มรภ.สงขลา จับมือกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ม.ทักษิณ มทร.ศรีวิชัย ร.ร.มหาวชิราวุธ จัดงานสืบศาสตร์ สานศิลป์ฯ : ศิลปินแห่งชาติสัญจร 2562 น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ ร.10 ในฐานะทรงเป็นอัครศิลปิน
อาจารย์โอภาส อิสโม ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จัดงานสืบศาสตร์ สานศิลป์ ศิลปินแห่งชาติ : ศิลปินแห่งชาติสัญจร 2562 ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา วัตถุประสงค์เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็นอัครศิลปิน และเพื่อให้ประชาชนเจริญรอยตามพระยุคลบาท สืบสานพระราชปณิธานการอนุรักษ์ สืบสาน มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะและความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะให้แก่อาจารย์ นักศึกษา เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยตนได้เข้าร่วมพิธีเปิดและรับมอบของที่ระลึกจาก นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
อาจารย์โอภาส กล่าวว่า มรภ.สงขลา ได้แต่งตั้งคณาจารย์ของทางมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากรศิลปินแห่งชาติ ได้แก่ อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ กาลทิพย์ อาจารย์ชนางลักษณ์ ขุนทอง และ อาจารย์ตถาตา สมพงศ์ ผู้ช่วยวิทยากรประจำฐานการสร้างสรรค์เรื่องสั้น อาจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ รักษาเดช และ อาจารย์วารี แสงสุวอ ผู้ช่วยวิทยากรประจำฐานเทคนิคภาพพิมพ์ อาจารย์จุฑารัตน์ บุตรเผียน ผู้ช่วยวิทยากรประจำฐานเทคนิคประติมากรรม ผศ.ดร.จรรย์สมร ผลบุญ และ ผศ.ดร.กฤติยา ชูสงค์ ผู้ช่วยวิทยากรประจำฐานการสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) และ อาจารย์กมลนาวิน อินทนูจิตร ผู้ช่วยวิทยากรประจำฐานเทคนิคสถาปัตยกรรม พร้อมทั้งส่งนักศึกษาเข้าร่วมในฐานกิจกรรมกว่า 80 คน
ด้าน อาจารย์กมลนาวิน อินทนูจิตร รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อมูลองค์ความรู้และอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า เป็นมงคลชีวิตอย่างยิ่งที่ตนมีโอกาสเป็นผู้ช่วยวิทยากรศิลปินแห่งชาติ อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร ซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านสถาปัตยกรรมที่ออกแบบงานไว้ให้แผ่นดินมากมาย ศิลปินแห่งชาติคือครูของแผ่นดิน เป็นพลังใจที่เติมเต็มแก่เยาวชน และเป็นแบบอย่างสูงสุดของวิชาชีพ ตนรู้สึกเป็นเกียรติได้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยของท่านทำให้สามารถนำมาปรับการบริหารศิลป์ เพราะมากกว่าความเข้าใจว่าศิลปะคืออะไร คือความซาบซึ้งในศาสตร์ ศิลป์ สืบสาน นั้น
อาจารย์กมลนาวิน กล่าวอีกว่า สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานในการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู ปกป้อง พัฒนาและเผยแพร่ด้านศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา และได้กำหนดกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โดยส่งเสริมและสร้างความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมให้กับนักศึกษา บุคลากร ประชาชนทั่วไป เช่น โครงการตามประเพณีต่างๆ การพัฒนาฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาผสมผสานการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมต่าง ๆ อีกทั้ง มรภ.สงขลา เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในภาคใต้และอยู่ในชุมชนที่มีศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม วิถีการดำรงชีวิตแบบพื้นบ้าน และขนบธรรมเนียมที่ดีงามหลากหลายควรค่าแก่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ปกป้อง และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
อาจารย์ชนางลักษณ์ ขุนทอง กล่าวถึงความประทับใจต่องานดังกล่าวว่า ตนมีโอกาสได้พบกับศิลปินแห่งชาติที่มารวมตัวกันอย่างใกล้ชิด ทำให้รู้สึกกลับไปเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาตัวเล็กๆ ที่ครูก้มมองเราด้วยประกายตาที่เมตตา เพราะสำหรับตนแล้วทุกท่านเหล่านี้เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ เป็นปรมาจารย์ในด้านต่างๆ ที่เดินทางสัญจรมาหา จึงรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับและภาคภูมิใจ ดีใจแทนเด็กๆ ชาวสงขลา ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์ผลงานจากครูของแผ่นดิน
ปิดท้ายด้วย อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ กาลพันธ์ กล่าวว่า จุดประสงค์หลักของการได้พบปะศิลปินแห่งชาติในครั้งนี้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ จุดประกายความคิด ความกล้าในเรื่องที่เขียน อีกทั้งได้เห็นแบบอย่างของคนที่ประสบความสำเร็จจากการเขียน งานครั้งนี้จึงทรงคุณค่าต่อความรู้สึกและการเป็นครูจากต้นแบบของศิลปินแห่งชาติ ซึ่งในส่วนของศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ เป็นบรรยากาศของการจุดประกายผู้ที่สนใจการสร้างสรรค์งานเขียนประเภทเรื่องสั้นและบทกวี ซึ่งนักเรียน นักศึกษาให้ความสนใจในการสร้างงานจากประสบการณ์ของศิลปิน ผูกโยงกับทัศนคติที่มีต่อสังคมและถ่ายทอดความรู้สึกผ่านศิลปะการใช้ภาษา ซึ่งนักเรียนหลายคนเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้จนเกิดประกายสามารถสร้างสรรค์งานหลายๆ ชิ้นให้ศิลปินได้วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างงานต่อไป.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ผนึกเครือข่ายทางวัฒนธรรม-สถาบันการศึกษา จัดงานสืบศาสตร์ สานศิลป์ฯ ศิลปินแห่งชาติสัญจร
มรภ.สงขลา จับมือกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ม.ทักษิณ มทร.ศรีวิชัย ร.ร.มหาวชิราวุธ จัดงานสืบศาสตร์ สานศิลป์ฯ : ศิลปินแห่งชาติสัญจร 2562 น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ ร.10 ในฐานะทรงเป็นอัครศิลปิน
อาจารย์โอภาส อิสโม ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จัดงานสืบศาสตร์ สานศิลป์ ศิลปินแห่งชาติ : ศิลปินแห่งชาติสัญจร 2562 ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา วัตถุประสงค์เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็นอัครศิลปิน และเพื่อให้ประชาชนเจริญรอยตามพระยุคลบาท สืบสานพระราชปณิธานการอนุรักษ์ สืบสาน มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะและความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะให้แก่อาจารย์ นักศึกษา เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยตนได้เข้าร่วมพิธีเปิดและรับมอบของที่ระลึกจาก นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
อาจารย์โอภาส กล่าวว่า มรภ.สงขลา ได้แต่งตั้งคณาจารย์ของทางมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากรศิลปินแห่งชาติ ได้แก่ อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ กาลทิพย์ อาจารย์ชนางลักษณ์ ขุนทอง และ อาจารย์ตถาตา สมพงศ์ ผู้ช่วยวิทยากรประจำฐานการสร้างสรรค์เรื่องสั้น อาจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ รักษาเดช และ อาจารย์วารี แสงสุวอ ผู้ช่วยวิทยากรประจำฐานเทคนิคภาพพิมพ์ อาจารย์จุฑารัตน์ บุตรเผียน ผู้ช่วยวิทยากรประจำฐานเทคนิคประติมากรรม ผศ.ดร.จรรย์สมร ผลบุญ และ ผศ.ดร.กฤติยา ชูสงค์ ผู้ช่วยวิทยากรประจำฐานการสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) และ อาจารย์กมลนาวิน อินทนูจิตร ผู้ช่วยวิทยากรประจำฐานเทคนิคสถาปัตยกรรม พร้อมทั้งส่งนักศึกษาเข้าร่วมในฐานกิจกรรมกว่า 80 คน
ด้าน อาจารย์กมลนาวิน อินทนูจิตร รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อมูลองค์ความรู้และอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า เป็นมงคลชีวิตอย่างยิ่งที่ตนมีโอกาสเป็นผู้ช่วยวิทยากรศิลปินแห่งชาติ อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร ซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านสถาปัตยกรรมที่ออกแบบงานไว้ให้แผ่นดินมากมาย ศิลปินแห่งชาติคือครูของแผ่นดิน เป็นพลังใจที่เติมเต็มแก่เยาวชน และเป็นแบบอย่างสูงสุดของวิชาชีพ ตนรู้สึกเป็นเกียรติได้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยของท่านทำให้สามารถนำมาปรับการบริหารศิลป์ เพราะมากกว่าความเข้าใจว่าศิลปะคืออะไร คือความซาบซึ้งในศาสตร์ ศิลป์ สืบสาน นั้น
อาจารย์กมลนาวิน กล่าวอีกว่า สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานในการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู ปกป้อง พัฒนาและเผยแพร่ด้านศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา และได้กำหนดกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โดยส่งเสริมและสร้างความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมให้กับนักศึกษา บุคลากร ประชาชนทั่วไป เช่น โครงการตามประเพณีต่างๆ การพัฒนาฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาผสมผสานการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมต่าง ๆ อีกทั้ง มรภ.สงขลา เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในภาคใต้และอยู่ในชุมชนที่มีศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม วิถีการดำรงชีวิตแบบพื้นบ้าน และขนบธรรมเนียมที่ดีงามหลากหลายควรค่าแก่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ปกป้อง และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
อาจารย์ชนางลักษณ์ ขุนทอง กล่าวถึงความประทับใจต่องานดังกล่าวว่า ตนมีโอกาสได้พบกับศิลปินแห่งชาติที่มารวมตัวกันอย่างใกล้ชิด ทำให้รู้สึกกลับไปเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาตัวเล็กๆ ที่ครูก้มมองเราด้วยประกายตาที่เมตตา เพราะสำหรับตนแล้วทุกท่านเหล่านี้เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ เป็นปรมาจารย์ในด้านต่างๆ ที่เดินทางสัญจรมาหา จึงรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับและภาคภูมิใจ ดีใจแทนเด็กๆ ชาวสงขลา ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์ผลงานจากครูของแผ่นดิน
ปิดท้ายด้วย อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ กาลพันธ์ กล่าวว่า จุดประสงค์หลักของการได้พบปะศิลปินแห่งชาติในครั้งนี้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ จุดประกายความคิด ความกล้าในเรื่องที่เขียน อีกทั้งได้เห็นแบบอย่างของคนที่ประสบความสำเร็จจากการเขียน งานครั้งนี้จึงทรงคุณค่าต่อความรู้สึกและการเป็นครูจากต้นแบบของศิลปินแห่งชาติ ซึ่งในส่วนของศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ เป็นบรรยากาศของการจุดประกายผู้ที่สนใจการสร้างสรรค์งานเขียนประเภทเรื่องสั้นและบทกวี ซึ่งนักเรียน นักศึกษาให้ความสนใจในการสร้างงานจากประสบการณ์ของศิลปิน ผูกโยงกับทัศนคติที่มีต่อสังคมและถ่ายทอดความรู้สึกผ่านศิลปะการใช้ภาษา ซึ่งนักเรียนหลายคนเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้จนเกิดประกายสามารถสร้างสรรค์งานหลายๆ ชิ้นให้ศิลปินได้วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างงานต่อไป.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024