อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จดทะเบียนอนุสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์เครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละ เผยจุดเด่นน้ำหนักเบา ใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก ช่วยเพิ่มผลผลิตเกษตรกร
ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงผลงานวิจัยเครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละ ซึ่งได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร (การประดิษฐ์) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สละ (Salacca zalacca) เป็นพืชที่มีดอกแบบแยกเพศ โดยช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น การบานของดอกตัวผู้และดอกตัวเมียที่ไม่พร้อมกันทำให้เสียโอกาสในการผสมเกสร เพราะดอกตัวเมียบานในขณะที่ดอกตัวผู้ยังไม่บาน ทำให้ไม่มีละอองเกสรตัวผู้ เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องช่วยผสมเกสรระหว่างดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย เนื่องจากการปล่อยให้สละผสมเกสรโดยธรรมชาติ โอกาสที่จะผสมติดมีน้อยมาก ส่งผลให้ประสบปัญหาผลผลิตน้อยและผลลีบไม่ได้คุณภาพ ดังนั้น สละจึงเป็นผลไม้ที่ต้องมีการจัดการผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิต ซึ่งเกษตรกรสามารถจัดการได้ด้วยวิธีเก็บรวบรวมละอองเกสรตัวผู้ไว้สำหรับใช้ในการผสมเกสร และ ช่วยผสมเกสรสละ
ดร.ภัทรพร กล่าวว่า การจัดเก็บรวบรวมละอองเกสรตัวผู้ไว้ใช้ในการผสมเกสรสละนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้การตัดช่อดอกตัวผู้ออกมาจากต้น แล้วนำช่อดอกตัวผู้มาเคาะให้ละอองเกสรร่วงหล่นลงมา หรือใช้ช่อดอกตัวผู้ขูดกับตะแกรงเพื่อแยกเอาละอองเกสรออกจากช่อดอก แล้วเก็บรักษาละอองเกสรไว้รอการผสมเกสรซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน 3-7 เดือน อย่างไรก็ตาม เกษตรกรยังไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้งานโดยตรง เพื่อความสะดวกและง่ายในการเก็บละอองเกสรสละออกจากช่อดอกตัวผู้ ดังนั้น เครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละที่คิดค้นขึ้นนี้จะช่วยเก็บรวบรวมละอองเกสรให้ได้จำนวนมากและรวดเร็วขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดผลสละ ตัวเครื่องถูกออกแบบให้สามารถแยกละอองเกสรออกจากช่อดอกตัวผู้ตามการสั่นของท่อสวมช่อดอกตัวผู้ เพื่อสั่นเขย่าให้ละอองเกสรหลุดร่วงออกมาจนหมดจากช่อดอกตัวผู้ และหล่นลงมาตามความยาวของท่อตกลงสู่ภาชนะรองรับละอองเกสรที่ติดตั้งตรงส่วนล่างของท่อสวมช่อดอกตัวผู้ เพื่อเก็บรวบรวมละอองเกสรให้ได้จำนวนมากที่สุดไว้ใช้ผสมกับเกสรตัวเมียต่อไป
อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า เครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละมีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก วิธีการใช้งานในการเก็บละอองเกสรสละไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยมีสวิทช์แบบกดสำหรับใช้เปิด-ปิด เพื่อควบคุมการใช้งาน และมีถ่านไฟฉายเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานทำหน้าที่ส่งพลังงานไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์แล้วแปลงเป็นพลังงานกลในรูปแบบของการสั่น นอกจากนี้ หากเกษตรกรต้องการใช้เก็บละอองเกสรสละหรือระกำที่ต่างพันธุ์กัน หรือประยุกต์ใช้ในการเก็บรวบรวมละอองเกสรของพืชชนิดอื่น ก็สามารถถอดทำความสะอาดและปรับเปลี่ยนภาชนะรองรับละอองเกสรได้
“ในการปฏิบัติงานจริงของเกษตรกร เพื่อผสมเกสรระหว่างดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียของสละนั้น เมื่อเกษตรกรเก็บละอองเกสรดอกสละได้โดยใช้เครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละนี้แล้ว จะต้องนำละอองเกสรที่เก็บรวบรวมได้ไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์ช่วยผสมเกสรสละ ที่มีการทำงานโดยการปั๊มลมเพื่อเป่าให้ละอองเกสรเกสรตัวผู้ปลิวออกไปผสมติดกับเกสรตัวเมียได้ทั่วทั้งช่อดอก” ดร.ภัทรพร กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา จดอนุสิทธิบัตรเครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละ
อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จดทะเบียนอนุสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์เครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละ เผยจุดเด่นน้ำหนักเบา ใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก ช่วยเพิ่มผลผลิตเกษตรกร
ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงผลงานวิจัยเครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละ ซึ่งได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร (การประดิษฐ์) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สละ (Salacca zalacca) เป็นพืชที่มีดอกแบบแยกเพศ โดยช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น การบานของดอกตัวผู้และดอกตัวเมียที่ไม่พร้อมกันทำให้เสียโอกาสในการผสมเกสร เพราะดอกตัวเมียบานในขณะที่ดอกตัวผู้ยังไม่บาน ทำให้ไม่มีละอองเกสรตัวผู้ เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องช่วยผสมเกสรระหว่างดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย เนื่องจากการปล่อยให้สละผสมเกสรโดยธรรมชาติ โอกาสที่จะผสมติดมีน้อยมาก ส่งผลให้ประสบปัญหาผลผลิตน้อยและผลลีบไม่ได้คุณภาพ ดังนั้น สละจึงเป็นผลไม้ที่ต้องมีการจัดการผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิต ซึ่งเกษตรกรสามารถจัดการได้ด้วยวิธีเก็บรวบรวมละอองเกสรตัวผู้ไว้สำหรับใช้ในการผสมเกสร และ ช่วยผสมเกสรสละ
ดร.ภัทรพร กล่าวว่า การจัดเก็บรวบรวมละอองเกสรตัวผู้ไว้ใช้ในการผสมเกสรสละนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้การตัดช่อดอกตัวผู้ออกมาจากต้น แล้วนำช่อดอกตัวผู้มาเคาะให้ละอองเกสรร่วงหล่นลงมา หรือใช้ช่อดอกตัวผู้ขูดกับตะแกรงเพื่อแยกเอาละอองเกสรออกจากช่อดอก แล้วเก็บรักษาละอองเกสรไว้รอการผสมเกสรซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน 3-7 เดือน อย่างไรก็ตาม เกษตรกรยังไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้งานโดยตรง เพื่อความสะดวกและง่ายในการเก็บละอองเกสรสละออกจากช่อดอกตัวผู้ ดังนั้น เครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละที่คิดค้นขึ้นนี้จะช่วยเก็บรวบรวมละอองเกสรให้ได้จำนวนมากและรวดเร็วขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดผลสละ ตัวเครื่องถูกออกแบบให้สามารถแยกละอองเกสรออกจากช่อดอกตัวผู้ตามการสั่นของท่อสวมช่อดอกตัวผู้ เพื่อสั่นเขย่าให้ละอองเกสรหลุดร่วงออกมาจนหมดจากช่อดอกตัวผู้ และหล่นลงมาตามความยาวของท่อตกลงสู่ภาชนะรองรับละอองเกสรที่ติดตั้งตรงส่วนล่างของท่อสวมช่อดอกตัวผู้ เพื่อเก็บรวบรวมละอองเกสรให้ได้จำนวนมากที่สุดไว้ใช้ผสมกับเกสรตัวเมียต่อไป
อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า เครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละมีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก วิธีการใช้งานในการเก็บละอองเกสรสละไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยมีสวิทช์แบบกดสำหรับใช้เปิด-ปิด เพื่อควบคุมการใช้งาน และมีถ่านไฟฉายเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานทำหน้าที่ส่งพลังงานไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์แล้วแปลงเป็นพลังงานกลในรูปแบบของการสั่น นอกจากนี้ หากเกษตรกรต้องการใช้เก็บละอองเกสรสละหรือระกำที่ต่างพันธุ์กัน หรือประยุกต์ใช้ในการเก็บรวบรวมละอองเกสรของพืชชนิดอื่น ก็สามารถถอดทำความสะอาดและปรับเปลี่ยนภาชนะรองรับละอองเกสรได้
“ในการปฏิบัติงานจริงของเกษตรกร เพื่อผสมเกสรระหว่างดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียของสละนั้น เมื่อเกษตรกรเก็บละอองเกสรดอกสละได้โดยใช้เครื่องเก็บละอองเกสรดอกสละนี้แล้ว จะต้องนำละอองเกสรที่เก็บรวบรวมได้ไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์ช่วยผสมเกสรสละ ที่มีการทำงานโดยการปั๊มลมเพื่อเป่าให้ละอองเกสรเกสรตัวผู้ปลิวออกไปผสมติดกับเกสรตัวเมียได้ทั่วทั้งช่อดอก” ดร.ภัทรพร กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024