ผศ.ดร.พลพัฒน์ รวมเจริญ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า บทความวิจัยเรื่อง การปรับปรุงสมบัติทนความร้อนของยางธรรมชาติ เพื่อทดแทนยางสังเคราะห์ EPDM ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Hydrogenated Natural Rubber as an Alternative Replacement to Ethylene-Propylene-Diene-Monomer (EPDM) Rubber in Terms of Thermal-Oxidative Degradation Properties ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากผลผลิตจากยางพารา อันเป็นการเพิ่มคุณสมบัติและมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Polymer Science, Series B ในปี พศ. 2562 นี้
อาจารย์ มรภ.สงขลา จับมือนักวิจัยฝรั่งเศส พัฒนายางธรรมชาติ ใช้ทดแทนยางสังเคราะห์ สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตเกษตรภาคใต้
อาจารย์หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา ทำวิจัยปรับปรุงสมบัติทนความร้อนยางธรรมชาติ ทดแทนยางสังเคราะห์ EPDM สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรสำคัญของภาคใต้ เผยผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส
ผศ.ดร.พลพัฒน์ รวมเจริญ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า บทความวิจัยเรื่อง การปรับปรุงสมบัติทนความร้อนของยางธรรมชาติ เพื่อทดแทนยางสังเคราะห์ EPDM ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Hydrogenated Natural Rubber as an Alternative Replacement to Ethylene-Propylene-Diene-Monomer (EPDM) Rubber in Terms of Thermal-Oxidative Degradation Properties ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากผลผลิตจากยางพารา อันเป็นการเพิ่มคุณสมบัติและมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Polymer Science, Series B ในปี พศ. 2562 นี้
ผศ.ดร.พลพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยางเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญในประเทศไทยและมีการใช้ยางสังเคราะห์อย่างมาก เช่น ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ได้มีการใช้ยางสังเคราะห์เป็นผลิตภัณฑ์อะไหล่ ยางรถยนต์ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม ยางสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นใช้วัตถุดิบจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ทำให้ต้นทุนในการผลิตราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันแนวทางการวิจัยจึงมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากยางธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย โดยทั่วไปแล้วยางธรรมชาติมีสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น ความยืดหยุ่นความแข็งแรง ฯลฯ อย่างไรก็ตามยางธรรมชาติมีสมบัติบางประการที่ด้อยกว่ายางสังเคราะห์ หนึ่งในข้อด้อยนั้นคือไม่ทนต่อสภาพอากาศ เสื่อมสภาพได้ง่ายเมื่อทำงานภายใต้ความร้อน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว โดยบูรณาการความรู้เกี่ยวกับยางพารา ในด้านเคมี การแปรรูป และสมบัติการใช้งาน
ผศ.ดร.พลพัฒน์ กล่าวอีกว่า ผลงานวิจัยนี้เป็นผลผลิตจากความร่วมมือด้านการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ Le Mans Universite ประเทศฝรั่งเศส อย่างต่อเนื่อง ปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรม รวมทั้งบูรณาการความร่วมกับมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยก่อนหน้านี้ทีมวิจัยได้มีงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการดัดแปรโครงสร้างทางเคมีของยางธรรมชาติต่อสมบัติความทนโอโซนในวารสาร Polymer Degradation and Stability ในปี พ.ศ. 2560 หลังจากนั้นมีการทำวิจัยต่อเนื่องเพื่อศึกษาสมบัติของยางดัดแปร และพบว่ายางดังกล่าวยังทนต่อความร้อนได้มากกว่าผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติทั่วไป อันเป็นผลสำเร็จของผลงานวิจัยครั้งนี้ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024