คณะทำงานฝ่ายปฏิบัติการจัดขบวน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒ (ทภ.๑) กำหนดให้มีการฝึกพื้นฐาน ลักษณะทหารท่าต่างๆ ที่ต้องใช้ในพระราชพิธี รวมถึงการแบกพระราชยาน การถือเครื่องสูง ฯลฯ ให้แก่ชุดครูฝึกของหน่วยที่จัดกำลังปฏิบัติในริ้วขบวน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ ถึง ๑๖.๓๐ น. โดยจะฝึก ๓ วัน ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๒ ก.พ.นี้
วันนี้ (๒๐ ก.พ.) เมื่อเวลา ๐๘.๓๐ น. ที่กองบัญชาการ กรมสรรพาวุธทหารบก เขตดุสิต คณะทำงานฝ่ายปฏิบัติการจัดขบวนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒ (ทภ.๑) ได้จัดให้มีการฝึกพื้นฐาน ลักษณะทหารในท่าต่างๆ ที่ต้องใช้ในพระราชพิธี ประกอบด้วย การจัดลักษณะท่าทาง ท่าอยู่กับที่ ท่าเคารพ การพักในแถว ท่าเดิน และท่าหยุดจากการเดิน รวมถึงการแบกพระราชยาน การถือเครื่องสูง ฯลฯ ให้กับชุดครูฝึกของหน่วยที่จัดกำลังปฏิบัติในริ้วขบวน โดยมีครูฝึกจาก ๗ หน่วย จากกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เหล่าละ ๖ นาย รวม ๔๒ นาย มาร่วมฝึก โดยมีครูฝึกจากทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ฯ มาเป็นผู้ฝึกซ้อมให้ครูฝึก โดยใช้เวลาการฝึกเป็นระยะเวลา ๓ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๐ – ๒๒ กุมภาพันธ์
โดยการฝึกช่วงเช้าเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๑.๕๐ น. ฝึกการจัดลักษณะท่าทาง ท่าอยู่กับที่ ท่าเคารพ การพักในแถว จากนั้นทำการฝึกท่าเดิน ท่าหยุดจากการเดิน ต่อด้วยท่าเดิน ท่าหยุดจากการเดิน (ประกอบเพลง) และในช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. เป็นการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้กับชุดครูฝึก โดย พล.ท.ณัฐวัฒน์ อังคนิบุตร รองผู้อำนวยการคณะทำงานฝ่ายปฏิบัติการจัดขบวนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒ (ทภ.๑)
สำหรับการฝึกซ้อมในวันนี้จะเป็นการฝึกซ้อมทั้งหมด ๓ ริ้วขบวน ประกอบด้วย ริ้วที่ ๑ ริ้วขบวนอัญเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพและพระราชลัญจกร จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ไปยัง พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในวันที่ ๓ พฤษภาคม โดยใช้กำลังพล ๑๓๓ นาย ส่วนริ้วที่ ๒ ริ้วขบวนราบใหญ่ ซึ่งเป็นริ้วขบวนที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จจากพระที่นั่งอมรินทร์ทรวินิจฉัย มายังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภก และถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิที่ปราสาทพระเทพบิดร ในวันที่ ๔ พฤษภาคม โดยใช้กำลังพลทั้งหมด ๒๓๔ นาย และริ้วขบวนที่ ๓ ริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารค เลียบพระนครในวันที่ ๕ พฤษภาคม โดยใช้กำลังพลทั้งหมด ๑,๓๖๘ นาย
สำหรับการเดินในริ้วขบวนที่ ๑ – ๒ เป็นริ้วขบวนที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง จังหวะการเดินจึงใช้ตามเสียงกลองเป็นหลัก ส่วนริ้วขบวนที่ ๓ ซึ่งเป็นการเสด็จเลียบพระนคร เป็นการเดินประกอบเพลงซึ่งบรรเลงโดยวงดุริยางค์ โดยใช้เพลงประกอบทั้งหมด ๖ เพลง โดยได้อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเป็นเพลงประกอบการเดิน ประกอบด้วย มาร์ชธงไชยเฉลิมพล มาร์ชราชวัลลภ เพลงใกล้รุ่ง ยามเย็น สรรเสริญเสือป่า และสรรเสริญพระนารายณ์ ริ้วขบวนที่ ๓ ใช้ระยะเวลาทั้งหมด ๓ ชั่วโมงโดยประมาณ และจะมีการเปลี่ยนผู้แบกหามทุก ๕๐๐ เมตร โดยประมาณ
ทั้งนี้ ครูฝึกจากเหล่าทัพทั้ง ๗ ชุดในวันนี้จะได้นำการฝึกพื้นฐาน ลักษณะทหารในท่าต่างๆ ที่ต้องใช้ในพระราชพิธี ไปฝึกให้กับกำลังพลในหน่วยของตัวเอง โดยกำลังพลทุกเหล่าจะมาฝึกซ้อมร่วมกันในช่วงเดือนเมษายน และจะฝึกซ้อมเสมือนจริงอีกครั้งในเวลาต่อไป
สำหรับกำหนดการฝึกพื้นฐานฯ ในวันที่ ๒๑ ก.พ. เป็นการทบทวนการปฏิบัติ และตรวจสอบท่าอยู่กับที่ ท่าเคารพ ท่าเดิน และท่าหยุดจากการเดิน (ประกอบเพลง) ส่วนในวันที่ ๒๒ ก.พ. จัดการอบรมและเวิร์กช็อปการเตรียมร่างกายให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบด้วย การสร้างสมรรถนะทางด้านร่างกายให้มีความแข็งแรง การเปลี่ยนถ่ายน้ำหนักที่แบกหามตามหลักชีวกลศาสตร์ การรับประทานอาหารที่ถูกต้องให้เหมาะสมกับการใช้พลังงาน และทบทวนภายหลังปฏิบัติเพื่อให้ทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็ง ของแต่ละหน่วย โดยพิจารณาจากผลการตรวจสอบ, วิธีปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างเดียวกันทั้งระบบ, คำบอกคำสั่ง, ความเหมาะสมของจังหวะความเร็วในการเดิน กับการปฏิบัติจริง เมื่อต้องถือหรือแบกเครื่องมือ รวมถึงเรื่องอื่นๆ.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กรมสรรพาวุธทหารบก จัดฝึกกำลังพลในริ้วขบวน “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก”
คณะทำงานฝ่ายปฏิบัติการจัดขบวน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒ (ทภ.๑) กำหนดให้มีการฝึกพื้นฐาน ลักษณะทหารท่าต่างๆ ที่ต้องใช้ในพระราชพิธี รวมถึงการแบกพระราชยาน การถือเครื่องสูง ฯลฯ ให้แก่ชุดครูฝึกของหน่วยที่จัดกำลังปฏิบัติในริ้วขบวน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ ถึง ๑๖.๓๐ น. โดยจะฝึก ๓ วัน ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๒ ก.พ.นี้
วันนี้ (๒๐ ก.พ.) เมื่อเวลา ๐๘.๓๐ น. ที่กองบัญชาการ กรมสรรพาวุธทหารบก เขตดุสิต คณะทำงานฝ่ายปฏิบัติการจัดขบวนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒ (ทภ.๑) ได้จัดให้มีการฝึกพื้นฐาน ลักษณะทหารในท่าต่างๆ ที่ต้องใช้ในพระราชพิธี ประกอบด้วย การจัดลักษณะท่าทาง ท่าอยู่กับที่ ท่าเคารพ การพักในแถว ท่าเดิน และท่าหยุดจากการเดิน รวมถึงการแบกพระราชยาน การถือเครื่องสูง ฯลฯ ให้กับชุดครูฝึกของหน่วยที่จัดกำลังปฏิบัติในริ้วขบวน โดยมีครูฝึกจาก ๗ หน่วย จากกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เหล่าละ ๖ นาย รวม ๔๒ นาย มาร่วมฝึก โดยมีครูฝึกจากทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ฯ มาเป็นผู้ฝึกซ้อมให้ครูฝึก โดยใช้เวลาการฝึกเป็นระยะเวลา ๓ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๐ – ๒๒ กุมภาพันธ์
โดยการฝึกช่วงเช้าเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๑.๕๐ น. ฝึกการจัดลักษณะท่าทาง ท่าอยู่กับที่ ท่าเคารพ การพักในแถว จากนั้นทำการฝึกท่าเดิน ท่าหยุดจากการเดิน ต่อด้วยท่าเดิน ท่าหยุดจากการเดิน (ประกอบเพลง) และในช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. เป็นการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้กับชุดครูฝึก โดย พล.ท.ณัฐวัฒน์ อังคนิบุตร รองผู้อำนวยการคณะทำงานฝ่ายปฏิบัติการจัดขบวนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒ (ทภ.๑)
สำหรับการฝึกซ้อมในวันนี้จะเป็นการฝึกซ้อมทั้งหมด ๓ ริ้วขบวน ประกอบด้วย ริ้วที่ ๑ ริ้วขบวนอัญเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพและพระราชลัญจกร จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ไปยัง พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในวันที่ ๓ พฤษภาคม โดยใช้กำลังพล ๑๓๓ นาย ส่วนริ้วที่ ๒ ริ้วขบวนราบใหญ่ ซึ่งเป็นริ้วขบวนที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จจากพระที่นั่งอมรินทร์ทรวินิจฉัย มายังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภก และถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิที่ปราสาทพระเทพบิดร ในวันที่ ๔ พฤษภาคม โดยใช้กำลังพลทั้งหมด ๒๓๔ นาย และริ้วขบวนที่ ๓ ริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารค เลียบพระนครในวันที่ ๕ พฤษภาคม โดยใช้กำลังพลทั้งหมด ๑,๓๖๘ นาย
สำหรับการเดินในริ้วขบวนที่ ๑ – ๒ เป็นริ้วขบวนที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง จังหวะการเดินจึงใช้ตามเสียงกลองเป็นหลัก ส่วนริ้วขบวนที่ ๓ ซึ่งเป็นการเสด็จเลียบพระนคร เป็นการเดินประกอบเพลงซึ่งบรรเลงโดยวงดุริยางค์ โดยใช้เพลงประกอบทั้งหมด ๖ เพลง โดยได้อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเป็นเพลงประกอบการเดิน ประกอบด้วย มาร์ชธงไชยเฉลิมพล มาร์ชราชวัลลภ เพลงใกล้รุ่ง ยามเย็น สรรเสริญเสือป่า และสรรเสริญพระนารายณ์ ริ้วขบวนที่ ๓ ใช้ระยะเวลาทั้งหมด ๓ ชั่วโมงโดยประมาณ และจะมีการเปลี่ยนผู้แบกหามทุก ๕๐๐ เมตร โดยประมาณ
ทั้งนี้ ครูฝึกจากเหล่าทัพทั้ง ๗ ชุดในวันนี้จะได้นำการฝึกพื้นฐาน ลักษณะทหารในท่าต่างๆ ที่ต้องใช้ในพระราชพิธี ไปฝึกให้กับกำลังพลในหน่วยของตัวเอง โดยกำลังพลทุกเหล่าจะมาฝึกซ้อมร่วมกันในช่วงเดือนเมษายน และจะฝึกซ้อมเสมือนจริงอีกครั้งในเวลาต่อไป
สำหรับกำหนดการฝึกพื้นฐานฯ ในวันที่ ๒๑ ก.พ. เป็นการทบทวนการปฏิบัติ และตรวจสอบท่าอยู่กับที่ ท่าเคารพ ท่าเดิน และท่าหยุดจากการเดิน (ประกอบเพลง) ส่วนในวันที่ ๒๒ ก.พ. จัดการอบรมและเวิร์กช็อปการเตรียมร่างกายให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบด้วย การสร้างสมรรถนะทางด้านร่างกายให้มีความแข็งแรง การเปลี่ยนถ่ายน้ำหนักที่แบกหามตามหลักชีวกลศาสตร์ การรับประทานอาหารที่ถูกต้องให้เหมาะสมกับการใช้พลังงาน และทบทวนภายหลังปฏิบัติเพื่อให้ทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็ง ของแต่ละหน่วย โดยพิจารณาจากผลการตรวจสอบ, วิธีปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างเดียวกันทั้งระบบ, คำบอกคำสั่ง, ความเหมาะสมของจังหวะความเร็วในการเดิน กับการปฏิบัติจริง เมื่อต้องถือหรือแบกเครื่องมือ รวมถึงเรื่องอื่นๆ.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024