สายพันธุ์กัญชาไทย THCa สูง เหมาะสำหรับใช้ต้านการอักเสบ ( Anti-Inflammatory ) และ การป้องกันระบบประสาท ( Neuro-Protectant ) โดย ดร. สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล นักวิชาการ นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กัญชาทางการแพทย์
โดยปกติสาร แคนนาบินอยด์ ( Cannabinoids ) ในกัญชามีคุณลักษณะที่มีฤทธิ์ทางยาในการต้านการอักเสบ ( Anti-Inflammatory ) ได้ดี และ ยังมีสารเทอพีนอยด์ ( Terpenoids ) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีสารบางชนิดในกัญชายังช่วยเสริมฤทธิ์ในการต้านการอักเสบได้ดีเช่นกัน อย่างไรก็ดี สาร CBD ถือได้ว่าเป็นสารสกัดกัญชาที่มีคุณสมบัติโดดเด่นทางด้านการต้านการอักเสบและ การป้องกันระบบประสาท ( Neuro-Protectant ) แต่ก็มีสาร THCa ซึ่งจะมีมากในสายพันธุ์กัญชา Sativa โดยเฉพาะสายพันธุ์กัญชาไทย ( Thai Stick ) ที่มีฤทธิ์ทางยาเช่นเดียวกัน
สาร THCa ในกัญชา ( Tetrahydrocannabinolic acid ) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ จึงอาจจะเป็นเหตุผลที่ใช้ในการป้องกันระบบประสาทอย่างเช่นในโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรค ALS และ โรค MS ( Multiple Sclerosis )
เนื่องจากสาร CBD ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทและไม่ทำให้มึนเมา ร่างกายสามารถรับเข้าไปได้มากถึง 500-1500 mg ต่อวัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย แต่ก็เป็นการยากที่จะหาสายพันธุ์กัญชาที่มี CBD สูง ๆ นอกจากกัญชงเท่านั้น ก็ยังมีสาร THCa ซึ่งมีฤทธิ์ทางยาเช่นกัน ที่มีอยู่ในใบและดอกกัญชาก่อนจะผ่านการสกัดด้วยความร้อนและให้สาร THC ขึ้นมาแทน
อย่างไรก็ตามสาร CBD จะถูกย่อยด้วยเอนไซม์จากตับ ซึ่งจะเกิดเป็นสารอื่น ๆอีกมากมายที่ทำหน้าที่เป็นตัวยยา แต่กลับกลายเป็นว่า สาร CBD เองไปเพิ่มฤทธิ์ทางยามากขึ้น ซึ่งสาร THCa จะไปเสริมฤทธิ์ทางยาน้อยกว่า CBD
ดังนั้นการใช้สาร THCa จากกัญชา การใช้ ค่าประมาณที่ดีที่สุดดูเหมือนจะอยู่ระหว่าง 10-40 มก. วันละสองครั้ง อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่มีการทำให้มึนเมาและปลอดภัยกว่า CBD จึงค่อย ๆเพิ่มระดับปริมาณไปอย่างช้า ๆ อาจจะเห็นผลได้ชัดเจนในสัปดาห์ที่ 6
ทางสถาบันวิจัยกัญชาทางการแพทย์ หาดใหญ่ มีข้อแนะนำว่า ถ้าหากไม่สามารถหาสายพันธุ์กัญชาที่มีสาร CBD สูง ๆ ในการเพาะปลูกสายพันธุ์กัญชาไทย ก็เป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกง่ายในสภาพอากาศร้อน และ เมล็ดสายพันธุ์ก็หาได้ง่าย เช่น สายพันธุ์หางกระรอก สายพันธ์ตะนาวศรี
นอกจากนี้ผู้ป่วยก็สามารถนำใบสดและดอกสดมาชงกินแบบชาได้ จากการนำไปใช้กับผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหดเกร็ง ( Muscle Spasms ) ได้ผลดีอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรค ALS และ โรค MS ( Multiple Sclerosis )
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิต้านทานตนเอง (Auto Immune ) โรคภูมิต้านตนเองเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานผิดพลาดและทำให้ร่างกายเริ่มโจมตีตนเอง เช่น โรคโครห์น (Crohn’s Disease) เป็นความผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการระคายเคืองและทางเดินอาหารบวม ซึ่งโรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel diseases หรือ IBD) โรคโครห์นส่วนใหญ่มีความผิดปกติที่ลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น แต่การอักเสบนี้ก็สามารถเกิดส่วนใดของทางเดินอาหารก็ได้ โรคโครห์นรักษาไม่หาย แต่มีการรักษาหลายวิธีที่ช่วยคุมอาการได้ ผู้ป่วยโรคโครห์นส่วนใหญ่จะมีช่วงทุเลา คือ ไม่มีอาการและช่วงที่โรคกำเริบ ซึ่งอาการจะแย่ลง ผู้ป่วยโรคโครห์น ใช้ สาร THCa จะช่วยให้อาการดีขึ้น อย่างได้ผล
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากผู้ป่วยได้รับสารเทอพีน น้ำมันหอยระเหยจากกัญชา เช่น Humulene, Caryophylene, A-Pinene, Myrcene และ Eucalyptol จะช่วยการต้านอักเสบได้ดียิ่งขึ้น สายพันธุ์กัญชาที่สาร Terpenoid ดังกล่าวเช่น Humanene มีในสายพันธุ์กัญชา Liberty Haze, Gorilla Glue # 4, Cush/Green Crack, Sage N Sour ส่วนสาร Terpene Caryophylene มีมากในสายพันธุ์กัญชา Tangerine Dream, Gorilla Glue # 4, Pineapple Express, Sage N Sour ส่วนน้ำมันหอมระเหย A-Pinene ในสายพันธุ์กัญชา Vanila Kush, Cookie Cross, 9LB Hammer, Lavender และสาร Myrcene มีมากในสายพันธุ์กัญชา Chemdawg, Grape Stomper, Fire Alien Kush, Agent Orange
ในบทความวิจัยครั้งต่อไปก็จะพูดถึงการสกัดสาร THCa ให้เป็นผลึกเพื่อนำไปใช้เป็นยาต่อไป
สถาบันวิจัยกัญชาทางการแพทย์หาดใหญ่ ดร.สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการ Email : indicasativathc@gmail.com line ID : suchartyai Facebook : https://www.facebook.com/davidm.monkongpitukkul ติดตามบทความย้อนหลัง.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สายพันธุ์กัญชาไทย THCa สูง เหมาะสำหรับใช้ต้านการอักเสบ ( Anti-Inflammatory ) และ การป้องกันระบบประสาท ( Neuro-Protectant )
สายพันธุ์กัญชาไทย THCa สูง เหมาะสำหรับใช้ต้านการอักเสบ ( Anti-Inflammatory ) และ การป้องกันระบบประสาท ( Neuro-Protectant )
โดย ดร. สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล นักวิชาการ นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กัญชาทางการแพทย์
โดยปกติสาร แคนนาบินอยด์ ( Cannabinoids ) ในกัญชามีคุณลักษณะที่มีฤทธิ์ทางยาในการต้านการอักเสบ ( Anti-Inflammatory ) ได้ดี และ ยังมีสารเทอพีนอยด์ ( Terpenoids ) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีสารบางชนิดในกัญชายังช่วยเสริมฤทธิ์ในการต้านการอักเสบได้ดีเช่นกัน อย่างไรก็ดี สาร CBD ถือได้ว่าเป็นสารสกัดกัญชาที่มีคุณสมบัติโดดเด่นทางด้านการต้านการอักเสบและ การป้องกันระบบประสาท ( Neuro-Protectant ) แต่ก็มีสาร THCa ซึ่งจะมีมากในสายพันธุ์กัญชา Sativa โดยเฉพาะสายพันธุ์กัญชาไทย ( Thai Stick ) ที่มีฤทธิ์ทางยาเช่นเดียวกัน
สาร THCa ในกัญชา ( Tetrahydrocannabinolic acid ) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ จึงอาจจะเป็นเหตุผลที่ใช้ในการป้องกันระบบประสาทอย่างเช่นในโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรค ALS และ โรค MS ( Multiple Sclerosis )
เนื่องจากสาร CBD ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทและไม่ทำให้มึนเมา ร่างกายสามารถรับเข้าไปได้มากถึง 500-1500 mg ต่อวัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย แต่ก็เป็นการยากที่จะหาสายพันธุ์กัญชาที่มี CBD สูง ๆ นอกจากกัญชงเท่านั้น ก็ยังมีสาร THCa ซึ่งมีฤทธิ์ทางยาเช่นกัน ที่มีอยู่ในใบและดอกกัญชาก่อนจะผ่านการสกัดด้วยความร้อนและให้สาร THC ขึ้นมาแทน
อย่างไรก็ตามสาร CBD จะถูกย่อยด้วยเอนไซม์จากตับ ซึ่งจะเกิดเป็นสารอื่น ๆอีกมากมายที่ทำหน้าที่เป็นตัวยยา แต่กลับกลายเป็นว่า สาร CBD เองไปเพิ่มฤทธิ์ทางยามากขึ้น ซึ่งสาร THCa จะไปเสริมฤทธิ์ทางยาน้อยกว่า CBD
ดังนั้นการใช้สาร THCa จากกัญชา การใช้ ค่าประมาณที่ดีที่สุดดูเหมือนจะอยู่ระหว่าง 10-40 มก. วันละสองครั้ง อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่มีการทำให้มึนเมาและปลอดภัยกว่า CBD จึงค่อย ๆเพิ่มระดับปริมาณไปอย่างช้า ๆ อาจจะเห็นผลได้ชัดเจนในสัปดาห์ที่ 6
ทางสถาบันวิจัยกัญชาทางการแพทย์ หาดใหญ่ มีข้อแนะนำว่า ถ้าหากไม่สามารถหาสายพันธุ์กัญชาที่มีสาร CBD สูง ๆ ในการเพาะปลูกสายพันธุ์กัญชาไทย ก็เป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกง่ายในสภาพอากาศร้อน และ เมล็ดสายพันธุ์ก็หาได้ง่าย เช่น สายพันธุ์หางกระรอก สายพันธ์ตะนาวศรี
นอกจากนี้ผู้ป่วยก็สามารถนำใบสดและดอกสดมาชงกินแบบชาได้ จากการนำไปใช้กับผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหดเกร็ง ( Muscle Spasms ) ได้ผลดีอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรค ALS และ โรค MS ( Multiple Sclerosis )
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิต้านทานตนเอง (Auto Immune ) โรคภูมิต้านตนเองเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานผิดพลาดและทำให้ร่างกายเริ่มโจมตีตนเอง เช่น โรคโครห์น (Crohn’s Disease) เป็นความผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการระคายเคืองและทางเดินอาหารบวม ซึ่งโรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel diseases หรือ IBD) โรคโครห์นส่วนใหญ่มีความผิดปกติที่ลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น แต่การอักเสบนี้ก็สามารถเกิดส่วนใดของทางเดินอาหารก็ได้ โรคโครห์นรักษาไม่หาย แต่มีการรักษาหลายวิธีที่ช่วยคุมอาการได้ ผู้ป่วยโรคโครห์นส่วนใหญ่จะมีช่วงทุเลา คือ ไม่มีอาการและช่วงที่โรคกำเริบ ซึ่งอาการจะแย่ลง ผู้ป่วยโรคโครห์น ใช้ สาร THCa จะช่วยให้อาการดีขึ้น อย่างได้ผล
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากผู้ป่วยได้รับสารเทอพีน น้ำมันหอยระเหยจากกัญชา เช่น Humulene, Caryophylene, A-Pinene, Myrcene และ Eucalyptol จะช่วยการต้านอักเสบได้ดียิ่งขึ้น สายพันธุ์กัญชาที่สาร Terpenoid ดังกล่าวเช่น Humanene มีในสายพันธุ์กัญชา Liberty Haze, Gorilla Glue # 4, Cush/Green Crack, Sage N Sour ส่วนสาร Terpene Caryophylene มีมากในสายพันธุ์กัญชา Tangerine Dream, Gorilla Glue # 4, Pineapple Express, Sage N Sour ส่วนน้ำมันหอมระเหย A-Pinene ในสายพันธุ์กัญชา Vanila Kush, Cookie Cross, 9LB Hammer, Lavender และสาร Myrcene มีมากในสายพันธุ์กัญชา Chemdawg, Grape Stomper, Fire Alien Kush, Agent Orange
ในบทความวิจัยครั้งต่อไปก็จะพูดถึงการสกัดสาร THCa ให้เป็นผลึกเพื่อนำไปใช้เป็นยาต่อไป
สถาบันวิจัยกัญชาทางการแพทย์หาดใหญ่ ดร.สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการ
Email : indicasativathc@gmail.com
line ID : suchartyai
Facebook : https://www.facebook.com/davidm.monkongpitukkul
ติดตามบทความย้อนหลัง.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024