เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ที่ศาลากลางจังหวัดชลบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรีมอบนโยบายแนวทางในการปฏิบัติงาน การเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ปัญหาที่ดิน การป้องกันและลงอุบัติเหตุทางถนน และติดตามรับฟังผลกระทบของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยมีนายผล ดำธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
โดยนายนิพนธ์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของจังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะเมืองพัทยาสิ่งที่ต้องแก้ปัญหาคือต้องมาทบทวนแผนเผชิญเหตุและจุดอ่อนไหวที่ล่อแหลม จุดไหนอ่อนไหวที่สุด และให้ความสำคัญกับจุดนั้นก่อน เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวจะปล่อยให้น้ำท่วมเป็นประจำไม่ได้ เพราะมันจะกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและการลงทุน ฝากให้การตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์การใช้งานการระบายน้ำ เช่นเครื่องสูบน้ำ พาหนะ เรือท้องแบน ควรจะต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานในการขนย้ายอพยพ สิ่งสำคัญที่ควรเน้นย้ำคือการกำหนดจุดพื้นที่ปลอดภัยต่อการอพยพคนที่เรียกว่าศูนย์พักพิงชั่วคราว ต่อสิ่งล่อแหลมจากสถานการณ์น้ำท่วม และควรมีการซักซ้อมประจำปีของหน่วยงานต่างๆว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์จริงใครจะเข้าถึงสถานการณ์เป็นกลุ่มแรกและกลุ่มต่อไปเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ความพร้อมการแจ้งเตือนประชาชนเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ถือเป็นเรื่องจำเป็นเพราะสามารถช่วยลดการสูญเสียได้ จากบทเรียน กรณี พายุโพดุล และ “พายุปลาบึก” ซึ่งมีคนไทยเสียชีวิตเพียง 1 รายเท่านั้น ทำให้เห็นความแตกต่างของตัวเลขความสูญเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้ามีส่วนสำคัญที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการเตรียมการยังไม่เข้มแข็ง ทำให้เห็น ได้ชัดเจนว่าการแจ้งเตือนประชาชนอยู่ในระดับต่ำมาก ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้สามารถทำได้หลายช่องทาง Facebook Fanpage เว็บไซต์ ไลน์ วิทยุชุมชน ของหน่วยงานต่างๆก็ตาม ถือเป็นการแจ้งเตือนภัยได้ทั้งประเทศ
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการระบายน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ อย่างเช่นเมืองพัทยา ถือเป็นอีกเมืองที่มีความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งเพราะเป็นเมืองปลายทาง แต่ก็ต้องดูว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมจะสามารถกักเก็บน้ำในส่วนที่ดีไม่มีสิ่งเจือปนไว้ใช้ได้อย่างไร และส่วนไหนควรที่จะปล่อยทิ้งลงทะเลซึ่งเรื่องนี้กรมชลประทานจะต้องเข้ามาดูแลบริหารจัดการน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้นจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงความต้องการน้ำในการอุปโภคบริโภคของประชาชน กับปริมาณน้ำฝนที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ กักเก็บน้ำมีจำกัดไม่สามารถรองรับการขยายตัวดังกล่าวได้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ การแก้ปัญหาน้ำขาดแคลนในพื้นที่ EEC ต้องเริ่มจากการสร้างระบบให้เกิดการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้น้ำสามารถใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยนำน้ำเสียจากทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และชุมชน กลับมาบำบัดเพื่อนำมาใช้ซ้ำอีกครั้ง เป็นการลดปริมาณการใช้น้ำและแก้ปัญหามลพิษน้ำเสีย
นอกจากนี้ รมช.มหาดไทย กล่าวถึง ความปลอดภัยทางท้องถนนในช่วงวันหยุดยาว 25 - 28 ก.ค. นี้ ขอให้ทางจังหวัดเตรียมความพร้อมการจราจรและดูแลความปลอดภัยการเดินทางของประชาชนจำนวนป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน การบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ เช่น ขับรถเร็ว เมาขับ และการฝ่าฝืนข้อบังคับจราจร ทั้งนี้ได้กำชับให้เพิ่มการเฝ้าระวัง รวมทั้งมีมาตรการป้องกันและแก้ปัญหากับพื้นที่ล่อแหลมหรือจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากข้อมูลสถิติที่มีต่อเนื่องกันมา โดยขอให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมทำงานกับจิตอาสาในพื้นที่เพื่อร่วมกันลดการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงให้จังหวัดได้ดำเนินการจัดการประชุมศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.) ในทุกระดับทั้ง จังหวัด อําเภอ และท้องถิ่น ให้ติดตามงานและจัดการประชุมสรุปผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พร้อม ทั้งการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความสูญเสียบนท้องถนนให้ได้มากที่สุด.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นิพนธ์ ลุยเมืองชล ติดตามแผนป้องกันอุทกภัย-ผลกระทบ EEC พร้อม เน้นย้ำ นโยบายความปลอดภัยทางถนน พื้นที่ภาคตะวันออก
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ที่ศาลากลางจังหวัดชลบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรีมอบนโยบายแนวทางในการปฏิบัติงาน การเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ปัญหาที่ดิน การป้องกันและลงอุบัติเหตุทางถนน และติดตามรับฟังผลกระทบของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยมีนายผล ดำธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
โดยนายนิพนธ์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของจังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะเมืองพัทยาสิ่งที่ต้องแก้ปัญหาคือต้องมาทบทวนแผนเผชิญเหตุและจุดอ่อนไหวที่ล่อแหลม จุดไหนอ่อนไหวที่สุด และให้ความสำคัญกับจุดนั้นก่อน เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวจะปล่อยให้น้ำท่วมเป็นประจำไม่ได้ เพราะมันจะกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและการลงทุน
ฝากให้การตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์การใช้งานการระบายน้ำ เช่นเครื่องสูบน้ำ พาหนะ เรือท้องแบน ควรจะต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานในการขนย้ายอพยพ สิ่งสำคัญที่ควรเน้นย้ำคือการกำหนดจุดพื้นที่ปลอดภัยต่อการอพยพคนที่เรียกว่าศูนย์พักพิงชั่วคราว ต่อสิ่งล่อแหลมจากสถานการณ์น้ำท่วม และควรมีการซักซ้อมประจำปีของหน่วยงานต่างๆว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์จริงใครจะเข้าถึงสถานการณ์เป็นกลุ่มแรกและกลุ่มต่อไปเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ความพร้อมการแจ้งเตือนประชาชนเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ถือเป็นเรื่องจำเป็นเพราะสามารถช่วยลดการสูญเสียได้ จากบทเรียน กรณี พายุโพดุล และ “พายุปลาบึก” ซึ่งมีคนไทยเสียชีวิตเพียง 1 รายเท่านั้น ทำให้เห็นความแตกต่างของตัวเลขความสูญเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้ามีส่วนสำคัญที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการเตรียมการยังไม่เข้มแข็ง ทำให้เห็น ได้ชัดเจนว่าการแจ้งเตือนประชาชนอยู่ในระดับต่ำมาก ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้สามารถทำได้หลายช่องทาง Facebook Fanpage เว็บไซต์ ไลน์ วิทยุชุมชน ของหน่วยงานต่างๆก็ตาม ถือเป็นการแจ้งเตือนภัยได้ทั้งประเทศ
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการระบายน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ อย่างเช่นเมืองพัทยา ถือเป็นอีกเมืองที่มีความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งเพราะเป็นเมืองปลายทาง แต่ก็ต้องดูว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมจะสามารถกักเก็บน้ำในส่วนที่ดีไม่มีสิ่งเจือปนไว้ใช้ได้อย่างไร และส่วนไหนควรที่จะปล่อยทิ้งลงทะเลซึ่งเรื่องนี้กรมชลประทานจะต้องเข้ามาดูแลบริหารจัดการน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้นจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงความต้องการน้ำในการอุปโภคบริโภคของประชาชน กับปริมาณน้ำฝนที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ กักเก็บน้ำมีจำกัดไม่สามารถรองรับการขยายตัวดังกล่าวได้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ การแก้ปัญหาน้ำขาดแคลนในพื้นที่ EEC ต้องเริ่มจากการสร้างระบบให้เกิดการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้น้ำสามารถใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยนำน้ำเสียจากทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และชุมชน กลับมาบำบัดเพื่อนำมาใช้ซ้ำอีกครั้ง เป็นการลดปริมาณการใช้น้ำและแก้ปัญหามลพิษน้ำเสีย
นอกจากนี้ รมช.มหาดไทย กล่าวถึง ความปลอดภัยทางท้องถนนในช่วงวันหยุดยาว 25 - 28 ก.ค. นี้ ขอให้ทางจังหวัดเตรียมความพร้อมการจราจรและดูแลความปลอดภัยการเดินทางของประชาชนจำนวนป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน การบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ เช่น ขับรถเร็ว เมาขับ และการฝ่าฝืนข้อบังคับจราจร ทั้งนี้ได้กำชับให้เพิ่มการเฝ้าระวัง รวมทั้งมีมาตรการป้องกันและแก้ปัญหากับพื้นที่ล่อแหลมหรือจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากข้อมูลสถิติที่มีต่อเนื่องกันมา โดยขอให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมทำงานกับจิตอาสาในพื้นที่เพื่อร่วมกันลดการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงให้จังหวัดได้ดำเนินการจัดการประชุมศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.) ในทุกระดับทั้ง จังหวัด อําเภอ และท้องถิ่น ให้ติดตามงานและจัดการประชุมสรุปผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พร้อม ทั้งการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความสูญเสียบนท้องถนนให้ได้มากที่สุด.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024