อาจารย์ นักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา แทคทีมโชว์ผลงานเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ คว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน
ดร.วัชรินทร์ สายน้ำใส อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนพร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ รวม 5 คน คือ น.ส.สุนิสา หัวนา น.ส.มัณฑนา สงไข น.ส.ฟาตีฮะห์ แดวอสนุง น.ส.วาสนา หมัดล่าเตะ และ นายณัฐกานต์ หมันนาเกลือ เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้แนวคิด “วิจัยสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและสังคมไทย สู่ Disruptive Society” ในการนี้ ผลงานวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์โดยใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติม” จัดทำโดย สุนิสา หัวนา มัณฑนา สงไข สุไหลหมาน เบญฤทธิ์ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น (Best Paper Award) สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่นติดต่อกันเป็นปีที่ 3 จากเวทีนี้
ดร.วัชรินทร์ กล่าวว่า ในการเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้ นอกเหนือจากผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลแล้ว ยังมีงานวิจัยเรื่องอื่นๆ จากอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแครงเป็นสารตัวเติมในยางธรรมชาติ โดย วาสนา หมัดล่าเตะ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส ลักษณะการวัลคาไนซ์ สมบัติทางกายภาพ และการเสื่อมสภาพของยางธรรมชาติผสมแป้งพืชเป็นสารตัวเติม โดย ฟาตีฮะห์ แดวอสนุง นฤปนาถ พลเมือง วัชรินทร์ สายน้ำใส การศึกษาเปรียบเทียบการผ่อนคลายความเค้นของยางแผ่นรมควันและยางแท่งมาตรฐานไทยด้วยเครื่องทดสอบความหนืดมูนนี่ โดย ณัฐกานต์ หมันนาเกลือ ไรฮานา เจะเตะ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส
สำหรับงานวิจัยเรื่อง การปรับปรุงการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์โดยใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติม มีที่มาจากการเล็งเห็นว่ายางธรรมชาติผสมสารตัวเติมที่วัลคาไนซ์แล้ว เมื่อถูกกระทำอย่างต่อเนื่องจะมีการอ่อนตัวของความเค้น หรือเกิดการแตกหักเสียหายได้ ปรากฏการณ์การอ่อนตัวของความเค้นนี้รู้จักกันทั่วไปในชื่อผลของมูลลินส์ (Mullins effect) นอกจากนี้ ยางซึ่งเป็นวัสดุประเภทหยุ่นหนืดจะเกิดการสูญเสียพลังงานจากแรงกระทำอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ แรงที่ใช้ในการผิดรูปจะมากกว่าแรงที่ใช้ในการคืนตัวกลับ โดยพลังงานที่สูญเสียไปนี้จะอยู่ในรูปของพลังงานความร้อนสะสม จึงศึกษาเพื่อปรับปรุงสมบัติการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ โดยใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติมในปริมาณ 40 phr โดยแปรสัดส่วนของแคลเซียมคาร์บอเนตกับเขม่าดำเกรด N330 เป็น 40/0, 30/10, 20/20, 10/30 และ 0/40 phr
“จากการศึกษาพบว่า การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติม สามารถปรับปรุงสมบัติด้านการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ได้ ซึ่งสมบัติดังกล่าวมีค่าสูงขึ้นตามสัดส่วนของเขม่าดำเกรด N330 ในสารตัวเติมผสมที่เพิ่มขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยางต่อไป” ดร.วัชรินทร์ กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สุดเจ๋ง “เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์” มรภ.สงขลา คว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น 3 ปีซ้อน
อาจารย์ นักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา แทคทีมโชว์ผลงานเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ คว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน
ดร.วัชรินทร์ สายน้ำใส อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนพร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ รวม 5 คน คือ น.ส.สุนิสา หัวนา น.ส.มัณฑนา สงไข น.ส.ฟาตีฮะห์ แดวอสนุง น.ส.วาสนา หมัดล่าเตะ และ นายณัฐกานต์ หมันนาเกลือ เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้แนวคิด “วิจัยสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและสังคมไทย สู่ Disruptive Society” ในการนี้ ผลงานวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์โดยใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติม” จัดทำโดย สุนิสา หัวนา มัณฑนา สงไข สุไหลหมาน เบญฤทธิ์ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น (Best Paper Award) สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่นติดต่อกันเป็นปีที่ 3 จากเวทีนี้
ดร.วัชรินทร์ กล่าวว่า ในการเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้ นอกเหนือจากผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลแล้ว ยังมีงานวิจัยเรื่องอื่นๆ จากอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแครงเป็นสารตัวเติมในยางธรรมชาติ โดย วาสนา หมัดล่าเตะ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส ลักษณะการวัลคาไนซ์ สมบัติทางกายภาพ และการเสื่อมสภาพของยางธรรมชาติผสมแป้งพืชเป็นสารตัวเติม โดย ฟาตีฮะห์ แดวอสนุง นฤปนาถ พลเมือง วัชรินทร์ สายน้ำใส การศึกษาเปรียบเทียบการผ่อนคลายความเค้นของยางแผ่นรมควันและยางแท่งมาตรฐานไทยด้วยเครื่องทดสอบความหนืดมูนนี่ โดย ณัฐกานต์ หมันนาเกลือ ไรฮานา เจะเตะ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส
สำหรับงานวิจัยเรื่อง การปรับปรุงการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์โดยใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติม มีที่มาจากการเล็งเห็นว่ายางธรรมชาติผสมสารตัวเติมที่วัลคาไนซ์แล้ว เมื่อถูกกระทำอย่างต่อเนื่องจะมีการอ่อนตัวของความเค้น หรือเกิดการแตกหักเสียหายได้ ปรากฏการณ์การอ่อนตัวของความเค้นนี้รู้จักกันทั่วไปในชื่อผลของมูลลินส์ (Mullins effect) นอกจากนี้ ยางซึ่งเป็นวัสดุประเภทหยุ่นหนืดจะเกิดการสูญเสียพลังงานจากแรงกระทำอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ แรงที่ใช้ในการผิดรูปจะมากกว่าแรงที่ใช้ในการคืนตัวกลับ โดยพลังงานที่สูญเสียไปนี้จะอยู่ในรูปของพลังงานความร้อนสะสม จึงศึกษาเพื่อปรับปรุงสมบัติการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ โดยใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติมในปริมาณ 40 phr โดยแปรสัดส่วนของแคลเซียมคาร์บอเนตกับเขม่าดำเกรด N330 เป็น 40/0, 30/10, 20/20, 10/30 และ 0/40 phr
“จากการศึกษาพบว่า การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติม สามารถปรับปรุงสมบัติด้านการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ได้ ซึ่งสมบัติดังกล่าวมีค่าสูงขึ้นตามสัดส่วนของเขม่าดำเกรด N330 ในสารตัวเติมผสมที่เพิ่มขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยางต่อไป” ดร.วัชรินทร์ กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024