. ⚡️ วันนี้ เพจ กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้รวบรวมภาพสัตว์ตระกูลนกบางส่วนที่พบจากการสำรวจบริเวณโรงไฟฟ้าจะนะ และได้ทำเป็นโครงการวิจัยในปี 2561 พร้อมกับข้อมูลเบื้องต้นของนกแต่ละชนิด เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจ และ แฟนเพจของเรา ได้ร่วมศึกษาและชมความน่ารักสวยงามของสัตว์ตระกูลนก ที่มีอยู่ในประเทศไทย ไปด้วยกัน . 🏭 โรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา มีการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในบริเวณโรงไฟฟ้าและสวนชุมชน ซึ่งแต่ละบริเวณก็จะมีสภาพที่ประกอบไปด้วยพันธ์ไม้ตามแต่ชนิดที่ขึ้นอยู่ได้เองหรือที่ปลูกเพิ่มเติม ที่จากเดิมเป็นเพียงพื้นที่โล่งก็มีความร่มรื่น บังแดด กันฝน ซึ่งสังเกตเห็นสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในบริเวณและรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า . 🦅 โรงไฟฟ้าจะนะ จึงได้มีโครงการสำรวจชนิดของสัตว์ โดยได้เริ่มจากสัตว์ตระกูลนก เพื่อบ่งบอกถึงสภาพความสมบูรณ์ของพื้นที่ จำนวนชนิดของนก และบริเวณที่พบจะเป็นค่าที่บ่งบอกถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ ทั้งยังเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาประกอบการปรับปรุงเพื่อรักษาหรือลดผลกระทบกับระบบนิเวศของโรงไฟฟ้าจะนะในอนาคตต่อไป . 🦜จากผลการสำรวจบริเวณโรงไฟฟ้าจะนะ ในช่วงเดือนมกราคม – ธันวาคม 2561 พบนกจำนวน 40 วงศ์ (Families) 66 ชนิด โดยแบ่งตามสถานะเป็น 1. นกประจำถิ่น (Resident) 46 ชนิด 2. นกอพยพ (Winter Visitor) 12 ชนิด 3. นกที่มีโอกาสเป็นได้ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ 7 ชนิด 4. นกอพยพมาทำรังวางไข่ (Breeding visitor) 1 ชนิด . 📌 ในโพสต์นี้ได้นำนก 20 ชนิด ที่พบและถ่ายภาพมาจากนกที่พบจริงในบริเวณโรงไฟฟ้าจะนะ มาให้ทุกคนได้ศึกษากัน
สถานภาพ : นกประจำถิ่น บริเวณที่พบ : แนวริมรั้วลวดหนาม และตามต้นไม้ทั่วบริเวณโรงไฟฟ้า
เป็นนกปรอด (bulbuls) ที่พบเห็นได้ง่ายและชุกชุมที่สุดในประเทศไทย ปรับตัวให้อาศัยอยู่ตามสวน ลักษณะบริเวณหูมีลายขีดสีเทา ปีกสีน้ำตาล อกสีเทา ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองอมน้ำตาล ตัวผู้ มีตาสีเทา ส่วนตัวเมีย มีตาสีน้ำตาลออกเทา ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองอ่อน หากินตามต้นผลไม้ พุ่มไม้.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น พบบ่อย บริเวณที่พบ : ริมรั้ว และเสาไฟฟ้า บริเวณถนนทางเข้าป้อมยามโรงไฟฟ้า ช่วงเช้าและช่วงเย็น … ปีกสีน้ำเงิน ตัวโต เกาะอยู่บนสายไฟฟ้าข้างทาง เจ้าของฉายา “เทพบุตรข้างถนน” พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง พบได้ทุกภาค ชอบอยู่ตามลำพัง ลีลาการเกี้ยวพาราสีอันผาดโผนของนกตะขาบ อันเป็นที่มาของชื่อภาษาอังกฤษว่า Roller ซึ่งนกตัวผู้จะทะยานขึ้นไปบนฟ้า และส่งเสียงร้องที่แหบแต่ก้องกังวาน พร้อม ๆ กับหมุนตัวอย่างฉวัดเฉวียนลงมาเกาะเพื่อเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย เมื่อบวกกับสีน้ำเงินสวยงามบนปีกที่เห็นได้ชัดในขณะบินด้วยแล้ว ทำให้พฤติกรรมการจับคู่ผสมพันธุ์ของนกชนิดนี้เป็นภาพที่น่าดู เหยื่อของนกตะขาบทุ่ง ได้แก่ ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลง ผีเสื้อกลางคืน และสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวเล็ก ๆ เช่น กิ้งก่า จิ้งเหลน คางคก งู หนู และลูกนก.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น บริเวณที่พบ : สวนหย่อมบริเวณบ่อน้ำพุ 1 และ 2 สวนชุมชน
เนื่องจากเป็นนกสีสวยที่สามารถปรับตัวเข้ามาอยู่ใกล้ชุมชนจึงได้ฉายาว่า “ราชินีแห่งนกในเมือง” ตัวเขียว คอเหลือง อกและหน้าผากสีแดง ขอบตาเหลือง มักเกาะบนต้นไม้สูง ไม่ค่อยเห็นตัว แต่เป็นเจ้าของเสียงร้อง “ป๊ก ๆๆ” ตามยอดไม้เป็นจังหวะสมํ่าเสมอเหมือนกับช่างตีทอง (ฝรั่งว่าเหมือนกับช่างตีทองแดง) จะทำรังและนอนอยู่ในโพรงไม้โดยเจาะโพรงไม้เหมือนกับนกโพระดกประเภทอื่น ๆ หรือชอบเจาะโพรงไม้แห้งเพื่อหาหนอนเป็นอาหาร กินผลไม้ เช่น ลูกไทร แต่บางครั้งก็กินแมลงอื่น ๆ ด้วย.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น บริเวณที่พบ : พุ่มไม้ริมรั้ว สวนชุมชน
เพศผู้และเพศเมียจะแตกต่างกันชัดเจน คือ เพศเมียจะมีชุดขนสีน้ำตาลลาย อาหารจำพวกหนอนผีเสื้อ เป็นนกที่ “วางไข่ในรังนกชนิดอื่น” (brood parasite) เช่นเดียวกับนกกาเหว่า และนกคัคคูอีกหลายชนิด เจ้าของรังมักเป็นนกกระจิบซึ่งตัวเล็กกว่า รังไหนถูกนกอีวาบตั๊กแตนไปวางไข่ ลูกนกกระจิบครอกนั้นทั้งหมดจะถูกลูกนกอีวาบตั๊กแตนผลักออกจากรังตั้งแต่ยังเป็นไข่.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น และ นกอพยพ จัดเป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) บริเวณที่พบ : แหล่งชุ่มน้ำสวนชุมชน พบเข้ามาหากินบางช่วงบริเวณบ่อทิ้งตะกอนดินโรงผลิตน้ำช่วงเวลาเย็น พบไม่บ่อย
มักเดินหากินเพียงลำพัง หาอาหารตามบริเวณน้ำตื้นแหล่งน้ำในที่ราบ ล่าเหยื่อจำพวกปลา กบ และแมลงโดยใช้จะงอยปากที่ยาวและแหลมคม พฤติกรรมการล่าเหยื่อ มักจะยืนรอเหยื่อนิ่ง ๆ หรือค่อย ๆ เดินไล่ตามเหยื่อ นกกระสาแดงบินได้ช้า เวลาบินหดคอเข้าลำตัวเป็นรูปตัว S คอที่ยาวนี้บางครั้งอาจมองดูคล้ายงู ปัจจุบันได้จัดให้เป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ไปจากประเทศไทยเช่นเดียวกับนกกระสานวล เนื่องจากลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนเหลืออยู่ในธรรมชาติน้อยมาก.
สถานภาพ : นกอพยพมาทำรังวางไข่ บริเวณที่พบ : สนามฟุตบอล, สนามหญ้าและถนนรอบอ่างเก็บน้ำ 1 และ 2 (ม.ค.-มิ.ย) … มีจุดเด่นที่โคนปากสีแดงสดใส ปลายปากดำ และมีเส้นสีดำลากจากใต้ตาทั้งสองข้างลงมาบรรจบกันที่คอ ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกันแต่ตัวผู้จะตัวโตกว่าเล็กน้อย สีสันโดยรวมของนกชนิดนี้เป็นสีน้ำตาลอ่อน ลำตัวด้านล่างสีอ่อนกว่าลำตัวด้านบน ขาสั้น ปีกยาวปลายแหลมและหางเป็นแฉกสีดำเหมือนหางปลา ขณะบินคล้ายนกนางแอ่น นกแอ่นทุ่งใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี ออสเตรเลียและหมู่เกาะ ทางมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ในช่วงฤดูหนาวจะบินอพยพมายังประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อทำรังวางไข่ เลี้ยงดูลูกอ่อนจนโตพอที่จะเดินทางได้ สภาพเหมาะสมที่พบคือเป็นทุ่งนา ทุ่งโล่ง เขตเกษตรกรรม.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น สถานที่พบ : ใกล้ Cooling Tower บริเวณถนน และ Holding Pond 1 … มีลำตัวด้านบนสีน้ำเงินเข้มเหลือบสะท้อนแสง หน้าผากและคอสีส้ม ดูเผิน ๆ คล้ายนกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow) ต่างกันตรงที่นกนางแอ่นแปซิฟิกมีสีส้มที่หน้าผากลึกเข้าไปเกือบถึงกลางกระหม่อม ไม่มีแถบสีดำคาดอก ท้องสีเทาอมน้ำตาลไม่ขาวโพลน หางสั้นกว่าและมีลายเกล็ดสีดำที่ก้น ใกล้ปลายขนหางมีลายจุดเล็ก ๆ หางแฉก ขนหางคู่นอกไม่ยาวเหมือนนกนางแอ่นบ้าน นกวัยอ่อนมีสีตุ่นกว่าตัวเต็มวัย ชนิดย่อย abottii ที่พบในไทยมีสีส้มจางกว่านกนางแอ่นบ้านอย่างเห็นได้ชัด แม้จะชื่อ “นกนางแอ่นแปซิฟิก” แต่ขอบเขตการกระจายพันธุ์ไม่ได้จำกัดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น ยังพบได้ในมหาสมุทรอินเดียด้วย ตามปกติจะหากินและส่งเสียงร้องในยามบ่ายมากกว่าช่วงเวลาอื่น บินฉวัดเฉวียนหากินไม่สูงเท่านกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ มักจับแมลงในระดับไม่สูงไปกว่ายอดไม้มากนัก.
สถานภาพ : นกอพยพ บริเวณที่พบ : สนามหญ้าบริเวณทางเข้าโรงไฟฟ้า ใกล้คูระบายน้ำ, บริเวณสนามหญ้าใกล้บ่อน้ำพุ สนามฟุตบอล, รอบอ่างเก็บน้ำ, พื้นที่ชุ่มน้ำสวนชุมชน ช่วงเช้า (ต.ค-เม.ย.)…
เป็นนกยางที่ปรับตัวเก่งและกินอาหารได้หลายประเภท นอกฤดูผสมพันธุ์ จะมีปากสีเหลือง ปลายปากดำ หัว คอ และอกสีน้ำตาลเหลือง มีลายขีดหนาสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทาเข้ม ลำตัวด้านล่างขาว แข้งและตีนเหลือง หรือแกมเขียว ขณะบินเห็นปีกและหางขาวลำตัวสีเทา ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มีปากเหลืองสดปลายดำ หนังรอบตาเขียวแกมเหลือง หัว คอ และอกสีน้ำตาลแดงเข้มแกมเลือดหมู หลังและขนคลุมไหล่สีเทาดำ ตามปกติจะยืนซุ่มหรือย่องหากินตามชายน้ำอย่างช้า ๆ เมื่อปลาว่ายน้ำเข้ามาใกล้จึงจะใช้ปากพุ่งออกไป จับเหยื่ออย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังชอบหากินอยู่ตามสนามหญ้า เพื่อจับไส้เดือน แมลงและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ กินด้วย.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น และ นกอพยพ บริเวณที่พบ : แหล่งชุ่มน้ำสวนชุมชน
ตัวผู้ปากบางแหลมและยาวตรงสีดำ หัวละลำตัวขาว ปีกและลำตัวด้านบนดำ ขายาวมากสีชมพูแดง บางตัวอาจมีสีดำที่หัวและท้ายทอย ตัวเมียลำตัวด้านบนแกมน้ำตาล หัวและท้ายทอยอาจมีแถบสีเทา เสียงร้อง “กิ๊ก..กิ๊ก..กิ๊ก” หากินตามพื้นที่ชุ่มน้ำ ทุ่งนา นาเกลือ และชายฝั่งทะเล.
สถานภาพ : นกอพยพ พบได้บ่อยในทุกสภาพแวดล้อม บริเวณที่พบ : สนามหญ้าบริเวณอ่างเก็บน้ำ 1 และ 2, Holding Pond 1
ส่วนใหญ่พบเกาะอยู่ตามขอบริมน้ำ ขณะที่ยืนและเดินหางจะกระดกขึ้นลง ขณะบินจะเห็นแถบสีขาวที่ปีกได้ชัดเจน.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น พบบ่อยมาก บริเวณที่พบ : พบได้ทั่วไปตามสนามหญ้าบริเวณโรงไฟฟ้า และ สนามหญ้าบริเวณรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำ
ภาพนกสีน้ำตาลลาย ๆ ที่ขณะที่ยืนและเดินตามปกติหางจะกระดกขึ้นลง วิ่ง ๆ หยุด ๆ จิกแมลงกิน ตามสนามหญ้าในสวน นกเพศผู้ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย ตรงนี้น่าจะพออธิบายได้ว่าทำไมจึงมักเห็นนกเด้าดินทุ่งสองตัวที่ขนาดต่างกันเล็กน้อยยืนอยู่ด้วยกัน.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น บริเวณที่พบ : บริเวณสวนหย่อมในโรงไฟฟ้า
ตัวผู้มีปีกสีน้ำตาลแดงอ่อน หัวสีเทา ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดง คอสั้นมีสีดำคาด หาอาหารตามพื้นดิน ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ ข้าว และแมลง.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น พบบ่อย บริเวณที่พบ : บริเวณสายไฟและริมรั้วลวดหนามทางเข้าโรงไฟฟ้า, บริเวณบ่อน้ำพุ, พุ่มไม้ริมรั้วใกล้ Holing Pond 1, อ่างเก็บน้ำ 1 และ 2 สวนชุมชน … นกกะเต็นอกขาวมีหัว หลังตอนบน ไหล่ และท้องสีน้ำตาลเข้ม คอและอกขาว ปากแดงสด จุดจำแนก หลังและหางฟ้าเข้ม ขาและตีนแดง ขณะบินมีแถบขาวใหญ่ ที่ปีก เสียงร้อง แหลม ครี้..ครี้..ครี้ และก้องดัง แก๊ก..แก๊ก..แก๊ก พบตามบริเวณแหล่งน้ำทั่วไปในที่โล่ง พื้นที่แห้งแล้งกว่าชนิดอื่น กินสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยการเกาะตามกิ่งไม้ ตอไม้ หรือสายไฟแล้วบินโฉบจับด้วยปาก บางครั้งพบบินโฉบจับแมลง มักหากินตามลำพัง
นกกะเต็น (Kingfisher) เป็นนกที่หลายคนชื่นชอบเพราะสีสันสวยงามและปากอันใหญ่โตไม่สมส่วน ที่ใช้จับปลาหรือสัตว์อื่น ๆ กินเป็นอาหาร บางชนิดมีนิสัยชอบกระดกหัวเมื่อเล็งเห็นเหยื่อ เราคุ้นเคยกับนกกะเต็นเพราะหลายชนิดชอบเกาะสายไฟฟ้าเพื่อมองหาเหยื่อเหนือที่โล่ง แต่นิสัยขี้ระแวงทำให้เข้าใกล้ได้ยาก.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น และ นกอพยพ พบบ่อยมาก บริเวณที่พบ : แนวริมรั้วลวดหนาม บริเวณสายไฟหน้าป้อมทางเข้าโรงไฟฟ้า สวนหย่อมบริเวณบ่อน้ำพุ ใกล้สนามฟุตบอล สวนชุมชน
ปากยาวเรียวโค้ง รูปร่างเพรียว ปีกยาวแหลม ปากมีแถบสีดำพาดผ่านไปยังตาลงมาจนถึงท้ายทอยที่ปลายหางจะมีขนคู่กลางยื่นยาวออกมาเห็นได้ชัดเจน เป็นมีนกสีสันสวยงามมักเกาะบริเวณสายไฟฟ้า เป็นนักร่อนลมตัวสีเขียวที่เพิ่มสีสันให้กับการดูนกข้างถนน สายไฟฟ้าเป็นทำเลอันยอดเยี่ยมในการหาเหยื่อในที่เปิดโล่ง เสียงร้อง เล็ก แหลมรัว “ตริ๊ ๆๆ” คอยพุ่งโฉบกินแมลงที่บินอยู่ในอากาศ โดยเฉพาะผึ้ง ด้วยการโฉบจับกลางอากาศแล้วนำมากินบริเวณที่พักเกาะ.
สถานภาพ : นกอพยพ บริเวณที่พบ : บริเวณริมรั้วลวดหนามทางเข้าโรงไฟฟ้า, บริเวณสวนใกล้สนามฟุตบอล (ต.ค-เม.ย.)
นกอีเสือสีน้ำตาลจัดได้ว่าเป็นนกที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมากชนิดหนึ่ง เพราะช่วยกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร แต่ปริมาณของนกในธรรมชาติเริ่มเหลือน้อย จนหมิ่นเหม่ต่อการสูญพันธุ์ ตัวเต็มวัยด้านบนลำตัวสีน้ำตาลแกมเทา จนถึงน้ำตาลแดง หน้าผากและคิ้วสีขาว แถบคาดตาสีดำ กระหม่อม ขนคลุมโคนขาหางด้านบนและหางสีเข้มกว่าด้านบนลำตัวส่วนที่เหลือ ด้านลำตัวสีขาวจนถึงสีเหลือง พบตามที่โล่งใกล้แหล่งน้ำหรือบริเวณที่ค่อนข้างแห้งแล้ง อาหารได้แก่แมลง ตัวหนอน กบ กิ้งก่า นก หนู และ สัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น บริเวณที่พบ : สวนหย่อมใกล้สนามฟุตบอลที่บ่อน้ำพุ 2, พุ่มไม้ริมรั้ว
นกกินปลี (Sunbird) เป็นนกที่มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับนกฮัมมิงเบิร์ด พบได้ในเมืองไทย 15 ชนิด เป็นนกประจำถิ่น 13 ชนิด อพยพมาในฤดูหนาว 2 ชนิด ลักษณะทั่วไปก็จะมีปากเรียวเล็กโค้งยาวมีลิ้นที่ม้วนเป็นท่อสำหรับไว้หากินน้ำหวานจากดอกไม้ แต่บางครั้งก็มีกินแมลงเป็นอาหารเสริมบ้าง ตัวผู้มีสีสันฉูดฉาดสวยงาม สีน้ำเงินเหลือบดำเป็นมันวาวที่บริเวณคอจนถึงหน้าอก ซึ่งสีน้ำเงินนี้จะไม่พบในนกกินปลีอกเหลืองตัวเมีย.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น บริเวณที่พบ : พบบริเวณทั่วไปในโรงไฟฟ้า ตามแนวพุ่มไม้
นกขนาดเล็ก ปากสีดำ เป็นปากกรวย คอสั้น คอหอยสีดำ ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลอ่อน หางและขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีน้ำตาลอ่อนมีลายเกล็ดสีขาว ท้อง และขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาว พบเป็นคู่ หรือ เป็นฝูง มักพบบินเกาะกลุ่มกันลักษณะคล้ายฝูงผึ้งในการออกหากิน อาหาร ได้แก่ เมล็ดข้าวเปลือก ธัญพืช เมล็ดหญ้า แมลง และตัวหนอน รังเป็นรูปทรงกลม ทำจากใบหญ้า ใบไม้ รองรังด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม โดยนำมา สุมกองกันตามง่ามไม้.
ดูนก รอบโรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา ตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์เชิงนิเวศวิทยา
.
⚡️ วันนี้ เพจ กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้รวบรวมภาพสัตว์ตระกูลนกบางส่วนที่พบจากการสำรวจบริเวณโรงไฟฟ้าจะนะ และได้ทำเป็นโครงการวิจัยในปี 2561 พร้อมกับข้อมูลเบื้องต้นของนกแต่ละชนิด เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจ และ แฟนเพจของเรา ได้ร่วมศึกษาและชมความน่ารักสวยงามของสัตว์ตระกูลนก ที่มีอยู่ในประเทศไทย ไปด้วยกัน
.
🏭 โรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา มีการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในบริเวณโรงไฟฟ้าและสวนชุมชน ซึ่งแต่ละบริเวณก็จะมีสภาพที่ประกอบไปด้วยพันธ์ไม้ตามแต่ชนิดที่ขึ้นอยู่ได้เองหรือที่ปลูกเพิ่มเติม ที่จากเดิมเป็นเพียงพื้นที่โล่งก็มีความร่มรื่น บังแดด กันฝน ซึ่งสังเกตเห็นสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในบริเวณและรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า
.
🦅 โรงไฟฟ้าจะนะ จึงได้มีโครงการสำรวจชนิดของสัตว์ โดยได้เริ่มจากสัตว์ตระกูลนก เพื่อบ่งบอกถึงสภาพความสมบูรณ์ของพื้นที่ จำนวนชนิดของนก และบริเวณที่พบจะเป็นค่าที่บ่งบอกถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ ทั้งยังเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาประกอบการปรับปรุงเพื่อรักษาหรือลดผลกระทบกับระบบนิเวศของโรงไฟฟ้าจะนะในอนาคตต่อไป
.
🦜จากผลการสำรวจบริเวณโรงไฟฟ้าจะนะ ในช่วงเดือนมกราคม – ธันวาคม 2561 พบนกจำนวน 40 วงศ์ (Families) 66 ชนิด โดยแบ่งตามสถานะเป็น
1. นกประจำถิ่น (Resident) 46 ชนิด
2. นกอพยพ (Winter Visitor) 12 ชนิด
3. นกที่มีโอกาสเป็นได้ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ 7 ชนิด
4. นกอพยพมาทำรังวางไข่ (Breeding visitor) 1 ชนิด
.
📌 ในโพสต์นี้ได้นำนก 20 ชนิด ที่พบและถ่ายภาพมาจากนกที่พบจริงในบริเวณโรงไฟฟ้าจะนะ มาให้ทุกคนได้ศึกษากัน
สถานภาพ : นกประจำถิ่น ฟฟ้า
บริเวณที่พบ : แนวริมรั้วลวดหนาม และตามต้นไม้ทั่วบริเวณโรงไ
เป็นนกปรอด (bulbuls) ที่พบเห็นได้ง่ายและชุกชุมท ี่สุดในประเทศไทย ปรับตัวให้อาศัยอยู่ตามสวน ลักษณะบริเวณหูมีลายขีดสีเท า ปีกสีน้ำตาล อกสีเทา ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเห ลืองอมน้ำตาล ตัวผู้ มีตาสีเทา ส่วนตัวเมีย มีตาสีน้ำตาลออกเทา ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเห ลืองอ่อน หากินตามต้นผลไม้ พุ่มไม้.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น พบบ่อย ไฟฟ้า ช่วงเช้าและช่วงเย็น หรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง พบได้ทุกภาค ชอบอยู่ตามลำพัง ลีลาการเกี้ยวพาราสีอันผาดโ ผนของนกตะขาบ อันเป็นที่มาของชื่อภาษาอัง กฤษว่า Roller ซึ่งนกตัวผู้จะทะยานขึ้นไปบ นฟ้า และส่งเสียงร้องที่แหบแต่ก้ องกังวาน พร้อม ๆ กับหมุนตัวอย่างฉวัดเฉวียนล งมาเกาะเพื่อเรียกร้องความส นใจจากตัวเมีย เมื่อบวกกับสีน้ำเงินสวยงาม บนปีกที่เห็นได้ชัดในขณะบิน ด้วยแล้ว ทำให้พฤติกรรมการจับคู่ผสมพ ันธุ์ของนกชนิดนี้เป็นภาพที ่น่าดู เหยื่อของนกตะขาบทุ่ง ได้แก่ ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลง ผีเสื้อกลางคืน และสัตว์มีกระดูกสันหลังตัว เล็ก ๆ เช่น กิ้งก่า จิ้งเหลน คางคก งู หนู และลูกนก.
บริเวณที่พบ : ริมรั้ว และเสาไฟฟ้า บริเวณถนนทางเข้าป้อมยามโรง
…
ปีกสีน้ำเงิน ตัวโต เกาะอยู่บนสายไฟฟ้าข้างทาง เจ้าของฉายา “เทพบุตรข้างถนน” พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทาง
สถานภาพ : นกประจำถิ่น
บริเวณที่พบ : สวนหย่อมบริเวณบ่อน้ำพุ 1 และ 2 สวนชุมชน
เนื่องจากเป็นนกสีสวยที่สาม ารถปรับตัวเข้ามาอยู่ใกล้ชุ มชนจึงได้ฉายาว่า “ราชินีแห่งนกในเมือง” ตัวเขียว คอเหลือง อกและหน้าผากสีแดง ขอบตาเหลือง มักเกาะบนต้นไม้สูง ไม่ค่อยเห็นตัว แต่เป็นเจ้าของเสียงร้อง “ป๊ก ๆๆ” ตามยอดไม้เป็นจังหวะสมํ่าเส มอเหมือนกับช่างตีทอง (ฝรั่งว่าเหมือนกับช่างตีทอ งแดง) จะทำรังและนอนอยู่ในโพรงไม้ โดยเจาะโพรงไม้เหมือนกับนกโ พระดกประเภทอื่น ๆ หรือชอบเจาะโพรงไม้แห้งเพื่ อหาหนอนเป็นอาหาร กินผลไม้ เช่น ลูกไทร แต่บางครั้งก็กินแมลงอื่น ๆ ด้วย.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น บริเวณที่พบ : พุ่มไม้ริมรั้ว สวนชุมชน
เพศผู้และเพศเมียจะแตกต่างก ันชัดเจน คือ เพศเมียจะมีชุดขนสีน้ำตาลลา ย อาหารจำพวกหนอนผีเสื้อ เป็นนกที่ “วางไข่ในรังนกชนิดอื่น” (brood parasite) เช่นเดียวกับนกกาเหว่า และนกคัคคูอีกหลายชนิด เจ้าของรังมักเป็นนกกระจิบซ ึ่งตัวเล็กกว่า รังไหนถูกนกอีวาบตั๊กแตนไปว างไข่ ลูกนกกระจิบครอกนั้นทั้งหมด จะถูกลูกนกอีวาบตั๊กแตนผลัก ออกจากรังตั้งแต่ยังเป็นไข่.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น และ นกอพยพ จัดเป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) บ่อทิ้งตะกอนดินโรงผลิตน้ำช ่วงเวลาเย็น พบไม่บ่อย
บริเวณที่พบ : แหล่งชุ่มน้ำสวนชุมชน พบเข้ามาหากินบางช่วงบริเวณ
มักเดินหากินเพียงลำพัง หาอาหารตามบริเวณน้ำตื้นแหล ่งน้ำในที่ราบ ล่าเหยื่อจำพวกปลา กบ และแมลงโดยใช้จะงอยปากที่ยา วและแหลมคม พฤติกรรมการล่าเหยื่อ มักจะยืนรอเหยื่อนิ่ง ๆ หรือค่อย ๆ เดินไล่ตามเหยื่อ นกกระสาแดงบินได้ช้า เวลาบินหดคอเข้าลำตัวเป็นรู ปตัว S คอที่ยาวนี้บางครั้งอาจมองด ูคล้ายงู ปัจจุบันได้จัดให้เป็นนกที่ ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ไปจากประเทศไทยเช่นเดียวกับ นกกระสานวล เนื่องจากลดจำนวนลงอย่างรวด เร็ว จนเหลืออยู่ในธรรมชาติน้อยม าก.
สถานภาพ : นกอพยพมาทำรังวางไข่ ้ำ 1 และ 2 (ม.ค.-มิ.ย) ส ปลายปากดำ และมีเส้นสีดำลากจากใต้ตาทั ้งสองข้างลงมาบรรจบกันที่คอ ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงก ันแต่ตัวผู้จะตัวโตกว่าเล็ก น้อย สีสันโดยรวมของนกชนิดนี้เป็ นสีน้ำตาลอ่อน ลำตัวด้านล่างสีอ่อนกว่าลำต ัวด้านบน ขาสั้น ปีกยาวปลายแหลมและหางเป็นแฉ กสีดำเหมือนหางปลา ขณะบินคล้ายนกนางแอ่น นกแอ่นทุ่งใหญ่อาศัยอยู่ในป ระเทศอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี ออสเตรเลียและหมู่เกาะ ทางมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ในช่วงฤดูหนาวจะบินอพยพมายั งประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ ้านในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อทำรังวางไข่ เลี้ยงดูลูกอ่อนจนโตพอที่จะ เดินทางได้ สภาพเหมาะสมที่พบคือเป็นทุ่ งนา ทุ่งโล่ง เขตเกษตรกรรม.
บริเวณที่พบ : สนามฟุตบอล, สนามหญ้าและถนนรอบอ่างเก็บน
…
มีจุดเด่นที่โคนปากสีแดงสดใ
สถานภาพ : นกประจำถิ่น เหลือบสะท้อนแสง หน้าผากและคอสีส้ม ดูเผิน ๆ คล้ายนกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow) ต่างกันตรงที่นกนางแอ่นแปซิ ฟิกมีสีส้มที่หน้าผากลึกเข้ าไปเกือบถึงกลางกระหม่อม ไม่มีแถบสีดำคาดอก ท้องสีเทาอมน้ำตาลไม่ขาวโพล น หางสั้นกว่าและมีลายเกล็ดสี ดำที่ก้น ใกล้ปลายขนหางมีลายจุดเล็ก ๆ หางแฉก ขนหางคู่นอกไม่ยาวเหมือนนกน างแอ่นบ้าน นกวัยอ่อนมีสีตุ่นกว่าตัวเต ็มวัย ชนิดย่อย abottii ที่พบในไทยมีสีส้มจางกว่านก นางแอ่นบ้านอย่างเห็นได้ชัด แม้จะชื่อ “นกนางแอ่นแปซิฟิก” แต่ขอบเขตการกระจายพันธุ์ไม ่ได้จำกัดอยู่ในมหาสมุทรแปซ ิฟิกเท่านั้น ยังพบได้ในมหาสมุทรอินเดียด ้วย ตามปกติจะหากินและส่งเสียงร ้องในยามบ่ายมากกว่าช่วงเวล าอื่น บินฉวัดเฉวียนหากินไม่สูงเท ่านกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ มักจับแมลงในระดับไม่สูงไปก ว่ายอดไม้มากนัก.
สถานที่พบ : ใกล้ Cooling Tower บริเวณถนน และ Holding Pond 1
…
มีลำตัวด้านบนสีน้ำเงินเข้ม
สถานภาพ : นกอพยพ ฟ้า ใกล้คูระบายน้ำ, บริเวณสนามหญ้าใกล้บ่อน้ำพุ
บริเวณที่พบ : สนามหญ้าบริเวณทางเข้าโรงไฟ
สนามฟุตบอล, รอบอ่างเก็บน้ำ, พื้นที่ชุ่มน้ำสวนชุมชน ช่วงเช้า (ต.ค-เม.ย.)…
เป็นนกยางที่ปรับตัวเก่งและ กินอาหารได้หลายประเภท นอกฤดูผสมพันธุ์ จะมีปากสีเหลือง ปลายปากดำ หัว คอ และอกสีน้ำตาลเหลือง มีลายขีดหนาสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทาเ ข้ม ลำตัวด้านล่างขาว แข้งและตีนเหลือง หรือแกมเขียว ขณะบินเห็นปีกและหางขาวลำตั วสีเทา ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มีปากเหล ืองสดปลายดำ หนังรอบตาเขียวแกมเหลือง หัว คอ และอกสีน้ำตาลแดงเข้มแกมเลื อดหมู หลังและขนคลุมไหล่สีเทาดำ ตามปกติจะยืนซุ่มหรือย่องหา กินตามชายน้ำอย่างช้า ๆ เมื่อปลาว่ายน้ำเข้ามาใกล้จ ึงจะใช้ปากพุ่งออกไป จับเหยื่ออย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังชอบหากินอยู่ตา มสนามหญ้า เพื่อจับไส้เดือน แมลงและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ กินด้วย.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น และ นกอพยพ
บริเวณที่พบ : แหล่งชุ่มน้ำสวนชุมชน
ตัวผู้ปากบางแหลมและยาวตรงส ีดำ หัวละลำตัวขาว ปีกและลำตัวด้านบนดำ ขายาวมากสีชมพูแดง บางตัวอาจมีสีดำที่หัวและท้ ายทอย ตัวเมียลำตัวด้านบนแกมน้ำตา ล หัวและท้ายทอยอาจมีแถบสีเทา เสียงร้อง “กิ๊ก..กิ๊ก..กิ๊ก” หากินตามพื้นที่ชุ่มน้ำ ทุ่งนา นาเกลือ และชายฝั่งทะเล.
สถานภาพ : นกอพยพ พบได้บ่อยในทุกสภาพแวดล้อม
บริเวณที่พบ : สนามหญ้าบริเวณอ่างเก็บน้ำ 1 และ 2, Holding Pond 1
ส่วนใหญ่พบเกาะอยู่ตามขอบริ มน้ำ ขณะที่ยืนและเดินหางจะกระดก ขึ้นลง ขณะบินจะเห็นแถบสีขาวที่ปีก ได้ชัดเจน.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น พบบ่อยมาก วณโรงไฟฟ้า และ สนามหญ้าบริเวณรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำ
บริเวณที่พบ : พบได้ทั่วไปตามสนามหญ้าบริเ
ภาพนกสีน้ำตาลลาย ๆ ที่ขณะที่ยืนและเดินตามปกติ หางจะกระดกขึ้นลง วิ่ง ๆ หยุด ๆ จิกแมลงกิน ตามสนามหญ้าในสวน นกเพศผู้ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย ตรงนี้น่าจะพออธิบายได้ว่าท ำไมจึงมักเห็นนกเด้าดินทุ่ง สองตัวที่ขนาดต่างกันเล็กน้ อยยืนอยู่ด้วยกัน.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น
บริเวณที่พบ : บริเวณสวนหย่อมในโรงไฟฟ้า
ตัวผู้มีปีกสีน้ำตาลแดงอ่อน หัวสีเทา ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดง คอสั้นมีสีดำคาด หาอาหารตามพื้นดิน ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ ข้าว และแมลง.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น พบบ่อย ามทางเข้าโรงไฟฟ้า, บริเวณบ่อน้ำพุ, พุ่มไม้ริมรั้วใกล้ Holing Pond 1, อ่างเก็บน้ำ 1 และ 2 สวนชุมชน นที่โล่ง พื้นที่แห้งแล้งกว่าชนิดอื่ น กินสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยการเกาะตามกิ่งไม้ ตอไม้ หรือสายไฟแล้วบินโฉบจับด้วย ปาก บางครั้งพบบินโฉบจับแมลง มักหากินตามลำพัง
บริเวณที่พบ : บริเวณสายไฟและริมรั้วลวดหน
…
นกกะเต็นอกขาวมีหัว หลังตอนบน ไหล่ และท้องสีน้ำตาลเข้ม คอและอกขาว ปากแดงสด จุดจำแนก หลังและหางฟ้าเข้ม ขาและตีนแดง ขณะบินมีแถบขาวใหญ่ ที่ปีก เสียงร้อง แหลม ครี้..ครี้..ครี้ และก้องดัง แก๊ก..แก๊ก..แก๊ก พบตามบริเวณแหล่งน้ำทั่วไปใ
นกกะเต็น (Kingfisher) เป็นนกที่หลายคนชื่นชอบเพรา ะสีสันสวยงามและปากอันใหญ่โ ตไม่สมส่วน ที่ใช้จับปลาหรือสัตว์อื่น ๆ กินเป็นอาหาร บางชนิดมีนิสัยชอบกระดกหัวเ มื่อเล็งเห็นเหยื่อ เราคุ้นเคยกับนกกะเต็นเพราะ หลายชนิดชอบเกาะสายไฟฟ้าเพื ่อมองหาเหยื่อเหนือที่โล่ง แต่นิสัยขี้ระแวงทำให้เข้าใ กล้ได้ยาก.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น และ นกอพยพ พบบ่อยมาก โรงไฟฟ้า สวนหย่อมบริเวณบ่อน้ำพุ ใกล้สนามฟุตบอล สวนชุมชน
บริเวณที่พบ : แนวริมรั้วลวดหนาม บริเวณสายไฟหน้าป้อมทางเข้า
ปากยาวเรียวโค้ง รูปร่างเพรียว ปีกยาวแหลม ปากมีแถบสีดำพาดผ่านไปยังตา ลงมาจนถึงท้ายทอยที่ปลายหาง จะมีขนคู่กลางยื่นยาวออกมาเ ห็นได้ชัดเจน เป็นมีนกสีสันสวยงามมักเกาะ บริเวณสายไฟฟ้า เป็นนักร่อนลมตัวสีเขียวที่ เพิ่มสีสันให้กับการดูนกข้า งถนน สายไฟฟ้าเป็นทำเลอันยอดเยี่ ยมในการหาเหยื่อในที่เปิดโล ่ง เสียงร้อง เล็ก แหลมรัว “ตริ๊ ๆๆ” คอยพุ่งโฉบกินแมลงที่บินอยู ่ในอากาศ โดยเฉพาะผึ้ง ด้วยการโฉบจับกลางอากาศแล้ว นำมากินบริเวณที่พักเกาะ.
สถานภาพ : นกอพยพ าโรงไฟฟ้า, บริเวณสวนใกล้สนามฟุตบอล (ต.ค-เม.ย.)
บริเวณที่พบ : บริเวณริมรั้วลวดหนามทางเข้
นกอีเสือสีน้ำตาลจัดได้ว่าเ ป็นนกที่มีประโยชน์ต่อมนุษย ์อย่างมากชนิดหนึ่ง เพราะช่วยกำจัดศัตรูพืชทางก ารเกษตร แต่ปริมาณของนกในธรรมชาติเร ิ่มเหลือน้อย จนหมิ่นเหม่ต่อการสูญพันธุ์ ตัวเต็มวัยด้านบนลำตัวสีน้ำ ตาลแกมเทา จนถึงน้ำตาลแดง หน้าผากและคิ้วสีขาว แถบคาดตาสีดำ กระหม่อม ขนคลุมโคนขาหางด้านบนและหาง สีเข้มกว่าด้านบนลำตัวส่วนท ี่เหลือ ด้านลำตัวสีขาวจนถึงสีเหลือ ง พบตามที่โล่งใกล้แหล่งน้ำหร ือบริเวณที่ค่อนข้างแห้งแล้ ง อาหารได้แก่แมลง ตัวหนอน กบ กิ้งก่า นก หนู และ สัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น ่อน้ำพุ 2, พุ่มไม้ริมรั้ว
บริเวณที่พบ : สวนหย่อมใกล้สนามฟุตบอลที่บ
นกกินปลี (Sunbird) เป็นนกที่มีขนาดเล็กใกล้เคี ยงกับนกฮัมมิงเบิร์ด พบได้ในเมืองไทย 15 ชนิด เป็นนกประจำถิ่น 13 ชนิด อพยพมาในฤดูหนาว 2 ชนิด ลักษณะทั่วไปก็จะมีปากเรียว เล็กโค้งยาวมีลิ้นที่ม้วนเป ็นท่อสำหรับไว้หากินน้ำหวาน จากดอกไม้ แต่บางครั้งก็มีกินแมลงเป็น อาหารเสริมบ้าง ตัวผู้มีสีสันฉูดฉาดสวยงาม สีน้ำเงินเหลือบดำเป็นมันวา วที่บริเวณคอจนถึงหน้าอก ซึ่งสีน้ำเงินนี้จะไม่พบในน กกินปลีอกเหลืองตัวเมีย.
สถานภาพ : นกประจำถิ่น
บริเวณที่พบ : พบบริเวณทั่วไปในโรงไฟฟ้า ตามแนวพุ่มไม้
นกขนาดเล็ก ปากสีดำ เป็นปากกรวย คอสั้น คอหอยสีดำ ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลอ่อน หางและขนคลุมโคนขนหางด้านบน สีน้ำตาลอ่อนมีลายเกล็ดสีขา ว ท้อง และขนคลุมโคนขนหางด้านล่างส ีขาว พบเป็นคู่ หรือ เป็นฝูง มักพบบินเกาะกลุ่มกันลักษณะ คล้ายฝูงผึ้งในการออกหากิน อาหาร ได้แก่ เมล็ดข้าวเปลือก ธัญพืช เมล็ดหญ้า แมลง และตัวหนอน รังเป็นรูปทรงกลม ทำจากใบหญ้า ใบไม้ รองรังด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม โดยนำมา สุมกองกันตามง่ามไม้.