ปัญหาการทับซ้อนของอำนาจ การทับซ้อนการบริหาร รวมทั้งการทับซ้อนการครอบครองกรรมสิทธิ์ของส่วนราชการ เป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ อย่างเช่นปัญหาการทับซ้อนระหว่างแผนที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ ทรวงกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กับเขตนิคมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้ไม่สามารถเดินหน้าสำรวจและออกโฉนดให้กับเกษตรกรตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามนโยบายของรัฐบาลได้ตามแผนที่กำหนด
โครงการนี้รัฐบาลได้อนุมัติตั้งแต่ พ.ศ. 2551 หลังจากมีการแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาข้อเท็จกรณีการทับซ้อนระหว่างที่ทำกินของเกษตรกรกับเขตอุทยานแห่งชาติบริเวณเทือกเขาบูโด ซึ่งครอบคลุมพื้น 9 อำเภอ ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จากการที่ได้ประกาศเป็นเขตอุททยาน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยไม่กันพื้นที่ทำกินของประชาชนที่อยู่มาแต่เดิม ซึ่งรัฐบาลมีมติให้ทำการสำรวจและพิสูจน์ หากพบว่ามีการทำกินมาก่อนให้ออกโฉนดให้เกษตรกร แต่ขณะนั้นโครงการยังไม่คืบหน้า เนื่องจากปัญหาความ ไม่สงบในพื้นที่ทำให้ไม่ปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่ จนกระทั่ง พ.ศ.2558 หลังจากที่รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ซึ่งมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และแต่งตั้งคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เพื่อทำหน้าที่ประสานงานบูรณาการ โดยให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับฝ่ายความมั่นคงคือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ตั้งคณะทำงานจึงสามารถดำเนินการสำรวจตั้งแต่นั้นมา
ผลการสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดินตามโครงการดังกล่าว ตั้งแต่ พ.ศ.2558 จนสิ้นสุดปีงบประมาณ 2562 จากการติดตามของนายจำนัล เหมือนดำ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ซึ่งรับผิดชอบกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพพื้นที่ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ทราบว่า สามารถออกโฉนดที่ดินให้กับเกษตรกรแล้วทั้งสิ้นจำนวน 63,065 แปลง สำหรับในปีงบประมาณ 2563 กำหนดเป้าหมายการสำรวจจำนวน 15,000 แปลง โดยจะดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 แต่ประสบปัญหาอีกครั้ง เนื่องจากในพื้นที่อำเภอสุไหงปาดี มีการทับซ้อนกับพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรม ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อีกหน่วยงานหนึ่ง รวมเนื้อที่จำนวน 27,600 ไร่ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลจึงได้รายงานปัญหาไปยังนายกรัฐมนตรี ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหรมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางมารับทราบปัญหา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้กล่าวถึงปัญหานี้ว่า รัฐบาลมีแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการทับซ้อนของที่ดินอย่างชัดเจน เพราะทราบดีว่าเป็นปัญหาระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงต่างๆ เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สังกัดกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ตนเองรับผิดชอบ แต่ละหน่วยงานต่างมีแผนที่ของตนเอง ซึ่งตนได้หารือกับนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเห็นชอบที่จะให้ทุกหน่วยงานมีแผนที่ใช้ร่วมกัน “แผนที่เดียว”หรือ “วันแม๊ป” โดยจะได้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจัดตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด จะทำให้ปัญหาความเดือนร้อนของเกษตรกรหมดไป
ปัญหาการทับซ้อนที่ทำกินของเกษตรกร ไม่ได้เกิดขึ้นที่นี่เพียงแห่งเดียว รวมทั้งปัญหาอื่นๆ อันเป็นปัญหาระหว่างหลายหน่วยงาน อย่างเช่น การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ต้องอาศัยหลายหน่วยงานบูรณาการร่วมกัน ซึ่งผู้แทนพิเศษของรัฐบาลกำลังขับเคลื่อนในปัจจุบัน.
ภาพ/ข่าว ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
รมช.ธรรมนัส จับมือผู้แทนพิเศษดัน “วันแม๊ป” แก้ปัญหาที่ทับซ้อน อ.สุไหงปาดี
ปัญหาการทับซ้อนของอำนาจ การทับซ้อนการบริหาร รวมทั้งการทับซ้อนการครอบครองกรรมสิทธิ์ของส่วนราชการ เป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ อย่างเช่นปัญหาการทับซ้อนระหว่างแผนที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ ทรวงกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กับเขตนิคมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้ไม่สามารถเดินหน้าสำรวจและออกโฉนดให้กับเกษตรกรตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามนโยบายของรัฐบาลได้ตามแผนที่กำหนด
โครงการนี้รัฐบาลได้อนุมัติตั้งแต่ พ.ศ. 2551 หลังจากมีการแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาข้อเท็จกรณีการทับซ้อนระหว่างที่ทำกินของเกษตรกรกับเขตอุทยานแห่งชาติบริเวณเทือกเขาบูโด ซึ่งครอบคลุมพื้น 9 อำเภอ ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จากการที่ได้ประกาศเป็นเขตอุททยาน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยไม่กันพื้นที่ทำกินของประชาชนที่อยู่มาแต่เดิม ซึ่งรัฐบาลมีมติให้ทำการสำรวจและพิสูจน์ หากพบว่ามีการทำกินมาก่อนให้ออกโฉนดให้เกษตรกร แต่ขณะนั้นโครงการยังไม่คืบหน้า เนื่องจากปัญหาความ ไม่สงบในพื้นที่ทำให้ไม่ปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่ จนกระทั่ง พ.ศ.2558 หลังจากที่รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ซึ่งมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และแต่งตั้งคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เพื่อทำหน้าที่ประสานงานบูรณาการ โดยให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับฝ่ายความมั่นคงคือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ตั้งคณะทำงานจึงสามารถดำเนินการสำรวจตั้งแต่นั้นมา
ผลการสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดินตามโครงการดังกล่าว ตั้งแต่ พ.ศ.2558 จนสิ้นสุดปีงบประมาณ 2562 จากการติดตามของนายจำนัล เหมือนดำ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ซึ่งรับผิดชอบกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพพื้นที่ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ทราบว่า สามารถออกโฉนดที่ดินให้กับเกษตรกรแล้วทั้งสิ้นจำนวน 63,065 แปลง สำหรับในปีงบประมาณ 2563 กำหนดเป้าหมายการสำรวจจำนวน 15,000 แปลง โดยจะดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 แต่ประสบปัญหาอีกครั้ง เนื่องจากในพื้นที่อำเภอสุไหงปาดี มีการทับซ้อนกับพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรม ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อีกหน่วยงานหนึ่ง รวมเนื้อที่จำนวน 27,600 ไร่ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลจึงได้รายงานปัญหาไปยังนายกรัฐมนตรี ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหรมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางมารับทราบปัญหา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้กล่าวถึงปัญหานี้ว่า รัฐบาลมีแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการทับซ้อนของที่ดินอย่างชัดเจน เพราะทราบดีว่าเป็นปัญหาระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงต่างๆ เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สังกัดกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ตนเองรับผิดชอบ แต่ละหน่วยงานต่างมีแผนที่ของตนเอง ซึ่งตนได้หารือกับนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเห็นชอบที่จะให้ทุกหน่วยงานมีแผนที่ใช้ร่วมกัน “แผนที่เดียว”หรือ “วันแม๊ป” โดยจะได้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจัดตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด จะทำให้ปัญหาความเดือนร้อนของเกษตรกรหมดไป
ปัญหาการทับซ้อนที่ทำกินของเกษตรกร ไม่ได้เกิดขึ้นที่นี่เพียงแห่งเดียว รวมทั้งปัญหาอื่นๆ อันเป็นปัญหาระหว่างหลายหน่วยงาน อย่างเช่น การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ต้องอาศัยหลายหน่วยงานบูรณาการร่วมกัน ซึ่งผู้แทนพิเศษของรัฐบาลกำลังขับเคลื่อนในปัจจุบัน.
ภาพ/ข่าว ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024