ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้สถิติการก่อเหตุจะลดลง แต่ยังมีเหตุร้ายสร้างความเสียหายและกระทบต่อประชาชนใน วงกว้าง อีกทั้งผู้ก่อเหตุยังคงเคลื่อนไหวเพื่อขยายแนวร่วมทั้งในและต่างประเทศ อาศัยประเด็นทางประวัติศาสตร์ ศาสนา ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนปัญหาจากภัยแทรกซ้อนหลายรูปแบบ ทำให้สถานการณ์ยังคงดำรงในพื้นที่กลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อนหลายมิติ รัฐบาลจึงกำหนดให้เป็นหน้าที่ของของทุกส่วนราชการเข้ามามีส่วนร่วม โดยให้สภาความมั่นคงแห่งชาติจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการเป็นแนวทางปฏิบัติในลักษณะบูรณาการ อันถือเป็นนโยบายระดับชาติ และได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติตามห้วงระยะเวลาต่างๆ มาจนปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555 – พ.ศ.2557 แผนการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดขายแดนภาคใต้ พ.ศ.2558 – 2560 นโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2560 – 2562 ปัจจุบันอยู่ในห้วงของแผนปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2561 – 2564 และแผนบูรณาการ ด้วยการนำยุทธศาสตร์พระราชทาน“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทาง ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก คือ ด้านการสร้างความเข้าใจ ด้านความมั่นคง และด้านการพัฒนาเพื่อความมั่นคง อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนบูรณาการแผนงานที่จะนำจังหวัดชายแดนภาคใต้คืนสู่ความสงบสุข มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อให้การบริหารและการบูรณาการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีประกาศ ฉบับที่ 98/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 แบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1 ระดับนโยบาย 2 ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 3 ระดับหน่วยปฏิบัติ ในส่วนของระดับแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติได้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกโดยย่อว่า“คปต.” ทำหน้าที่บูรณาการระหว่างหน่วยงาน ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
หลังจากนั้นคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งฉบับที่ 57/2559 ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒติเป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรี ราชการส่วนกลางกับหน่วยงานในพื้นที่ คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภาคส่วนต่าง ๆ ในการเชื่อมโยงงานให้เป็นเอกภาพเกิดการบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมให้การแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และรายงาน ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ขณะเดียวกันให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหน้า ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า” ปฏิบัติงานด้านธุรการให้กับผู้แทนพิเศษในการประสานงานกับส่วนราชการในพื้นที่ มีฝ่ายอำนวยการประจำผู้แทนพิเศษ ประจำที่สำนักงานคณะกรรมการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหน้า ปัจจุบัน ตั้งที่ค่าย สมเด็จพระสุริโยทัย ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ 073-424910 เว็บไซต์ สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า http://www.korportorsuanna.com/th และ facebook สำนักงาน คปต. ส่วนหน้า สำหรับสร้างการรับรู้การปฏิบัติงานของผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ตลอดจนประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของรัฐบาลให้ทราบโดยทั่วกัน.
ภาพ/ข่าว ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.)
ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้สถิติการก่อเหตุจะลดลง แต่ยังมีเหตุร้ายสร้างความเสียหายและกระทบต่อประชาชนใน วงกว้าง อีกทั้งผู้ก่อเหตุยังคงเคลื่อนไหวเพื่อขยายแนวร่วมทั้งในและต่างประเทศ อาศัยประเด็นทางประวัติศาสตร์ ศาสนา ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนปัญหาจากภัยแทรกซ้อนหลายรูปแบบ ทำให้สถานการณ์ยังคงดำรงในพื้นที่กลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อนหลายมิติ รัฐบาลจึงกำหนดให้เป็นหน้าที่ของของทุกส่วนราชการเข้ามามีส่วนร่วม โดยให้สภาความมั่นคงแห่งชาติจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการเป็นแนวทางปฏิบัติในลักษณะบูรณาการ อันถือเป็นนโยบายระดับชาติ และได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติตามห้วงระยะเวลาต่างๆ มาจนปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555 – พ.ศ.2557 แผนการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดขายแดนภาคใต้ พ.ศ.2558 – 2560 นโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2560 – 2562 ปัจจุบันอยู่ในห้วงของแผนปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2561 – 2564 และแผนบูรณาการ ด้วยการนำยุทธศาสตร์พระราชทาน“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทาง ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก คือ ด้านการสร้างความเข้าใจ ด้านความมั่นคง และด้านการพัฒนาเพื่อความมั่นคง อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนบูรณาการแผนงานที่จะนำจังหวัดชายแดนภาคใต้คืนสู่ความสงบสุข มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
เพื่อให้การบริหารและการบูรณาการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีประกาศ ฉบับที่ 98/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 แบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1 ระดับนโยบาย 2 ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 3 ระดับหน่วยปฏิบัติ ในส่วนของระดับแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติได้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกโดยย่อว่า“คปต.” ทำหน้าที่บูรณาการระหว่างหน่วยงาน ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
หลังจากนั้นคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งฉบับที่ 57/2559 ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒติเป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรี ราชการส่วนกลางกับหน่วยงานในพื้นที่ คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภาคส่วนต่าง ๆ ในการเชื่อมโยงงานให้เป็นเอกภาพเกิดการบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมให้การแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และรายงาน ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ขณะเดียวกันให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหน้า ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า” ปฏิบัติงานด้านธุรการให้กับผู้แทนพิเศษในการประสานงานกับส่วนราชการในพื้นที่ มีฝ่ายอำนวยการประจำผู้แทนพิเศษ ประจำที่สำนักงานคณะกรรมการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหน้า ปัจจุบัน ตั้งที่ค่าย สมเด็จพระสุริโยทัย ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ 073-424910 เว็บไซต์ สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า http://www.korportorsuanna.com/th และ facebook สำนักงาน คปต. ส่วนหน้า สำหรับสร้างการรับรู้การปฏิบัติงานของผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ตลอดจนประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของรัฐบาลให้ทราบโดยทั่วกัน.
ภาพ/ข่าว ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024