ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมฯ มรภ.สงขลา รับโล่ประกาศเกียรติคุณผลงานระดับดีมากจาก สกสว. ทำวิจัยผลิตและประยุกต์ใช้เชื้อราบิวเวอเรียจากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรในท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มุ่งควบคุมศัตรูพืชแบบชีววิธี หวังช่วยแก้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ ผลงานระดับดีมาก จากงานวิจัยเรื่อง “การผลิตและการประยุกต์ใช้เชื้อราบิวเวอเรียจากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรในท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน” โดยมีศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบ้านต้นมะพร้าวสูงเป็นชุมชนต้นแบบ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้นอกจากจะเป็นกระบวนการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร มุ่งเน้นการควบคุมศัตรูพืชแบบชีววิธี สร้างเครือข่ายเกษตรกรที่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัยที่มีผลงานในการสร้างความรู้และนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในระดับฐานราก สร้างศักยภาพให้กับคนในท้องถิ่น ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ กรุงเทพฯ
ดร.วนิดา กล่าวว่า งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดควบคุมและตรวจวัดด้วยระบบอัตโนมัติในโรงบ่มเชื้อและผลิตเชื้อราบิวเวอเรียระดับชุมชน รวมทั้งเพื่อผลิตและประยุกต์ใช้เชื้อราบิวเวอเรียที่ผลิตได้จากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรในท้องถิ่น และศึกษารูปแบบการจัดการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากเล็งเห็นว่าปัจจุบันยังมีเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีทางวิทยาศาสตร์อย่างแพร่หลาย โดยตลอดระยะเวลากว่าสิบปีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การทำการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาเน้นการใช้ชีววิธี จึงจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง และทั่วถึงในทุกระดับการผลิต ไม่เพียงเน้นเฉพาะกับสินค้าเกษตรส่งออกเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการผลิตในระดับครัวเรือนและชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต มีรากฐานการผลิตสินค้าคุณภาพที่ดี พร้อมทั้งต่อยอดขยายการผลิตสินค้าเกษตรในระดับวิสาหกิจชุมชน และระดับที่สูงขึ้น เกิดสังคมเกษตรที่ยั่งยืนในอนาคต
อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ กล่าวอีกว่า การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีเป็นกระบวนผลิตสินค้าเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ผลิตสินค้าเกษตรได้ตามมาตรฐาน การใช้เชื้อราฆ่าแมลงเป็นวิธีการทางชีววิธีที่ใช้ศัตรูธรรมชาติชนิดที่เป็นเชื้อจุลินทรีย์ในการควบคุมกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะเชื้อราบิวเวอเรียซึ่งเป็นเชื้อราฆ่าแมลงที่สามารถใช้ควบคุมแมลงได้หลายชนิด และมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงศัตรูผัก เช่น หนอนกระทู้ผักได้ถึง 80% อย่างไรก็ตาม แม้มีการรณรงค์ให้ใช้เชื้อราบิวเวอเรียทางการเกษตร แต่เกษตรกรเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการควบคุมแมลง ซึ่งเป็นผลมาจากมีเกษตรกรเพียงจำนวนน้อยที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของเชื้อราบิวเวอเรีย เข้าถึงผลิตภัณฑ์เชื้อราบิวเวอเรีย รวมทั้งวิธีการใช้ที่ถูกต้อง
ดังนั้น การสร้างเครือข่ายเกษตรกรให้เรียนรู้การผลิต และการประยุกต์ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรในชุมชน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตั้งแต่การกระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย และสามารถประยุกต์ใช้เองในพื้นที่เกษตรของตน จึงนับว่าเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายผู้ผลิตสินค้าเกษตร ศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติของชุมชนบ้านต้นมะพร้าวสูง ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นหน่วยงานเครือข่ายในท้องถิ่นที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการทำเกษตรแบบปลอดภัยจากสารพิษ ซึ่งเชื้อราที่ผลิตได้เองนี้นอกจากจะสะดวกต่อการนำไปใช้ เกษตรกรยังจะได้เชื้อที่สดใหม่มีประสิทธิภาพ สำหรับควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเมื่อเกษตรกรเห็นถึงประสิทธิภาพของเชื้อราที่ใช้ควบคุมแมลงแล้ว จะเกิดความตระหนักในการนำมาใช้ทดแทนสารเคมี สร้างความยั่งยืนในการทำระบบเกษตรปลอดสารพิษอย่างแท้จริง.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
December 4, 2019
December 3, 2019
December 2, 2019
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
“ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล” อาจารย์ มรภ.สงขลา รับโล่ผลงานวิจัยระดับดีมากจาก สกสว.
ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมฯ มรภ.สงขลา รับโล่ประกาศเกียรติคุณผลงานระดับดีมากจาก สกสว. ทำวิจัยผลิตและประยุกต์ใช้เชื้อราบิวเวอเรียจากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรในท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มุ่งควบคุมศัตรูพืชแบบชีววิธี หวังช่วยแก้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ ผลงานระดับดีมาก จากงานวิจัยเรื่อง “การผลิตและการประยุกต์ใช้เชื้อราบิวเวอเรียจากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรในท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน” โดยมีศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบ้านต้นมะพร้าวสูงเป็นชุมชนต้นแบบ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้นอกจากจะเป็นกระบวนการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร มุ่งเน้นการควบคุมศัตรูพืชแบบชีววิธี สร้างเครือข่ายเกษตรกรที่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัยที่มีผลงานในการสร้างความรู้และนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในระดับฐานราก สร้างศักยภาพให้กับคนในท้องถิ่น ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ กรุงเทพฯ
ดร.วนิดา กล่าวว่า งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดควบคุมและตรวจวัดด้วยระบบอัตโนมัติในโรงบ่มเชื้อและผลิตเชื้อราบิวเวอเรียระดับชุมชน รวมทั้งเพื่อผลิตและประยุกต์ใช้เชื้อราบิวเวอเรียที่ผลิตได้จากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรในท้องถิ่น และศึกษารูปแบบการจัดการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากเล็งเห็นว่าปัจจุบันยังมีเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีทางวิทยาศาสตร์อย่างแพร่หลาย โดยตลอดระยะเวลากว่าสิบปีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การทำการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาเน้นการใช้ชีววิธี จึงจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง และทั่วถึงในทุกระดับการผลิต ไม่เพียงเน้นเฉพาะกับสินค้าเกษตรส่งออกเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการผลิตในระดับครัวเรือนและชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต มีรากฐานการผลิตสินค้าคุณภาพที่ดี พร้อมทั้งต่อยอดขยายการผลิตสินค้าเกษตรในระดับวิสาหกิจชุมชน และระดับที่สูงขึ้น เกิดสังคมเกษตรที่ยั่งยืนในอนาคต
อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ กล่าวอีกว่า การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีเป็นกระบวนผลิตสินค้าเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ผลิตสินค้าเกษตรได้ตามมาตรฐาน การใช้เชื้อราฆ่าแมลงเป็นวิธีการทางชีววิธีที่ใช้ศัตรูธรรมชาติชนิดที่เป็นเชื้อจุลินทรีย์ในการควบคุมกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะเชื้อราบิวเวอเรียซึ่งเป็นเชื้อราฆ่าแมลงที่สามารถใช้ควบคุมแมลงได้หลายชนิด และมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงศัตรูผัก เช่น หนอนกระทู้ผักได้ถึง 80% อย่างไรก็ตาม แม้มีการรณรงค์ให้ใช้เชื้อราบิวเวอเรียทางการเกษตร แต่เกษตรกรเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการควบคุมแมลง ซึ่งเป็นผลมาจากมีเกษตรกรเพียงจำนวนน้อยที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของเชื้อราบิวเวอเรีย เข้าถึงผลิตภัณฑ์เชื้อราบิวเวอเรีย รวมทั้งวิธีการใช้ที่ถูกต้อง
ดังนั้น การสร้างเครือข่ายเกษตรกรให้เรียนรู้การผลิต และการประยุกต์ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรในชุมชน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตั้งแต่การกระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย และสามารถประยุกต์ใช้เองในพื้นที่เกษตรของตน จึงนับว่าเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายผู้ผลิตสินค้าเกษตร ศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติของชุมชนบ้านต้นมะพร้าวสูง ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นหน่วยงานเครือข่ายในท้องถิ่นที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการทำเกษตรแบบปลอดภัยจากสารพิษ ซึ่งเชื้อราที่ผลิตได้เองนี้นอกจากจะสะดวกต่อการนำไปใช้ เกษตรกรยังจะได้เชื้อที่สดใหม่มีประสิทธิภาพ สำหรับควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเมื่อเกษตรกรเห็นถึงประสิทธิภาพของเชื้อราที่ใช้ควบคุมแมลงแล้ว จะเกิดความตระหนักในการนำมาใช้ทดแทนสารเคมี สร้างความยั่งยืนในการทำระบบเกษตรปลอดสารพิษอย่างแท้จริง.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุดเจ๋ง นศ.ศิลปกรรมฯ มรภ.สงขลา หยิบเรื่องเล่า “หนูกับแมว” สร้างเกมออนไลน์แนวผจญภัย ...
December 4, 2019
มรภ.สงขลา บูรณาการหลักสูตรสาธารณสุขฯ พัฒนาสุขภาวะชุมชนเกาะยอ
December 3, 2019
มรภ.สงขลา ผนึกสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่นฯ เปิดเวทีเสวนาขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติต่อต้านทุจริต
December 3, 2019
มรภ.สงขลา เข้าพบพ่อเมืองสตูล หารือแก้ปัญหาความยากจน เสนอ “ทุ่งใหญ่สารภี โมเดล” ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา
December 2, 2019