กว่าจะมาเป็นพลังงานไฟฟ้าที่หล่อหล่อเลี้ยงทุกชีวิตบนโลกในปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้าต้องผ่านการพัฒนาปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มั่นคง เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนและการขับเคลื่อนประเทศ เปรียบเสมือนปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์
ในยุคที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การผลิตไฟฟ้าจึงได้มีการพัฒนากระบวนการในการผลิตไฟฟ้าตามไปด้วย ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่ทันสมัยที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดในเชิงพาณิชย์ขณะนี้ คงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก “เทคโนโลยี Ultra-super critical (USC)” หรือ “เทคโนโลยีไอน้ำแบบแรงดันเหนือวิกฤติ”
USC คือ ระบบผลิตไฟฟ้าที่หม้อต้มน้ำ (Boiler) สามารถผลิตไอน้ำได้ด้วยอุณภูมิและแรงดันที่สูงขึ้น จึงผลิตไอน้ำได้ดีขึ้น และมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว เทคโนโลยีนี้จึงใช้ปริมาณเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตไฟฟ้าลดลงอีกด้วย ส่งผลให้การปล่อยมลสารลดลงต่ำลงกว่าเดิม จึงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นไปตามหลักการผลิตไฟฟ้าของ HELE หรือ High Efficiency, Low Emission นั่นเอง
โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างขึ้นเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4-7 เดิม ที่จะถูกปลดออกจากระบบตามอายุการใช้งานนั้น เป็นโรงไฟฟ้าของ กฟผ. แห่งแรกของเอเชียที่ได้นำเทคโนโลยี USC มาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าร่วมกับเชื้อเพลิงถ่านหินลิกไนต์ สามารถลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้ประมาณ ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าเดิม คือ Subcritical ด้วยขนาดกำลังผลิต 655 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบไปยังพื้นที่ภาคเหนือ และเสริมการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคกลางได้ในปี 2562 นี้
โรงไฟฟ้าใหม่แห่งนี้ ได้ติดตั้งอุปกรณ์หลัก คือ เครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) เครื่องกำจัดฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตแรงสูง (ESP) และเครื่องดักจับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (Selective Catalytic Reduction : SCR) จึงทำให้ลดการปล่อย CO2 ลงได้ประมาณ ร้อยละ 20 อีกทั้งโรงไฟฟ้ายังได้ควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมควบคุมมลพิษแบบ Real Time จึงมั่นใจได้ว่ามลสารที่ปล่อยออกมาจะมีค่าที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 นับเป็นต้นแบบของการพัฒนาโรงไฟฟ้าในยุคเทคโนโลยี และ กฟผ. ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสนองตอบความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชน พร้อมเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศให้แข็งแกร่งต่อไป.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ดึงเทคโนโลยีใหม่ USC ร่วมกับลิกไนต์ผลิตไฟฟ้าแห่งแรกของเอเชีย
กว่าจะมาเป็นพลังงานไฟฟ้าที่หล่อหล่อเลี้ยงทุกชีวิตบนโลกในปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้าต้องผ่านการพัฒนาปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มั่นคง เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนและการขับเคลื่อนประเทศ เปรียบเสมือนปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์
ในยุคที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การผลิตไฟฟ้าจึงได้มีการพัฒนากระบวนการในการผลิตไฟฟ้าตามไปด้วย ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่ทันสมัยที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดในเชิงพาณิชย์ขณะนี้ คงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก “เทคโนโลยี Ultra-super critical (USC)” หรือ “เทคโนโลยีไอน้ำแบบแรงดันเหนือวิกฤติ”
USC คือ ระบบผลิตไฟฟ้าที่หม้อต้มน้ำ (Boiler) สามารถผลิตไอน้ำได้ด้วยอุณภูมิและแรงดันที่สูงขึ้น จึงผลิตไอน้ำได้ดีขึ้น และมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว เทคโนโลยีนี้จึงใช้ปริมาณเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตไฟฟ้าลดลงอีกด้วย ส่งผลให้การปล่อยมลสารลดลงต่ำลงกว่าเดิม จึงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นไปตามหลักการผลิตไฟฟ้าของ HELE หรือ High Efficiency, Low Emission นั่นเอง
โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างขึ้นเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4-7 เดิม ที่จะถูกปลดออกจากระบบตามอายุการใช้งานนั้น เป็นโรงไฟฟ้าของ กฟผ. แห่งแรกของเอเชียที่ได้นำเทคโนโลยี USC มาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าร่วมกับเชื้อเพลิงถ่านหินลิกไนต์ สามารถลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้ประมาณ ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าเดิม คือ Subcritical ด้วยขนาดกำลังผลิต 655 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบไปยังพื้นที่ภาคเหนือ และเสริมการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคกลางได้ในปี 2562 นี้
โรงไฟฟ้าใหม่แห่งนี้ ได้ติดตั้งอุปกรณ์หลัก คือ เครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) เครื่องกำจัดฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตแรงสูง (ESP) และเครื่องดักจับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (Selective Catalytic Reduction : SCR) จึงทำให้ลดการปล่อย CO2 ลงได้ประมาณ ร้อยละ 20 อีกทั้งโรงไฟฟ้ายังได้ควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมควบคุมมลพิษแบบ Real Time จึงมั่นใจได้ว่ามลสารที่ปล่อยออกมาจะมีค่าที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 นับเป็นต้นแบบของการพัฒนาโรงไฟฟ้าในยุคเทคโนโลยี และ กฟผ. ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสนองตอบความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชน พร้อมเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศให้แข็งแกร่งต่อไป.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024