“การวางอวนปู” เป็นหนึ่งวิธีการหาปูม้าของชาวบ้านบากันใหญ่ ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล เป็นอาชีพที่ส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น เช้าตรู่ของทุกวัน บังอาด (นายอาด ยะระ อายุ 38 ปี) รวมถึงชาวประมงในพื้นที่ชายฝั่ง นั่งเรือออกไปเก็บอวนปูซึ่งวางดักปูทิ้งไว้ในท้องทะเลก่อนหน้านี้ 1-2 วัน ในท้องทะเลจึงแลเห็นเรือลำน้อยลอยลำเก็บอวนปูกลางทะเลกว้าง
เป้าหมายคือทุ่นลอยเป็นสัญลักษณ์ซึ่งถูกทำขึ้นเป็นพิกัดของอวนปู เมื่อถึงจุดหมาย บังอาด เร่งสาวอวน(ดึงอวน)จากน้ำ บังอาด บอกว่าลุ้นทุกครั้งที่สาวอวนขึ้นมา หวังว่าจะได้ปูม้าตัวใหญ่ๆ ซึ่งการสาวอวนขึ้นมาในแต่ละครั้งไม่ได้มีเฉพาะปูม้าเท่านั้น แต่มีสัตว์หลายชนิดติดมากับอวนด้วย อย่าง ปลาดาว หอย หอยเม่น ปลิงทะเล ปลา ปลาหมึก ส่วนปูนั้นมีหลายชนิดติดมาด้วย เช่น ปูเหล็กไฟ ปูใบ้หรือปูโบ้ นับเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของทรัพยากรใต้ท้องทะเล
ปูม้าที่ติดอวนมาจะมีหลายขนาด ขนาดใหญ่จะได้ราคาดีหน่อย ส่วนตัวเล็กหากสภาพยังสมบูรณ์ก็จะถูกปล่อยลงทะเล ปูม้าไข่นอกก็จะนำไปมอบให้ยังธนาคารปูของหมู่บ้าน ส่วนปลาดาว ปลิงทะเล หอยเม่นก็จะถูกปล่อยคืนสู่ทะเล
นอกจากปูม้าแล้ว ยังมีปูโบ้หรือปูใบ้ โดยการหาปูใบ้นี้มีสองวิธี วิธีหนึ่งคือการนำอวนเก่าๆมาวางไว้ใกล้เกาะที่มีหินน้อยใหญ่ เพราะปูชนิดนี้จะอาศัยบริเวณโขดหิน เมื่อปูใบ้ติดอวนขึ้นมา บังอาดก็จะหักเอาเฉพาะก้ามมากิน ส่วนตัวปูก็จะปล่อยทิ้งสู่ท้องทะเล ปูใบ้ก็จะสร้างก้ามปูขึ้นมาใหม่เป็นวัฏจักรวนเวียนไป ส่วนตัวเมียนั้นก็สามารถรับประทานได้เพราะพอจะมีเนื้อและไข่ปูอยู่บ้าง
ในแต่ละรอบของการออกไปหาปูนั้น บังอาด บอกว่า ได้วันละประมาณ 500 บาทขึ้นไปถือว่าเยอะ วันนี้ได้มา 1,000 กว่าบาทก็ถือว่าน่าพอใจมาก เพราะปูจะมีเยอะในช่วงมรสุมส่วนราคาก็มีตามขนาดตั้งแต่ 180 -300 บาท หาปูได้ทุกวันไม่เคยขาดพันธุ์
นายอาด ยะระ อายุ 38 ปี ม.6 ต.เกาะสาหร่าย บอกว่า ช่วงนี้มันจะไม่ค่อยเท่าไหร่ จะมีเยอะในช่วงมรสุม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายนช่วงนั้น จะมีเยอะ แต่ช่วงนี้ก็มีจะได้ประมาณ 4-5 ร้อยบาท เพราะที่นี่ปูจะไม่ขาดพันธุ์ เพราะเราทำการอนุรักษ์จะปล่อยปูม้าไข่นอกกระดอง ซึ่งจะมีปูไปเรื่อยๆจะไม่มีขาด บางทีชาวบ้านได้ไปก็ไปให้ที่ธนาคารปูเพื่อการอนุรักษ์ หมู่บ้านไหนที่ทำแบบนี้จะมีความยั่งยืน
ส่วนการหาปูม้า จะหาโดยการวางอวน ตัวเล็กเกินไปก็จะไม่เอาจะปล่อยลงสู่ทะเล การทำแบบนี้การทำแบบนี้จะยั่งยืนไม่เหมือนกับไซปูเพราะไซปูนี้เป็นเครื่องมือทำลายล้าง เพราะปูเล็กๆก็จะเอาหมดนำไปแกะเอาเนื้อ ส่วนการหาโดยการวางอวนจะใช้อวนตา 4 นิ้ว(ขนาด) มันจะกรองเอาแค่ปูตัวใหญ่ๆ
ส่วนปูใบ้หรือปูโบ้ราคากิโลกรัมละ 60 บาท จะกินเฉพาะส่วนของก้ามปู รสชาติก็แตกต่างจากปูม้า วิธีการหาปูใบ้ บังอาด บอกว่าจะเอาอวนที่เก่า คิดว่าจะตัดทิ้งแล้ว นำมาวางเพราะปูใบ้จะกัดอวนเก่งกัดขาดหมดเลย วิธีการหาปูใบ้มี 2 แบบ แบบวางอวนและแบบใช้ไม้ตะขอเกี่ยวปูจากรูหินส่วนตัวของมันก็ทิ้งบางครั้งก็เอาตัวเมียเพราะมีไข่ในกระดองอยู่
นายเจ๊ะอาหลี สันโด อายุ 46 ปี ประธานบากันใหญ่โฮมสเตย์ หมู่ที่2 บ้านบากันใหญ่ กล่าวว่า ผลดีของการอนุรักษ์ก็คือเห็นผลโดยชัดเจนเลยว่าการอนุรักษ์เป็นสิ่งที่ดี จะเพิ่มพูนในเรื่องของปูม้า หอย หรือสัตว์น้ำชนิดต่างๆ การจับปูเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน
จากพื้นที่ตรงนี้รายได้ส่วนใหญ่มาจากการประมงการหาปู การหาปูเป็นอาชีพหลัก จึงมีการอนุรักษ์ก็คือเป็นการอนุรักษ์อาชีพหลักของชุมชนบากันใหญ่ รายได้เสริมก็เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ซึ่งทำตรงนี้มานาน 10 ปีพื้นที่ต่างๆก็อุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม
ที่เกาะบากันใหญ่ ต.เกาะสาหร่าย มีบริการห้องพักมีเรือรับส่งมีอาหารพิเศษคืออาหารที่จัดสดตามฤดูกาล หากนักเที่ยวต้องการเดินทางมาจะได้สัมผัสกับสันหลังมังกรแดง ปะการังน้ำตื้น สามารถเดินดูได้ ไปชมเกาะหินดำเกาะหินแดง โอกาสนี้ก็เชิญชวน การท่องเที่ยวชุมชนก็เป็นสิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ให้กับชุมชนโดยรวมสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติของเรา ก็เป็นสิ่งที่อยากเชิญชวนให้มาสัมผัสกัน โดยการติดต่อที่เบอร์โทรศัพท์ 089 659 7194
สำหรับชุมชนบากันใหญ่ นับเป็นชุมชนเข้มแข็ง ชาวบ้านถูกปลูกฝังให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ที่นี่มีธนาคารปู ชาวบ้านจะนำปูที่มีไข่นอกกระดองมาอนุบาลไว้ก่อนปล่อยลงสู่ธนาคาร เพื่อเพิ่มปริมาณปู ซึ่งปูหนึ่งตัวมีไข่มากกว่า 7 แสนฟอง
ส่วนปูที่หามาได้ ก็จะนำมาขายที่ธนาคารปู โดยมีชาวบ้านมาช่วยกับรับซื้อ สังเกตได้ว่า คนซื้อจะไม่ซ้ำหน้ากันเลย เป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างสำนึกการเป็นเจ้าของ ความสามัคคีก็จะเกิดมาเอง นอกจากนี้ยังมีแหล่งอนุบาลปูดำให้นักท่องเที่ยวได้มาศึกษาเรียนรู้อีกด้วย
ความสมบูรณ์ของทรัพยากรที่นี่ ทางชุมชนจึงจัดเทศกาลกินปูขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในชื่อ งานเปิดม่านบากันใหญ่ สตูล เทศกาลกินปูและอาหารทะเล กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 พ.ย.2562 ณ ชุมชนบ้านบากันใหญ่ ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล.
@my/1 https://www.naewna.com/likesara/449592
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ล่องเรือวางอวนปูม้า สัตว์เศรษฐกิจชุมชนบากันใหญ่ ตัวชี้วัดความสมบูรณ์ภายใต้จิตสำนึกร่วมอนุรักษ์
“การวางอวนปู” เป็นหนึ่งวิธีการหาปูม้าของชาวบ้านบากันใหญ่ ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล เป็นอาชีพที่ส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น เช้าตรู่ของทุกวัน บังอาด (นายอาด ยะระ อายุ 38 ปี) รวมถึงชาวประมงในพื้นที่ชายฝั่ง นั่งเรือออกไปเก็บอวนปูซึ่งวางดักปูทิ้งไว้ในท้องทะเลก่อนหน้านี้ 1-2 วัน ในท้องทะเลจึงแลเห็นเรือลำน้อยลอยลำเก็บอวนปูกลางทะเลกว้าง
เป้าหมายคือทุ่นลอยเป็นสัญลักษณ์ซึ่งถูกทำขึ้นเป็นพิกัดของอวนปู เมื่อถึงจุดหมาย บังอาด เร่งสาวอวน(ดึงอวน)จากน้ำ บังอาด บอกว่าลุ้นทุกครั้งที่สาวอวนขึ้นมา หวังว่าจะได้ปูม้าตัวใหญ่ๆ ซึ่งการสาวอวนขึ้นมาในแต่ละครั้งไม่ได้มีเฉพาะปูม้าเท่านั้น แต่มีสัตว์หลายชนิดติดมากับอวนด้วย อย่าง ปลาดาว หอย หอยเม่น ปลิงทะเล ปลา ปลาหมึก ส่วนปูนั้นมีหลายชนิดติดมาด้วย เช่น ปูเหล็กไฟ ปูใบ้หรือปูโบ้ นับเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของทรัพยากรใต้ท้องทะเล
ปูม้าที่ติดอวนมาจะมีหลายขนาด ขนาดใหญ่จะได้ราคาดีหน่อย ส่วนตัวเล็กหากสภาพยังสมบูรณ์ก็จะถูกปล่อยลงทะเล ปูม้าไข่นอกก็จะนำไปมอบให้ยังธนาคารปูของหมู่บ้าน ส่วนปลาดาว ปลิงทะเล หอยเม่นก็จะถูกปล่อยคืนสู่ทะเล
นอกจากปูม้าแล้ว ยังมีปูโบ้หรือปูใบ้ โดยการหาปูใบ้นี้มีสองวิธี วิธีหนึ่งคือการนำอวนเก่าๆมาวางไว้ใกล้เกาะที่มีหินน้อยใหญ่ เพราะปูชนิดนี้จะอาศัยบริเวณโขดหิน เมื่อปูใบ้ติดอวนขึ้นมา บังอาดก็จะหักเอาเฉพาะก้ามมากิน ส่วนตัวปูก็จะปล่อยทิ้งสู่ท้องทะเล ปูใบ้ก็จะสร้างก้ามปูขึ้นมาใหม่เป็นวัฏจักรวนเวียนไป ส่วนตัวเมียนั้นก็สามารถรับประทานได้เพราะพอจะมีเนื้อและไข่ปูอยู่บ้าง
ในแต่ละรอบของการออกไปหาปูนั้น บังอาด บอกว่า ได้วันละประมาณ 500 บาทขึ้นไปถือว่าเยอะ วันนี้ได้มา 1,000 กว่าบาทก็ถือว่าน่าพอใจมาก เพราะปูจะมีเยอะในช่วงมรสุมส่วนราคาก็มีตามขนาดตั้งแต่ 180 -300 บาท หาปูได้ทุกวันไม่เคยขาดพันธุ์
นายอาด ยะระ อายุ 38 ปี ม.6 ต.เกาะสาหร่าย บอกว่า ช่วงนี้มันจะไม่ค่อยเท่าไหร่ จะมีเยอะในช่วงมรสุม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายนช่วงนั้น จะมีเยอะ แต่ช่วงนี้ก็มีจะได้ประมาณ 4-5 ร้อยบาท เพราะที่นี่ปูจะไม่ขาดพันธุ์ เพราะเราทำการอนุรักษ์จะปล่อยปูม้าไข่นอกกระดอง ซึ่งจะมีปูไปเรื่อยๆจะไม่มีขาด บางทีชาวบ้านได้ไปก็ไปให้ที่ธนาคารปูเพื่อการอนุรักษ์ หมู่บ้านไหนที่ทำแบบนี้จะมีความยั่งยืน
ส่วนการหาปูม้า จะหาโดยการวางอวน ตัวเล็กเกินไปก็จะไม่เอาจะปล่อยลงสู่ทะเล การทำแบบนี้การทำแบบนี้จะยั่งยืนไม่เหมือนกับไซปูเพราะไซปูนี้เป็นเครื่องมือทำลายล้าง เพราะปูเล็กๆก็จะเอาหมดนำไปแกะเอาเนื้อ ส่วนการหาโดยการวางอวนจะใช้อวนตา 4 นิ้ว(ขนาด) มันจะกรองเอาแค่ปูตัวใหญ่ๆ
ส่วนปูใบ้หรือปูโบ้ราคากิโลกรัมละ 60 บาท จะกินเฉพาะส่วนของก้ามปู รสชาติก็แตกต่างจากปูม้า วิธีการหาปูใบ้ บังอาด บอกว่าจะเอาอวนที่เก่า คิดว่าจะตัดทิ้งแล้ว นำมาวางเพราะปูใบ้จะกัดอวนเก่งกัดขาดหมดเลย วิธีการหาปูใบ้มี 2 แบบ แบบวางอวนและแบบใช้ไม้ตะขอเกี่ยวปูจากรูหินส่วนตัวของมันก็ทิ้งบางครั้งก็เอาตัวเมียเพราะมีไข่ในกระดองอยู่
นายเจ๊ะอาหลี สันโด อายุ 46 ปี ประธานบากันใหญ่โฮมสเตย์ หมู่ที่2 บ้านบากันใหญ่ กล่าวว่า ผลดีของการอนุรักษ์ก็คือเห็นผลโดยชัดเจนเลยว่าการอนุรักษ์เป็นสิ่งที่ดี จะเพิ่มพูนในเรื่องของปูม้า หอย หรือสัตว์น้ำชนิดต่างๆ การจับปูเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน
จากพื้นที่ตรงนี้รายได้ส่วนใหญ่มาจากการประมงการหาปู การหาปูเป็นอาชีพหลัก จึงมีการอนุรักษ์ก็คือเป็นการอนุรักษ์อาชีพหลักของชุมชนบากันใหญ่ รายได้เสริมก็เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ซึ่งทำตรงนี้มานาน 10 ปีพื้นที่ต่างๆก็อุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม
ที่เกาะบากันใหญ่ ต.เกาะสาหร่าย มีบริการห้องพักมีเรือรับส่งมีอาหารพิเศษคืออาหารที่จัดสดตามฤดูกาล หากนักเที่ยวต้องการเดินทางมาจะได้สัมผัสกับสันหลังมังกรแดง ปะการังน้ำตื้น สามารถเดินดูได้ ไปชมเกาะหินดำเกาะหินแดง โอกาสนี้ก็เชิญชวน การท่องเที่ยวชุมชนก็เป็นสิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ให้กับชุมชนโดยรวมสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติของเรา ก็เป็นสิ่งที่อยากเชิญชวนให้มาสัมผัสกัน โดยการติดต่อที่เบอร์โทรศัพท์ 089 659 7194
สำหรับชุมชนบากันใหญ่ นับเป็นชุมชนเข้มแข็ง ชาวบ้านถูกปลูกฝังให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ที่นี่มีธนาคารปู ชาวบ้านจะนำปูที่มีไข่นอกกระดองมาอนุบาลไว้ก่อนปล่อยลงสู่ธนาคาร เพื่อเพิ่มปริมาณปู ซึ่งปูหนึ่งตัวมีไข่มากกว่า 7 แสนฟอง
ส่วนปูที่หามาได้ ก็จะนำมาขายที่ธนาคารปู โดยมีชาวบ้านมาช่วยกับรับซื้อ สังเกตได้ว่า คนซื้อจะไม่ซ้ำหน้ากันเลย เป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างสำนึกการเป็นเจ้าของ ความสามัคคีก็จะเกิดมาเอง นอกจากนี้ยังมีแหล่งอนุบาลปูดำให้นักท่องเที่ยวได้มาศึกษาเรียนรู้อีกด้วย
ความสมบูรณ์ของทรัพยากรที่นี่ ทางชุมชนจึงจัดเทศกาลกินปูขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในชื่อ งานเปิดม่านบากันใหญ่ สตูล เทศกาลกินปูและอาหารทะเล กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 พ.ย.2562 ณ ชุมชนบ้านบากันใหญ่ ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล.
@my/1
https://www.naewna.com/likesara/449592
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024