มรภ.สงขลา ส่ง 3 ตัวแทนนักศึกษา บินลัดฟ้าแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ-ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เชื่อช่วยเปิดโลกทัศน์ ฝึกทักษะสื่อสาร พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ
อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษาและคุณลักษณะบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มรภ.สงขลา คัดเลือกตัวแทนนักศึกษา จำนวน 3 คน ได้แก่ น.ส.ณัฐธิดา เมืองประชา น.ส.นูรฮาฟีซา เปาะแต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และ นายฐิติพงศ์ พันธ์ดี สาขาวิชาภาษาไทย จากคณะครุศาสตร์ เดินทางไปแลกเปลี่ยนด้านวิชาการและศิลปวัฒนธรรม และศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ (Southwest University) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งนอกจากจะช่วยเปิดโลกทัศน์ให้แก่นักศึกษาแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างทักษะให้นักศึกษามีความกล้าแสดงออก และสามารถสื่อสารในต่างประเทศได้ ขณะเดียวกัน มรภ.สงขลา ได้ดำเนินกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ อันจะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านต่างๆ นำมาซึ่งการทำข้อตกลงความความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม และเป็นโอกาสในการกระชับความความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
ดร.นิสิตา ฤทธาภิรมย์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ระหว่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษา มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ เพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในการสร้างและขยายพันธมิตร โดยยึดหลักการผสานประโยชน์และความชำนาญการของกันและกัน ก่อให้เกิดความร่วมมืออันดีเพื่อสนับสนุนการศึกษา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม การจัดโครงการทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน เพื่อพัฒนาบุคลากรและนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา ซึ่ง มรภ.สงขลา ดำเนินกิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งการส่งนักศึกษาไปอบรมเชิงปฏิบัติและศึกษาดูงานในมหาวิทยาต่างประเทศ หรือการเป็นเจ้าบ้านต้อนรับนักศึกษาและอาจารย์จากต่างประเทศที่มาฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ณ มรภ.สงขลา
รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า หากเรามีการเตรียมความพร้อมทรัพยากรมนุษย์ของไทยให้สามารถแข่งขันและเท่าเทียมกับนานาประเทศได้ ย่อมเป็นการเตรียมการที่ดี เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบชาติอื่นๆ และยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับคนไทยในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านธุรกิจและการศึกษา อีกทั้งเมื่อมีการรวมกลุ่มกันแล้วการที่จะเรียนรู้ศึกษาซึ่งกันและกัน ถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยสร้างความได้เปรียบแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมและมีความเข้าใจในความหลากหลายของสังคมต่างวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย
ด้าน นายฐิติพงศ์ พันธ์ดี กล่าวว่า ก่อนเดินทางศูนย์ภาษาได้จัดอบรมภาษาอังกฤษและภาษาจีนพื้นฐานให้ 1 สัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการสื่อสาร แต่เนื่องด้วยเพื่อนอีก 2 คน เรียนทางด้านสาขาวิชาภาษาอังกฤษ จึงมีความชำนาญในระดับหนึ่งแล้ว อาจารย์จึงเพิ่มระดับในการเรียนให้สูงขึ้น ตนซึ่งเรียนทางด้านสาขาวิชาภาษาไทยจึงจำเป็นต้องทำการบ้านหนักกว่าคนอื่น เช่น ท่องคำศัพท์ ฝึกพูดประโยคสนทนาพื้นฐาน ซึ่งเมื่อเดินทางไปถึง เมืองฉงชิ่งต้อนรับพวกตนด้วยแผ่นดินไหวถึง 4 รอบ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่เจอเหตุการณ์ลักษณะนี้จึงปรึกษาอาจารย์ประจำ Camp ท่านเล่าว่านานแล้วที่ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ แต่นักศึกษาไม่ต้องเป็นห่วงตึกที่นี่แข็งแรงทุกห้องมีสัญญาณเตือนอันตราย ในความหวาดกลัวยังมีเรื่องดีๆ เพราะตนได้พูดคุยกับชาวแอฟริกาคนหนึ่ง เขากลัวเหตุการณ์นี้เช่นกัน ทำให้ได้ลองฝึกใช้ภาษาไปด้วย แม้จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นแต่กลับรับรู้ได้ถึงการดูแลเอาใจใส่ของอาจารย์และเพื่อนร่วม Camp ทุกคนต่างเฝ้าไถ่ถามและคอยเป็นกำลังใจให้แก่กัน
“ก่อนจบค่ายมีการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม ซึ่งกลุ่มของผมนำเสนอสิ่งที่เรียนและพบเจอพร้อมกับกล่าวขอบคุณด้วยภาษาอังกฤษและจีน วันสุดท้ายของที่นี่คือการก้าวผ่านความกลัวของผมทั้งหมด ความกดดันที่มีมาตั้งแต่ต้น ผมรับหน้าที่กล่าวความรู้สึกและถ่ายทอดความรู้สึกผ่านบทเพลงจีน ทำให้ผมได้พิสูจน์ตนเองว่า ทุกอย่างเราสามารถทำได้ถึงแม้จะไม่ดีเทียบเท่าผู้อื่น แต่สุดท้ายแล้วเราคือผู้ที่รู้จุดเปลี่ยนว่ามันคุ้มค่ากับความพยายามของตัวเราเอง”
น.ส.นูรฮาฟีซา เปาะแต กล่าวว่า ระยะเวลา 14 วันของการเข้าร่วมโครงการ SWU International Summer Camp 2019 ตนได้เจอกับเพื่อนๆ ต่างชาติจากหลากหลายประเทศ รวมถึงเพื่อนจากประเทศไทยที่มาจาก จ.ขอนแก่น ได้ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันเกือบทุกวัน ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากชีวิตประจำวันอย่างสิ้นเชิง ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และต้องเรียนรู้ภาษาจีนเพื่อใช้สื่อสารกับพ่อค้าแม่ค้าหรือคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ การได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมของประเทศจีนเอง หรือแม้กระทั่งเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนร่วมโครงการ ถือเป็นหนึ่งท้าทายสำหรับตน รวมถึงเพื่อนๆ ที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวเข้าหากัน ช่วงแรกๆ ยังกลัวว่าจะวางตัวอย่างไร จะสื่อสารและเข้ากับกับเพื่อนๆ ได้ไหม จนเวลาผ่านไปก็ได้เรียนรู้ว่าการปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
ปิดท้ายด้วย น.ส.ณัฐธิดา เมืองประชา กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ประกอบด้วยนักศึกษาที่มาจาก 6 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา เยอรมัน อาร์เมเนีย มองโกเลีย สาธารณะรัฐเช็ก และไทย จึงใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกันเป็นหลัก ซึ่งการได้มาแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม ทำให้ได้พัฒนาตนเองเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ด้าน ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ มีความมั่นใจและกล้าที่จะลองเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดเวลา อีกทั้งยังได้รับมิตรภาพที่ดีจากเพื่อนๆ ทีมงานผู้ดูแลโครงการ และชาวจีน ซึ่งความรู้สึกประทับใจระหว่างการใช้ชีวิต ณ เมืองฉงชิ่ง ยากที่จะบรรยายออกมาเป็นคำพูด ตนจึงถ่ายทอดผ่านภาพถ่ายและวิดีโอ ที่เมื่อมองย้อนกลับไปแล้วทำให้ความทรงจำที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้นได้หวนกลับมาเช่นเดิม.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ส่ง นศ. บินลัดฟ้าแลกเปลี่ยนวิชาการ-วัฒนธรรม “ม.เซาท์เวสต์” ประเทศจีน
มรภ.สงขลา ส่ง 3 ตัวแทนนักศึกษา บินลัดฟ้าแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ-ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เชื่อช่วยเปิดโลกทัศน์ ฝึกทักษะสื่อสาร พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ
อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษาและคุณลักษณะบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มรภ.สงขลา คัดเลือกตัวแทนนักศึกษา จำนวน 3 คน ได้แก่ น.ส.ณัฐธิดา เมืองประชา น.ส.นูรฮาฟีซา เปาะแต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และ นายฐิติพงศ์ พันธ์ดี สาขาวิชาภาษาไทย จากคณะครุศาสตร์ เดินทางไปแลกเปลี่ยนด้านวิชาการและศิลปวัฒนธรรม และศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ (Southwest University) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งนอกจากจะช่วยเปิดโลกทัศน์ให้แก่นักศึกษาแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างทักษะให้นักศึกษามีความกล้าแสดงออก และสามารถสื่อสารในต่างประเทศได้ ขณะเดียวกัน มรภ.สงขลา ได้ดำเนินกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ อันจะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านต่างๆ นำมาซึ่งการทำข้อตกลงความความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม และเป็นโอกาสในการกระชับความความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
ดร.นิสิตา ฤทธาภิรมย์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ระหว่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษา มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ เพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในการสร้างและขยายพันธมิตร โดยยึดหลักการผสานประโยชน์และความชำนาญการของกันและกัน ก่อให้เกิดความร่วมมืออันดีเพื่อสนับสนุนการศึกษา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม การจัดโครงการทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน เพื่อพัฒนาบุคลากรและนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา ซึ่ง มรภ.สงขลา ดำเนินกิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งการส่งนักศึกษาไปอบรมเชิงปฏิบัติและศึกษาดูงานในมหาวิทยาต่างประเทศ หรือการเป็นเจ้าบ้านต้อนรับนักศึกษาและอาจารย์จากต่างประเทศที่มาฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ณ มรภ.สงขลา
รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า หากเรามีการเตรียมความพร้อมทรัพยากรมนุษย์ของไทยให้สามารถแข่งขันและเท่าเทียมกับนานาประเทศได้ ย่อมเป็นการเตรียมการที่ดี เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบชาติอื่นๆ และยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับคนไทยในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านธุรกิจและการศึกษา อีกทั้งเมื่อมีการรวมกลุ่มกันแล้วการที่จะเรียนรู้ศึกษาซึ่งกันและกัน ถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยสร้างความได้เปรียบแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมและมีความเข้าใจในความหลากหลายของสังคมต่างวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย
ด้าน นายฐิติพงศ์ พันธ์ดี กล่าวว่า ก่อนเดินทางศูนย์ภาษาได้จัดอบรมภาษาอังกฤษและภาษาจีนพื้นฐานให้ 1 สัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการสื่อสาร แต่เนื่องด้วยเพื่อนอีก 2 คน เรียนทางด้านสาขาวิชาภาษาอังกฤษ จึงมีความชำนาญในระดับหนึ่งแล้ว อาจารย์จึงเพิ่มระดับในการเรียนให้สูงขึ้น ตนซึ่งเรียนทางด้านสาขาวิชาภาษาไทยจึงจำเป็นต้องทำการบ้านหนักกว่าคนอื่น เช่น ท่องคำศัพท์ ฝึกพูดประโยคสนทนาพื้นฐาน ซึ่งเมื่อเดินทางไปถึง เมืองฉงชิ่งต้อนรับพวกตนด้วยแผ่นดินไหวถึง 4 รอบ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่เจอเหตุการณ์ลักษณะนี้จึงปรึกษาอาจารย์ประจำ Camp ท่านเล่าว่านานแล้วที่ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ แต่นักศึกษาไม่ต้องเป็นห่วงตึกที่นี่แข็งแรงทุกห้องมีสัญญาณเตือนอันตราย ในความหวาดกลัวยังมีเรื่องดีๆ เพราะตนได้พูดคุยกับชาวแอฟริกาคนหนึ่ง เขากลัวเหตุการณ์นี้เช่นกัน ทำให้ได้ลองฝึกใช้ภาษาไปด้วย แม้จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นแต่กลับรับรู้ได้ถึงการดูแลเอาใจใส่ของอาจารย์และเพื่อนร่วม Camp ทุกคนต่างเฝ้าไถ่ถามและคอยเป็นกำลังใจให้แก่กัน
“ก่อนจบค่ายมีการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม ซึ่งกลุ่มของผมนำเสนอสิ่งที่เรียนและพบเจอพร้อมกับกล่าวขอบคุณด้วยภาษาอังกฤษและจีน วันสุดท้ายของที่นี่คือการก้าวผ่านความกลัวของผมทั้งหมด ความกดดันที่มีมาตั้งแต่ต้น ผมรับหน้าที่กล่าวความรู้สึกและถ่ายทอดความรู้สึกผ่านบทเพลงจีน ทำให้ผมได้พิสูจน์ตนเองว่า ทุกอย่างเราสามารถทำได้ถึงแม้จะไม่ดีเทียบเท่าผู้อื่น แต่สุดท้ายแล้วเราคือผู้ที่รู้จุดเปลี่ยนว่ามันคุ้มค่ากับความพยายามของตัวเราเอง”
น.ส.นูรฮาฟีซา เปาะแต กล่าวว่า ระยะเวลา 14 วันของการเข้าร่วมโครงการ SWU International Summer Camp 2019 ตนได้เจอกับเพื่อนๆ ต่างชาติจากหลากหลายประเทศ รวมถึงเพื่อนจากประเทศไทยที่มาจาก จ.ขอนแก่น ได้ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันเกือบทุกวัน ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากชีวิตประจำวันอย่างสิ้นเชิง ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และต้องเรียนรู้ภาษาจีนเพื่อใช้สื่อสารกับพ่อค้าแม่ค้าหรือคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ การได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมของประเทศจีนเอง หรือแม้กระทั่งเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนร่วมโครงการ ถือเป็นหนึ่งท้าทายสำหรับตน รวมถึงเพื่อนๆ ที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวเข้าหากัน ช่วงแรกๆ ยังกลัวว่าจะวางตัวอย่างไร จะสื่อสารและเข้ากับกับเพื่อนๆ ได้ไหม จนเวลาผ่านไปก็ได้เรียนรู้ว่าการปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
ปิดท้ายด้วย น.ส.ณัฐธิดา เมืองประชา กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ประกอบด้วยนักศึกษาที่มาจาก 6 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา เยอรมัน อาร์เมเนีย มองโกเลีย สาธารณะรัฐเช็ก และไทย จึงใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกันเป็นหลัก ซึ่งการได้มาแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม ทำให้ได้พัฒนาตนเองเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ด้าน ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ มีความมั่นใจและกล้าที่จะลองเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดเวลา อีกทั้งยังได้รับมิตรภาพที่ดีจากเพื่อนๆ ทีมงานผู้ดูแลโครงการ และชาวจีน ซึ่งความรู้สึกประทับใจระหว่างการใช้ชีวิต ณ เมืองฉงชิ่ง ยากที่จะบรรยายออกมาเป็นคำพูด ตนจึงถ่ายทอดผ่านภาพถ่ายและวิดีโอ ที่เมื่อมองย้อนกลับไปแล้วทำให้ความทรงจำที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้นได้หวนกลับมาเช่นเดิม.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024