ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มีทั้งที่เป็นกาแฟสำเร็จรูปกึ่งสำเร็จรูป และกาแฟสดหลายแบรนด์จำหน่ายอย่างแพร่หลายในทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งต้องสั่งซื้อเมล็ดกาแฟอันเป็นวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นปริมาณมากในแต่ละปี แต่เมื่อมีการส่งเสริมให้นำมาเพาะปลูกและได้ผลดีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสนับสนุนจากส่วนราชการและภาคส่วนต่างๆ อย่างครบวงจร ภายใต้ชื่อโครงการ “อาราบิกา คืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้” จึงเป็นโอกาสทองของเกษตรกรในพื้นซึ่งสนใจเข้าร่วมโครงการร่วมเพาะปลูกเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้เป็นจำนวนมาก
โครงการ “อาราบิกา คืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้” เริ่มตั้งแต่ ปี 2560 ด้วยความร่วมมือระหว่างกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา กรมวิชาการเกษตรโดยศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ได้ทำการศึกษาทดลองเพาะปลูกในพื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลาซึ่งสภาพภูมิประเทศมีความเหมาะสม จนประสบความสำเร็จจึงได้ทำการเพาะพันธุ์แจกจ่ายให้กับเกษตรกรนำไปปลูกแต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จึงได้ติดต่อขอรับพันธุ์กล้าจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่มาเพิ่มให้กับเกษตรกร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจำนวน 2 แสนต้น พร้อมนี้ได้จัดเจ้าหน้าเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการเพาะปลูก การดูแลบำรุงรักษาเพื่อมาถ่ายทอดให้เกษตรกรในพื้นที่
สำหรับพันธุ์กาแฟที่นำมาปลูกในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในโครงการครั้งมี 2 สายพันธุ์คือพันธุ์อราบีกา ซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศเย็นบนพื้นที่สูง และพันธุ์โรบัสตาเหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นพื้นที่ไม่สูงมากนัก โดยทั้งสองสายพันธุ์สามารถเจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะพื้นที่อำเภอธารโต และมีผลผลิตมีคุณภาพดี มีกลิ่นหอม ฟองครีมหนา ดีกว่าที่ปลูกในที่อื่น ทั้งนี้เพราะในอดีตผืนที่แห่งนี้เคยมีการปลูกกาแฟและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของดี 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล แต่ไม่นิยมปลูกมากนัก เพราะราคาพืชผลชนิดอื่นเช่นยางพาราทำรายได้ให้เกษตรกรดีกว่า ต่อมาเมื่อราคาพืชผลยางพาราประสบปัญหาประกอบกับความต้องและความนิยมในการบริโภคกาแฟขยายตัวเพิ่มมากขึ้น การปลูกกาแฟจึงถูกนำกลับคืนสู่ดินแดนนี้อีกครั้งภายใต้โครงการ “อาราบิกา คืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้” โดยการส่งเสริมจากภาคส่วนต่างๆ บูรณาการอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ให้ความรู้ สนับสนุนกล้าพันธุ์ รวมทั้งด้านการตลาดซึ่งมีบริษัทเอกชนเข้าลงนามทำสัญญาเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 26 ต.ค.2562 ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นพยาน
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 พลเอก ชัยชาญ ชาญมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง กลาโหมในฐานะหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่ในการประสานงานขับเคลื่อนบูรณาการงานแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ได้มาเป็นประธานในพิธีมอบกล้ากาแฟพันธุ์อราบีก้าจำนวน 2 แสนต้น ให้กับเกษตรกรใน 3 อำเภอ คืออำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งถือเป็นการต่อยอดและเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อันประกอบไปด้วยเมืองอุตสาหกรรม เมืองเกษตรกรรม และการท่องเทียวแบบบูรณาการ และนับได้ว่าโครงการ “อาราบิกา คืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้” คือแบบอย่างของการบูรณาในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน ตามแผนปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2561-2564 โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการขับเคลื่อน และพลเอก ชัยชาญ ชาญมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในฐานะหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลและคณะรับผิดชอบด้านการบูรณาการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล.
ภาพ/ข่าว ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“อาราบิกา คืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้”
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มีทั้งที่เป็นกาแฟสำเร็จรูปกึ่งสำเร็จรูป และกาแฟสดหลายแบรนด์จำหน่ายอย่างแพร่หลายในทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งต้องสั่งซื้อเมล็ดกาแฟอันเป็นวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นปริมาณมากในแต่ละปี แต่เมื่อมีการส่งเสริมให้นำมาเพาะปลูกและได้ผลดีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสนับสนุนจากส่วนราชการและภาคส่วนต่างๆ อย่างครบวงจร ภายใต้ชื่อโครงการ “อาราบิกา คืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้” จึงเป็นโอกาสทองของเกษตรกรในพื้นซึ่งสนใจเข้าร่วมโครงการร่วมเพาะปลูกเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้เป็นจำนวนมาก
โครงการ “อาราบิกา คืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้” เริ่มตั้งแต่ ปี 2560 ด้วยความร่วมมือระหว่างกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา กรมวิชาการเกษตรโดยศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ได้ทำการศึกษาทดลองเพาะปลูกในพื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลาซึ่งสภาพภูมิประเทศมีความเหมาะสม จนประสบความสำเร็จจึงได้ทำการเพาะพันธุ์แจกจ่ายให้กับเกษตรกรนำไปปลูกแต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จึงได้ติดต่อขอรับพันธุ์กล้าจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่มาเพิ่มให้กับเกษตรกร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจำนวน 2 แสนต้น พร้อมนี้ได้จัดเจ้าหน้าเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการเพาะปลูก การดูแลบำรุงรักษาเพื่อมาถ่ายทอดให้เกษตรกรในพื้นที่
สำหรับพันธุ์กาแฟที่นำมาปลูกในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในโครงการครั้งมี 2 สายพันธุ์คือพันธุ์อราบีกา ซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศเย็นบนพื้นที่สูง และพันธุ์โรบัสตาเหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นพื้นที่ไม่สูงมากนัก โดยทั้งสองสายพันธุ์สามารถเจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะพื้นที่อำเภอธารโต และมีผลผลิตมีคุณภาพดี มีกลิ่นหอม ฟองครีมหนา ดีกว่าที่ปลูกในที่อื่น ทั้งนี้เพราะในอดีตผืนที่แห่งนี้เคยมีการปลูกกาแฟและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของดี 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล แต่ไม่นิยมปลูกมากนัก เพราะราคาพืชผลชนิดอื่นเช่นยางพาราทำรายได้ให้เกษตรกรดีกว่า ต่อมาเมื่อราคาพืชผลยางพาราประสบปัญหาประกอบกับความต้องและความนิยมในการบริโภคกาแฟขยายตัวเพิ่มมากขึ้น การปลูกกาแฟจึงถูกนำกลับคืนสู่ดินแดนนี้อีกครั้งภายใต้โครงการ “อาราบิกา คืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้” โดยการส่งเสริมจากภาคส่วนต่างๆ บูรณาการอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ให้ความรู้ สนับสนุนกล้าพันธุ์ รวมทั้งด้านการตลาดซึ่งมีบริษัทเอกชนเข้าลงนามทำสัญญาเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 26 ต.ค.2562 ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นพยาน
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 พลเอก ชัยชาญ ชาญมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง กลาโหมในฐานะหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่ในการประสานงานขับเคลื่อนบูรณาการงานแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ได้มาเป็นประธานในพิธีมอบกล้ากาแฟพันธุ์อราบีก้าจำนวน 2 แสนต้น ให้กับเกษตรกรใน 3 อำเภอ คืออำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งถือเป็นการต่อยอดและเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อันประกอบไปด้วยเมืองอุตสาหกรรม เมืองเกษตรกรรม และการท่องเทียวแบบบูรณาการ และนับได้ว่าโครงการ “อาราบิกา คืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้” คือแบบอย่างของการบูรณาในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน ตามแผนปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2561-2564 โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการขับเคลื่อน และพลเอก ชัยชาญ ชาญมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในฐานะหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลและคณะรับผิดชอบด้านการบูรณาการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล.
ภาพ/ข่าว ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024