อาจารย์ มรภ.สงขลา พัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สายโดยใช้โหนดเอ็มซียู คว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น เวที ประชุมวิชาการระดับชาติ เผยช่วยชาวชุมชนตลาดนัดเกาะหมี ใช้เครื่องมือราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศถึง 10 เท่า
ดร.กันตภณ มะหาหมัด อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เปิดเผยว่า ตนและทีมวิจัยซึ่งประกอบด้วย ดร.สลักจิตร นิลบวร สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม และ ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มรภ.สงขลา ร่วมกันจัดทำงานวิจัยเรื่อง ระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สายโดยใช้โหนดเอ็มซียู และได้ส่งผลงานเข้าร่วมในเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เมื่อวันที่ 19-21 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรม Loft mania Boutique Hotel จ.ชุมพร ผลปรากฏว่าได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น ซึ่งระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สายฯ ที่จัดทำขึ้นนี้ ช่วยให้คนในชุมชนตลาดนัดเกาะหมี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้ใช้เครื่องมือวัดก๊าซชีวภาพที่มีราคาต้นทุนเพียง 4,500 บาท ซึ่งถูกกว่าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศถึง 10 เท่าตัว ทั้งยังสามารถหาซื้อวัสดุสำหรับการผลิตได้ทั่วไปในร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องมือจากต่างประเทศได้อย่างมาก
ดร.กันตภณ กล่าวว่า ปัญหาขยะนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต สุขภาวะอนามัยของมนุษย์ แนวทางที่สำคัญแนวทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางคือการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะ ซึ่งนอกจากได้ประโยชน์โดยตรงจากการทำให้ขยะลดลงแล้ว ยังสามารถทำให้ได้พลังงานสะอาดที่นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ซึ่งชุมชนตลาดนัดเกาะหมี เป็นชุมชนหนึ่งที่ประสบปัญหาขยะ เนื่องจากการเติบโตของชุมชนเมืองและพื้นที่ตลาดนัดมีการขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีพ่อค้า แม่ค้ากว่า 500 ราย จากข้อมูลการจัดเก็บขยะของตลาดนัดพบว่า ในแต่ละวันมีปริมาณขยะราว 3,000 กิโลกรัม โดยแยกเป็นขยะอินทรีย์ ร้อยละ 60 ขยะแห้งร้อยละ 38.33 และขยะอันตรายร้อยละ 1.67 ดังนั้น คณะกรรมการบริหารตลาดนัดจึงได้มีแนวคิดในการจัดการขยะ โดยการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ เป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากขยะ
อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ยังพบปัญหาในด้านการผลิตก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ผู้ดูแลระบบซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของตลาดยังขาดความรู้ในการดูแลระบบผลิตก๊าซชีวภาพ และยังทำงานหลายหน้าที่ในตลาดนัด ทำให้ไม่สามารถติดตามการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ผลเมื่อเกิดความผิดปกติกับระบบผลิตก๊าซชีวภาพอีกด้วย ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ การออกแบบเครื่องมือที่จะช่วยติดตามผลการผลิตก๊าซชีวภาพที่สะดวกรวดเร็ว และง่ายต่อการใช้งานสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบันคือการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยพัฒนาระบบตรวจวัดค่าพารามิเตอร์และผลการผลิตก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ให้สามารถแสดงผลไปยังผู้ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย อันจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบผลผ่านสมาร์ทโฟนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
“คณะผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาระบบการติดตามผล เพื่อช่วยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ของตลาดนัดเกาะหมีที่มีประสิทธิภาพ จึงได้พัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สาย ที่จะช่วยตรวจวัดพารามิเตอร์ต่างๆ ในการผลิตก๊าซชีวภาพ และเป็นต้นแบบเครื่องมือวัดก๊าซชีวภาพที่มีประสิทธิภาพในราคาต่ำให้กับชุมชน” อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
May 10, 2025
May 3, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา พัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สาย คว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น ช่วยชุมชนลดต้นทุนค่าเครื่องมือลง 10 เท่า
อาจารย์ มรภ.สงขลา พัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สายโดยใช้โหนดเอ็มซียู คว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น เวที ประชุมวิชาการระดับชาติ เผยช่วยชาวชุมชนตลาดนัดเกาะหมี ใช้เครื่องมือราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศถึง 10 เท่า
ดร.กันตภณ มะหาหมัด อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เปิดเผยว่า ตนและทีมวิจัยซึ่งประกอบด้วย ดร.สลักจิตร นิลบวร สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม และ ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มรภ.สงขลา ร่วมกันจัดทำงานวิจัยเรื่อง ระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สายโดยใช้โหนดเอ็มซียู และได้ส่งผลงานเข้าร่วมในเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เมื่อวันที่ 19-21 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรม Loft mania Boutique Hotel จ.ชุมพร ผลปรากฏว่าได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น ซึ่งระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สายฯ ที่จัดทำขึ้นนี้ ช่วยให้คนในชุมชนตลาดนัดเกาะหมี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้ใช้เครื่องมือวัดก๊าซชีวภาพที่มีราคาต้นทุนเพียง 4,500 บาท ซึ่งถูกกว่าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศถึง 10 เท่าตัว ทั้งยังสามารถหาซื้อวัสดุสำหรับการผลิตได้ทั่วไปในร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องมือจากต่างประเทศได้อย่างมาก
ดร.กันตภณ กล่าวว่า ปัญหาขยะนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต สุขภาวะอนามัยของมนุษย์ แนวทางที่สำคัญแนวทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางคือการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะ ซึ่งนอกจากได้ประโยชน์โดยตรงจากการทำให้ขยะลดลงแล้ว ยังสามารถทำให้ได้พลังงานสะอาดที่นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ซึ่งชุมชนตลาดนัดเกาะหมี เป็นชุมชนหนึ่งที่ประสบปัญหาขยะ เนื่องจากการเติบโตของชุมชนเมืองและพื้นที่ตลาดนัดมีการขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีพ่อค้า แม่ค้ากว่า 500 ราย จากข้อมูลการจัดเก็บขยะของตลาดนัดพบว่า ในแต่ละวันมีปริมาณขยะราว 3,000 กิโลกรัม โดยแยกเป็นขยะอินทรีย์ ร้อยละ 60 ขยะแห้งร้อยละ 38.33 และขยะอันตรายร้อยละ 1.67 ดังนั้น คณะกรรมการบริหารตลาดนัดจึงได้มีแนวคิดในการจัดการขยะ โดยการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ เป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากขยะ
อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ยังพบปัญหาในด้านการผลิตก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ผู้ดูแลระบบซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของตลาดยังขาดความรู้ในการดูแลระบบผลิตก๊าซชีวภาพ และยังทำงานหลายหน้าที่ในตลาดนัด ทำให้ไม่สามารถติดตามการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ผลเมื่อเกิดความผิดปกติกับระบบผลิตก๊าซชีวภาพอีกด้วย ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ การออกแบบเครื่องมือที่จะช่วยติดตามผลการผลิตก๊าซชีวภาพที่สะดวกรวดเร็ว และง่ายต่อการใช้งานสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบันคือการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยพัฒนาระบบตรวจวัดค่าพารามิเตอร์และผลการผลิตก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ให้สามารถแสดงผลไปยังผู้ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย อันจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบผลผ่านสมาร์ทโฟนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
“คณะผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาระบบการติดตามผล เพื่อช่วยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ของตลาดนัดเกาะหมีที่มีประสิทธิภาพ จึงได้พัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สาย ที่จะช่วยตรวจวัดพารามิเตอร์ต่างๆ ในการผลิตก๊าซชีวภาพ และเป็นต้นแบบเครื่องมือวัดก๊าซชีวภาพที่มีประสิทธิภาพในราคาต่ำให้กับชุมชน” อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มรภ.สงขลา ผนึกองค์กรท้องถิ่น จัดเทศกาลของดีเกาะยอ นำองค์ความรู้ทางวิชาการต่อยอดสู่ชุมชน
May 10, 2025
“สรายุทธ กูลเกื้อ” นักวิชาการคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา คว้ารางวัลระดับดีเด่น จากผลงานพัฒนาระบบย่อลิงก์ออนไลน์ฯ เวทีนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในงานประชุมเครือข่ายสำนักวิทยบริการฯ
May 3, 2025
นศ.ครุฯ มรภ.สงขลา ออกค่ายครูอาสาพัฒนา “รร.ตชด.ยูงทองรัฐประชาสรรค์” สร้างสื่อการเรียนการสอนส่งเสริมการเรียนรู้ ต่อยอดสู่วิชาชีพครู
May 3, 2025
มรภ.สงขลา คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยดีเด่น ด้านการให้ข้อมูลเชิงลึกครบถ้วนสมบูรณ์ โครงการพัฒนาระบบบริหารงานการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ “สถาบันอุดมศึกษากลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” กลุ่ม 3
May 3, 2025