คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา สอนนักศึกษาปลูกถั่วลิสง ปราศจากเชื้อรา ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาท็อกซิน ชี้ช่วยบำรุงสมองและสายตา ป้องกันโรคหัวใจ ลดไขมันเลวที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน ยกเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ โรงงานแปรรูปต้องการจำนวนมาก
ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรศาสตร์ ในฐานะอาจารย์ประจำสถานีปฏิบัติการพืชไร่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ในการเรียนของนักศึกษา รายวิชาเฉพาะทาง นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชชนิดต่างๆ หนึ่งในนั้นคือถั่วลิสงหรือที่บางคนเรียกว่าถั่วดิน ซึ่งต้องดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยทางคณะฯ นำถั่วสายพันธุ์ไทนาน 9 ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกับที่จำหน่ายแบบอบกรอบในร้านสะดวกซื้อต่างๆ เหตุที่เรียกว่าถั่วดินเนื่องจากผลผลิตฝักสดอยู่ในดิน เจริญเติบโตให้ผลผลิตในดิน แม้ถั่วลิสงจะมีการปลูกอยู่มากในหลายภูมิภาค แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เนื่องจากเป็นพืชที่รับประทานเล่นได้ทุกโอกาส
ดร.ภัทรพร กล่าวอีกว่า ถั่วลิสงถือเป็นพืชที่น่าสนใจ หากเกษตรกรหรือประชาชนรายใดสนใจสามารถเข้ามาศึกษาดูงานและขอคำแนะนำจากแหล่งเรียนรู้ของคณะเทคโนโลยีการเกษตรได้ เนื่องจากถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่ต้องการของโรงงานแปรรูปผลผลิตของบริษัทต่างๆ เช่น ถั่วลิสงอบเกลือ ถั่วลิสงเคลือบเนยคาราเมล ถั่วลิสงป่นปรุงอาหาร ใส่ก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ น้ำสลัด ขนมถั่วตัด สาคูไส้หมู ถั่วลิสงต้มกระดูกหมู อีกกว่าสิบอย่างที่เป็นประโยชน์จากถั่วลิสง ในปัจจุบันเริ่มนำมาทำถั่วลิสงงอกอีกด้วย
ด้าน ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวเสริมว่า ถั่วลิสงมีคุณค่ามากมาย เช่น บำรุงสมอง บำรุงสายตา ป้องกันโรคหัวใจ เพราะช่วยลดไขมันเลวที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน มีไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดความอ้วน นอกจากนั้น พืชตระกูลถั่วยังมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน ช่วยเกษตรกรลดการใช้สารเคมีลงได้ และปลูกทดแทนพืชอื่นในแปลงนา รวมทั้งเป็นพืชแซมไม้ยืนต้นได้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปสามารถปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากนัก ถั่วลิสงมีรสชาติหวานมัน อร่อย เนื้อละเอียด ที่สำคัญ ปลูกง่ายมากและสามารถปลูกได้เกือบตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ที่มีฝนตกหนัก เป็นพืชที่ชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี
ดร.ศุภัครชา ยังกล่าวอีกว่า ในการปลูกถั่วลิสงฤดูแล้งต้องยกร่องและแต่งสันร่องให้เสมอกัน เพื่อสะดวกต่อการให้น้ำ หากเนื้อดินแน่นให้ทำร่องแคบ ในระยะแรกควรให้น้ำ 7 วันครั้ง หลังจากนั้น 10-15 วันครั้ง ช่วงระยะ 30-60 วัน หลังถั่วลิสงงอกต้นแล้วอย่าให้ขาดน้ำ เพราะเป็นระยะที่ถั่วออกดอก ลงเข็ม สร้างฝัก และติดเมล็ด การให้น้ำทีละน้อยแต่บ่อยครั้งจะดีมากระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกถั่วลิสงจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 95 วัน เป็นพืชที่มีการปลูกมานานแล้วโดยเฉพาะในภูมิภาคอื่นๆ แต่ในภาคใต้เริ่มนิยมเมื่อไม่นานมานี้ สำหรับระยะปลูกที่แนะนำ 30×20 เซนติเมตร 30 คือ ระยะระหว่างแถว ส่วน 20 คือ ระยะระหว่างต้น อัตราปลูก 3 เมล็ดต่อหลุม และมีโอกาสงอกสูง 80-90% ขึ้นอยู่คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วย ผลผลิตในการเก็บเกี่ยวแต่ละ 1 ไร่อยู่ที่ปริมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนราคาต่อกิโลกรัมอยู่ที่ 40-60 บาท (ราคาฝักสดมาตรฐาน) นอกจากนั้น เกษตรกรยังสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกในรอบต่อไปได้ โดยคุณภาพยังดีเช่นเดิม ลักษณะทางพันธุกรรมไม่เปลี่ยนแปลง
พืชตระกูลถั่วมีข้อดีคือ มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนเอาไว้ได้ จึงช่วยลดการใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีได้เป็นอย่างดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับพืชตระกูลถั่วควรหลีกเลี่ยงปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจน เช่น สูตร 46-0-0 (ยูเรีย) หรือ 21-0-0 (แอมโมเนียมซัลเฟต) เนื่องจากเป็นการเพิ่มปริมาณไนโตรเจนโดยไม่จำเป็น เพราะถั่วมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนได้อยู่แล้ว อาจจะเลือกใช้สูตร 15-15-15 หรือ 18-24-24 เพราะมีอัตราส่วนปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงพอเหมาะ ซึ่งพืชตระกูลถั่วไม่สามารถสร้างเองได้และจำเป็นต้องได้รับจากดิน
อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า กว่าครึ่งของสารอาหารในถั่วลิสงคือไขมันชนิดดี ซึ่งมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม รองลงมาคือโปรตีนที่มีมากถึงร้อยละ 22-30 ของแคลอรีทั้งหมด ทั้งยังมีน้ำตาลน้อย ทำให้เชื่อกันว่าการรับประทานถั่วลิสงอาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานและช่วยในการลดน้ำหนัก รวมถึงคุณประโยชน์ต่อสุขภาพในอีกหลายๆ ด้าน แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงและภาวะอ้วนได้ ทั้งยังมีสารบางชนิดที่อาจขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร โดยเฉพาะกรดไฟติกอันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสีได้น้อยลง และอาจนำไปสู่ภาวะขาดแร่ธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้ ทางที่ดีจึงไม่ควรบริโภคถั่วลิสงมากเกินควร
“การรับประทานถั่วห้าชนิดสีซึ่งได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง นิ่วถุงน้ำดี ความอ้วน แต่ก็ต้องรับประทานด้วยความระมัดระวังด้วย ซึ่งถั่วลิสงที่ทางคณะฯ สอนให้นักศึกษาปลูกนั้นไม่มีเชื้อรา และปลอดภัยจากปนเปื้อนสารพิษอะฟลาท็อกซิน การได้รับพิษชนิดนี้หรือกินถั่วที่มีสารปนเปื้อน อาจส่งผลให้เกิดภาวะตาเหลือง ไม่รู้สึกอยากอาหาร และก่อให้เกิดมะเร็งตับ การทำงานของตับล้มเหลว” ดร.ศุภัครชา กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
คณะเกษตร มรภ.สงขลา สอน นศ.ปลูกถั่วลิสง พืชเศรษฐกิจสารพัดประโยชน์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา สอนนักศึกษาปลูกถั่วลิสง ปราศจากเชื้อรา ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาท็อกซิน ชี้ช่วยบำรุงสมองและสายตา ป้องกันโรคหัวใจ ลดไขมันเลวที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน ยกเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ โรงงานแปรรูปต้องการจำนวนมาก
ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรศาสตร์ ในฐานะอาจารย์ประจำสถานีปฏิบัติการพืชไร่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ในการเรียนของนักศึกษา รายวิชาเฉพาะทาง นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชชนิดต่างๆ หนึ่งในนั้นคือถั่วลิสงหรือที่บางคนเรียกว่าถั่วดิน ซึ่งต้องดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยทางคณะฯ นำถั่วสายพันธุ์ไทนาน 9 ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกับที่จำหน่ายแบบอบกรอบในร้านสะดวกซื้อต่างๆ เหตุที่เรียกว่าถั่วดินเนื่องจากผลผลิตฝักสดอยู่ในดิน เจริญเติบโตให้ผลผลิตในดิน แม้ถั่วลิสงจะมีการปลูกอยู่มากในหลายภูมิภาค แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เนื่องจากเป็นพืชที่รับประทานเล่นได้ทุกโอกาส
ดร.ภัทรพร กล่าวอีกว่า ถั่วลิสงถือเป็นพืชที่น่าสนใจ หากเกษตรกรหรือประชาชนรายใดสนใจสามารถเข้ามาศึกษาดูงานและขอคำแนะนำจากแหล่งเรียนรู้ของคณะเทคโนโลยีการเกษตรได้ เนื่องจากถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่ต้องการของโรงงานแปรรูปผลผลิตของบริษัทต่างๆ เช่น ถั่วลิสงอบเกลือ ถั่วลิสงเคลือบเนยคาราเมล ถั่วลิสงป่นปรุงอาหาร ใส่ก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ น้ำสลัด ขนมถั่วตัด สาคูไส้หมู ถั่วลิสงต้มกระดูกหมู อีกกว่าสิบอย่างที่เป็นประโยชน์จากถั่วลิสง ในปัจจุบันเริ่มนำมาทำถั่วลิสงงอกอีกด้วย
ด้าน ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวเสริมว่า ถั่วลิสงมีคุณค่ามากมาย เช่น บำรุงสมอง บำรุงสายตา ป้องกันโรคหัวใจ เพราะช่วยลดไขมันเลวที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน มีไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดความอ้วน นอกจากนั้น พืชตระกูลถั่วยังมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน ช่วยเกษตรกรลดการใช้สารเคมีลงได้ และปลูกทดแทนพืชอื่นในแปลงนา รวมทั้งเป็นพืชแซมไม้ยืนต้นได้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปสามารถปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากนัก ถั่วลิสงมีรสชาติหวานมัน อร่อย เนื้อละเอียด ที่สำคัญ ปลูกง่ายมากและสามารถปลูกได้เกือบตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ที่มีฝนตกหนัก เป็นพืชที่ชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี
ดร.ศุภัครชา ยังกล่าวอีกว่า ในการปลูกถั่วลิสงฤดูแล้งต้องยกร่องและแต่งสันร่องให้เสมอกัน เพื่อสะดวกต่อการให้น้ำ หากเนื้อดินแน่นให้ทำร่องแคบ ในระยะแรกควรให้น้ำ 7 วันครั้ง หลังจากนั้น 10-15 วันครั้ง ช่วงระยะ 30-60 วัน หลังถั่วลิสงงอกต้นแล้วอย่าให้ขาดน้ำ เพราะเป็นระยะที่ถั่วออกดอก ลงเข็ม สร้างฝัก และติดเมล็ด การให้น้ำทีละน้อยแต่บ่อยครั้งจะดีมากระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกถั่วลิสงจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 95 วัน เป็นพืชที่มีการปลูกมานานแล้วโดยเฉพาะในภูมิภาคอื่นๆ แต่ในภาคใต้เริ่มนิยมเมื่อไม่นานมานี้ สำหรับระยะปลูกที่แนะนำ 30×20 เซนติเมตร 30 คือ ระยะระหว่างแถว ส่วน 20 คือ ระยะระหว่างต้น อัตราปลูก 3 เมล็ดต่อหลุม และมีโอกาสงอกสูง 80-90% ขึ้นอยู่คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วย ผลผลิตในการเก็บเกี่ยวแต่ละ 1 ไร่อยู่ที่ปริมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนราคาต่อกิโลกรัมอยู่ที่ 40-60 บาท (ราคาฝักสดมาตรฐาน) นอกจากนั้น เกษตรกรยังสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกในรอบต่อไปได้ โดยคุณภาพยังดีเช่นเดิม ลักษณะทางพันธุกรรมไม่เปลี่ยนแปลง
พืชตระกูลถั่วมีข้อดีคือ มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนเอาไว้ได้ จึงช่วยลดการใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีได้เป็นอย่างดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับพืชตระกูลถั่วควรหลีกเลี่ยงปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจน เช่น สูตร 46-0-0 (ยูเรีย) หรือ 21-0-0 (แอมโมเนียมซัลเฟต) เนื่องจากเป็นการเพิ่มปริมาณไนโตรเจนโดยไม่จำเป็น เพราะถั่วมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนได้อยู่แล้ว อาจจะเลือกใช้สูตร 15-15-15 หรือ 18-24-24 เพราะมีอัตราส่วนปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงพอเหมาะ ซึ่งพืชตระกูลถั่วไม่สามารถสร้างเองได้และจำเป็นต้องได้รับจากดิน
อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า กว่าครึ่งของสารอาหารในถั่วลิสงคือไขมันชนิดดี ซึ่งมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม รองลงมาคือโปรตีนที่มีมากถึงร้อยละ 22-30 ของแคลอรีทั้งหมด ทั้งยังมีน้ำตาลน้อย ทำให้เชื่อกันว่าการรับประทานถั่วลิสงอาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานและช่วยในการลดน้ำหนัก รวมถึงคุณประโยชน์ต่อสุขภาพในอีกหลายๆ ด้าน แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงและภาวะอ้วนได้ ทั้งยังมีสารบางชนิดที่อาจขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร โดยเฉพาะกรดไฟติกอันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสีได้น้อยลง และอาจนำไปสู่ภาวะขาดแร่ธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้ ทางที่ดีจึงไม่ควรบริโภคถั่วลิสงมากเกินควร
“การรับประทานถั่วห้าชนิดสีซึ่งได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง นิ่วถุงน้ำดี ความอ้วน แต่ก็ต้องรับประทานด้วยความระมัดระวังด้วย ซึ่งถั่วลิสงที่ทางคณะฯ สอนให้นักศึกษาปลูกนั้นไม่มีเชื้อรา และปลอดภัยจากปนเปื้อนสารพิษอะฟลาท็อกซิน การได้รับพิษชนิดนี้หรือกินถั่วที่มีสารปนเปื้อน อาจส่งผลให้เกิดภาวะตาเหลือง ไม่รู้สึกอยากอาหาร และก่อให้เกิดมะเร็งตับ การทำงานของตับล้มเหลว” ดร.ศุภัครชา กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024