วันที่ 26 มกราคม 2562 ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (รมว.พน.) เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือขนส่งน้ำมันปาล์มดิบเที่ยวแรก จำนวน 2,000 ตัน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมี นายหร่อหยา จันทรัตนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน นายธวัชชัย จักรไพศาล รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง นางภาวนา อังคณานุวัฒน์ รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมพิธี ณ ท่าเรือ บริษัท พี.เค มารีน เทรดดิ้ง จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พน. กล่าวถึงความคืบหน้าในการนำน้ำมันปาล์มดิบมาผลิตไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ กฟผ. ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ ปรับสมดุลเพื่อพยุงราคาผลปาล์มน้ำมันให้สูงกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัม ด้วยการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 160,000 ตัน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง โดยเมื่อต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้วได้ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อตรวจสอบความพร้อมในการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ รวมทั้งได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “มาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยการใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตกระแสไฟฟ้า” ระหว่างกระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ และ กฟผ. ไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา โดย กฟผ. จะรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากแหล่งพื้นที่ผลิตที่สำคัญ เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะนี้มีความคืบหน้าด้วยดีตามลำดับ และในวันนี้จะส่งน้ำมันทางเรือเที่ยวแรกไปยังโรงไฟฟ้าบางปะกง ปริมาณ 2,000 ตัน ของบริษัท เจริญ น้ำมันปาล์ม จำกัด ที่รับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 3.24 บาท มาผลิตน้ำมันปาล์มดิบสำหรับเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้ตามแผนครั้งแรกในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ส่วนน้ำมันปาล์มดิบที่เหลือจะรับซื้อจากโรงสกัดต่าง ๆ ให้ครบ 160,000 ตัน ต่อไป
“ความสำเร็จในครั้งนี้มาจากความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชาวสวนปาล์มต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือให้ราคาผลปาล์มสดอยู่ในระดับสูงกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัม ได้อย่างเป็นรูปธรรม” รมว.พน. กล่าวในที่สุด
ภายหลังการปล่อยเรือขนส่งน้ำมันปาล์มดิบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เดินทางไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ของ กฟผ. และลานเท โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ที่บริษัทเสวียดลานปาล์ม และบริษัท กรีนกลอรี่ จำกัด และบริษัท นิวไบโอ ดีเซล จำกัด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งชมขั้นตอนการรับซื้อผลปาล์มน้ำมัน และพบปะเกษตรกรเพื่อติดตามผลการช่วยเกษตรกรให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ กฟผ. ได้ดำเนินการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เรื่อง มาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ สำหรับการผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมันปาล์ม กฟผ. ได้ปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 ให้สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าโดยใช้น้ำมันปาล์มดิบร่วมกับก๊าซธรรมชาติ ในอัตราส่วน 50 : 50 โดยจะใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และจะสิ้นสุดโครงการประมาณเดือนกรกฎาคม 2562 รวมระยะเวลาดำเนินโครงการทั้งสิ้น 6 เดือน สามารถดูดซับน้ำมันปาล์มดิบในตลาดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้ จำนวน 160,000 ตัน ซึ่งการนำน้ำมันปาล์มดิบมาใช้ผลิตไฟฟ้าจะไม่ส่งผลกระทบกับราคาค่าไฟฟ้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจะไม่นำไปคิดรวมกับค่าเอฟที (Ft) จึงไม่ส่งผลกระทบกับค่าไฟฟ้าของประชาชนแต่อย่างใด.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงพื้นที่ท่าเรือจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำพิธีส่งน้ำมันปาล์มดิบทางเรือเที่ยวแรก จำนวน 2,000 ตัน สำหรับนำไปผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง
วันที่ 26 มกราคม 2562 ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (รมว.พน.) เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือขนส่งน้ำมันปาล์มดิบเที่ยวแรก จำนวน 2,000 ตัน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมี นายหร่อหยา จันทรัตนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน นายธวัชชัย จักรไพศาล รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง นางภาวนา อังคณานุวัฒน์ รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมพิธี ณ ท่าเรือ บริษัท พี.เค มารีน เทรดดิ้ง จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พน. กล่าวถึงความคืบหน้าในการนำน้ำมันปาล์มดิบมาผลิตไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ กฟผ. ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ ปรับสมดุลเพื่อพยุงราคาผลปาล์มน้ำมันให้สูงกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัม ด้วยการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 160,000 ตัน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง โดยเมื่อต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้วได้ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อตรวจสอบความพร้อมในการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ รวมทั้งได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “มาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยการใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตกระแสไฟฟ้า” ระหว่างกระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ และ กฟผ. ไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา โดย กฟผ. จะรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากแหล่งพื้นที่ผลิตที่สำคัญ เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะนี้มีความคืบหน้าด้วยดีตามลำดับ และในวันนี้จะส่งน้ำมันทางเรือเที่ยวแรกไปยังโรงไฟฟ้าบางปะกง ปริมาณ 2,000 ตัน ของบริษัท เจริญ น้ำมันปาล์ม จำกัด ที่รับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 3.24 บาท มาผลิตน้ำมันปาล์มดิบสำหรับเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้ตามแผนครั้งแรกในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ส่วนน้ำมันปาล์มดิบที่เหลือจะรับซื้อจากโรงสกัดต่าง ๆ ให้ครบ 160,000 ตัน ต่อไป
“ความสำเร็จในครั้งนี้มาจากความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชาวสวนปาล์มต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือให้ราคาผลปาล์มสดอยู่ในระดับสูงกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัม ได้อย่างเป็นรูปธรรม” รมว.พน. กล่าวในที่สุด
ภายหลังการปล่อยเรือขนส่งน้ำมันปาล์มดิบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เดินทางไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ของ กฟผ. และลานเท โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ที่บริษัทเสวียดลานปาล์ม และบริษัท กรีนกลอรี่ จำกัด และบริษัท นิวไบโอ ดีเซล จำกัด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งชมขั้นตอนการรับซื้อผลปาล์มน้ำมัน และพบปะเกษตรกรเพื่อติดตามผลการช่วยเกษตรกรให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ กฟผ. ได้ดำเนินการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เรื่อง มาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ สำหรับการผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมันปาล์ม กฟผ. ได้ปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 ให้สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าโดยใช้น้ำมันปาล์มดิบร่วมกับก๊าซธรรมชาติ ในอัตราส่วน 50 : 50 โดยจะใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และจะสิ้นสุดโครงการประมาณเดือนกรกฎาคม 2562 รวมระยะเวลาดำเนินโครงการทั้งสิ้น 6 เดือน สามารถดูดซับน้ำมันปาล์มดิบในตลาดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้ จำนวน 160,000 ตัน ซึ่งการนำน้ำมันปาล์มดิบมาใช้ผลิตไฟฟ้าจะไม่ส่งผลกระทบกับราคาค่าไฟฟ้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจะไม่นำไปคิดรวมกับค่าเอฟที (Ft) จึงไม่ส่งผลกระทบกับค่าไฟฟ้าของประชาชนแต่อย่างใด.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024