นิทรรศการองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค แบ่งพื้นที่จัดงานเป็น ๔ ส่วน
▪ส่วนที่ ๑ อาคารจัดแสดงนิทรรศการ”เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สยามรัฐสีมา”
▪ส่วนที่ ๒ การจัดแสดงเรือพระที่นั่งจำลอง ๔ ลำ และการแสดงศิลปวัฒนธรรม “ศรีศุภยาตรา ปวงประชารวมใจถวายพระพร”
▪ส่วนที่ ๓ การแสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง เฉลิมพระเกียรติฯ “ม่านธาราลือขจร เฉลิมราชย์องค์ราชัน”
▪ส่วนที่ ๔ จำหน่ายอาหารจากร้านอาหารที่มีชื่อเสียง “เอมอิ่มสุขสันต์ ครบครันสำรับไทย”
◾ ส่วนที่ ๑ อาคารจัดแสดงนิทรรศการ”เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สยามรัฐสีมา” ขนาด ๓,๖๐๐ ตรม. เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ เวลา ๑๐.๐๐น. – ๒๒.๐๐ น. ของทุกวันและจัดทำอารยะสถาปัตย์ พร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวก สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุแบ่งเป็น ๓ ห้อง ประกอบด้วย
▫ห้องที่ ๑ นิทรรศการ”มหามงคลสมัยพระขวัญไผทเถลิงรัช”แสดงองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมัยรัตนโกสินทร์และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขั้นเตรียมการพระราชพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร การเสด็จพระราชดำเนินไปถวายราชสักการะและบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จออกมหาสมาคม เฉลิมพระราชมณเฑียร พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบ พระนครโดยขบวนพระยุหยาตรทางสถลมารค การเสด็จออกทรงรับการถวายพระพรชัยมงคล รูปแบบการนำเสนอ § แสดงเนื้อหาและภาพพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์และการแสดงมหรสพสมโภชของส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผ่านจอ LCD และแท่นอักษรเบรลล์ สำหรับผู้พิการทางสายตา § ฉายภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ผ่านจอ LED PANORAMA SCREEN ขนาด ๒x๑๔ เมตร § ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ E-book สำหรับผู้สนใจสืบค้นและศึกษาข้อมูลองค์ความรู้พระราชพิธี บรมราชาภิเษก ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
▫ห้องที่ ๒ การแสดงแสง สี เสียงสื่อผสม “นิรมิตเรืองนทีเถลิงหล้า” นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ ความสุขของคนไทยใต้ร่มพระบารมี ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ของห้วงเวลาอันสำคัญยิ่งครั้งหนึ่งในชีวิตที่ต้องจารึกไว้ในความทรงจำถึงความปิติยินดียิ่งของปวงชนชาวไทย เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว ตามราชประเพณีเพื่อเป็นสวัสดิมงคลของประเทศชาติและอาณาจักรสืบไปโดยการฉายภาพ 3 มิติเสมือนอยู่ ในเหตุการณ์จริงบนจอ LED VISUAL PANORAMA ความยาว ๔๐ เมตร ในรูปแบบ ๑๘๐ องศา ประกอบการแสดง ศิลปวัฒนธรรม และการแสดงขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ด้วยเรือพระราชพิธีจำลอง ๕๒ ลำ จัดรูปขบวนเรือ ตามแบบแผนสืบมาแต่โบราณ ประกอบเสียงกาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ ประพันธ์โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย จัดแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม ชุดนิรมิตเรืองนทีเถลิงหล้า ( ใช้เวลา รอบละ ๒๕ นาที ) ปกติวันละ ๓ รอบ ๑๖.๐๐ น. , ๑๘.๐๐ น. และรอบ ๒๐.๐๐ น. รอบพิเศษสำหรับหมู่คณะ เวลา ๑๐.๐๐ น. , ๑๒.๐๐ น. และ๑๔.๐๐ น. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษา บุคลากรในหน่วยงาน องค์กร สมาคม ชมรม เครือข่ายวัฒนธรรม ประชาชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รอบละ ๔๘๐ ที่นั่ง
▫ห้องที่ ๓ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจากอดีตถึงปัจจุบัน “ขบวนนาวาอารยศิลป์แผ่นดินสยาม” แสดงองค์ความรู้เรื่องขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ รูปแบบการนำเสนอ § ฉายภาพขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจากอดีตถึงปัจจุบัน ผ่านจอ LED SCREEN § จัดแสดงเครื่องดนตรีประกอบการเห่เรือในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค § ฉายภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ผ่านจอ LED SCREEN § SOUND DOME กาพย์เห่เรือในขบวนพยุหยาตราชลมารค พร้อมจำลองภาพเรือ ๕๒ ลำประกอบ คำบรรยายลักษณะและความสำคัญของเรือแต่ละลำ จัดแสดงหุ่นแสดงการแต่งกายของพนักงานประจำเรือพระราชพิธีในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
◾ ส่วนที่ ๒ การจัดแสดงเรือพระที่นั่งจำลอง ๔ ลำ “ศรีศุภยาตราปวงประชารวมใจถวายพระพร” จัดแสดงเรือพระที่นั่งจำลอง ๔ ลำพร้อมสาธิตการเห่เรือโดยกองทัพเรือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ (จำลอง) เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ (จำลอง) เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช (จำลอง) เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ (จำลอง) การแสดงศิลปวัฒนธรรมเทิดพระเกียรติ จาก ๔ ภูมิภาคและการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ การแสดงละครนอก ละครใน โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากรและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จัดแสดงวันละ ๒ รอบ เวลา ๑๘.๓๐ – ๒๐.๐๐ น. และเวลา ๒๐.๓๐ – ๒๒.๐๐ น.
◾ ส่วนที่ ๓ แสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง สื่อผสม เฉลิมพระเกียรติฯ “ม่านธาราลือขจร เฉลิมราชย์องค์ราชัน” แบ่งเป็น ๓ องก์
▪องก์ ๑ สายธารแห่งพระบารมี วิถีชีวิตคู่สายน้ำ วิถีชีวิตคนไทยกับสายน้ำที่ผูกพันครั้งโบราณกาลพระราชประเพณีการเสด็จทางน้ำ “ขบวนพยุหยาตราชลมารค”
▪องก์ ๒ งามล้ำขบวนเรือพระราชพิธี ความวิจิตร ตระการตาของโขนเรือขบวนพยุหยาตราทางชลมารค องก์ ๓ เฉลิมราชย์องค์นฤบดี ปฐพีเป็นสุข พระราชกรณียกิจต่างๆเทิดพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ ๑๐
◾ ส่วนที่ ๔ จำหน่ายอาหารจากร้านอาหารที่มีชื่อเสียง “เอมอิ่มสุขสันต์ ครบครันสำรับไทย” § เปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ ๒๕ ตุลาคม – ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น. – ๒๐.๐๐ น. (วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ มีโรงครัวพระราชทานที่ท้องสนามหลวง)
สถานที่ ท้องสนามหลวง วัน/เวลาเริ่มต้น ๒๕/๑o/๒๕๖๒ : ๑๐.๐๐.
https://www.m-culture.go.th/th/index.php
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นิทรรศการองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
นิทรรศการองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
แบ่งพื้นที่จัดงานเป็น ๔ ส่วน
▪ส่วนที่ ๑ อาคารจัดแสดงนิทรรศการ”เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สยามรัฐสีมา”
▪ส่วนที่ ๒ การจัดแสดงเรือพระที่นั่งจำลอง ๔ ลำ และการแสดงศิลปวัฒนธรรม “ศรีศุภยาตรา ปวงประชารวมใจถวายพระพร”
▪ส่วนที่ ๓ การแสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง เฉลิมพระเกียรติฯ “ม่านธาราลือขจร เฉลิมราชย์องค์ราชัน”
▪ส่วนที่ ๔ จำหน่ายอาหารจากร้านอาหารที่มีชื่อเสียง “เอมอิ่มสุขสันต์ ครบครันสำรับไทย”
◾ ส่วนที่ ๑ อาคารจัดแสดงนิทรรศการ”เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สยามรัฐสีมา” ขนาด ๓,๖๐๐ ตรม. เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ เวลา ๑๐.๐๐น. – ๒๒.๐๐ น. ของทุกวันและจัดทำอารยะสถาปัตย์ พร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวก สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุแบ่งเป็น ๓ ห้อง ประกอบด้วย
▫ห้องที่ ๑ นิทรรศการ”มหามงคลสมัยพระขวัญไผทเถลิงรัช”แสดงองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมัยรัตนโกสินทร์และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขั้นเตรียมการพระราชพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร การเสด็จพระราชดำเนินไปถวายราชสักการะและบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จออกมหาสมาคม เฉลิมพระราชมณเฑียร พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบ พระนครโดยขบวนพระยุหยาตรทางสถลมารค การเสด็จออกทรงรับการถวายพระพรชัยมงคล รูปแบบการนำเสนอ § แสดงเนื้อหาและภาพพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์และการแสดงมหรสพสมโภชของส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผ่านจอ LCD และแท่นอักษรเบรลล์ สำหรับผู้พิการทางสายตา § ฉายภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ผ่านจอ LED PANORAMA SCREEN ขนาด ๒x๑๔ เมตร § ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ E-book สำหรับผู้สนใจสืบค้นและศึกษาข้อมูลองค์ความรู้พระราชพิธี บรมราชาภิเษก ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
▫ห้องที่ ๒ การแสดงแสง สี เสียงสื่อผสม “นิรมิตเรืองนทีเถลิงหล้า” นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ ความสุขของคนไทยใต้ร่มพระบารมี ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ของห้วงเวลาอันสำคัญยิ่งครั้งหนึ่งในชีวิตที่ต้องจารึกไว้ในความทรงจำถึงความปิติยินดียิ่งของปวงชนชาวไทย เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว ตามราชประเพณีเพื่อเป็นสวัสดิมงคลของประเทศชาติและอาณาจักรสืบไปโดยการฉายภาพ 3 มิติเสมือนอยู่ ในเหตุการณ์จริงบนจอ LED VISUAL PANORAMA ความยาว ๔๐ เมตร ในรูปแบบ ๑๘๐ องศา ประกอบการแสดง ศิลปวัฒนธรรม และการแสดงขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ด้วยเรือพระราชพิธีจำลอง ๕๒ ลำ จัดรูปขบวนเรือ ตามแบบแผนสืบมาแต่โบราณ ประกอบเสียงกาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ ประพันธ์โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย จัดแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม ชุดนิรมิตเรืองนทีเถลิงหล้า ( ใช้เวลา รอบละ ๒๕ นาที ) ปกติวันละ ๓ รอบ ๑๖.๐๐ น. , ๑๘.๐๐ น. และรอบ ๒๐.๐๐ น. รอบพิเศษสำหรับหมู่คณะ เวลา ๑๐.๐๐ น. , ๑๒.๐๐ น. และ๑๔.๐๐ น. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษา บุคลากรในหน่วยงาน องค์กร สมาคม ชมรม เครือข่ายวัฒนธรรม ประชาชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รอบละ ๔๘๐ ที่นั่ง
▫ห้องที่ ๓ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจากอดีตถึงปัจจุบัน “ขบวนนาวาอารยศิลป์แผ่นดินสยาม” แสดงองค์ความรู้เรื่องขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ รูปแบบการนำเสนอ § ฉายภาพขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจากอดีตถึงปัจจุบัน ผ่านจอ LED SCREEN § จัดแสดงเครื่องดนตรีประกอบการเห่เรือในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค § ฉายภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ผ่านจอ LED SCREEN § SOUND DOME กาพย์เห่เรือในขบวนพยุหยาตราชลมารค พร้อมจำลองภาพเรือ ๕๒ ลำประกอบ คำบรรยายลักษณะและความสำคัญของเรือแต่ละลำ จัดแสดงหุ่นแสดงการแต่งกายของพนักงานประจำเรือพระราชพิธีในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
◾ ส่วนที่ ๒ การจัดแสดงเรือพระที่นั่งจำลอง ๔ ลำ “ศรีศุภยาตราปวงประชารวมใจถวายพระพร” จัดแสดงเรือพระที่นั่งจำลอง ๔ ลำพร้อมสาธิตการเห่เรือโดยกองทัพเรือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ (จำลอง) เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ (จำลอง) เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช (จำลอง) เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ (จำลอง) การแสดงศิลปวัฒนธรรมเทิดพระเกียรติ จาก ๔ ภูมิภาคและการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ การแสดงละครนอก ละครใน โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากรและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จัดแสดงวันละ ๒ รอบ เวลา ๑๘.๓๐ – ๒๐.๐๐ น. และเวลา ๒๐.๓๐ – ๒๒.๐๐ น.
◾ ส่วนที่ ๓ แสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง สื่อผสม เฉลิมพระเกียรติฯ “ม่านธาราลือขจร เฉลิมราชย์องค์ราชัน” แบ่งเป็น ๓ องก์
▪องก์ ๑ สายธารแห่งพระบารมี วิถีชีวิตคู่สายน้ำ วิถีชีวิตคนไทยกับสายน้ำที่ผูกพันครั้งโบราณกาลพระราชประเพณีการเสด็จทางน้ำ “ขบวนพยุหยาตราชลมารค”
▪องก์ ๒ งามล้ำขบวนเรือพระราชพิธี ความวิจิตร ตระการตาของโขนเรือขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
องก์ ๓ เฉลิมราชย์องค์นฤบดี ปฐพีเป็นสุข พระราชกรณียกิจต่างๆเทิดพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ ๑๐
◾ ส่วนที่ ๔ จำหน่ายอาหารจากร้านอาหารที่มีชื่อเสียง “เอมอิ่มสุขสันต์ ครบครันสำรับไทย” § เปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ ๒๕ ตุลาคม – ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น. – ๒๐.๐๐ น.
(วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ มีโรงครัวพระราชทานที่ท้องสนามหลวง)
สถานที่ ท้องสนามหลวง
วัน/เวลาเริ่มต้น ๒๕/๑o/๒๕๖๒ : ๑๐.๐๐.
https://www.m-culture.go.th/th/index.php
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024