‘ในราชการกรมบังคับคดี’ ขอบพระคุณกัลยาณมิตรทุกท่าน จาก 76 จว. และ กทม. (ภาพชุดที่ 3)
เมื่อเที่ยงวันนี้ (1 ก.พ. 62) เวลา 12.30 น. กรมบังคับคดี เชิญ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษหลักสูตรพัฒนาศักยภาพเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ (รุ่นที่ 1) เรื่อง ‘คุณธรรมและจริยธรรมของเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ’ ณ บอลรูม (A-B) โรงแรมมารวย การ์เด้น ถนนพหลโยธิน เขตบางเขน
ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า “ความดีมีความพร้อมทางสติปัญญา (Intelligence) ของสมาชิกเครือข่ายบังคับคดี และวิทยากรตัวคูณจะต้องยึดมั่นในหลักคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการทำหน้าที่ได้อย่างครบถ้วน ก่อนที่จะไปไกล่เกลี่ย แก้ไขปัญหา ให้ความรู้หรือให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เผยแพร่งานในภาระหน้าที่รับผิดชอบของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม พูดจาสมาคมกับใครเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมนั้น อันจะช่วยทำให้ระบบงานและสังคมมีความสงบสุข เกิดผลสัมฤทธิ์ และเจริญก้าวหน้าได้ คุณธรรมและจริยธรรมที่สำคัญมี 10 ประการสำคัญ :
1. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม คุณธรรม ข้อนี้เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างยิ่งเพราะสังคมจะดำรงอยู่ได้ และสามารถพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้าได้ ถ้าผู้คนในสังคมยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นแก่ตัวหรือประโยชน์ได้เสียของพวกพ้องหรือวงศาคณาญาติ
2. การรับฟังความคิดเห็นระหว่างกัน ไม่ใช่เอาความคิดตนเป็นที่ตั้งแต่เพียงผู้เดียว (One Man Decision) และเคารพในมติของเสียงส่วนมาก คุณธรรมข้อนี้มีความสำคัญมากต่อการดำรงสังคมคุณภาพ เพราะสมาชิกในสังคมมักจะมีความคิดเห็นในปัญหาต่างๆ ของสังคม และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันออกไป จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ เพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นๆ แต่ทั้งนี้เสียงส่วนมากก็จะต้องเคารพความคิดเห็นของเสียงส่วนน้อยโดยไม่ถือว่าเสียงส่วนน้อยเป็นฝ่ายผิด จึงจะทำให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างสันติสุข คนดีกับอีกทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่ายต่างมีที่ยืน
3. ความมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ ถ้าสมาชิกในสังคมยึดมั่นในระเบียบวินัย ควบคุมตนเองได้ ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ สังคมนั้นก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุขและเจริญก้าวหน้า ตัวอย่างเช่น นักเรียนมีหน้าที่เรียนก็ตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด ก็จะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน หรือข้าราชการทำหน้าที่บำบัดทุกข์-บำรุงสุข หรือการพิทักษ์สันติราษฎร์ และดูแลความอยู่รอดปลอดภัยของสังคมอย่างดีที่สุด ไม่ใช่นิยมชมชอบแต่คนประจบประแจงเอาใจ คิดแต่เพียงเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ย่อมจะทำให้ข้าราชการผู้นั้นมีความสำเร็จในหน้าที่การรับราชการภายภาคหน้า
4. ความซื่อสัตย์สุจริต ถ้าสมาชิกในสังคมยึดมั่นในความสัตย์ซื่อสุจริต เช่น ไม่ลักทรัพย์ ไม่เบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือถ้าเป็นข้าราชการก็ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความซื่อตรงต่อหน้าที่ ไม่ทำการทุจริตคอร์รัปชั่น สังคมนั้นก็จะมีแต่ความสันติสุขและเจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นแบบอย่างแก่องค์กรทั้งหลาย อย่างเต็มภาคภูมิ
5. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง สังคมทุกสังคมต้องการให้มีการแสดงออกซึ่งความคิดเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ดังนั้น ถ้าสมาชิกในสังคมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อการดำรงอยู่ของสังคมคุณภาพ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเป็นแนวทางในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า
6. ความสามัคคี หมายถึง ความรักใคร่กลมเกลียวและความร่วมมือกันทำงาน มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าหากัน มีความเป็นสุภาพชน เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ดังคำกล่าวที่ว่า “สามัคคี คือ พลัง” ดังนั้น ถ้าประชาชนชาวไทยมีความรู้-รัก-สามัคคี ไม่แตกแยก ไม่แบ่งแยก ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเพื่อพัฒนาประเทศชาติ ประเทศชาติย่อมจะมีความเข้มแข็ง เป็นที่เคารพศรัทธาและเป็นที่เกรงอกเกรงใจของนานาอารยประเทศ รวมทั้งจะทำให้สถาบันทางการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยมีความมั่นคงและยั่งยืน
7. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว เกรงกลัวต่อบาป สิ่งไม่ดีไม่งามต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น เช่น ถ้าบุคคลมีความซื่อสัตย์สุจริต เห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ มีความละอายแก่ใจและเกรงกลัวในการทำความชั่วและสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ย่อมจะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวบุคคลและองค์กร อันจะยังผลให้ระบบงานภาครัฐในทุกมิติดำเนินไปได้อย่างราบรื่นเรียบร้อย ไม่ใช่เป็นแบบหัวมังกุท้ายมังกร ซึ่งหมายความว่า ไม่เข้ากัน ขัดกันในตัว ทรวดทรงเรือนร่าง ต่างลักษณะ ไม่กลมกลืนกันตามที่ควรเป็น
8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ เมื่อนั้นระบอบการปกครองของประเทศจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น สง่างาม ระบบราชการเป็นที่พึ่งพาและไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชน เมื่อได้คนดีมีความรู้ความสามารถทั้งเปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรม มาช่วยกันบริหารบ้านเมือง
9. มีความมุ่งมั่นตั้งใจการยึดหลักเกณฑ์ เรียกว่า ‘5 Modules’ ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระบบราชการยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล เป็นแบบอย่างอันถูกต้อง สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนและสังคมโดยรวม ไม่ใช่หมดความเลื่อมใสศรัทธา เพราะราชการประจำต้องเป็นหลักให้กับประเทศชาติ ต้องไม่ทำให้ระบบล่มสลาย
10. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เพื่อความรู้เท่าทัน การไม่เป็นผู้ตกข่าวสาร มีการอัพเดตความรู้ความเข้าใจโดยตลอดเวลา ประการสำคัญ คือ การเสริมสร้างความรู้-รัก-สามัคคี และเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ตามพระราชปณิธาน
หลักคิดทางคุณธรรมจริยธรรมดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นคุณธรรมและจริยธรรมที่สมาชิกของสังคมสามารถกระทำได้ โดยไม่ต้องอาศัยทักษะใดๆ กล่าวได้ว่าเป็นธรรมชาติของความดีที่ทุกผู้ทุกฝ่ายพึงกระทำ ซึ่งความดีเริ่มได้จากใจเรา และเราคนไทยทุกคนทำความดีด้วยหัวใจ
เมื่อสมาชิกเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณสามารถปฏิบัติได้ครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ย่อมจะช่วยให้ระบบงานของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นระบบราชการอันถือกำเนิดขึ้นตามอุดมคติทางการบริหาร ทำให้สังคมมีความสงบสุข และก้าวเดินหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากการเลือกปฏิบัติ เป็นส่วนราชการและโครงการวิทยากรตัวคูณคุณธรรม เป็น ‘Role Model’ ให้กับองค์กรอื่นๆ ของประเทศไทย”.
#ข่าวสารกระทรวงยุติธรรม# #พิพิธภัณฑ์วังวรดิศและหอสมุดสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ#
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กรมบังคับคดีพัฒนาศักยภาพเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ (รุ่นที่ 1)
‘ในราชการกรมบังคับคดี’ ขอบพระคุณกัลยาณมิตรทุกท่าน จาก 76 จว. และ กทม. (ภาพชุดที่ 3)
เมื่อเที่ยงวันนี้ (1 ก.พ. 62) เวลา 12.30 น. กรมบังคับคดี เชิญ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษหลักสูตรพัฒนาศักยภาพเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ (รุ่นที่ 1) เรื่อง ‘คุณธรรมและจริยธรรมของเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ’ ณ บอลรูม (A-B) โรงแรมมารวย การ์เด้น ถนนพหลโยธิน เขตบางเขน
ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า “ความดีมีความพร้อมทางสติปัญญา (Intelligence) ของสมาชิกเครือข่ายบังคับคดี และวิทยากรตัวคูณจะต้องยึดมั่นในหลักคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการทำหน้าที่ได้อย่างครบถ้วน ก่อนที่จะไปไกล่เกลี่ย แก้ไขปัญหา ให้ความรู้หรือให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เผยแพร่งานในภาระหน้าที่รับผิดชอบของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม พูดจาสมาคมกับใครเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมนั้น อันจะช่วยทำให้ระบบงานและสังคมมีความสงบสุข เกิดผลสัมฤทธิ์ และเจริญก้าวหน้าได้ คุณธรรมและจริยธรรมที่สำคัญมี 10 ประการสำคัญ :
1. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม คุณธรรม ข้อนี้เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างยิ่งเพราะสังคมจะดำรงอยู่ได้ และสามารถพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้าได้ ถ้าผู้คนในสังคมยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นแก่ตัวหรือประโยชน์ได้เสียของพวกพ้องหรือวงศาคณาญาติ
2. การรับฟังความคิดเห็นระหว่างกัน ไม่ใช่เอาความคิดตนเป็นที่ตั้งแต่เพียงผู้เดียว (One Man Decision) และเคารพในมติของเสียงส่วนมาก คุณธรรมข้อนี้มีความสำคัญมากต่อการดำรงสังคมคุณภาพ เพราะสมาชิกในสังคมมักจะมีความคิดเห็นในปัญหาต่างๆ ของสังคม และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันออกไป จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ เพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นๆ แต่ทั้งนี้เสียงส่วนมากก็จะต้องเคารพความคิดเห็นของเสียงส่วนน้อยโดยไม่ถือว่าเสียงส่วนน้อยเป็นฝ่ายผิด จึงจะทำให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างสันติสุข คนดีกับอีกทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่ายต่างมีที่ยืน
3. ความมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ ถ้าสมาชิกในสังคมยึดมั่นในระเบียบวินัย ควบคุมตนเองได้ ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ สังคมนั้นก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุขและเจริญก้าวหน้า ตัวอย่างเช่น นักเรียนมีหน้าที่เรียนก็ตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด ก็จะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน หรือข้าราชการทำหน้าที่บำบัดทุกข์-บำรุงสุข หรือการพิทักษ์สันติราษฎร์ และดูแลความอยู่รอดปลอดภัยของสังคมอย่างดีที่สุด ไม่ใช่นิยมชมชอบแต่คนประจบประแจงเอาใจ คิดแต่เพียงเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ย่อมจะทำให้ข้าราชการผู้นั้นมีความสำเร็จในหน้าที่การรับราชการภายภาคหน้า
4. ความซื่อสัตย์สุจริต ถ้าสมาชิกในสังคมยึดมั่นในความสัตย์ซื่อสุจริต เช่น ไม่ลักทรัพย์ ไม่เบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือถ้าเป็นข้าราชการก็ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความซื่อตรงต่อหน้าที่ ไม่ทำการทุจริตคอร์รัปชั่น สังคมนั้นก็จะมีแต่ความสันติสุขและเจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นแบบอย่างแก่องค์กรทั้งหลาย อย่างเต็มภาคภูมิ
5. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง สังคมทุกสังคมต้องการให้มีการแสดงออกซึ่งความคิดเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ดังนั้น ถ้าสมาชิกในสังคมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อการดำรงอยู่ของสังคมคุณภาพ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเป็นแนวทางในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า
6. ความสามัคคี หมายถึง ความรักใคร่กลมเกลียวและความร่วมมือกันทำงาน มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าหากัน มีความเป็นสุภาพชน เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ดังคำกล่าวที่ว่า “สามัคคี คือ พลัง” ดังนั้น ถ้าประชาชนชาวไทยมีความรู้-รัก-สามัคคี ไม่แตกแยก ไม่แบ่งแยก ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเพื่อพัฒนาประเทศชาติ ประเทศชาติย่อมจะมีความเข้มแข็ง เป็นที่เคารพศรัทธาและเป็นที่เกรงอกเกรงใจของนานาอารยประเทศ รวมทั้งจะทำให้สถาบันทางการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยมีความมั่นคงและยั่งยืน
7. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว เกรงกลัวต่อบาป สิ่งไม่ดีไม่งามต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น เช่น ถ้าบุคคลมีความซื่อสัตย์สุจริต เห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ มีความละอายแก่ใจและเกรงกลัวในการทำความชั่วและสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ย่อมจะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวบุคคลและองค์กร อันจะยังผลให้ระบบงานภาครัฐในทุกมิติดำเนินไปได้อย่างราบรื่นเรียบร้อย ไม่ใช่เป็นแบบหัวมังกุท้ายมังกร ซึ่งหมายความว่า ไม่เข้ากัน ขัดกันในตัว ทรวดทรงเรือนร่าง ต่างลักษณะ ไม่กลมกลืนกันตามที่ควรเป็น
8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ เมื่อนั้นระบอบการปกครองของประเทศจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น สง่างาม ระบบราชการเป็นที่พึ่งพาและไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชน เมื่อได้คนดีมีความรู้ความสามารถทั้งเปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรม มาช่วยกันบริหารบ้านเมือง
9. มีความมุ่งมั่นตั้งใจการยึดหลักเกณฑ์ เรียกว่า ‘5 Modules’ ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระบบราชการยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล เป็นแบบอย่างอันถูกต้อง สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนและสังคมโดยรวม ไม่ใช่หมดความเลื่อมใสศรัทธา เพราะราชการประจำต้องเป็นหลักให้กับประเทศชาติ ต้องไม่ทำให้ระบบล่มสลาย
10. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เพื่อความรู้เท่าทัน การไม่เป็นผู้ตกข่าวสาร มีการอัพเดตความรู้ความเข้าใจโดยตลอดเวลา ประการสำคัญ คือ การเสริมสร้างความรู้-รัก-สามัคคี และเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ตามพระราชปณิธาน
หลักคิดทางคุณธรรมจริยธรรมดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นคุณธรรมและจริยธรรมที่สมาชิกของสังคมสามารถกระทำได้ โดยไม่ต้องอาศัยทักษะใดๆ กล่าวได้ว่าเป็นธรรมชาติของความดีที่ทุกผู้ทุกฝ่ายพึงกระทำ ซึ่งความดีเริ่มได้จากใจเรา และเราคนไทยทุกคนทำความดีด้วยหัวใจ
เมื่อสมาชิกเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณสามารถปฏิบัติได้ครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ย่อมจะช่วยให้ระบบงานของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นระบบราชการอันถือกำเนิดขึ้นตามอุดมคติทางการบริหาร ทำให้สังคมมีความสงบสุข และก้าวเดินหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากการเลือกปฏิบัติ เป็นส่วนราชการและโครงการวิทยากรตัวคูณคุณธรรม เป็น ‘Role Model’ ให้กับองค์กรอื่นๆ ของประเทศไทย”.
#ข่าวสารกระทรวงยุติธรรม# #พิพิธภัณฑ์วังวรดิศและหอสมุดสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ#
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024