ดร.ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง วิทยาลัยนวัตกรรมฯ มรภ.สงขลา ขานรับนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ทำวิจัย“แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เชื่อมโยงมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย” คว้ารางวัลนำเสนอผลงานภาคบรรยาย ระดับดีเด่น ด้านการท่องเที่ยว
ดร.ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ตนได้รับรางวัลนำเสนอผลงานภาคบรรยาย ระดับดีเด่น ด้านการท่องเที่ยว จากบทความเรื่อง “แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เชื่อมโยงมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย” ในการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 13 ขับเคลื่อนพลังเครือข่ายการวิจัย และนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาประเทศไทย 4.0 ให้ยั่งยืน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20-22 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรม เชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ ซึ่งบทความวิจัยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยการขับเคลื่อนงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่นำร่อง อ.เบตง จ.ยะลา สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสก.) และโครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี พ.ศ.2562 ซึ่งสนับสนุนงบประมาณโดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.
ดร.ทวีสินธุ์ กล่าวว่า พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีศักยภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีวัฒนธรรมวิถีชีวิตท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรสำคัญของการท่องเที่ยว แม้ด้านการเมืองและความมั่งคงทำให้ภาพลักษณ์ของพื้นที่มีความเสี่ยงสูง แต่เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นได้รับการเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน การท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนที่ถูกนำมาใช้ เพื่อมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมให้คนทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ เนื่องจากเป็นการเชื่อมโยงหลายหน่วยงานได้ร่วมกันแสวงหามาตรการในการแก้ไขและพลิกฟื้น
ทั้งนี้ มรภ.สงขลา ได้รับงบประมาณสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เชื่อมโยงมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย จาก สกสก. และ อพท. ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์ เพื่อมุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมสร้างการยอมรับ และลดความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งจะช่วยยกระดับให้ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ดังกล่าวมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ กล่าวอีกว่า ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เชื่อมโยงมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมชุมชนได้ แต่ต้องมีการดำเนินการพัฒนาคนในพื้นที่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการและการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนั้น ผลวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในมิติทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดรายได้เสริมและสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่ มิติทางด้านสังคมส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งและความมั่นคงของชุมชน รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกเพื่อปรับกระบวนทัศน์ของคนภายนอก มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำ และธรรมชาติอื่นๆ ในพื้นที่ให้คงความอุดมสมบูรณ์ สุดท้ายมิติทางวัฒนธรรมส่งผลให้เกิดความรักและหวงแหนรวมถึงร่วมกันฟื้นฟูอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีในพื้นที่ให้คงอยู่สืบไป
“การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้บางชุมชนเท่านั้น ในขณะที่บางชุมชนยังไม่มีความพร้อมในการรับนักท่องเที่ยว เนื่องจากขาดการบริหารจัดการที่ชัดเจน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย เพื่อให้สอดรับกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบาย สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มรภ.สงขลา กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“ดร.ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง” มรภ.สงขลา ทำวิจัยพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ คว้ารางวัลนำเสนอผลงานภาคบรรยาย ระดับดีเด่น
ดร.ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง วิทยาลัยนวัตกรรมฯ มรภ.สงขลา ขานรับนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ทำวิจัย“แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เชื่อมโยงมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย” คว้ารางวัลนำเสนอผลงานภาคบรรยาย ระดับดีเด่น ด้านการท่องเที่ยว
ดร.ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ตนได้รับรางวัลนำเสนอผลงานภาคบรรยาย ระดับดีเด่น ด้านการท่องเที่ยว จากบทความเรื่อง “แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เชื่อมโยงมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย” ในการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 13 ขับเคลื่อนพลังเครือข่ายการวิจัย และนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาประเทศไทย 4.0 ให้ยั่งยืน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20-22 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรม เชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ ซึ่งบทความวิจัยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยการขับเคลื่อนงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่นำร่อง อ.เบตง จ.ยะลา สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสก.) และโครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี พ.ศ.2562 ซึ่งสนับสนุนงบประมาณโดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.
ดร.ทวีสินธุ์ กล่าวว่า พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีศักยภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีวัฒนธรรมวิถีชีวิตท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรสำคัญของการท่องเที่ยว แม้ด้านการเมืองและความมั่งคงทำให้ภาพลักษณ์ของพื้นที่มีความเสี่ยงสูง แต่เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นได้รับการเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน การท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนที่ถูกนำมาใช้ เพื่อมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมให้คนทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ เนื่องจากเป็นการเชื่อมโยงหลายหน่วยงานได้ร่วมกันแสวงหามาตรการในการแก้ไขและพลิกฟื้น
ทั้งนี้ มรภ.สงขลา ได้รับงบประมาณสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เชื่อมโยงมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย จาก สกสก. และ อพท. ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์ เพื่อมุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมสร้างการยอมรับ และลดความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งจะช่วยยกระดับให้ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ดังกล่าวมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ กล่าวอีกว่า ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เชื่อมโยงมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมชุมชนได้ แต่ต้องมีการดำเนินการพัฒนาคนในพื้นที่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการและการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนั้น ผลวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในมิติทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดรายได้เสริมและสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่ มิติทางด้านสังคมส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งและความมั่นคงของชุมชน รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกเพื่อปรับกระบวนทัศน์ของคนภายนอก มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำ และธรรมชาติอื่นๆ ในพื้นที่ให้คงความอุดมสมบูรณ์ สุดท้ายมิติทางวัฒนธรรมส่งผลให้เกิดความรักและหวงแหนรวมถึงร่วมกันฟื้นฟูอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีในพื้นที่ให้คงอยู่สืบไป
“การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้บางชุมชนเท่านั้น ในขณะที่บางชุมชนยังไม่มีความพร้อมในการรับนักท่องเที่ยว เนื่องจากขาดการบริหารจัดการที่ชัดเจน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย เพื่อให้สอดรับกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบาย สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มรภ.สงขลา กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024