มติคณะรัฐมนตรีครั้งการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 21 เดือนมกราคมที่ผ่านมา เห็นชอบในหลักการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ภายใต้ชื่อ “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” หรือเมืองต้นแบบที่ 4 ต่อยอดเมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ บนเนื้อที่ 1 หมื่นกว่าไร่ ใช้งบประมาณเกือบ 2 หมื่นล้านบาท นับได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ระดับเมกะโปรเจกต์แห่งแรกในภาคใต้เลยทีเดียว
จากข้อมูลของศูนย์อำนวยการบริกหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งผ่านที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) โดย ครม.ได้รับทราบและเห็นชอบในการกำหนดพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือ ต. นาทับ ต. ตลิ่งชัน และ ต.สะกอม ของจังหวัดสงขลา รวมเนื้อที่ 16,753 ไร่ เป็นเขตอุตสาหกรรม ประกอบด้วยพื้นที่โครงการขนทางส่งน้ำท่าเรือน้ำลึก พื้นที่โครงการอุตสาหกรรมการผลิต และพื้นที่โครงการขนส่งทางทางบกทางถนนและทางราง จากชุมทาง อ.หาดใหญ่ผ่านช่องทางด่านสะเดา และด่านปาดังเบซาร์ ไปยังประเทศมาเลเซีย
สำหรับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมการผลิต (Logistic Center) จะมีทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา ประกอบด้วย อุตสาหกรรมผลิตหัวรถจักร อุตสาหกรรมแคร่ขนตู้สินค้า อุตสาหกรรมผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล ผลิตสินค้ายางพาราและปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและเชื้อเพลิงเคมีชีวภาพ รวมทั้งอุตสาหกรรมแพทย์ กิจการคมนาคมขนส่งเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการครบวงจร ส่วนของโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก รองรับความต้องการขนส่งสินค้าในอนาคตซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณถึง 8 แสนตู้ต่อปี พร้อมพื้นที่ศุลกากรเต็มระบบ ประกอบด้วยศุลกากรตรวจสินค้า การขนส่งคอนเทนเนอร์ ด่านอาหารและยา ด่านตรวจสัตว์ ด่านตรวจพืช ด่านป่าไม้และโรงพักสินค้านอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับที่พักอาศัยและศูนย์บริการ (Smart City) เบ็ดเสร็จครบวงจรเช่นเดียวกัน
ขณะนี้การดำเนินการอยู่ในระหว่างเตรียมพื้นที่ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ ศอ.บต.จัดผังการใช้พื้นที่และให้อำนาจยกเว้นกฎหมายผังเมืองในเขตอุตสาหกรรม 3 ตำบล เพื่อให้สามารถเกิดการลงทุนได้ทันที ทั้งนี้ให้ดำเนินแล้วเสร็จ และให้ประกาศผังการใช้พื้นที่ภายใน 12 เดือนหลังจากสั่งการ
นอกจากนี้ให้ ศอ.บต. เชิญชวนเอกชนที่สนใจและมีความพร้อมร่วมลงทุนในกิจกรรมอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น คาดว่าจะได้รับความสนใจจากเอกชน เพราะการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจมีสิทธิประโยชน์ และการช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษจากรัฐบาล เนื่องจากต้องการผลักดันเป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งนอกจากจะมีเป้าหมายในการสร้างฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สำคัญแล้ว ยังส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกเป้าหมายหนึ่ง.
ภาพ/ข่าว ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่แห่งแรกใน จชต.
มติคณะรัฐมนตรีครั้งการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 21 เดือนมกราคมที่ผ่านมา เห็นชอบในหลักการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ภายใต้ชื่อ “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” หรือเมืองต้นแบบที่ 4 ต่อยอดเมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ บนเนื้อที่ 1 หมื่นกว่าไร่ ใช้งบประมาณเกือบ 2 หมื่นล้านบาท นับได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ระดับเมกะโปรเจกต์แห่งแรกในภาคใต้เลยทีเดียว
จากข้อมูลของศูนย์อำนวยการบริกหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งผ่านที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) โดย ครม.ได้รับทราบและเห็นชอบในการกำหนดพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือ ต. นาทับ ต. ตลิ่งชัน และ ต.สะกอม ของจังหวัดสงขลา รวมเนื้อที่ 16,753 ไร่ เป็นเขตอุตสาหกรรม ประกอบด้วยพื้นที่โครงการขนทางส่งน้ำท่าเรือน้ำลึก พื้นที่โครงการอุตสาหกรรมการผลิต และพื้นที่โครงการขนส่งทางทางบกทางถนนและทางราง จากชุมทาง อ.หาดใหญ่ผ่านช่องทางด่านสะเดา และด่านปาดังเบซาร์ ไปยังประเทศมาเลเซีย
สำหรับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมการผลิต (Logistic Center) จะมีทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา ประกอบด้วย อุตสาหกรรมผลิตหัวรถจักร อุตสาหกรรมแคร่ขนตู้สินค้า อุตสาหกรรมผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล ผลิตสินค้ายางพาราและปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและเชื้อเพลิงเคมีชีวภาพ รวมทั้งอุตสาหกรรมแพทย์ กิจการคมนาคมขนส่งเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการครบวงจร
ส่วนของโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก รองรับความต้องการขนส่งสินค้าในอนาคตซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณถึง 8 แสนตู้ต่อปี พร้อมพื้นที่ศุลกากรเต็มระบบ ประกอบด้วยศุลกากรตรวจสินค้า การขนส่งคอนเทนเนอร์ ด่านอาหารและยา ด่านตรวจสัตว์ ด่านตรวจพืช ด่านป่าไม้และโรงพักสินค้านอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับที่พักอาศัยและศูนย์บริการ (Smart City) เบ็ดเสร็จครบวงจรเช่นเดียวกัน
ขณะนี้การดำเนินการอยู่ในระหว่างเตรียมพื้นที่ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ ศอ.บต.จัดผังการใช้พื้นที่และให้อำนาจยกเว้นกฎหมายผังเมืองในเขตอุตสาหกรรม 3 ตำบล เพื่อให้สามารถเกิดการลงทุนได้ทันที ทั้งนี้ให้ดำเนินแล้วเสร็จ และให้ประกาศผังการใช้พื้นที่ภายใน 12 เดือนหลังจากสั่งการ
นอกจากนี้ให้ ศอ.บต. เชิญชวนเอกชนที่สนใจและมีความพร้อมร่วมลงทุนในกิจกรรมอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น คาดว่าจะได้รับความสนใจจากเอกชน เพราะการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจมีสิทธิประโยชน์ และการช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษจากรัฐบาล เนื่องจากต้องการผลักดันเป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งนอกจากจะมีเป้าหมายในการสร้างฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สำคัญแล้ว ยังส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกเป้าหมายหนึ่ง.
ภาพ/ข่าว ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024