นที่สำหรับปลูกผัก และให้คำแนะนำวิธีปลูก ดูแล และการเก็บเกี่ยว โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับบำรุงพืชผัก
อาจารย์จิรภา เล่าอีกว่า เป้าหมายหลักของแนวคิดในการทำเรื่องนี้ ก็เพื่อช่วยเหลือให้นักศึกษากัมพูชา ซึ่งต้องประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุดในการมาเรียนที่ประเทศไทย ได้มีพืชผักปลอดสารพิษไว้ประกอบอาหาร ไม่ต้องซื้อหาจากข้างนอก ซึ่งตนตั้งใจที่จะสนับสนุนให้มีโครงการนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นวิธีคิดหนึ่งที่สอดคล้องกับหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ กินอะไรปลูกอย่างนั้น และนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารได้แล้ว โครงการนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์กับนักศึกษาทั้งในด้านทักษะการใช้ชีวิตการฝึกความขยัน อดทน การทำงานอยู่ร่วมกับผู้อื่น และได้ฝึกความรับผิดชอบในการดูแลพืชผักให้เติบโต ซึ่งเป็นความรู้คนละแขนงกับที่เรียนมา ส่วนในภาพอนาคตหากผักที่พวกเขาปลูกมีจำนวนเพิ่มขึ้นก็อยากแบ่งปันไปยังเพื่อน ๆ ที่ขาดแคลน โดยอาจจัดทำในรูปแบบของตู้ปันสุขสำหรับนักศึกษาเป็นโครงการต่อไป
ด้าน นาย BUNNGY TE นายกสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา นักศึกษากัมพูชา เล่าด้วยภาษาไทยชัดถ้อยชัดคำว่า หลังจากเรียนจบระดับ ปวส. ที่วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ จ.สงขลา ตนและเพื่อน ๆ รวม 6 คน เลือกที่จะสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่ มรภ.สงขลา แทนที่จะเดินทางกลับประเทศบ้านเกิด ซึ่งพวกตนมีความสุขมาก ๆ ในการเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เพราะได้ทำกิจกรรมหลากหลายและมีเพื่อนใหม่มากมาย
“หลังโควิด-19 ระบาด ผมและเพื่อน ๆ ได้ช่วยกันปลูกผักไว้ทำอาหาร จนตอนนี้มีทั้งผักกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง พริก แตงกวา มะเขือ อันได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง พริก แตงกวา มะเขือ โดยปลูกหมุนเวียนกันไปเพื่อให้มีผักไว้ทานได้ตลอด พวกเราแบ่งหน้าที่กันรดน้ำ พรวนดิน จนกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับความเหลือจากเพื่อน ๆ ชาวไทยเป็นอย่างดี สร้างความภูมิใจและดีใจแก่พวกเราเป็นอย่างมาก จากช่วงแรกที่เคยรู้สึกลำบากเพราะต่างที่แปลกถิ่น ตอนนี้กลับมีความสุขมาก ๆ”
ขณะที่ นางสาว CHINGLINH SUN นักศึกษาชาวกัมพูชาอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นเลขานุการนายกสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เล่าว่า ตอนมาอยู่เมืองไทยแรก ๆ ความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก เพราะไม่สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ หลังจากผ่านมาระยะหนึ่งเริ่มปรับตัวและสามารถสื่อสารกับคนอื่น ๆ ได้ ก็เริ่มใช้ชีวิตได้อย่างสนุกมากขึ้น ยิ่งได้ทำกิจกรรมปลูกผักทำให้มีการติดต่อสัมพันธ์กับหลายฝ่าย สร้างความคุ้นเคยและรู้สึกมีความสุข ทั้งที่ตัวเองไม่เคยปลูกผักมาก่อน เพราะครอบครัวที่ประเทศกัมพูชาประกอบอาชีพข้าราชการครู แต่โชคดีที่มีเพื่อน ๆ ชาวไทยใจดีช่วยสอนงานให้ตลอด ซึ่งตั้งใจไว้ว่าหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายตนจะกลับไปปลูกผักให้พ่อแม่ได้รับประทานด้วยความภูมิใจ
ปิดท้ายด้วย นายทินกร หวังสป ประธานสภานักศึกษา ภาคปกติ มรภ.สงขลา เล่าว่า รู้สึกดีใจที่ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนชาวต่างชาติ เนื่องจากได้แลกเปลี่ยนแนวคิดทั้งในส่วนของแผนการทำงาน การแก้ไขปัญหา และการวางแผนที่จะทำการค้าร่วมกันในอนาคต แม้จะมีอุปสรรคบ้างเพราะความแตกต่างทางภาษา แต่ทุกอย่างก็ราบรื่นได้ด้วยน้ำใจและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะได้รับการผลักดันในระยะยาว เพราะอยากให้ผลิตผลปลอดสารพิษที่ตนและเพื่อน ๆ ชาวกัมพูชาได้ร่วมกันปลูก ถูกนำไปใส่ในตู้ปันสุขให้แก่คนอื่นๆ ด้วย
แม้การปลูกผักเพื่อรับประทานเองอาจดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนทั่วไป แต่คงเป็นภาพที่พบเห็นได้ไม่ง่ายนักในกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนสาขาเกษตรโดยตรง การถ่ายทอดเรื่องราวของพวกเขาไม่ใช่เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้หันมาปลูกผักอย่างเดียว ทว่า มุ่งหวังให้ทุกคนเกิดแรงผลักดันในการลุกขึ้นมาทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจ และมีความสุขในสิ่งที่ทำ.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นศ.กัมพูชา สุขใจในรั้ว มรภ.สงขลา จับมือเพื่อนชาวไทยปลูกผักสวนครัวไร้สารพิษ สู้วิกฤต COVID-19
ในขณะที่สถานการณ์ COVID-19 กำลังทำให้หลายคนเผชิญความยากลำบาก โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่ไม่สามารถเดินทางข้ามพรหมแดนกลับไปยังประเทศบ้านเกิดได้ ทว่า นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวกัมพูชาที่มาเรียนยัง มรภ.สงขลา กลับเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการลุกขึ้นร่วมมือร่วมใจกับเพื่อนนักศึกษาชาวไทย ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเอง พร้อมสานต่อเป็นโครงการปันสุข แบ่งปันผักไร้สารพิษแก่เพื่อนๆ ที่ขาดแคลน
อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษาและคุณลักษณะบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เล่าว่า ในช่วงปีที่ผ่านมามีนักศึกษาชาวกัมพูชา จำนวน 6 คน มาเข้าเรียนในคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมไทยได้ดีมาก และหนึ่งในนั้นคือ นาย BUNNGY TE ได้รับเลือกจากเพื่อนๆ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในการเป็นผู้นำนักศึกษาดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับอีก 6 คณะของมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ในช่วงวิกฤตสถานการณ์ COVID-19 ที่ระบาดรุนแรงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้นักศึกษาชาวกัมพูชาทั้ง 6 คน ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ตนในฐานะที่ทำงานใกล้ชิดกับกลุ่มนักศึกษา จึงเกิดแนวคิดในการหากิจกรรมต่าง ๆ ให้นักศึกษากลุ่มนี้ได้ทำ ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยงานในด้านต่าง ๆ ของกองพัฒนานักศึกษา อาทิ ช่วยรวบรวมเอกสารเงินกู้ให้พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ ช่วยเช็คครุภัณฑ์พร้อมทั้งเขียนหมายเลขกำกับ ช่วยทาสีปรับปรุงห้องทำงานองค์การนักศึกษา ภาคปกติ (เก่า) ห้องงานกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นต้น เหล่านักศึกษากัมพูชาและเพื่อนนักศึกษาชาวไทย คือ นายทินกร หวังสป ประธานสภานักศึกษา ภาคปกติ ซึ่งเดินทางกลับบ้านเกิด จ.กระบี่ ไม่ได้ จึงช่วยกันปลูกพืชผักนานาชนิดไว้รับประทาน บนพื้นที่ว่างเปล่าด้านข้างหอพักปาริฉัตรของมหาวิทยาลัย
ประกอบกับทางจังหวัดสงขลา มีนโยบายให้ประชาชนปลูกพืชผักไว้รับประทานในครัวเรือน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทางในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ตนจึงขอความอนุเคราะห์ไปยัง ผศ.ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ในการนำเครื่องจักรช่วยปรับพื้นที่สำหรับปลูกผัก และให้คำแนะนำวิธีปลูก ดูแล และการเก็บเกี่ยว โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับบำรุงพืชผัก
อาจารย์จิรภา เล่าอีกว่า เป้าหมายหลักของแนวคิดในการทำเรื่องนี้ ก็เพื่อช่วยเหลือให้นักศึกษากัมพูชา ซึ่งต้องประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุดในการมาเรียนที่ประเทศไทย ได้มีพืชผักปลอดสารพิษไว้ประกอบอาหาร ไม่ต้องซื้อหาจากข้างนอก ซึ่งตนตั้งใจที่จะสนับสนุนให้มีโครงการนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นวิธีคิดหนึ่งที่สอดคล้องกับหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ กินอะไรปลูกอย่างนั้น และนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารได้แล้ว โครงการนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์กับนักศึกษาทั้งในด้านทักษะการใช้ชีวิตการฝึกความขยัน อดทน การทำงานอยู่ร่วมกับผู้อื่น และได้ฝึกความรับผิดชอบในการดูแลพืชผักให้เติบโต ซึ่งเป็นความรู้คนละแขนงกับที่เรียนมา ส่วนในภาพอนาคตหากผักที่พวกเขาปลูกมีจำนวนเพิ่มขึ้นก็อยากแบ่งปันไปยังเพื่อน ๆ ที่ขาดแคลน โดยอาจจัดทำในรูปแบบของตู้ปันสุขสำหรับนักศึกษาเป็นโครงการต่อไป
ด้าน นาย BUNNGY TE นายกสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา นักศึกษากัมพูชา เล่าด้วยภาษาไทยชัดถ้อยชัดคำว่า หลังจากเรียนจบระดับ ปวส. ที่วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ จ.สงขลา ตนและเพื่อน ๆ รวม 6 คน เลือกที่จะสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่ มรภ.สงขลา แทนที่จะเดินทางกลับประเทศบ้านเกิด ซึ่งพวกตนมีความสุขมาก ๆ ในการเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เพราะได้ทำกิจกรรมหลากหลายและมีเพื่อนใหม่มากมาย
“หลังโควิด-19 ระบาด ผมและเพื่อน ๆ ได้ช่วยกันปลูกผักไว้ทำอาหาร จนตอนนี้มีทั้งผักกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง พริก แตงกวา มะเขือ อันได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง พริก แตงกวา มะเขือ โดยปลูกหมุนเวียนกันไปเพื่อให้มีผักไว้ทานได้ตลอด พวกเราแบ่งหน้าที่กันรดน้ำ พรวนดิน จนกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับความเหลือจากเพื่อน ๆ ชาวไทยเป็นอย่างดี สร้างความภูมิใจและดีใจแก่พวกเราเป็นอย่างมาก จากช่วงแรกที่เคยรู้สึกลำบากเพราะต่างที่แปลกถิ่น ตอนนี้กลับมีความสุขมาก ๆ”
ขณะที่ นางสาว CHINGLINH SUN นักศึกษาชาวกัมพูชาอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นเลขานุการนายกสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เล่าว่า ตอนมาอยู่เมืองไทยแรก ๆ ความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก เพราะไม่สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ หลังจากผ่านมาระยะหนึ่งเริ่มปรับตัวและสามารถสื่อสารกับคนอื่น ๆ ได้ ก็เริ่มใช้ชีวิตได้อย่างสนุกมากขึ้น ยิ่งได้ทำกิจกรรมปลูกผักทำให้มีการติดต่อสัมพันธ์กับหลายฝ่าย สร้างความคุ้นเคยและรู้สึกมีความสุข ทั้งที่ตัวเองไม่เคยปลูกผักมาก่อน เพราะครอบครัวที่ประเทศกัมพูชาประกอบอาชีพข้าราชการครู แต่โชคดีที่มีเพื่อน ๆ ชาวไทยใจดีช่วยสอนงานให้ตลอด ซึ่งตั้งใจไว้ว่าหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายตนจะกลับไปปลูกผักให้พ่อแม่ได้รับประทานด้วยความภูมิใจ
ปิดท้ายด้วย นายทินกร หวังสป ประธานสภานักศึกษา ภาคปกติ มรภ.สงขลา เล่าว่า รู้สึกดีใจที่ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนชาวต่างชาติ เนื่องจากได้แลกเปลี่ยนแนวคิดทั้งในส่วนของแผนการทำงาน การแก้ไขปัญหา และการวางแผนที่จะทำการค้าร่วมกันในอนาคต แม้จะมีอุปสรรคบ้างเพราะความแตกต่างทางภาษา แต่ทุกอย่างก็ราบรื่นได้ด้วยน้ำใจและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะได้รับการผลักดันในระยะยาว เพราะอยากให้ผลิตผลปลอดสารพิษที่ตนและเพื่อน ๆ ชาวกัมพูชาได้ร่วมกันปลูก ถูกนำไปใส่ในตู้ปันสุขให้แก่คนอื่นๆ ด้วย
แม้การปลูกผักเพื่อรับประทานเองอาจดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนทั่วไป แต่คงเป็นภาพที่พบเห็นได้ไม่ง่ายนักในกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนสาขาเกษตรโดยตรง การถ่ายทอดเรื่องราวของพวกเขาไม่ใช่เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้หันมาปลูกผักอย่างเดียว ทว่า มุ่งหวังให้ทุกคนเกิดแรงผลักดันในการลุกขึ้นมาทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจ และมีความสุขในสิ่งที่ทำ.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024