ใช่แล้วละครับ มีพระธาตุพนมก็ต้องมีพระธาตุนคร พระธาตุนคร เป็นพระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ ถนนสุนทรวิจิตร อำเภอเมือง บริเวณริมฝั่งโขง มีลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัส รูปแบบคล้ายพระธาตุพนมองค์เดิม ภายในบรรจุพระอรหันต์สารีริกธาตุ
วัดมหาธาตุ ได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1150 โดยพระมหาอำมาตย์ (ป้อม) แม่ทัพใหญ่มาจากเวียงจันทน์ ผู้สร้างเมืองนครพนม และสร้างวัดมหาธาตุ เป็นวัดประจำเมือง เป็นศูนย์กลางของเมืองนครพนม-ข้าราชการใหญ่น้อย ให้ความอุปถัมภ์-เป็นวัดที่ใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ของข้าราชการเมืองนครพนมมาโดยตลอด
ตามตำนาน ในวัดมหาธาตุแต่เดิมจะมีธาตุ ใส่กระดูกมากมาย สะสมกันเอาไว้เรื่อยมาเป็นเวลานับพันปี และทราบว่ามีพระอรหันต์ธาตุอยู่องค์หนึ่ง แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ธาตุองค์ใด เพราะเห็นแสงสว่างลอยเข้า ลอยออกจากกลุ่มพระธาตุ
ปีพ.ศ.2462 เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ และเจ้าคณะจังหวัดนครพนม จึงเชิญญาติโยมและข้าราชการมาประชุม มีท่านเจ้าเมืองมาประชุมด้วย เพื่อจะค้นหาว่าแสงสว่างที่เกิดขึ้นนั้นมาจากที่ใด เพราะองค์พระธาตุในวัด ก็เก่าแก่ทรุดโทรมมาก ด้วยไม่ได้มีการบูรณะมานับพันปีแล้ว จึงเห็นควรรื้อถอน เพื่อพื้นที่วัดจะได้กว้างขึ้น จึงตกลงรื้อถอนเพื่อค้นหาพระธาตุ
พอรื้อไปได้สัก 4 – 5 ธาตุ ก็พบเข้าจริงๆ เป็นพระธาตุองค์เล็ก เก่าแก่มากมีรากต้นโพธิ์ร้อยรัดอยู่ พอเปิดดูข้างในพระธาตุก็พบผอบไม้จันทร์แดงอยู่หนึ่งใบ และใต้พระธาตุยังมีงูดำตัวใหญ่ ขนาดลำแข้งของคนตัวใหญ่ๆ อยู่ตัวหนึ่ง นอนนิ่งอยู่ น่าจะเป็นงูผู้รักษาพระธาตุ
จากนั้นนำผอบไปเปิดดูที่อุโบสถก็พบว่ามี พระพุทธรูปทองคำขนาดหน้าตัก 2 นิ้ว 4 องค์ พระพุทธรูปเงิน 2 องค์ แผ่นทอง บาง ๆ ยาว ๆ ประมาณ 1 คืบ 1 แผ่น และมีผอบไม้จันทร์แดงขนาดเท่าไข่เป็ดอีก 1 ผอบ เปิดดูมีพระสารีริกธาตุอยู่ 20 องค์ ขนาดเท่าเม็ดพุทรา มีนานฝ้ายห่อหุ้มอยู่
การประชุมเพื่อหาฤกษ์งามยามดี สร้างพระธาตุขึ้นเพื่อบรรจุพระอรหันต์สารีริกธาตุ และพระธาตุนคร ก็ได้เริ่มสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2463 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2465 นับเป็นพระธาตุคู่เมืองนครพนม
(วัดพระุอินทร์แปลง) ถัดไปอีกนิดก็มีวัดพระธาตุอินทร์แปลง ตามตำนานเล่าว่าราวๆปี พ.ศ.1390-1393 หรืออีกประมาณ 240ปี หลังจากมีการก่อสร้างวัดมหาธาตุ
พระหน่อหลักคำ อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 1 มีความประสงค์จะจัดสร้างพระประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง 59 นิ้วขึ้นมาองค์หนึ่ง เพื่อประดิษฐานไว้ในอุโบสถ แต่ปรากฏว่าสร้างไม่สำเร็จ…ไม่ว่าจะหล่อกี่ครั้งก็ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเศียรเป็นรูปอัปลักษณ์ จนช่างหล่อพระและเจ้าอาวาส ตลอดจนญาติโยมพากันหมดกำลังใจ จึงเลิกล้มและปล่อยให้เป็นพระเศียรขาดอยู่อย่างนั้น
การที่เอาพระพุทธรูปเศียรขาด ตั้งประดิษฐานไว้ สร้างความกระทบกระเทือนใจของชาวพุทธที่พบเห็นเป็นยิ่งนัก ชาวบ้านก็เลยช่วยกันก่ออุโมงค์ดินครอบองค์พระเอาไว้ …จึงได้ชื่อว่า-วัดอุโมงค์-
พระหน่อหลักคำ ได้นิมิตฝันว่า มีพระอินทร์พร้อมด้วยเหล่านางฟ้าเทพยดา เหาะแห่เศียรพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามลงมาจากสรวงสวรรค์ แล้วแปลงกายเป็นชีปะขาวเสด็จลงมาช่วยหล่อและลงมือแกะบล็อกเอง โดยให้พระและญาติโยมช่วยกันสูบทองต้มทอง ส่วนท่านเป็นผู้เทเศียร แล้วนำไปต่อกับพระศอ ก่อนที่พระอินทราธิราชจะเสด็จหายไป
พระหน่อหลักคำตื่นจากฝัน จึงเล่าให้ญาติโยมฟัง และก็ได้ดำเนินการลงมือหล่อเศียรพระอีกครั้งจึงประสบผลสำเร็จ เป็น“หลวงพ่อพระอินทร์แปลง” พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย อายุกว่าพันปี (ก่อนจบก่อนจาก) ของรักของหวงที่หายไป มีผู้นิยมมากราบไหว้-บนบานศาลกล่าว-ก็จะได้คืน..ดุจดั่งเศียรหลวงพ่อพระอินทร์แปลง-ที่หายไป..ก็จะได้คืนมาเช่นกันนะครับเจ้านาย ปู๊นๆๆ.
ภาพ/ข่าว ป๋าแหง็ม
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
#วัดมหาธาตุและวัดพระุอินทร์แปลง (วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครพนม)
ใช่แล้วละครับ มีพระธาตุพนมก็ต้องมีพระธาตุนคร พระธาตุนคร เป็นพระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ ถนนสุนทรวิจิตร อำเภอเมือง บริเวณริมฝั่งโขง มีลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัส รูปแบบคล้ายพระธาตุพนมองค์เดิม ภายในบรรจุพระอรหันต์สารีริกธาตุ
วัดมหาธาตุ ได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1150 โดยพระมหาอำมาตย์ (ป้อม) แม่ทัพใหญ่มาจากเวียงจันทน์ ผู้สร้างเมืองนครพนม และสร้างวัดมหาธาตุ เป็นวัดประจำเมือง เป็นศูนย์กลางของเมืองนครพนม-ข้าราชการใหญ่น้อย ให้ความอุปถัมภ์-เป็นวัดที่ใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ของข้าราชการเมืองนครพนมมาโดยตลอด
ตามตำนาน ในวัดมหาธาตุแต่เดิมจะมีธาตุ ใส่กระดูกมากมาย สะสมกันเอาไว้เรื่อยมาเป็นเวลานับพันปี และทราบว่ามีพระอรหันต์ธาตุอยู่องค์หนึ่ง แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ธาตุองค์ใด เพราะเห็นแสงสว่างลอยเข้า ลอยออกจากกลุ่มพระธาตุ
ปีพ.ศ.2462 เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ และเจ้าคณะจังหวัดนครพนม จึงเชิญญาติโยมและข้าราชการมาประชุม มีท่านเจ้าเมืองมาประชุมด้วย เพื่อจะค้นหาว่าแสงสว่างที่เกิดขึ้นนั้นมาจากที่ใด เพราะองค์พระธาตุในวัด ก็เก่าแก่ทรุดโทรมมาก ด้วยไม่ได้มีการบูรณะมานับพันปีแล้ว จึงเห็นควรรื้อถอน เพื่อพื้นที่วัดจะได้กว้างขึ้น จึงตกลงรื้อถอนเพื่อค้นหาพระธาตุ
พอรื้อไปได้สัก 4 – 5 ธาตุ ก็พบเข้าจริงๆ เป็นพระธาตุองค์เล็ก เก่าแก่มากมีรากต้นโพธิ์ร้อยรัดอยู่ พอเปิดดูข้างในพระธาตุก็พบผอบไม้จันทร์แดงอยู่หนึ่งใบ และใต้พระธาตุยังมีงูดำตัวใหญ่ ขนาดลำแข้งของคนตัวใหญ่ๆ อยู่ตัวหนึ่ง นอนนิ่งอยู่ น่าจะเป็นงูผู้รักษาพระธาตุ
จากนั้นนำผอบไปเปิดดูที่อุโบสถก็พบว่ามี พระพุทธรูปทองคำขนาดหน้าตัก 2 นิ้ว 4 องค์ พระพุทธรูปเงิน 2 องค์ แผ่นทอง บาง ๆ ยาว ๆ ประมาณ 1 คืบ 1 แผ่น และมีผอบไม้จันทร์แดงขนาดเท่าไข่เป็ดอีก 1 ผอบ เปิดดูมีพระสารีริกธาตุอยู่ 20 องค์ ขนาดเท่าเม็ดพุทรา มีนานฝ้ายห่อหุ้มอยู่
การประชุมเพื่อหาฤกษ์งามยามดี สร้างพระธาตุขึ้นเพื่อบรรจุพระอรหันต์สารีริกธาตุ และพระธาตุนคร ก็ได้เริ่มสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2463 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2465 นับเป็นพระธาตุคู่เมืองนครพนม
(วัดพระุอินทร์แปลง) ถัดไปอีกนิดก็มีวัดพระธาตุอินทร์แปลง ตามตำนานเล่าว่าราวๆปี พ.ศ.1390-1393 หรืออีกประมาณ 240ปี หลังจากมีการก่อสร้างวัดมหาธาตุ
พระหน่อหลักคำ อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 1 มีความประสงค์จะจัดสร้างพระประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง 59 นิ้วขึ้นมาองค์หนึ่ง เพื่อประดิษฐานไว้ในอุโบสถ แต่ปรากฏว่าสร้างไม่สำเร็จ…ไม่ว่าจะหล่อกี่ครั้งก็ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเศียรเป็นรูปอัปลักษณ์ จนช่างหล่อพระและเจ้าอาวาส ตลอดจนญาติโยมพากันหมดกำลังใจ จึงเลิกล้มและปล่อยให้เป็นพระเศียรขาดอยู่อย่างนั้น
การที่เอาพระพุทธรูปเศียรขาด ตั้งประดิษฐานไว้ สร้างความกระทบกระเทือนใจของชาวพุทธที่พบเห็นเป็นยิ่งนัก ชาวบ้านก็เลยช่วยกันก่ออุโมงค์ดินครอบองค์พระเอาไว้ …จึงได้ชื่อว่า-วัดอุโมงค์-
พระหน่อหลักคำ ได้นิมิตฝันว่า มีพระอินทร์พร้อมด้วยเหล่านางฟ้าเทพยดา เหาะแห่เศียรพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามลงมาจากสรวงสวรรค์ แล้วแปลงกายเป็นชีปะขาวเสด็จลงมาช่วยหล่อและลงมือแกะบล็อกเอง โดยให้พระและญาติโยมช่วยกันสูบทองต้มทอง ส่วนท่านเป็นผู้เทเศียร แล้วนำไปต่อกับพระศอ ก่อนที่พระอินทราธิราชจะเสด็จหายไป
พระหน่อหลักคำตื่นจากฝัน จึงเล่าให้ญาติโยมฟัง และก็ได้ดำเนินการลงมือหล่อเศียรพระอีกครั้งจึงประสบผลสำเร็จ เป็น“หลวงพ่อพระอินทร์แปลง” พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย อายุกว่าพันปี (ก่อนจบก่อนจาก) ของรักของหวงที่หายไป มีผู้นิยมมากราบไหว้-บนบานศาลกล่าว-ก็จะได้คืน..ดุจดั่งเศียรหลวงพ่อพระอินทร์แปลง-ที่หายไป..ก็จะได้คืนมาเช่นกันนะครับเจ้านาย ปู๊นๆๆ.
ภาพ/ข่าว ป๋าแหง็ม
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024