วันที่ 6 เมษายน 2562 เวลา 10.30 – 13.00 นาฬิกา ณ ห้อง Al Rayyan ศูนย์ประชุมเชอราตัน กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ คณะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ ในฐานะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล และพลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล เข้าร่วมการประชุมสหภาพรัฐสภาสตรี ครั้งที่ 29 (The 29th Session of Forum of Women Parliamentarians)
โอกาสนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ ได้ร่วมอภิปรายในมุมมองหญิงชายต่อร่างข้อมติของคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลังและการค้า เรื่อง “บทบาทของการค้าและการลงทุนที่เป็นธรรมและเปิดเสรีในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะในด้านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่ยั่งยืน
ว่า “เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในมิติหญิงชายในภาคการค้าและการลงทุนที่ผู้หญิงจะเข้ามามีส่วนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันภาคการค้าและการลงทุนมักมีผู้ชายเป็นหลัก โดยขอเสนอ 6 วิธีการที่จะส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรมและทำให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในภาคการค้าและการลงทุนมากขึ้น (Fairtrade) ดังนี้ 1. การกำหนดมาตรฐานที่ไม่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ มาตรฐานของการค้าที่เป็นธรรมจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์พื้นฐานของระบบทางการค้าโดยมาตรฐานดังกล่าวควรสร้างกระบวนการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยที่สนับสนุนสตรีให้สตรีมีสิทธิมีสียงในชุมชนหรือที่ทำงาน 2. การฝึกให้สตรีเป็นผู้นำ ให้มีการอบรมและพัฒนาโดยให้สตรีได้ทำงานในองค์กรการค้า และสร้างสตรีให้มีทักษะทางด้านธุรกิจ การเงิน การเจรจา และการตัดสินใจ 3. ให้มีหลักประกันการลงทุนเริ่มแรกในระดับท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนโครงการของสตรี 4. การที่บทบาทของสตรีในด้านการเกษตรมีมากขึ้นแต่สตรีกลับเข้าถึงทรัพยากรการผลิตได้น้อยลง การค้าที่เป็นธรรมจะช่วยแก้ไขปัญหาช่องว่างระหว่างเพศนี้ได้โดยการทำให้สตรีเป็นเจ้าของทรัพยากรเพื่อดำเนินการในภาคการเกษตรได้ 5. การค้าที่เป็นธรรมจะช่วยเลิกล้มความคิดแบบเหมารวมของคำว่า “งานของสตรี”รวมถึงความคิดในแบบเดิมๆ ที่ไม่ให้สตรีมีสิทธิในทรัพย์สินและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องที่เกี่ยวกับชุมชนของตน 6. การพัฒนาการเข้าร่วมเพื่อทำให้ความไม่เท่าเทียมหมดไปโดยมีความเป็นธรรมในการค้า มีการทำงานร่วมกับภาคผู้ผลิต องค์กรภาคการค้า องค์กรภาคการพาณิชย์ องค์กรภาคสังคม และนักวิชาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันสิทธิของคนงาน ทั้งนี้ การส่งเสริมอำนาจและสิทธิทางเศรษฐกิจให้แก่สตรีจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้หลายเป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 1, 8, 9 และเป้าหมายที่ 16 อีกด้วย.
ภาพ/ข่าว ประชาสัมพันธ์ สนช.
พินิจ ชูแสง สื่อภูมิภาค สนช. / สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สนช. เข้าร่วมการประชุมสหภาพรัฐสภาสตรี ครั้งที่ 29
วันที่ 6 เมษายน 2562 เวลา 10.30 – 13.00 นาฬิกา ณ ห้อง Al Rayyan ศูนย์ประชุมเชอราตัน กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ คณะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ ในฐานะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล และพลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล เข้าร่วมการประชุมสหภาพรัฐสภาสตรี ครั้งที่ 29 (The 29th Session of Forum of Women Parliamentarians)
โอกาสนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ ได้ร่วมอภิปรายในมุมมองหญิงชายต่อร่างข้อมติของคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลังและการค้า เรื่อง “บทบาทของการค้าและการลงทุนที่เป็นธรรมและเปิดเสรีในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะในด้านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่ยั่งยืน
ว่า “เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในมิติหญิงชายในภาคการค้าและการลงทุนที่ผู้หญิงจะเข้ามามีส่วนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันภาคการค้าและการลงทุนมักมีผู้ชายเป็นหลัก โดยขอเสนอ 6 วิธีการที่จะส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรมและทำให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในภาคการค้าและการลงทุนมากขึ้น (Fairtrade) ดังนี้
1. การกำหนดมาตรฐานที่ไม่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ มาตรฐานของการค้าที่เป็นธรรมจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์พื้นฐานของระบบทางการค้าโดยมาตรฐานดังกล่าวควรสร้างกระบวนการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยที่สนับสนุนสตรีให้สตรีมีสิทธิมีสียงในชุมชนหรือที่ทำงาน
2. การฝึกให้สตรีเป็นผู้นำ ให้มีการอบรมและพัฒนาโดยให้สตรีได้ทำงานในองค์กรการค้า และสร้างสตรีให้มีทักษะทางด้านธุรกิจ การเงิน การเจรจา และการตัดสินใจ
3. ให้มีหลักประกันการลงทุนเริ่มแรกในระดับท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนโครงการของสตรี
4. การที่บทบาทของสตรีในด้านการเกษตรมีมากขึ้นแต่สตรีกลับเข้าถึงทรัพยากรการผลิตได้น้อยลง การค้าที่เป็นธรรมจะช่วยแก้ไขปัญหาช่องว่างระหว่างเพศนี้ได้โดยการทำให้สตรีเป็นเจ้าของทรัพยากรเพื่อดำเนินการในภาคการเกษตรได้
5. การค้าที่เป็นธรรมจะช่วยเลิกล้มความคิดแบบเหมารวมของคำว่า “งานของสตรี”รวมถึงความคิดในแบบเดิมๆ ที่ไม่ให้สตรีมีสิทธิในทรัพย์สินและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องที่เกี่ยวกับชุมชนของตน
6. การพัฒนาการเข้าร่วมเพื่อทำให้ความไม่เท่าเทียมหมดไปโดยมีความเป็นธรรมในการค้า มีการทำงานร่วมกับภาคผู้ผลิต องค์กรภาคการค้า องค์กรภาคการพาณิชย์ องค์กรภาคสังคม และนักวิชาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันสิทธิของคนงาน
ทั้งนี้ การส่งเสริมอำนาจและสิทธิทางเศรษฐกิจให้แก่สตรีจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้หลายเป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 1, 8, 9 และเป้าหมายที่ 16 อีกด้วย.
ภาพ/ข่าว ประชาสัมพันธ์ สนช.
พินิจ ชูแสง สื่อภูมิภาค สนช. / สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024