วันที่ 24มิ.ย.63 ณ ห้องประชุมวิภาวดี โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานพิธีรับพระราชทาน นวัตกรรมทางการแพทย์ คือหุ่นยนต์ปิ่นโต และกระจก-ระบบสื่อสารทางไกล จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อรักษาผู้ป่วยCOVID-19
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การได้รับพระราชทาน”หุ่นยนต์ปิ่นโต”และ”กระจก-ระบบสื่อสารทางไกล”ในครั้งนี้ ยังความปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงมีต่อโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดใกล้เคียง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีจะนำ”หุ่นยนต์ปิ่นโต”และ”กระจกระบบสื่อสารทางไกล” ที่ได้รับพระราชทานในครั้งนี้ ไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุดและเต็มกำลังความสามารถ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวต่อไปอีกว่า “ปิ่นโต” เป็นหุ่นยนต์ขนส่งอาหารและเวชภัณฑ์ให้ผู้ป่วยระยะไกล(Quarantine Delivery Robot) ติดตั้งพร้อมระบบภาพสื่อสารทางไกลผ่านหน้าจอที่ติดอยู่ที่รถเข็นควบคุมทางไกลใช้งานง่ายช่วยลดความเสี่ยงและระยะเวลาที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ สามารถดูแลคนไข้ได้อย่างใกล้ชิด ช่วยแบ่งเบา ภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาลสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น โดยมีการทดลองระบบจริง จากโรงพยาบาล ทำให้หุ่นยนต์ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีราคาประหยัด ทำความสะอาดง่าย ทนต่อการ ฆ่าเชื้อ และสามารถผลิตได้ง่ายในระยะสั้น “กระจก” เป็นหุ่นยนต์แท็บเล็ตที่ติดตั้งภายในห้องพักผู้ป่วย เพื่อสื่อสารทางไกลระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ทำหน้าที่สอดส่องดูแล และพูดคุยกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา เปรียบเสมือนกระจกที่แสดงภาพและเสียงของบุคคลในการสื่อสารกับแพทย์และพยาบาล หุ่นยนต์นี้นอกจากช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้ว ยังช่วยลดการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ในการตรวจผู้ป่วย อาทิ ชุดป้องกัน อันตรายสำหรับผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ขณะปฏิบัติงาน หรือชุด “PPE” ถุงมือยาง หน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันใบหน้า ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาขาดแคลน.
ภาพ/ข่าว สุรเดช รามเกิด
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้รับพระราชทาน นวัตกรรมทางการแพทย์ หุ่นยนต์ปิ่นโตและ กระจก-ระบบสื่อสารทางไกล จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อรักษาผู้ป่วยCOVID-19
วันที่ 24มิ.ย.63 ณ ห้องประชุมวิภาวดี โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานพิธีรับพระราชทาน นวัตกรรมทางการแพทย์ คือหุ่นยนต์ปิ่นโต และกระจก-ระบบสื่อสารทางไกล จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อรักษาผู้ป่วยCOVID-19
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การได้รับพระราชทาน”หุ่นยนต์ปิ่นโต”และ”กระจก-ระบบสื่อสารทางไกล”ในครั้งนี้ ยังความปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงมีต่อโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดใกล้เคียง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีจะนำ”หุ่นยนต์ปิ่นโต”และ”กระจกระบบสื่อสารทางไกล” ที่ได้รับพระราชทานในครั้งนี้ ไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุดและเต็มกำลังความสามารถ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวต่อไปอีกว่า “ปิ่นโต” เป็นหุ่นยนต์ขนส่งอาหารและเวชภัณฑ์ให้ผู้ป่วยระยะไกล(Quarantine Delivery Robot) ติดตั้งพร้อมระบบภาพสื่อสารทางไกลผ่านหน้าจอที่ติดอยู่ที่รถเข็นควบคุมทางไกลใช้งานง่ายช่วยลดความเสี่ยงและระยะเวลาที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ สามารถดูแลคนไข้ได้อย่างใกล้ชิด ช่วยแบ่งเบา ภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาลสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น โดยมีการทดลองระบบจริง จากโรงพยาบาล ทำให้หุ่นยนต์ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีราคาประหยัด ทำความสะอาดง่าย ทนต่อการ ฆ่าเชื้อ และสามารถผลิตได้ง่ายในระยะสั้น “กระจก” เป็นหุ่นยนต์แท็บเล็ตที่ติดตั้งภายในห้องพักผู้ป่วย เพื่อสื่อสารทางไกลระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ทำหน้าที่สอดส่องดูแล และพูดคุยกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา เปรียบเสมือนกระจกที่แสดงภาพและเสียงของบุคคลในการสื่อสารกับแพทย์และพยาบาล หุ่นยนต์นี้นอกจากช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้ว ยังช่วยลดการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ในการตรวจผู้ป่วย อาทิ ชุดป้องกัน อันตรายสำหรับผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ขณะปฏิบัติงาน หรือชุด “PPE” ถุงมือยาง หน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันใบหน้า ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาขาดแคลน.
ภาพ/ข่าว สุรเดช รามเกิด
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024