บรรยายภาพ – บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด นำโดยนายศักดิ์ชัย อมรศักดิ์ชัย ผู้จัดการฝ่ายเทคนิคการปฏิบัติงานด้วยความเป็นเลิศ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม มอบงบประมาณสนับสนุนโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 27 จำนวน 720,000 บาท ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต โดยมีเยาวชนจากสถาบันอุดมศึกษา 14 แห่งทั่วประเทศ ร่วมกิจกรรม
เดินทางมาถึงปีที่ 27 แล้วกับโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อน (Marine Ecology Summer Course) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งและป่าชายเลน ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เพื่อปั้นเยาวชนสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยเชฟรอนได้มอบงบประมาณ 720,000 บาท เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
ค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนครั้งที่ 27 จัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต โดยมีเยาวชน 30 คน จาก 14 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วม โดยตลอดระยะเวลากว่า 1 เดือนของการดำเนินการ น้องๆ จะได้เรียนรู้ทฤษฎี ทดลอง และฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเล อาทิ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางทะเล กลไกและกระบวนการสำคัญที่เกิดขึ้นในทะเล และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
ดร. อุดมศักดิ์ ดรุมาศ อาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ประสานงานโครงการ กล่าวว่า “ในปีนี้เราปรับการเรียนเน้นการตระหนักการใช้ทรัพยากร โดยเน้นเรื่องพฤติกรรม การปฏิบัติบางอย่างที่จะทำให้นักศึกษาได้ซึมซับความตระหนักในการใช้ทรัพยากร ซึ่งทางเชฟรอนสนับสนุนถุงใส่ของ กล่องข้าว กระบอกน้ำ ทำให้ปีนี้ขยะจำพวกพลาสติกจะลดลงเยอะมาก ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาร่วมจัดความรู้ในเชิงวิชาการ ทำให้น้องๆ ที่เข้าค่ายได้เรียนรู้การทำโครงการวิจัย และเทคนิคการนำเสนอ ว่าทำอย่างไรถึงจะให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนต้องการนำเสนอ และสำหรับปีหน้า จะขยายการเปิดรับนักศึกษาวิศวะสิ่งแวดล้อม กับเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรม เพราะประเด็นสิ่งแวดล้อมทางทะเลนั้นไม่สามารถแก้ได้โดยศาสตร์เดียว ต้องบูรณาการความรู้แนวปฏิบัติของศาสตร์ต่างๆ หลายด้านมาใช้เพื่อสามารถแก้ไขในปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”
นางสาวรัตนากร โชติกะ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าถึงที่มาของการได้มาร่วมค่ายในครั้งนี้ว่า “ รู้จักค่าย Marine Ecology Summer Course จากรุ่นพี่ที่ภาคแนะนำมา หลังจากได้คุยกับรุ่นพี่และหาข้อมูลเกี่ยวกับค่ายครั้งที่ผ่านมา จึงรู้สึกสนใจและตัดสินใจสมัครเข้าร่วม ส่วนตัวแม้ว่ามีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านอยู่ติดทะเล แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับทะเลอย่างจริงจังเลย ค่ายนี้จึงทำให้มีโอกาสสัมผัสและปฏิบัติจริง ซึ่งคิดว่าจะนำความรู้ที่ได้กลับไปพัฒนาบ้านเกิดได้ อย่างตอนนี้ปัญหาขยะในทะเลถือเป็นปัญหาหลัก เพราะขยะพลาสติกย่อยสลายได้ยาก เลยคิดอยากทำโปรเจคที่จุลชีพสามารถทำลายไมโครพลาสติกได้ ซึ่งจะนำความรู้ที่ได้จากค่ายนี้ไปศึกษาต่อค่ะ”
นางสาวธัญญรัตน์ สุขเรือน นิสิตปริญญาตรีชั้นปี 4 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความรู้สึกที่ได้มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “ดีใจมากที่ได้รับคัดเลือกมาร่วมค่ายนี้ เพราะมีความชอบและอยากจะเรียนรู้เพิ่มเติมในด้านทะเล ขณะที่เรียนคณะสัตวแพทย์ ทางมหาลัยก็จะสอนเพียงแต่ว่าสัตว์ตัวนี้เป็นอย่างไร ต้องรักษาอย่างไร แต่ค่ายนี้ทำให้เรียนรู้ว่าสัตว์จะอยู่กับธรรมชาติอย่างไร ทำให้เราได้เติมเต็มความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโลกใบนี้มากขึ้น ค่ายนี้ช่วยปลูกฝังสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เราได้มาก ตั้งใจว่าหลังจากนี้จะพยายามใช้รถสาธารณะ ใช้ถุงผ้า และกระบอกน้ำ ใช้ไฟฟ้าให้คุ้มค่า เพราะการผลิตสินค้าหนึ่งชิ้นนั้นใช้พลังงานเยอะมาก ค่ายนี้ได้อะไรเยอะกว่าที่คิดไว้ ล้วนแต่เป็นประสบกาณ์ที่นอกเหนือจากในตำราค่ะ”
ขณะที่ นายอริย์รัช วงศ์ณัทปรานนต์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวถึงความชื่นชอบภายในค่ายครั้งนี้ว่า “ผมจบชีวเทคโนโลยีทางทะเล แต่พอมาค่ายนี้ได้รับความรู้ใหม่เกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล และสิ่งที่ชอบคือเรื่องผลประโยชน์ทางทะเลเกี่ยวกับยา การสกัดยาว่าเราจะนำสัตว์ทะเลชนิดไหนไปสกัดยาได้บ้าง และประทับใจตรงที่มีอาจารย์คอยแนะแนวว่าเราควรจะเรียนเพิ่มในวิชาไหนบ้าง ทำให้รู้ว่าเราชอบอะไร และจะไปต่ออย่างไร เพราะทะเลไม่ได้มีแค่เรื่องชีววิทยาสำรวจความหลากหลาย แต่มันมีเรื่องของงานวิศวกรรม การเดินเรือ สมุทรศาสตร์กายภาพ มีเรื่องกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย ที่สำคัญนักวิจัยที่มาร่วมค่ายยังบอกอีกว่างานตอนนี้ยังขาดบุคลากร หากใครตัดสินใจมาผมว่าเป็นช่องทางอาชีพในอนาคตได้อีกหลายคนครับ”
ค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนที่เชฟรอนดำเนินการร่วมกับพันธมิตรมาต่อเนื่องถึงปีที่ 27 ได้จัดประกายฝัน ปั้นนักวิทย์แห่งท้องทะเลไทยมาแล้วถึง 810 คน ซึ่งหลายคนได้เติบโตเป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาประเทศอย่างหลากหลายด้วยสำนึกร่วมในการปกป้องดูแลสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ท้องทะเลไทยให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องภารกิจหลักในการดำเนินนโยบายทางด้านสังคมของบริษัทเชฟรอน ที่มุ่งมั่นในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ ซึ่งเป็นพันธกิจที่เชฟรอนยึดมั่นและถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง.
ภาพ/ข่าว เชฟรอน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อน จุดประกายฝัน ปั้นนักวิทย์แห่งท้องทะเลไทย
บรรยายภาพ – บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด นำโดยนายศักดิ์ชัย อมรศักดิ์ชัย ผู้จัดการฝ่ายเทคนิคการปฏิบัติงานด้วยความเป็นเลิศ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม มอบงบประมาณสนับสนุนโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 27 จำนวน 720,000 บาท ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต โดยมีเยาวชนจากสถาบันอุดมศึกษา 14 แห่งทั่วประเทศ ร่วมกิจกรรม
เดินทางมาถึงปีที่ 27 แล้วกับโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อน (Marine Ecology Summer Course) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งและป่าชายเลน ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เพื่อปั้นเยาวชนสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยเชฟรอนได้มอบงบประมาณ 720,000 บาท เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
ค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนครั้งที่ 27 จัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต โดยมีเยาวชน 30 คน จาก 14 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วม โดยตลอดระยะเวลากว่า 1 เดือนของการดำเนินการ น้องๆ จะได้เรียนรู้ทฤษฎี ทดลอง และฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเล อาทิ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางทะเล กลไกและกระบวนการสำคัญที่เกิดขึ้นในทะเล และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
ดร. อุดมศักดิ์ ดรุมาศ อาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ประสานงานโครงการ กล่าวว่า “ในปีนี้เราปรับการเรียนเน้นการตระหนักการใช้ทรัพยากร โดยเน้นเรื่องพฤติกรรม การปฏิบัติบางอย่างที่จะทำให้นักศึกษาได้ซึมซับความตระหนักในการใช้ทรัพยากร ซึ่งทางเชฟรอนสนับสนุนถุงใส่ของ กล่องข้าว กระบอกน้ำ ทำให้ปีนี้ขยะจำพวกพลาสติกจะลดลงเยอะมาก ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาร่วมจัดความรู้ในเชิงวิชาการ ทำให้น้องๆ ที่เข้าค่ายได้เรียนรู้การทำโครงการวิจัย และเทคนิคการนำเสนอ ว่าทำอย่างไรถึงจะให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนต้องการนำเสนอ และสำหรับปีหน้า จะขยายการเปิดรับนักศึกษาวิศวะสิ่งแวดล้อม กับเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรม เพราะประเด็นสิ่งแวดล้อมทางทะเลนั้นไม่สามารถแก้ได้โดยศาสตร์เดียว ต้องบูรณาการความรู้แนวปฏิบัติของศาสตร์ต่างๆ หลายด้านมาใช้เพื่อสามารถแก้ไขในปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”
นางสาวรัตนากร โชติกะ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าถึงที่มาของการได้มาร่วมค่ายในครั้งนี้ว่า “ รู้จักค่าย Marine Ecology Summer Course จากรุ่นพี่ที่ภาคแนะนำมา หลังจากได้คุยกับรุ่นพี่และหาข้อมูลเกี่ยวกับค่ายครั้งที่ผ่านมา จึงรู้สึกสนใจและตัดสินใจสมัครเข้าร่วม ส่วนตัวแม้ว่ามีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านอยู่ติดทะเล แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับทะเลอย่างจริงจังเลย ค่ายนี้จึงทำให้มีโอกาสสัมผัสและปฏิบัติจริง ซึ่งคิดว่าจะนำความรู้ที่ได้กลับไปพัฒนาบ้านเกิดได้ อย่างตอนนี้ปัญหาขยะในทะเลถือเป็นปัญหาหลัก เพราะขยะพลาสติกย่อยสลายได้ยาก เลยคิดอยากทำโปรเจคที่จุลชีพสามารถทำลายไมโครพลาสติกได้ ซึ่งจะนำความรู้ที่ได้จากค่ายนี้ไปศึกษาต่อค่ะ”
นางสาวธัญญรัตน์ สุขเรือน นิสิตปริญญาตรีชั้นปี 4 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความรู้สึกที่ได้มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “ดีใจมากที่ได้รับคัดเลือกมาร่วมค่ายนี้ เพราะมีความชอบและอยากจะเรียนรู้เพิ่มเติมในด้านทะเล ขณะที่เรียนคณะสัตวแพทย์ ทางมหาลัยก็จะสอนเพียงแต่ว่าสัตว์ตัวนี้เป็นอย่างไร ต้องรักษาอย่างไร แต่ค่ายนี้ทำให้เรียนรู้ว่าสัตว์จะอยู่กับธรรมชาติอย่างไร ทำให้เราได้เติมเต็มความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโลกใบนี้มากขึ้น ค่ายนี้ช่วยปลูกฝังสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เราได้มาก ตั้งใจว่าหลังจากนี้จะพยายามใช้รถสาธารณะ ใช้ถุงผ้า และกระบอกน้ำ ใช้ไฟฟ้าให้คุ้มค่า เพราะการผลิตสินค้าหนึ่งชิ้นนั้นใช้พลังงานเยอะมาก ค่ายนี้ได้อะไรเยอะกว่าที่คิดไว้ ล้วนแต่เป็นประสบกาณ์ที่นอกเหนือจากในตำราค่ะ”
ขณะที่ นายอริย์รัช วงศ์ณัทปรานนต์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวถึงความชื่นชอบภายในค่ายครั้งนี้ว่า “ผมจบชีวเทคโนโลยีทางทะเล แต่พอมาค่ายนี้ได้รับความรู้ใหม่เกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล และสิ่งที่ชอบคือเรื่องผลประโยชน์ทางทะเลเกี่ยวกับยา การสกัดยาว่าเราจะนำสัตว์ทะเลชนิดไหนไปสกัดยาได้บ้าง และประทับใจตรงที่มีอาจารย์คอยแนะแนวว่าเราควรจะเรียนเพิ่มในวิชาไหนบ้าง ทำให้รู้ว่าเราชอบอะไร และจะไปต่ออย่างไร เพราะทะเลไม่ได้มีแค่เรื่องชีววิทยาสำรวจความหลากหลาย แต่มันมีเรื่องของงานวิศวกรรม การเดินเรือ สมุทรศาสตร์กายภาพ มีเรื่องกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย ที่สำคัญนักวิจัยที่มาร่วมค่ายยังบอกอีกว่างานตอนนี้ยังขาดบุคลากร หากใครตัดสินใจมาผมว่าเป็นช่องทางอาชีพในอนาคตได้อีกหลายคนครับ”
ค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนที่เชฟรอนดำเนินการร่วมกับพันธมิตรมาต่อเนื่องถึงปีที่ 27 ได้จัดประกายฝัน ปั้นนักวิทย์แห่งท้องทะเลไทยมาแล้วถึง 810 คน ซึ่งหลายคนได้เติบโตเป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาประเทศอย่างหลากหลายด้วยสำนึกร่วมในการปกป้องดูแลสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ท้องทะเลไทยให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องภารกิจหลักในการดำเนินนโยบายทางด้านสังคมของบริษัทเชฟรอน ที่มุ่งมั่นในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ ซึ่งเป็นพันธกิจที่เชฟรอนยึดมั่นและถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง.
ภาพ/ข่าว เชฟรอน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024