ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ร่วมกันทลายแหล่งจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยได้รับการประสานขอความร่วมมือจากสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
ตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารประเทศของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งได้รับการประสานขอความร่วมมือจากสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ว่าในปัจจุบันมีการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์รวมทั้งน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก โดยมีการจำหน่ายตามทางสื่อออนไลน์ และตลาดนัดกลางคืนมากที่สุดตามลำดับ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ตั้งศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ( ศปอส.ตร.) เพื่อเร่งรัดในการปฏิบัติการติดตามจับกุมคนร้ายซึ่งมีแผนประทุษกรรมที่ซับซ้อน ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการกระทำความผิด โดย พลตำรวจโทสุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในฐานะรองผู้อำนวยการ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) ได้สั่งการให้ดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดตามที่ได้รับการประสานงานมาดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดผลการปฏิบัติงาน ดังนี้ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 จับกุมผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บริเวณตลาดคลองถม จับกุมร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 9 ร้าน ได้ผู้ต้องหา 5 คน เป็นคนไทย 3 คน สัญชาติลาว 2 คน พร้อมด้วยของกลาง น้ำยา 1,729 ขวด บุหรี่ไฟฟ้า 113 อัน อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า 198 ชิ้น รวม 2,040 รายการ มูลค่าประมาณ 500,000 บาท เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2562 จับกุมผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บริเวณตลาดนัดกลางคืนทั้งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จับกุมร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 21 ร้าน ได้ผู้ต้องหา 18 คน เป็นคนไทย 16 คน สัญชาติเมียนม่า 2 คน พร้อมด้วยของกลาง น้ำยา 1,127 ขวด บุหรี่ไฟฟ้า 81 เครื่อง อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า 752 ชิ้น อุปกรณ์อื่นๆ 25 รายการ รวม 1,985 รายการ มูลค่าประมาณ 425,000 บาท ในข้อหา 1.ขายหรือให้บริการสินค้า บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าหรือตัวยา บารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า(มาตรา 36,56 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522) 2.ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากโดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย(มาตรา 30,42 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522) 3.ขายหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐมนตรีที่มีคำสั่งห้ามขายหรือนำเข้า(มาตรา 11 วรรค 3 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535) 4.นำเข้าซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร (มาตรา 246 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560) 5.ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อรับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนพึงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิด ตามมาตรา 242 ( มาตรา 246 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ) 6.นำเข้าซึ่งสินค้าต้องห้าม ตามมาตรา 5(1) หรือ ฝ่าฝืนมาตรา 7(1) มาตรา (20) พ.ร.บ.การส่งออกฯ 7.มีไว้ในครอบครองและขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าที่มิได้เสียภาษี หรือภาษีไม่ครบถ้วน ( มาตรา 203,204 พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2560 ) 8.เป็นบุคคลต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน ( มาตรา 8,110 วรรค 1 พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของต่างด้าว พ.ศ.2560 ) ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จับกุมตัวนำส่งพนักงานสอบสวน พื้นที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป การกระทำของ ผู้ต้องหาทั้งหมดเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 30,36,42,56 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 มาตรา 11 วรรค 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 242,246 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือทั้งจำทั้งปรับ พ.ร.บ.การส่งออกฯ มาตรา 5(1) หรือ ฝ่าฝืนมาตรา 7(1) มาตรา (20) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็น เงินสองเท่าครึ่งของสินค้าที่นําผ่าน หรือทั้งจําทั้งปรับ กับให้ริบสินค้ารวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุและพาหนะใดๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดรวมทั้งพาหนะที่ใช้ลากจูงพาหนะบรรทุกสินค้านั้นเสีย พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2560 มาตรา 203,204 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับตั้งแต่ ห้าเท่าถึงสิบห้าเท่าของค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือที่เสียไม่ครบถ้วน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าแปดร้อยบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของต่างด้าว พ.ศ.2560 มาตรา 8,110 วรรค 1 ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ทั้งนี้ ขอสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์ ไปยังประชาชนทั่วไปว่าการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย พร้อมทั้งผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อร่างกาย หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมให้สอบถามข้อมูลได้ที่ ศปอส.ตร.โทร 1155 หรือ ผ่านแอฟพลิเคชั่นไลน์(ศปอส.ตร.) หรือ ผ่านเฟซบุ๊ก(Facebook) ของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล และสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ โทร.0-2716-6961 กด 0, 0-2716-6661-4 ต่อ 6028 เพื่อดำเนินการนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
April 23, 2025
April 22, 2025
April 21, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
บิ๊กโจ๊ก สนธิกำลังร่วมกับตำรวจท่องเที่ยวทลายแหล่ง จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล
ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ร่วมกันทลายแหล่งจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยได้รับการประสานขอความร่วมมือจากสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
ตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารประเทศของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งได้รับการประสานขอความร่วมมือจากสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ว่าในปัจจุบันมีการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์รวมทั้งน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก โดยมีการจำหน่ายตามทางสื่อออนไลน์ และตลาดนัดกลางคืนมากที่สุดตามลำดับ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ตั้งศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ( ศปอส.ตร.) เพื่อเร่งรัดในการปฏิบัติการติดตามจับกุมคนร้ายซึ่งมีแผนประทุษกรรมที่ซับซ้อน ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการกระทำความผิด โดย พลตำรวจโทสุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในฐานะรองผู้อำนวยการ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) ได้สั่งการให้ดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดตามที่ได้รับการประสานงานมาดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดผลการปฏิบัติงาน ดังนี้
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 จับกุมผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บริเวณตลาดคลองถม
จับกุมร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 9 ร้าน ได้ผู้ต้องหา 5 คน เป็นคนไทย 3 คน สัญชาติลาว 2 คน พร้อมด้วยของกลาง
น้ำยา 1,729 ขวด
บุหรี่ไฟฟ้า 113 อัน
อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า 198 ชิ้น
รวม 2,040 รายการ มูลค่าประมาณ 500,000 บาท
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2562 จับกุมผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บริเวณตลาดนัดกลางคืนทั้งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
จับกุมร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 21 ร้าน ได้ผู้ต้องหา 18 คน เป็นคนไทย 16 คน สัญชาติเมียนม่า 2 คน พร้อมด้วยของกลาง
น้ำยา 1,127 ขวด
บุหรี่ไฟฟ้า 81 เครื่อง
อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า 752 ชิ้น
อุปกรณ์อื่นๆ 25 รายการ
รวม 1,985 รายการ มูลค่าประมาณ 425,000 บาท
ในข้อหา
1.ขายหรือให้บริการสินค้า บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าหรือตัวยา บารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า(มาตรา 36,56 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522)
2.ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากโดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย(มาตรา 30,42 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522)
3.ขายหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐมนตรีที่มีคำสั่งห้ามขายหรือนำเข้า(มาตรา 11 วรรค 3 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535)
4.นำเข้าซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร (มาตรา 246 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560)
5.ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อรับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนพึงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิด ตามมาตรา 242 ( มาตรา 246 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 )
6.นำเข้าซึ่งสินค้าต้องห้าม ตามมาตรา 5(1) หรือ ฝ่าฝืนมาตรา 7(1) มาตรา (20) พ.ร.บ.การส่งออกฯ
7.มีไว้ในครอบครองและขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าที่มิได้เสียภาษี หรือภาษีไม่ครบถ้วน ( มาตรา 203,204 พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2560 )
8.เป็นบุคคลต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน ( มาตรา 8,110 วรรค 1 พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของต่างด้าว พ.ศ.2560 ) ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จับกุมตัวนำส่งพนักงานสอบสวน พื้นที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
การกระทำของ ผู้ต้องหาทั้งหมดเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนี้
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 30,36,42,56 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 มาตรา 11 วรรค 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 242,246 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ร.บ.การส่งออกฯ มาตรา 5(1) หรือ ฝ่าฝืนมาตรา 7(1) มาตรา (20) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็น เงินสองเท่าครึ่งของสินค้าที่นําผ่าน หรือทั้งจําทั้งปรับ กับให้ริบสินค้ารวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุและพาหนะใดๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดรวมทั้งพาหนะที่ใช้ลากจูงพาหนะบรรทุกสินค้านั้นเสีย
พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2560 มาตรา 203,204 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับตั้งแต่ ห้าเท่าถึงสิบห้าเท่าของค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือที่เสียไม่ครบถ้วน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าแปดร้อยบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของต่างด้าว พ.ศ.2560 มาตรา 8,110 วรรค 1 ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ทั้งนี้ ขอสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์ ไปยังประชาชนทั่วไปว่าการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย พร้อมทั้งผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อร่างกาย หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมให้สอบถามข้อมูลได้ที่ ศปอส.ตร.โทร 1155 หรือ ผ่านแอฟพลิเคชั่นไลน์(ศปอส.ตร.) หรือ ผ่านเฟซบุ๊ก(Facebook) ของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล และสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ โทร.0-2716-6961 กด 0, 0-2716-6661-4 ต่อ 6028 เพื่อดำเนินการนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อำเภอขนอมอบรมสัมมนา “ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ”
April 23, 2025
ผู้ช่วย รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ...
April 22, 2025
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด จัดโครงการจิตอาสา “ตำรวจน้ำสอนน้องว่ายน้ำ” ครั้งที่4
April 22, 2025
“ศุภชัย” ผช. รมว.อว. หนุน “พัทลุงโมเดล” ชูต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมท้องถิ่นร่วมกับ ม.ทักษิณ ...
April 21, 2025