วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563 เวลา 11.00 นาฬิกา คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนล่าง) นำโดย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะเดินทาง ลงพื้นที่วัดบ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และนายสมเกียรติ ศรีขาว นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ และชาวบ้านในพื้นที่ให้การต้อนรับ
โอกาสนี้ ได้เข้าสักการะพระธาตุเรืองรอง ซึ่งเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าทางวัฒนธรรมประเพณีชาวอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอีสานใต้ และยังเป็นพระธาตุศิลปะอีสานใต้สี่เผ่าไทย ได้แก่ ลาว ส่วย เขมร และเยอ สำหรับพระธาตุเรืองรอง เป็นตัวอาคารมีการประดับลวดลายอย่างสวยงาม แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ชั้นที่ 1 ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ชั้นที่ 2-3 ทำเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชนสี่เผ่าไทยของศรีสะเกษ คือ เขมร ส่วย ลาว เยอ และส่วนจัดแสดงภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของของในหลวง รัชกาล 9 ชั้นที่ 4 ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ชั้นที่ 5 ใช้สำหรับการทำสมาธิ และชั้นที่ 6 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (เส้นผมพระอรหันต์) และเป็นที่ชมทัศนียภาพของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
จากนั้น ได้พบปะและรับฟังการสะท้อนปัญหาต่าง ๆ จากชาวบ้าน อาทิ นางทองคำ ไชยชาญ อายุ 76 ปี ตัวแทนชาวบ้านในเขตตำบลหญ้าปล้อง และตำบลหนองไผ่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ได้มายื่นหนังสือถึงสมาชิกวุฒิสภา เรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินสาธารณประโยชน์โนนป่ายาง ซึ่งเป็นปัญหาที่ดินทำกินที่เรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานหลายสิบปี.
ภาพ/ข่าว วุฒิสภา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
วุฒิสภาลงพื้นที่วัดบ้านสร้างเรือง จังหวัดศรีสะเกษ
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563 เวลา 11.00 นาฬิกา คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนล่าง) นำโดย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะเดินทาง ลงพื้นที่วัดบ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และนายสมเกียรติ ศรีขาว นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ และชาวบ้านในพื้นที่ให้การต้อนรับ
โอกาสนี้ ได้เข้าสักการะพระธาตุเรืองรอง ซึ่งเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าทางวัฒนธรรมประเพณีชาวอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอีสานใต้ และยังเป็นพระธาตุศิลปะอีสานใต้สี่เผ่าไทย ได้แก่ ลาว ส่วย เขมร และเยอ สำหรับพระธาตุเรืองรอง เป็นตัวอาคารมีการประดับลวดลายอย่างสวยงาม แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ชั้นที่ 1 ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ชั้นที่ 2-3 ทำเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชนสี่เผ่าไทยของศรีสะเกษ คือ เขมร ส่วย ลาว เยอ และส่วนจัดแสดงภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของของในหลวง รัชกาล 9 ชั้นที่ 4 ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ชั้นที่ 5 ใช้สำหรับการทำสมาธิ และชั้นที่ 6 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (เส้นผมพระอรหันต์) และเป็นที่ชมทัศนียภาพของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
จากนั้น ได้พบปะและรับฟังการสะท้อนปัญหาต่าง ๆ จากชาวบ้าน อาทิ นางทองคำ ไชยชาญ อายุ 76 ปี ตัวแทนชาวบ้านในเขตตำบลหญ้าปล้อง และตำบลหนองไผ่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ได้มายื่นหนังสือถึงสมาชิกวุฒิสภา เรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินสาธารณประโยชน์โนนป่ายาง ซึ่งเป็นปัญหาที่ดินทำกินที่เรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานหลายสิบปี.
ภาพ/ข่าว วุฒิสภา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024