หากการสัญจรเช่นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ถือเป็นการเดินทางแห่งภูมิปัญญาอย่างหนึ่ง และนี่อาจเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาชุมชนครั้งใหญ่ของปลายด้ามขวานเลยก็เป็นได้ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ ศอ.บต. และสภาวัฒนธรรม อ.ยะหา จ.ยะลา ที่ให้โอกาสดิฉัน และตัวแทนจากอำเภอยะหาอีกกว่า 100 ชีวิตได้ร่วมเดินทางกับโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชุมชนชายฝั่งอันดามัน รุ่นที่ 3 เพื่อศึกษาเรียนรู้ถึงการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติบนพื้นฐานของมิติความหลากหลายในชุมชนที่เข้มแข็งบนชายฝั่งอันดามัน เมื่อทุกอย่างพร้อมทุกคนจึงเดินทางมุ่งหน้าสู่ตำบลนาหมื่นศรี อ.นาโยง จังหวัดตรัง
ศิลปะผ้าทอนาหมื่นศรี เปรียบเสมือนชีวิตและจิตวิญญาณของผู้คนที่นี่ มรดกอันล้ำค่าเหล่านี้จึงสืบทอดต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า นับร้อยปี เมื่อคราสงครามโลกครั้งที่ 2 มิวายส่งผลให้การทอผ้าเป็นอันต้องหยุดชะงักไปเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการทอผ้า แต่อุปสรรคเหล่านั้นก็มิทำให้ตำนานผ้าทอนาหมื่นศรี ต้องสูญหายไปตามกาลเวลา ด้วยความเข้มแข็งของลูกหลานนาโยง จึงร่วมกันพลิกฟื้นให้ผ้าทอ นาหมื่นศรีกลับมามีชื่อเสียงโด่งดังได้อีกครั้ง ลวดลายต่าง ๆ บนเนื้อผ้าล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เปรียบเสมือนว่าผ้าทอมือผืนน้อย คือ ศิลปะที่ถักทอสายใยของภูมิปัญญาไทย ซึ่งเป็นศักดิ์ศรีของชาวนาโยงให้คงอยู่ชั่วกาลนาน
คืนนี้ดิฉันและคณะเข้าพักที่จังหวัดกระบี่ บรรยากาศยามค่ำคืนของถนนคนเดินกระบี่สามารถทำให้พวกเราผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการเดินทางอันแสนยาวนานแล้วได้เป็นอย่างดี ที่นี่มีร้านค้า ร้านขายของที่ระลึกหลากหลาย รวมทั้งเวทีการแสดง ลานกิจกรรม มาที่นี่ยังได้ชมศิลปะแบบต่างๆ อาทิ การแสดงดนตรีเปิดหมวกทั้งคณะดนตรีไทย ,ดนตรีสากล ของนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ สลับสับเปลี่ยนกันมาประชันความสามารถกันบนเวที คืนนี้ ศิลปินชื่อเสียงโด่งดังจากชายแดนภาคใต้ เฉกเช่น “มะ ยะหา” และ “สูแฮะ” ก็ยังได้รับเกียรติขึ้นไปแสดงบนเวทีด้วย ถือเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่สวยสดงดงามของปลายด้ามขวานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตานักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศไปในตัว
แสงรุ่งอรุณยามเช้าของวันใหม่ ทำให้ภาพหมู่บ้านที่ลอยอยู่บนผืนน้ำตรงหน้า บวกกับความงดงามของทิวทัศน์ที่รายล้อมด้วยสีครามของน้ำทะเล มีฉากหลังเป็นเขา และเกาะเล็กๆ ยังคงสวยงามมิแปรเปลี่ยน ปันหยี หมู่บ้านแห่งนี้เป็นเพียงเกาะเล็ก ๆ มีที่ราบแค่ 1 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอเมืองพังงาประมาณ ๗ กม. หากย้อนกลับไปนับร้อยปีบรรพบุรุษของคนปันหยีเป็นชาวชวา อพยพมาจากอินโดนีเซียเพื่อหาที่ทำกินใหม่ ปันหยี นั้นแปลว่า ธง ซึ่งหมายถึงธงที่ชาวชวากลุ่มดังกล่าวปักไว้บนยอดเขาเพื่อสื่อถึงสัญญาลักษณ์แห่งการพบที่ดินทำกินที่อุดมสมบูรณ์นั่นเอง ชาวมุสลิมที่เกาะปันหยี เป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตภายในบริบทวัฒนธรรมอิสลาม อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ที่จำกัดด้านนิเวศน์ สิ่งนี้จึงเป็นเหตุให้คนในชุมชนสนิทสนมใกล้ชิดกัน อีกทั้งกาลเวลาได้พันผูกผู้คนทั้งเกาะให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
แปลกไหม..หากเด็ก ๆ บนเกาะปันหยี ไม่เคยเล่นดิน ไม่รู้จักไม้กวาด เพราะที่เกาะปันหยีไม่มีฝุ่น ไม่มีชายหาดและทรายที่สวยงาม แต่ที่เกาะปันหยีมีแหล่งชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามไม่แพ้ ที่ไหน ๆ ถึงแม้จะอยู่ไกลฝั่งแต่ชาวปันหยีก็มีสนามฟุตบอลที่สวยงามติดอันดับ A World Of Football เป็นของตนเอง แล่นเรือจากเกาะปันหยี มุ่งหน้าไปทางตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ไปไม่เกินครึ่งชั่วโมง ก็จะเห็นหมู่บ้านชาวประมงตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ แวดล้อมด้วยป่าชายเลนริมทะเลแห่งนี้ ถึงแม้ชื่อเสียงจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนเกาะปันหยี แต่เรื่องความเข้มแข็ง ความสามัคคีของชาวบางพัฒน์ก็ไม่เป็นสองรองใครเลย เชื่อไหมว่าที่บ้านบางพัฒน์แห่งนี้ แม้จะเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ แต่ก็มีธนาคารเป็นของตนเองที่สำคัญเป็นธนาคารที่ไม่ต้องการเงินฝาก มีแต่น้ำใจของชาวชุมชนที่ต้องการให้มีดอกเบี้ยเป็นปูตัวใหญ่ๆในอนาคต
จุดเริ่มต้นของธนาคารปูเริ่มเมื่อชาวบ้านชุมชนบางพัฒน์ไม่สามารถหาปูได้เหมือนเมื่อก่อนจึงช่วยกันคิดค้นหาทางแก้ไข โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาพัฒนาและปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย หมู่บ้านบางพัฒน์ได้รับรางวัลชุมชนประมงต้นแบบอันดับ 1 ของประเทศจากกรมประมงในปี พ.ศ. 2551 และเพิ่งเปิดเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างเป็นทางการในปีเดียวกันชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ทำการประมงเป็นอาชีพหลัก และทุกคนที่นี่ล้วนมีความสุขอยู่ได้บนพื้นฐานของความพอเพียง
หากย้อนมองกลับไป วิถีชีวิตของชาวเกาะปันหยีและชาวบางพัฒน์ก็ไม่แตกต่างกับพี่น้องชายแดนภาคใต้มากนัก ทั้งวิถีชุมชน วัฒนธรรม และศาสนา ที่นี่ยังคงธำรงอยู่ได้ด้วยความรัก ความปรารถนาดีต่อกันอย่างแน่นแฟ้นเรื่อยมา วิถีชีวิตของผู้คนที่เรียกตนเองว่าชาวเล ความสุขแบบง่าย ๆ ความพอเพียงในฉบับของตนเอง ไม่ฟุ้งเฟ้อไปตามกระแส เหล่านี้คือความสุขที่ไร้การเติมแต่ง ถ้าพวกเราชายแดนภาคใต้ปฏิบัติตามกฎวิถีตามธรรมอย่างจริงจัง ทุกท่านก็จะพบความสันติ ที่อยู่ได้รอบตัวดั่งเช่นชาวเกาะปันหยีและชาวบางพัฒน์ในวันนี้ พวกเขาสามารถมีความสุขกับทุกวินาทีที่ดำเนินชีวิตได้ ก็เพราะ ความพอเพียง ที่พวกเขาค้นพบ เหล่านี้ถือเป็นคำตอบสุดท้าย ของ “ความสุขแห่งความพอเพียง” อย่างแท้จริง เห็นแล้วชื่นชมกับความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวของผู้คนที่นี่เหลือเกิน ทำให้หวนนึกถึงวิถีชุมชนของชายแดนใต้บ้านเรา จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นถือว่าได้เปรียบกว่าที่อื่น ๆ ทั้งสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม ทรัพยากรธรรมชาติก็ยังอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญไม่ต้องระแวดระวังภัยธรรมชาติที่พร้อมมาเยือนได้ทุกเมื่ออีก เพียงแต่เราร่วมมือกันเติมเต็มความสุขให้ปรากฏในแผ่นดินของเราให้ได้เช่นพวกเขา ไม่ว่ามุมไหน ๆ บนโลกใบนี้ ก็คงอิจฉาพี่น้องปลายด้ามขวานอย่างแน่นอน.
ญาณ์ปรวีร์ ปรีชามาตร์ / เรียบเรียง ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
จากเสียงสะท้อนวิถีชุมชนชายฝั่งอันดามัน.. สู่เงาวัฒนธรรมชายแดนใต้
หากการสัญจรเช่นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ถือเป็นการเดินทางแห่งภูมิปัญญาอย่างหนึ่ง และนี่อาจเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาชุมชนครั้งใหญ่ของปลายด้ามขวานเลยก็เป็นได้ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ ศอ.บต. และสภาวัฒนธรรม อ.ยะหา จ.ยะลา ที่ให้โอกาสดิฉัน และตัวแทนจากอำเภอยะหาอีกกว่า 100 ชีวิตได้ร่วมเดินทางกับโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชุมชนชายฝั่งอันดามัน รุ่นที่ 3 เพื่อศึกษาเรียนรู้ถึงการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติบนพื้นฐานของมิติความหลากหลายในชุมชนที่เข้มแข็งบนชายฝั่งอันดามัน เมื่อทุกอย่างพร้อมทุกคนจึงเดินทางมุ่งหน้าสู่ตำบลนาหมื่นศรี อ.นาโยง จังหวัดตรัง
ศิลปะผ้าทอนาหมื่นศรี เปรียบเสมือนชีวิตและจิตวิญญาณของผู้คนที่นี่ มรดกอันล้ำค่าเหล่านี้จึงสืบทอดต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า นับร้อยปี เมื่อคราสงครามโลกครั้งที่ 2 มิวายส่งผลให้การทอผ้าเป็นอันต้องหยุดชะงักไปเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการทอผ้า แต่อุปสรรคเหล่านั้นก็มิทำให้ตำนานผ้าทอนาหมื่นศรี ต้องสูญหายไปตามกาลเวลา ด้วยความเข้มแข็งของลูกหลานนาโยง จึงร่วมกันพลิกฟื้นให้ผ้าทอ นาหมื่นศรีกลับมามีชื่อเสียงโด่งดังได้อีกครั้ง ลวดลายต่าง ๆ บนเนื้อผ้าล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เปรียบเสมือนว่าผ้าทอมือผืนน้อย คือ ศิลปะที่ถักทอสายใยของภูมิปัญญาไทย ซึ่งเป็นศักดิ์ศรีของชาวนาโยงให้คงอยู่ชั่วกาลนาน
คืนนี้ดิฉันและคณะเข้าพักที่จังหวัดกระบี่ บรรยากาศยามค่ำคืนของถนนคนเดินกระบี่สามารถทำให้พวกเราผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการเดินทางอันแสนยาวนานแล้วได้เป็นอย่างดี ที่นี่มีร้านค้า ร้านขายของที่ระลึกหลากหลาย รวมทั้งเวทีการแสดง ลานกิจกรรม มาที่นี่ยังได้ชมศิลปะแบบต่างๆ อาทิ การแสดงดนตรีเปิดหมวกทั้งคณะดนตรีไทย ,ดนตรีสากล ของนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ สลับสับเปลี่ยนกันมาประชันความสามารถกันบนเวที คืนนี้ ศิลปินชื่อเสียงโด่งดังจากชายแดนภาคใต้ เฉกเช่น “มะ ยะหา” และ “สูแฮะ” ก็ยังได้รับเกียรติขึ้นไปแสดงบนเวทีด้วย ถือเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่สวยสดงดงามของปลายด้ามขวานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตานักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศไปในตัว
แสงรุ่งอรุณยามเช้าของวันใหม่ ทำให้ภาพหมู่บ้านที่ลอยอยู่บนผืนน้ำตรงหน้า บวกกับความงดงามของทิวทัศน์ที่รายล้อมด้วยสีครามของน้ำทะเล มีฉากหลังเป็นเขา และเกาะเล็กๆ ยังคงสวยงามมิแปรเปลี่ยน ปันหยี หมู่บ้านแห่งนี้เป็นเพียงเกาะเล็ก ๆ มีที่ราบแค่ 1 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอเมืองพังงาประมาณ ๗ กม. หากย้อนกลับไปนับร้อยปีบรรพบุรุษของคนปันหยีเป็นชาวชวา อพยพมาจากอินโดนีเซียเพื่อหาที่ทำกินใหม่ ปันหยี นั้นแปลว่า ธง ซึ่งหมายถึงธงที่ชาวชวากลุ่มดังกล่าวปักไว้บนยอดเขาเพื่อสื่อถึงสัญญาลักษณ์แห่งการพบที่ดินทำกินที่อุดมสมบูรณ์นั่นเอง ชาวมุสลิมที่เกาะปันหยี เป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตภายในบริบทวัฒนธรรมอิสลาม อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ที่จำกัดด้านนิเวศน์ สิ่งนี้จึงเป็นเหตุให้คนในชุมชนสนิทสนมใกล้ชิดกัน อีกทั้งกาลเวลาได้พันผูกผู้คนทั้งเกาะให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
แปลกไหม..หากเด็ก ๆ บนเกาะปันหยี ไม่เคยเล่นดิน ไม่รู้จักไม้กวาด เพราะที่เกาะปันหยีไม่มีฝุ่น ไม่มีชายหาดและทรายที่สวยงาม แต่ที่เกาะปันหยีมีแหล่งชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามไม่แพ้ ที่ไหน ๆ ถึงแม้จะอยู่ไกลฝั่งแต่ชาวปันหยีก็มีสนามฟุตบอลที่สวยงามติดอันดับ A World Of Football เป็นของตนเอง แล่นเรือจากเกาะปันหยี มุ่งหน้าไปทางตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ไปไม่เกินครึ่งชั่วโมง ก็จะเห็นหมู่บ้านชาวประมงตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ แวดล้อมด้วยป่าชายเลนริมทะเลแห่งนี้ ถึงแม้ชื่อเสียงจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนเกาะปันหยี แต่เรื่องความเข้มแข็ง ความสามัคคีของชาวบางพัฒน์ก็ไม่เป็นสองรองใครเลย เชื่อไหมว่าที่บ้านบางพัฒน์แห่งนี้ แม้จะเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ แต่ก็มีธนาคารเป็นของตนเองที่สำคัญเป็นธนาคารที่ไม่ต้องการเงินฝาก มีแต่น้ำใจของชาวชุมชนที่ต้องการให้มีดอกเบี้ยเป็นปูตัวใหญ่ๆในอนาคต
จุดเริ่มต้นของธนาคารปูเริ่มเมื่อชาวบ้านชุมชนบางพัฒน์ไม่สามารถหาปูได้เหมือนเมื่อก่อนจึงช่วยกันคิดค้นหาทางแก้ไข โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาพัฒนาและปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย หมู่บ้านบางพัฒน์ได้รับรางวัลชุมชนประมงต้นแบบอันดับ 1 ของประเทศจากกรมประมงในปี พ.ศ. 2551 และเพิ่งเปิดเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างเป็นทางการในปีเดียวกันชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ทำการประมงเป็นอาชีพหลัก และทุกคนที่นี่ล้วนมีความสุขอยู่ได้บนพื้นฐานของความพอเพียง
หากย้อนมองกลับไป วิถีชีวิตของชาวเกาะปันหยีและชาวบางพัฒน์ก็ไม่แตกต่างกับพี่น้องชายแดนภาคใต้มากนัก ทั้งวิถีชุมชน วัฒนธรรม และศาสนา ที่นี่ยังคงธำรงอยู่ได้ด้วยความรัก ความปรารถนาดีต่อกันอย่างแน่นแฟ้นเรื่อยมา วิถีชีวิตของผู้คนที่เรียกตนเองว่าชาวเล ความสุขแบบง่าย ๆ ความพอเพียงในฉบับของตนเอง ไม่ฟุ้งเฟ้อไปตามกระแส เหล่านี้คือความสุขที่ไร้การเติมแต่ง ถ้าพวกเราชายแดนภาคใต้ปฏิบัติตามกฎวิถีตามธรรมอย่างจริงจัง ทุกท่านก็จะพบความสันติ ที่อยู่ได้รอบตัวดั่งเช่นชาวเกาะปันหยีและชาวบางพัฒน์ในวันนี้ พวกเขาสามารถมีความสุขกับทุกวินาทีที่ดำเนินชีวิตได้ ก็เพราะ ความพอเพียง ที่พวกเขาค้นพบ เหล่านี้ถือเป็นคำตอบสุดท้าย ของ “ความสุขแห่งความพอเพียง” อย่างแท้จริง เห็นแล้วชื่นชมกับความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวของผู้คนที่นี่เหลือเกิน ทำให้หวนนึกถึงวิถีชุมชนของชายแดนใต้บ้านเรา จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นถือว่าได้เปรียบกว่าที่อื่น ๆ ทั้งสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม ทรัพยากรธรรมชาติก็ยังอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญไม่ต้องระแวดระวังภัยธรรมชาติที่พร้อมมาเยือนได้ทุกเมื่ออีก เพียงแต่เราร่วมมือกันเติมเต็มความสุขให้ปรากฏในแผ่นดินของเราให้ได้เช่นพวกเขา ไม่ว่ามุมไหน ๆ บนโลกใบนี้ ก็คงอิจฉาพี่น้องปลายด้ามขวานอย่างแน่นอน.
ญาณ์ปรวีร์ ปรีชามาตร์ / เรียบเรียง
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.