นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมด้วยนายกีรป กฤตธีรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ ที่ปรึกษานายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิดประเทศไทย และนายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิตามินโฟลิก เอซิด และการป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิด ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา ร่วมประชุมเสวนาสิทธิของมารดาระหว่างก่อนและหลังคลอดบุตร กรณีการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) ณ ห้องประชุมรัตนโกสินทร์ ชั้น 3 โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีนายแพทย์อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวต้อนรับ และมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านสาธารณสุข การศึกษา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกว่า 250 คน ซึ่งการจัดเสวนาครั้งนี้ เพื่อกำชับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้เห็นถึงความสำคัญของการแจกจ่ายวิตามินดังกล่าวแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างถูกต้อง รวมถึงเป็นการเก็บข้อมูลการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในเขตภาคใต้เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ “โครงการสิทธิของมารดาระหว่างก่อนและหลังคลอดบุตร กรณีการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) ” เสนอคณะรัฐมนตรี ชงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกมาตรฐานการบริการสาธารณสุขในการรณรงค์ให้ความรู้ รวมถึงการแจกจ่ายวิตามินโฟลิก เอซิด ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หวังหญิงไทยทุกพื้นที่ได้มีความรู้ เข้าใจ เข้าถึงวิตามินโฟลิก เอซิด อย่างถูกต้อง ทั่วถึง เพื่อลดและป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิดในทารกแรกเกิด สร้างรากฐานทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพให้ประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการต่อยอดการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนกรณีผู้แทนองค์กรเพื่อผู้พิการขอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องทำการผลิตวิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) ขนาด 0.4 มิลลิกรัม สำหรับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีโอกาสตั้งครรภ์รับประทานตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ เพื่อช่วยป้องกันปัญหาพิการในเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำวินิจฉัยให้องค์การเภสัชกรรมดำเนินการผลิตวิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) ขนาด 0.4 มิลลิกรัม จำหน่ายและจัดให้อยู่ในหมวดยา เพื่อประชาชนจะได้ซื้อบริโภคได้ง่ายขึ้นและหมดกังวลเกี่ยวกับคำเตือนสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งองค์การเภสัชกรรมกำลังเร่งดำเนินการ โดยจะแล้วเสร็จพร้อมจำหน่ายภายในเดือนพฤษภาคม 2563 ดังนั้นในระหว่างนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการรณรงค์ให้ความรู้ในเรื่องการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด อย่างถูกต้องแก่ประชาชนควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงที่เตรียมวางแผนมีบุตร ซึ่งจากการศึกษาการดำเนินการให้บริการแจกจ่ายวิตามินดังกล่าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นนั้น พบว่า แม้ว่าจะมีการให้บริการจ่ายวิตามินดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายวิตามินในช่วงตั้งครรภ์แล้ว ซึ่งถือว่าช้าไปเนื่องจากตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องบริโภคในช่วง 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ และ 3 เดือนหลังตั้งครรภ์ ถึงจะลดอัตราการเกิดภาวะพิการแต่กำเนิดในเด็กได้ร้อยละ 50 และอีกปัจจัยสำคัญคือหน่วยงานด้านสาธารณสุขยังไม่มีระบบติดตามผลหรือตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่ามีการจ่ายวิตามินดังกล่าวไปเท่าไหร่ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับไปนั้นบริโภคอย่างถูกต้องครบถ้วนตามคำแนะนำของแพทย์หรือไม่ และจำนวนของเด็กพิการแต่กำเนิดในภาพรวมลดลงมากน้อยเพียงใดภายหลังการบริโภควิตามินดังกล่าว ซึ่งระบบชี้วัดประเมินผลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนเพื่อยกระดับมาตรฐานในการให้บริการสาธารณสุขด้านการเข้าถึงวิตามินดังกล่าวและวางแผนการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอย่างถูกต้องแก่ประชาชนได้อย่างทั่วยิ่งขึ้น
ในวันนี้ จึงลงพื้นที่จัดเวทีเสวนาร่วมกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ ที่ปรึกษานายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิดประเทศไทย และนายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิตามินโฟลิก เอซิด และการป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิด นายแพทย์ปพน ดีไชยเศรษฐ รองนายแพทย์สาธารณสุขสงขลา ดร.ทพ.วิรัตน์ เอื้องพูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 นายแพทย์พณพัฒน์ โตเจริญวาณิช นายแพทย์เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา โรงพยาบาลหาดใหญ่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอหาดใหญ่ และประชาชนในพื้นที่กว่า 250 คน ร่วมรับฟังการเสวนา ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแจกจ่ายวิตามินโฟลิก เอซิด รวมถึงหารือแนวทางการสร้างเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแก่ประชาชน เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาจัดทำข้อเสนอแนะในโครงการสิทธิของมารดาระหว่างก่อนและหลังคลอดบุตร กรณีการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) แก่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
นอกจากนี้ ในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562) จะลงพื้นที่จังหวัดสตูล จัดการเสวนา ณ โรงพยาบาลสตูล อำเภอเมืองสตูล โดยมอบหมายให้นายกีรป กฤตธีรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมเวทีเสวนากับศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ ที่ปรึกษานายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิดประเทศไทย และนายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วยนายแพทย์สมบัติ ผดุงวิทย์วัฒนา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล และแพทย์หญิงวันทนา ไทรงาม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสตูล เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด อย่างถูกต้องและยั่งยืนต่อไป
” จากข้อมูลสถานการณ์ความพิการแต่กำเนิดของไทยในปัจจุบันของสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด(ประเทศไทย) พบว่า ทารกแรกเกิดของไทยมีความเสี่ยงเกิดภาวะพิการแต่กำเนิดถึง 30,000 รายต่อปี หากปล่อยให้เกิดภาวะดังกล่าวเช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และกลุ่มอาการดาวน์ จากการขาดวิตามินดังกล่าวทั้งที่สามารถป้องกันได้ ผลตามมาคือความสูญเสียทางด้านทรัพยากรมนุษย์และเศรษฐกิจที่ใหญ่หลวง ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ เนื่องจากเป็นสิ่งสะท้อนมาตรฐานการบริการสาธารณสุขอันเป็นรากฐานในการสร้างทรัพยากรบุคคลของชาติ ทุกภาคส่วนควรตระหนักถึงความสำคัญอย่างเร่งด่วนในการบูรณาการร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ต้นน้ำ คือ หน่วยงานควรให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์ และกลุ่มที่วางแผนมีบุตร ให้มีความตระหนักรู้ เข้าใจ และเข้าถึงวิตามินโฟลิก เอซิดได้อย่างทั่วถึง และถูกต้อง หวังว่าจังหวัดสงขลาจะเป็นจังหวัดนำร่องในเขตภาคใต้ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการดูแลทั้งก่อน ระหว่าง และหลังตั้งครรภ์ ทำให้ทารกแรกเกิดสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและสติปัญญา นำไปสู่การเป็นต้นทุนที่ดีของประชากรในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น หากแก้ไขที่ต้นน้ำได้ ปัญหาปลายน้ำเช่นการสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้พิการแต่กำเนิดจะลดลง คุณภาพชีวิตของประชาชนก็ดียิ่งขึ้นเช่นกัน” นายบูรณ์กล่าว.
ภาพ/ข่าว พินิจ ชูแสง
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเวทีเสวนา “สิทธิของมารดาฯ ในการเข้าถึงและบริโภคโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9)” ดันทุกภาคส่วนบูรณาการความร่วมมือลดปัญหาความพิการในทารกแรกเกิด
นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมด้วยนายกีรป กฤตธีรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ ที่ปรึกษานายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิดประเทศไทย และนายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิตามินโฟลิก เอซิด และการป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิด ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา ร่วมประชุมเสวนาสิทธิของมารดาระหว่างก่อนและหลังคลอดบุตร กรณีการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) ณ ห้องประชุมรัตนโกสินทร์ ชั้น 3 โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีนายแพทย์อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวต้อนรับ และมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านสาธารณสุข การศึกษา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกว่า 250 คน ซึ่งการจัดเสวนาครั้งนี้ เพื่อกำชับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้เห็นถึงความสำคัญของการแจกจ่ายวิตามินดังกล่าวแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างถูกต้อง รวมถึงเป็นการเก็บข้อมูลการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในเขตภาคใต้เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ “โครงการสิทธิของมารดาระหว่างก่อนและหลังคลอดบุตร กรณีการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) ” เสนอคณะรัฐมนตรี ชงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกมาตรฐานการบริการสาธารณสุขในการรณรงค์ให้ความรู้ รวมถึงการแจกจ่ายวิตามินโฟลิก เอซิด ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หวังหญิงไทยทุกพื้นที่ได้มีความรู้ เข้าใจ เข้าถึงวิตามินโฟลิก เอซิด อย่างถูกต้อง ทั่วถึง เพื่อลดและป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิดในทารกแรกเกิด สร้างรากฐานทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพให้ประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการต่อยอดการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนกรณีผู้แทนองค์กรเพื่อผู้พิการขอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องทำการผลิตวิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) ขนาด 0.4 มิลลิกรัม สำหรับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีโอกาสตั้งครรภ์รับประทานตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ เพื่อช่วยป้องกันปัญหาพิการในเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำวินิจฉัยให้องค์การเภสัชกรรมดำเนินการผลิตวิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) ขนาด 0.4 มิลลิกรัม จำหน่ายและจัดให้อยู่ในหมวดยา เพื่อประชาชนจะได้ซื้อบริโภคได้ง่ายขึ้นและหมดกังวลเกี่ยวกับคำเตือนสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งองค์การเภสัชกรรมกำลังเร่งดำเนินการ โดยจะแล้วเสร็จพร้อมจำหน่ายภายในเดือนพฤษภาคม 2563 ดังนั้นในระหว่างนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการรณรงค์ให้ความรู้ในเรื่องการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด อย่างถูกต้องแก่ประชาชนควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงที่เตรียมวางแผนมีบุตร ซึ่งจากการศึกษาการดำเนินการให้บริการแจกจ่ายวิตามินดังกล่าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นนั้น พบว่า แม้ว่าจะมีการให้บริการจ่ายวิตามินดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายวิตามินในช่วงตั้งครรภ์แล้ว ซึ่งถือว่าช้าไปเนื่องจากตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องบริโภคในช่วง 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ และ 3 เดือนหลังตั้งครรภ์ ถึงจะลดอัตราการเกิดภาวะพิการแต่กำเนิดในเด็กได้ร้อยละ 50 และอีกปัจจัยสำคัญคือหน่วยงานด้านสาธารณสุขยังไม่มีระบบติดตามผลหรือตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่ามีการจ่ายวิตามินดังกล่าวไปเท่าไหร่ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับไปนั้นบริโภคอย่างถูกต้องครบถ้วนตามคำแนะนำของแพทย์หรือไม่ และจำนวนของเด็กพิการแต่กำเนิดในภาพรวมลดลงมากน้อยเพียงใดภายหลังการบริโภควิตามินดังกล่าว ซึ่งระบบชี้วัดประเมินผลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนเพื่อยกระดับมาตรฐานในการให้บริการสาธารณสุขด้านการเข้าถึงวิตามินดังกล่าวและวางแผนการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอย่างถูกต้องแก่ประชาชนได้อย่างทั่วยิ่งขึ้น
ในวันนี้ จึงลงพื้นที่จัดเวทีเสวนาร่วมกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ ที่ปรึกษานายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิดประเทศไทย และนายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิตามินโฟลิก เอซิด และการป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิด นายแพทย์ปพน ดีไชยเศรษฐ รองนายแพทย์สาธารณสุขสงขลา ดร.ทพ.วิรัตน์ เอื้องพูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 นายแพทย์พณพัฒน์ โตเจริญวาณิช นายแพทย์เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา โรงพยาบาลหาดใหญ่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอหาดใหญ่ และประชาชนในพื้นที่กว่า 250 คน ร่วมรับฟังการเสวนา ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแจกจ่ายวิตามินโฟลิก เอซิด รวมถึงหารือแนวทางการสร้างเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแก่ประชาชน เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาจัดทำข้อเสนอแนะในโครงการสิทธิของมารดาระหว่างก่อนและหลังคลอดบุตร กรณีการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) แก่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
นอกจากนี้ ในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562) จะลงพื้นที่จังหวัดสตูล จัดการเสวนา ณ โรงพยาบาลสตูล อำเภอเมืองสตูล โดยมอบหมายให้นายกีรป กฤตธีรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมเวทีเสวนากับศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ ที่ปรึกษานายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิดประเทศไทย และนายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วยนายแพทย์สมบัติ ผดุงวิทย์วัฒนา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล และแพทย์หญิงวันทนา ไทรงาม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสตูล เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด อย่างถูกต้องและยั่งยืนต่อไป
” จากข้อมูลสถานการณ์ความพิการแต่กำเนิดของไทยในปัจจุบันของสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด(ประเทศไทย) พบว่า ทารกแรกเกิดของไทยมีความเสี่ยงเกิดภาวะพิการแต่กำเนิดถึง 30,000 รายต่อปี หากปล่อยให้เกิดภาวะดังกล่าวเช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และกลุ่มอาการดาวน์ จากการขาดวิตามินดังกล่าวทั้งที่สามารถป้องกันได้ ผลตามมาคือความสูญเสียทางด้านทรัพยากรมนุษย์และเศรษฐกิจที่ใหญ่หลวง ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ เนื่องจากเป็นสิ่งสะท้อนมาตรฐานการบริการสาธารณสุขอันเป็นรากฐานในการสร้างทรัพยากรบุคคลของชาติ ทุกภาคส่วนควรตระหนักถึงความสำคัญอย่างเร่งด่วนในการบูรณาการร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ต้นน้ำ คือ หน่วยงานควรให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์ และกลุ่มที่วางแผนมีบุตร ให้มีความตระหนักรู้ เข้าใจ และเข้าถึงวิตามินโฟลิก เอซิดได้อย่างทั่วถึง และถูกต้อง หวังว่าจังหวัดสงขลาจะเป็นจังหวัดนำร่องในเขตภาคใต้ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการดูแลทั้งก่อน ระหว่าง และหลังตั้งครรภ์ ทำให้ทารกแรกเกิดสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและสติปัญญา นำไปสู่การเป็นต้นทุนที่ดีของประชากรในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น หากแก้ไขที่ต้นน้ำได้ ปัญหาปลายน้ำเช่นการสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้พิการแต่กำเนิดจะลดลง คุณภาพชีวิตของประชาชนก็ดียิ่งขึ้นเช่นกัน” นายบูรณ์กล่าว.
ภาพ/ข่าว พินิจ ชูแสง
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024