บ่ายวันที่ 24 ก.พ.63 นางแจ่มจิตร์ พูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือโครงการ “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้บันทึกข้อตกลงร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดทำโครงการ“ สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน” เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของคนไทย โดยมีพระราชดำริให้นำภูมิปัญญาของราษฎรมาพัฒนาเป็นอาชีพ ให้เกิดรายได้แก่ราษฎร และได้ทรงก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ โดยการจัดทำโครงการฯ ได้เชิญชวนผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายองค์กรประชาชน เข้าร่วมโครงการโดยเชิญชวนทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับกรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในการแต่งกายด้วยชุดผ้าไทย ตามพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับสถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยราชการต่างๆ ซึ่งลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จำนวน 29 หน่วยงาน เพื่อร่วมสืบสานการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติ ให้ดำรงคงอยู่ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยและเป็นความชื่นชมของชาวโลก รวมทั้งเพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วประเทศ โดยเน้นในกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างหน่วยงานของรัฐ ให้ใช้ผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง และยังสนับสนุนส่งเสริมการสร้างานสร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องที่ / ท้องถิ่นอีกด้วย.
ภาพ/ข่าว สุรเดช รามเกิด
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
องค์กรภาครัฐและเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน”
บ่ายวันที่ 24 ก.พ.63 นางแจ่มจิตร์ พูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือโครงการ “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้บันทึกข้อตกลงร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดทำโครงการ“ สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน” เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของคนไทย โดยมีพระราชดำริให้นำภูมิปัญญาของราษฎรมาพัฒนาเป็นอาชีพ ให้เกิดรายได้แก่ราษฎร และได้ทรงก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ โดยการจัดทำโครงการฯ ได้เชิญชวนผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายองค์กรประชาชน เข้าร่วมโครงการโดยเชิญชวนทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับกรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในการแต่งกายด้วยชุดผ้าไทย ตามพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับสถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยราชการต่างๆ ซึ่งลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จำนวน 29 หน่วยงาน เพื่อร่วมสืบสานการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติ ให้ดำรงคงอยู่ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยและเป็นความชื่นชมของชาวโลก รวมทั้งเพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วประเทศ โดยเน้นในกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างหน่วยงานของรัฐ ให้ใช้ผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง และยังสนับสนุนส่งเสริมการสร้างานสร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องที่ / ท้องถิ่นอีกด้วย.
ภาพ/ข่าว สุรเดช รามเกิด
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024