10 กรกฎาคม 256 3 กลุ่มเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ ประกอบด้วย สภาหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัดกลุ่มภาคใต้ชายแดน และสภาเกษตรจังหวัดชายแดนใต้ ร่วมออกแถลงการณ์ ถึงแนวขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าเมืองจะนะ จากปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ที่มีแนวโน้มตกต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน การอพยพย้ายถิ่นฐาน และแรงงานข้ามชาติ ปัญหาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชน ปัญหางานและอาชีพ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งไม่เท่าเทียมกับภูมิภาคอื่นของประเทศไทย ทั้งที่จังหวัดสงขลาเคยเป็นเมืองศูนย์กลางการพัฒนาในอนุภาคภูมิภาคแห่งนี้ โดยเชื่อมั่นว่าการพัฒนาดังกล่าว จะนำไปสู่การพัฒนาที่เชื่อมโยงคุณภาพชีวิต สังคม สาธารณสุข พหุสังคม และความร่วมมืออย่างแข็งของประชาชน ในการปกป้องดูแลรักษาพื้นที่ ตามกรอบแนวทางรัฐบาล ที่ต้องการให้ประชาชนในฐานะเจ้าของพื้นที่ ร่วมดูแลและปกป้องความมั่นคงในพื้นที่ด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ เชิงโครงสร้างให้จังหวัดสงขลา และจังหวัดชายแดนใต้เดินหน้าต่อไป เท่าเทียมกับประเทศมาเลเซียและกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาของประเทศในระยะต่อไป
นายกวิศพงศ์ สิริธนนนท์สกุล ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จากวิกฤต covid-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม ผู้ประกอบการและธุรกิจประสบปัญหาถ้วนหน้า เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่ม ธุรกิจหลายชนิดล้ม เด็กจบการศึกษาออกมาไม่มีงานรองรับ และหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจซ้ำเติม ธุรกิจต้องล้ม ปัญหาสังคมจะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นตนจึงสนับสนุนโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต จะนะ หรืออุตสาหกรรมชนิด Green Industry (อุตสาหกรรมสีเขียว) เข้ามาลงทุน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาสังคม และชุมชน สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ประชาชนมีงานทำเกือบ 1 แสนคน มีรายได้มาเลี้ยงครอบครัว ตนเชื่อว่าเมื่อทุกคนท้องอิ่ม จะเป็นปัจจัยหนึ่งลดการก่อความไม่สงบชายแดนใต้ลง แต่ต้องเป็นอุตสาหกรรมที่สะอาด ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำสัญญาไว้รัดกุมหากผิดสัญญาและเงื่อนไข โครงการต้องหยุดหรือต้องเลิกทันที และที่สำคัญต้องทำสัญญาการให้การช่วยเหลือชุมชน เช่นการให้สิทธิพิเศษการจ้างงาน และสวัสดิการที่พึงได้รับ
ทั้งนี้ ดร.ตติยะ ฉิมพาลี ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ได้ทำหนังสือถึง เลขาธิการศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เรื่อง สนับสนุนนโยบายเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยให้มีโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทั้งในพื้นที่อําเภอ เบตง จังหวัดยะลา อําเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส และอําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จนมาสู่เมืองที่ 4 อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่จะพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
โดยมีกรอบการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำด้วยการพัฒนาท่าเรือเชิงพาณิชย์ การสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการสร้างโรงไฟฟ้า ที่สามารถดูแลระบบความมั่นคงทางพลังงานให้อนุภูมิภาคใต้ได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาศูนย์กลางอุตสาหกรรม ผ่านสวนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการทําสมาร์ทซิตี้ ซึ่งเป็นโจทย์สําคัญของการพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ นั้น ในนามของสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความยินดีและให้การสนับสนุนการพัฒนาในเรื่องดังกล่าว
ด้าน นายอาบีดีน มนูญทวี สมาชิกสภาเกษตรจังหวัดยะลา ได้กล่าวแถลงถึงข้อสรุปการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของสภาเกษตรจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ปัจจุบันภาคการเกษตรยังมีความสำคัญยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของ ประเทศไทย ถึงแม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบรายได้ภาคการเกษตรต่อรายได้ประชาชาติ จะอยู่ในระดับไม่สูงนัก เนื่องจากภาคเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม การส่งออก การบริการ และการท่องเที่ยวเติบโตกว่ามาก หากมองตัวเลขทางเศรษฐกิจในเชิงเปรียบเทียบ ทำให้ภาคการเกษตรไม่ค่อยมีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ และจำนวนเกษตรกรมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว และแนวโน้มการพัฒนาการเกษตรเป็นไปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และไม่มีการแก้ไขปัญหาการเกษตรกรอย่างจริงจังและถูกต้อง เชื่อว่าอีกไม่นานจำนวนเกษตรกรไทยจะเหลือจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 เช่นเดียวกับประเทศในยุโรป ทั้งที่สภาพทางกายภาพและชีวภาพของประเทศไทย มีความเหมาะสมกับการประกอบอาชีพการเกษตรก็ตาม ภาพของเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีทุนน้อยอาจต้องเปลี่ยนสภาพกลายเป็นลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมหรือภาคการบริการ ซึ่งจะปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน หรืออาจมีการขายที่ดิน หรือขายกิจการให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่แล้วผันตัวเองเป็นแรงงานเกษตรกรรับจ้างในที่ดินที่เคยเป็น สภาพปัญหาภาคการเกษตรมีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอย่างหลากหลายและสลับซับซ้อน และแนวโน้มอนาคตของเกษตรกรจะค่อนข้างมืดมน ด้วยข้อมูลเชิงประจักษหลายอย่าง เช่น ปัญหาเรื่องที่ดิน การเข้าถึงทรัพยากร หนี้สิน การตลาด สุขภาวะ และอีกหลาย ๆ เรื่องที่ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่อยู่ไม่รอด และการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาของภาครัฐไม่มีความเป็นเอกภาพ ต่างหน่วยงานต่างดำเนินการโดยขาดการบูรณาการอย่างแท้จริง ไร้ทิศทางที่ชัดเจน และสำคัญที่สุด ขาดข้อมูลที่เที่ยงตรง เพื่อการกำหนดยุทธศาสตร์ภาคการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดภารกิจปลายทางที่จะรองรับผลผลิตภาคการเกษตรในพื้นที่ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580, แผนแม่บท 23 แผน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2563 – 2565 และแผนพัฒนาแผนการปฏิรูปประเทศต่าง ๆ เพื่อดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการให้สอดคล้อง และสนองต่อปัญหาความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงภารกิจสภาเกษตรกรกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในฐานะหน่วยงานเชิงนโยบายและกำกับยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายอาบีดีน มนูญทวี สมาชิกสภาเกษตรจังหวัดยะลา ได้แถลงเพิ่มเติมว่า สำหรับการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของหน่วยงานในพื้นที่นั้น ที่ผ่านมาภาคการเกษตรเป็นภาควิชาชีพหนึ่งเดียวที่ขาดการวางแบบแผนอย่างเป็นระบบ อีกทั้งไม่สามารถเชื่อมโยงกับกลางทางและปลายทางที่เน้นการสร้างมูลค่าและการเชื่อมโยงกับตลาด ดังนั้นการเชื่อมโยงเกษตรอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญในพื้นที่ เพราะวันนี้จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเข้มแข็งเรื่องของการทำเกษตรกรรมอย่างมาก มีพื้นที่ที่มีศักยภาพ แต่เนื่องจากยังขาดเกษตรกรอุตสาหกรรมที่รองรับผลผลิตของเกษตรก รทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงผลผลิตของเกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจำหน่ายและแปรรูปในพื้นที่ได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำหนดยุทธศาสตร์และการวางแผนการทำงานซึ่งมีประเด็นการทำงาน 5 ส่วนหลักได้แก่ การจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรในพื้นที่เพื่อให้สามารถทำเกษตรกรรมได้อย่างประสิทธิภาพ, การวางโครงสร้างพื้นที่ฐานการเกษตร เช่น ระบบชลประทาน ระบบโครงสร้างดินที่เหมาะสมกับเพาะปลูก วิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร การจัดพื้นที่การเพาะปลูก หรือ การ Zoning เป็นต้น, การแก้ไขปัญหาโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรไปพร้อมกับการวางระบบการเงินของประชาชน โดยให้มีกองทุนเกษตรกรระดับหมู่บ้านเชื่อมโยงกองทุนหมู่บ้านตามแนวทางของรัฐบาล, การเชื่อมโยงภาคการเกษตรไปสู่อุตสาหกรรม การสร้างวิสาหกิจทางการเกษตรอย่างหลากหลาย การตลาดที่เชื่อมโยงความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ การท่องเที่ยวเกษตรกรรมและนวัตกรรมทางการเกษตร และการเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรรุ่นใหม่ หรือทายาทเกษตรกรที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรในอนาคต โดย 5 แนวทางข้างต้น เป็นแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่อยู่ภายใต้การรองรับตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาลและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) สภาเกษตรกรยินดีจะช่วยกันวางแผนการบริหารจัดการที่เป็นระบบ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี มีงานทำและมีครอบครัวที่สมบูรณ์.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
3 กลุ่มเศรษฐกิจภาคใต้ ออกแถลงการณ์ ร่วมขับเคลื่อนหนุนโครงการเมืองต้นแบบจะนะ กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้
10 กรกฎาคม 256 3 กลุ่มเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ ประกอบด้วย สภาหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัดกลุ่มภาคใต้ชายแดน และสภาเกษตรจังหวัดชายแดนใต้ ร่วมออกแถลงการณ์ ถึงแนวขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าเมืองจะนะ จากปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ที่มีแนวโน้มตกต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน การอพยพย้ายถิ่นฐาน และแรงงานข้ามชาติ ปัญหาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชน ปัญหางานและอาชีพ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งไม่เท่าเทียมกับภูมิภาคอื่นของประเทศไทย ทั้งที่จังหวัดสงขลาเคยเป็นเมืองศูนย์กลางการพัฒนาในอนุภาคภูมิภาคแห่งนี้ โดยเชื่อมั่นว่าการพัฒนาดังกล่าว จะนำไปสู่การพัฒนาที่เชื่อมโยงคุณภาพชีวิต สังคม สาธารณสุข พหุสังคม และความร่วมมืออย่างแข็งของประชาชน ในการปกป้องดูแลรักษาพื้นที่ ตามกรอบแนวทางรัฐบาล ที่ต้องการให้ประชาชนในฐานะเจ้าของพื้นที่ ร่วมดูแลและปกป้องความมั่นคงในพื้นที่ด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ เชิงโครงสร้างให้จังหวัดสงขลา และจังหวัดชายแดนใต้เดินหน้าต่อไป เท่าเทียมกับประเทศมาเลเซียและกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาของประเทศในระยะต่อไป
นายกวิศพงศ์ สิริธนนนท์สกุล ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จากวิกฤต covid-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม ผู้ประกอบการและธุรกิจประสบปัญหาถ้วนหน้า เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่ม ธุรกิจหลายชนิดล้ม เด็กจบการศึกษาออกมาไม่มีงานรองรับ และหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจซ้ำเติม ธุรกิจต้องล้ม ปัญหาสังคมจะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นตนจึงสนับสนุนโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต จะนะ หรืออุตสาหกรรมชนิด Green Industry (อุตสาหกรรมสีเขียว) เข้ามาลงทุน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาสังคม และชุมชน สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ประชาชนมีงานทำเกือบ 1 แสนคน มีรายได้มาเลี้ยงครอบครัว ตนเชื่อว่าเมื่อทุกคนท้องอิ่ม จะเป็นปัจจัยหนึ่งลดการก่อความไม่สงบชายแดนใต้ลง แต่ต้องเป็นอุตสาหกรรมที่สะอาด ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำสัญญาไว้รัดกุมหากผิดสัญญาและเงื่อนไข โครงการต้องหยุดหรือต้องเลิกทันที และที่สำคัญต้องทำสัญญาการให้การช่วยเหลือชุมชน เช่นการให้สิทธิพิเศษการจ้างงาน และสวัสดิการที่พึงได้รับ
ทั้งนี้ ดร.ตติยะ ฉิมพาลี ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ได้ทำหนังสือถึง เลขาธิการศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เรื่อง สนับสนุนนโยบายเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยให้มีโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทั้งในพื้นที่อําเภอ เบตง จังหวัดยะลา อําเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส และอําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จนมาสู่เมืองที่ 4 อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่จะพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
โดยมีกรอบการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำด้วยการพัฒนาท่าเรือเชิงพาณิชย์ การสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการสร้างโรงไฟฟ้า ที่สามารถดูแลระบบความมั่นคงทางพลังงานให้อนุภูมิภาคใต้ได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาศูนย์กลางอุตสาหกรรม ผ่านสวนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการทําสมาร์ทซิตี้ ซึ่งเป็นโจทย์สําคัญของการพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ นั้น ในนามของสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความยินดีและให้การสนับสนุนการพัฒนาในเรื่องดังกล่าว
ด้าน นายอาบีดีน มนูญทวี สมาชิกสภาเกษตรจังหวัดยะลา ได้กล่าวแถลงถึงข้อสรุปการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของสภาเกษตรจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ปัจจุบันภาคการเกษตรยังมีความสำคัญยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของ ประเทศไทย ถึงแม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบรายได้ภาคการเกษตรต่อรายได้ประชาชาติ จะอยู่ในระดับไม่สูงนัก เนื่องจากภาคเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม การส่งออก การบริการ และการท่องเที่ยวเติบโตกว่ามาก หากมองตัวเลขทางเศรษฐกิจในเชิงเปรียบเทียบ ทำให้ภาคการเกษตรไม่ค่อยมีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ และจำนวนเกษตรกรมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว และแนวโน้มการพัฒนาการเกษตรเป็นไปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และไม่มีการแก้ไขปัญหาการเกษตรกรอย่างจริงจังและถูกต้อง เชื่อว่าอีกไม่นานจำนวนเกษตรกรไทยจะเหลือจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 เช่นเดียวกับประเทศในยุโรป ทั้งที่สภาพทางกายภาพและชีวภาพของประเทศไทย มีความเหมาะสมกับการประกอบอาชีพการเกษตรก็ตาม ภาพของเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีทุนน้อยอาจต้องเปลี่ยนสภาพกลายเป็นลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมหรือภาคการบริการ ซึ่งจะปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน หรืออาจมีการขายที่ดิน หรือขายกิจการให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่แล้วผันตัวเองเป็นแรงงานเกษตรกรรับจ้างในที่ดินที่เคยเป็น สภาพปัญหาภาคการเกษตรมีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอย่างหลากหลายและสลับซับซ้อน และแนวโน้มอนาคตของเกษตรกรจะค่อนข้างมืดมน ด้วยข้อมูลเชิงประจักษหลายอย่าง เช่น ปัญหาเรื่องที่ดิน การเข้าถึงทรัพยากร หนี้สิน การตลาด สุขภาวะ และอีกหลาย ๆ เรื่องที่ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่อยู่ไม่รอด และการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาของภาครัฐไม่มีความเป็นเอกภาพ ต่างหน่วยงานต่างดำเนินการโดยขาดการบูรณาการอย่างแท้จริง ไร้ทิศทางที่ชัดเจน และสำคัญที่สุด ขาดข้อมูลที่เที่ยงตรง เพื่อการกำหนดยุทธศาสตร์ภาคการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดภารกิจปลายทางที่จะรองรับผลผลิตภาคการเกษตรในพื้นที่ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580, แผนแม่บท 23 แผน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2563 – 2565 และแผนพัฒนาแผนการปฏิรูปประเทศต่าง ๆ เพื่อดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการให้สอดคล้อง และสนองต่อปัญหาความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงภารกิจสภาเกษตรกรกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในฐานะหน่วยงานเชิงนโยบายและกำกับยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายอาบีดีน มนูญทวี สมาชิกสภาเกษตรจังหวัดยะลา ได้แถลงเพิ่มเติมว่า สำหรับการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของหน่วยงานในพื้นที่นั้น ที่ผ่านมาภาคการเกษตรเป็นภาควิชาชีพหนึ่งเดียวที่ขาดการวางแบบแผนอย่างเป็นระบบ อีกทั้งไม่สามารถเชื่อมโยงกับกลางทางและปลายทางที่เน้นการสร้างมูลค่าและการเชื่อมโยงกับตลาด ดังนั้นการเชื่อมโยงเกษตรอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญในพื้นที่ เพราะวันนี้จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเข้มแข็งเรื่องของการทำเกษตรกรรมอย่างมาก มีพื้นที่ที่มีศักยภาพ แต่เนื่องจากยังขาดเกษตรกรอุตสาหกรรมที่รองรับผลผลิตของเกษตรก รทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงผลผลิตของเกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจำหน่ายและแปรรูปในพื้นที่ได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำหนดยุทธศาสตร์และการวางแผนการทำงานซึ่งมีประเด็นการทำงาน 5 ส่วนหลักได้แก่ การจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรในพื้นที่เพื่อให้สามารถทำเกษตรกรรมได้อย่างประสิทธิภาพ, การวางโครงสร้างพื้นที่ฐานการเกษตร เช่น ระบบชลประทาน ระบบโครงสร้างดินที่เหมาะสมกับเพาะปลูก วิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร การจัดพื้นที่การเพาะปลูก หรือ การ Zoning เป็นต้น, การแก้ไขปัญหาโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรไปพร้อมกับการวางระบบการเงินของประชาชน โดยให้มีกองทุนเกษตรกรระดับหมู่บ้านเชื่อมโยงกองทุนหมู่บ้านตามแนวทางของรัฐบาล, การเชื่อมโยงภาคการเกษตรไปสู่อุตสาหกรรม การสร้างวิสาหกิจทางการเกษตรอย่างหลากหลาย การตลาดที่เชื่อมโยงความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ การท่องเที่ยวเกษตรกรรมและนวัตกรรมทางการเกษตร และการเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรรุ่นใหม่ หรือทายาทเกษตรกรที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรในอนาคต โดย 5 แนวทางข้างต้น เป็นแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่อยู่ภายใต้การรองรับตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาลและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) สภาเกษตรกรยินดีจะช่วยกันวางแผนการบริหารจัดการที่เป็นระบบ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี มีงานทำและมีครอบครัวที่สมบูรณ์.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024