พลเอกสุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เน้นย้ำโรงเรียนนำร่องฯ ต้องมีความพร้อม เลือกนวัตกรรมที่ใช่ ตั้งใจทำจริง อิง พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรม
จากการลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อติดตามนโยบายของรัฐบาลของ พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ) พร้อมด้วย นายการุณ สกุลประดิษฐ์ อดีดปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และนายชลำ อรรถธรรม อดีตเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่ปรึกษาฯ เมื่อวันพุธที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี เพื่อรับฟังการรายงานผลการขับเคลื่อนโครงการพิเศษตามนโยบายของรัฐบาลของหน่วยงานทางการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดโดยศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) โดยมีผู้บริหารด้านการศึกษาในพื้นที่ อาทิ ศึกษาธิการจังหวัด ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประธานอาชีวศึกษา ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานส่วนกลางเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายสุทิน แก้วพนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ นายสราวุธ เดชมณีรัตน์ ผอ.สำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนายพิทักษ์ โสตถยาคม รอง ผอ.สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การประชุมครั้งนี้มีเรื่องเสนอเพื่อทราบ 4 เรื่อง คือ โรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ และอาชีวศึกษาประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ในโอกาสนี้ พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล (พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล) คือ ให้ติดตามงานที่รัฐบาลให้หน่วยงานในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแล้ว มีการดำเนินงานหรือไม่อย่างไร และผลักดันให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามงานที่จะได้ริเริ่มขึ้นใหม่ของคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาลเพื่อเสริมการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย ภายหลังจากรับทราบเรื่องที่มีการนำเสนอในที่ประชุมทั้ง 4 เรื่องแล้ว ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนานวัตกรรมและการเลือกโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ว่า โรงเรียนนำร่องในบางพื้นที่มีการพัฒนานวัตกรรมที่น่าสนใจ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม เพียงปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภายในโรงเรียน ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิม แต่ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการวัดและประเมินผลที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เช่น โรงเรียนขนาดเล็ก มีครูไม่ครบชั้น ได้จัดนักเรียนมาเรียนรวมกัน ห้องหนึ่งมีนักเรียน 2-3 ชั้นปี นั่งรวมกัน 1 โต๊ะ/กลุ่ม จัดครูมาช่วยกันดูแลและปรับการสอนให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละบุคคล ดังนั้น ประเด็นการเลือกใช้หรือพัฒนานวัตกรรมและมุมมองด้านงบประมาณของโรงเรียน จะต้องปรับเปลี่ยนความคิดของบุคลากรในโรงเรียนที่สมัครเป็นโรงเรียนนำร่อง ที่อาจเข้าใจว่า เมื่อสมัครเข้าร่วมเป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแล้ว จะได้งบประมาณเพิ่ม หรือได้รับจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนเป็นเงินก้อน ที่สามารถนำมาใช้ทำอะไรก็ได้ตามใจต้องการ แต่ความเป็นจริงแล้ว มีกรอบงาน/กรอบการใช้เงิน ที่มีกระบวนการขั้นตอน ที่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. เช่น การทำหลักสูตร การจัดซื้อสื่อการเรียนรู้ การประเมินผล ฉะนั้น โรงเรียนนำร่องจึงต้องเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมและมีความตั้งใจจริงในการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังไม่มีความพร้อมหรือไม่มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการอย่างจริงจัง ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ขอให้ ผอ.ศปบ.จชต. และศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ พิจารณาโรงเรียนที่มีความพร้อมเป็นโรงเรียนนำร่อง หากโรงเรียนไม่พร้อม/ไม่เข้มแข็ง ไม่ควรเสนอรายชื่อโรงเรียนเหล่านั้นในประกาศรายชื่อโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้.
ภาพ/ข่าว ผู้แทนพิเศษรัฐบาล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ย้ำโรงเรียนนำร่องฯ ต้องมีความพร้อม เลือกนวัตกรรมที่ใช่ ตั้งใจทำจริง
พลเอกสุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เน้นย้ำโรงเรียนนำร่องฯ ต้องมีความพร้อม เลือกนวัตกรรมที่ใช่ ตั้งใจทำจริง อิง พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรม
จากการลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อติดตามนโยบายของรัฐบาลของ พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ) พร้อมด้วย นายการุณ สกุลประดิษฐ์ อดีดปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และนายชลำ อรรถธรรม อดีตเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่ปรึกษาฯ เมื่อวันพุธที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี เพื่อรับฟังการรายงานผลการขับเคลื่อนโครงการพิเศษตามนโยบายของรัฐบาลของหน่วยงานทางการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดโดยศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) โดยมีผู้บริหารด้านการศึกษาในพื้นที่ อาทิ ศึกษาธิการจังหวัด ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประธานอาชีวศึกษา ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานส่วนกลางเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายสุทิน แก้วพนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ นายสราวุธ เดชมณีรัตน์ ผอ.สำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนายพิทักษ์ โสตถยาคม รอง ผอ.สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การประชุมครั้งนี้มีเรื่องเสนอเพื่อทราบ 4 เรื่อง คือ โรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ และอาชีวศึกษาประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ในโอกาสนี้ พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล (พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล) คือ ให้ติดตามงานที่รัฐบาลให้หน่วยงานในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแล้ว มีการดำเนินงานหรือไม่อย่างไร และผลักดันให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามงานที่จะได้ริเริ่มขึ้นใหม่ของคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาลเพื่อเสริมการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย ภายหลังจากรับทราบเรื่องที่มีการนำเสนอในที่ประชุมทั้ง 4 เรื่องแล้ว ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนานวัตกรรมและการเลือกโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ว่า โรงเรียนนำร่องในบางพื้นที่มีการพัฒนานวัตกรรมที่น่าสนใจ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม เพียงปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภายในโรงเรียน ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิม แต่ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการวัดและประเมินผลที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เช่น โรงเรียนขนาดเล็ก มีครูไม่ครบชั้น ได้จัดนักเรียนมาเรียนรวมกัน ห้องหนึ่งมีนักเรียน 2-3 ชั้นปี นั่งรวมกัน 1 โต๊ะ/กลุ่ม จัดครูมาช่วยกันดูแลและปรับการสอนให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละบุคคล ดังนั้น ประเด็นการเลือกใช้หรือพัฒนานวัตกรรมและมุมมองด้านงบประมาณของโรงเรียน จะต้องปรับเปลี่ยนความคิดของบุคลากรในโรงเรียนที่สมัครเป็นโรงเรียนนำร่อง ที่อาจเข้าใจว่า เมื่อสมัครเข้าร่วมเป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแล้ว จะได้งบประมาณเพิ่ม หรือได้รับจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนเป็นเงินก้อน ที่สามารถนำมาใช้ทำอะไรก็ได้ตามใจต้องการ แต่ความเป็นจริงแล้ว มีกรอบงาน/กรอบการใช้เงิน ที่มีกระบวนการขั้นตอน ที่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. เช่น การทำหลักสูตร การจัดซื้อสื่อการเรียนรู้ การประเมินผล ฉะนั้น โรงเรียนนำร่องจึงต้องเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมและมีความตั้งใจจริงในการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังไม่มีความพร้อมหรือไม่มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการอย่างจริงจัง ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ขอให้ ผอ.ศปบ.จชต. และศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ พิจารณาโรงเรียนที่มีความพร้อมเป็นโรงเรียนนำร่อง หากโรงเรียนไม่พร้อม/ไม่เข้มแข็ง ไม่ควรเสนอรายชื่อโรงเรียนเหล่านั้นในประกาศรายชื่อโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้.
ภาพ/ข่าว ผู้แทนพิเศษรัฐบาล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024