…..■>>>ที่หมู่ 3 บ้านทุ่งแหลกลาง ต.นาหมอศรี อ.นาทวี จ.สงขลา หลังจากที่ “หลวงพ่อภัตร อริโย” เจ้าอาวาสวัดนาทวี และเกจิดังภาคใต้ ฉายา “เทพสามตา” ได้ชักชวนชาว ต.นาหมอศรี มาทำการพลิกนาร้าง เมื่อปลายปี 2560 เพื่อปลูกข้าว พร้อมทำเป็นศูนย์เรียนรู้ จนเวลาผ่านไปนานประมาณ 1 ปีเศษ หลวงพ่อภัตร และชาวบ้าน สามารถเปลี่ยนจากศูนย์เรียนรู้มาเป็น “พหุวัฒนธรรม นวัตกรรมชุมชน สังคมต้นแบบ บนความหลากหลาย”
…..■>>>ทุกๆวัน โดยเฉพาะในวันศุกร์ – วันอาทิตย์ จะมีประชาชนจากหลายอำเภอในจังหวัดสงขลา และชาวบ้านใน อ.นาทวี ทั้งชาวจีน ไทยพุทธ และมุสลิม จะพากันมาชม-เที่ยว และมีการถ่ายภาพและถ่ายเชลฟี่ที่แห่งนี้กันเป็นจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งไทยพุทธและมุสลิม ที่นำสินค้ามาวางจำหน่ายกัน ซึ่งนาแห่งนี้ ทั้งชาวจีน ไทยพุทธและมุสลิม จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อยู่แบบพี่น้อง และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่มีการหวาดระแวงแต่อย่างใด
…..■>>>“หลวงพ่อภัตร อริโย” เจ้าอาวาสวัดนาทวี และเกจิดังภาคใต้ กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้เป็นศูนย์ร่วมแห่งพหุวัฒนธรรม อาตมาก็ตั้งเป็นพหุวัฒนธรรม นวัตกรรมชุมชน เรียกว่าชุมชนต้นแบบ เพราะว่าที่ตรงนี้เป็นชุมชนที่หลายหลากศาสนา ที่เราอยู่กันมาเนิ่นนานแล้ว ตรงนี้เป็นตัวต้นแบบตั้งแต่พี่น้องชาวพุทธ พี่น้องชาวอิสลาม ที่ได้มาเที่ยวกันที่มาช่วยเหลือกันตรงนี่จะพูดได้ว่าพี่น้องอิสลามถึง 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ ที่เราได้มาช่วยเหลือกันได้ทำมาเหมือนที่ท่องเที่ยว แล้วก็เป็นศูนย์เรียนรู้พี่น้องแถวๆนี้ก็จะได้ขายของ ก็มีความสุข
…..■>>>“เมื่อก่อนก็เป็นที่ร้างมาเป็นเวลานาน 20 ปี วันนี้เราก็ได้ผลรวมก็คือพี่น้องแถวๆนี้ได้มาทำมหากินได้มาขายของ อยู่กันอย่างมีความสุข ไม่ต้องหวาดระแวงกันอะไรกัน ถือว่าเป็นชุมชนชาวพุทธเป็นชุมชนที่พี่น้องอิสลามที่อยู่ในสามจังหวัด 4 อำเภอนี้ ที่ไม่มีเหตุการณ์ร้ายอะไรเลย ไม่มีการหวาดระแวงซึ่งกันและกัน”
…..■>>>ในส่วนของพระเอง เราพยายามเมตตา อภัย ให้โอกาส แล้วก็ที่มีอยู่มีแต่มีไว้ให้ ได้ไว้แจก แบกไว้ให้ผู้อื่นใช้ ถือคดีอยู่อย่างนี้ อาตมาก็ทำทุกๆวันนี้ จน ณ วันนี้ชุมชนตรงนี้กลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งมาก และเป็นชุมชนต้นแบบก็ว่าได้ โดยมีเจ้าหน้าที่มาดูงานกันเยอะ ก็คือผลผลิตในเรื่องข้าว อะไรก็ดีเป็นส่วนหนึ่ง แต่ส่วนหนึ่งเอาเรื่องของความเป็นอยู่ของชุมชนระหว่างพี่น้องไทยพุทธกับอิสลามให้เขาอยู่กันอย่างมีความสุขของเราอยู่กันแบบนี้มานานแล้ว
…..■>>>ที่นี่ถ้าเราอยู่กันอย่างหวาดระแวงกันเกิดเหตุอะไรกันในสามจังหวัดทำให้เกิดมีปัญหาต่อกันสังคมเสียหาย ดังนั้นเราต้องแยกให้ถูกว่าระหว่างคนที่ทำร้ายประเทศ ทำร้ายพระ ทำร้ายคนอื่น ผู้อื่นก็ดี พูดแบบบ้านเราเขาเรียกว่าโจร แต่พี่น้องทางพุทธ อิสลามก็ดีเพราะเขาอยู่กันมาดีมีความสุข ทุกศาสนาก็โดนทำร้ายหมด แถวนี้
…..■>>>ดังนั้นถ้าเรามีความเข้มแข็ง ชุมชนของเรามีความเข้มแข็งเราก็มีความสามัคคีให้เรายึดหลักของความรักความสามัคคี ในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ณ วันนี้ ที่ชุมชนตรงนี้ มีความสุขมีความสบายใจ” หลวงพ่อภัตร กล่าว.
[▪Naewna▪]
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ทึ่ง‘เกจิดังภาคใต้’ เนรมิต‘นาร้าง’เป็นแหล่งพหุวัฒนธรรม ต้นแบบชุมชน‘พุทธ-มุสลิม’เข้มแข็ง
…..■>>>ที่หมู่ 3 บ้านทุ่งแหลกลาง ต.นาหมอศรี อ.นาทวี จ.สงขลา หลังจากที่ “หลวงพ่อภัตร อริโย” เจ้าอาวาสวัดนาทวี และเกจิดังภาคใต้ ฉายา “เทพสามตา” ได้ชักชวนชาว ต.นาหมอศรี มาทำการพลิกนาร้าง เมื่อปลายปี 2560 เพื่อปลูกข้าว พร้อมทำเป็นศูนย์เรียนรู้ จนเวลาผ่านไปนานประมาณ 1 ปีเศษ หลวงพ่อภัตร และชาวบ้าน สามารถเปลี่ยนจากศูนย์เรียนรู้มาเป็น “พหุวัฒนธรรม นวัตกรรมชุมชน สังคมต้นแบบ บนความหลากหลาย”
…..■>>>ทุกๆวัน โดยเฉพาะในวันศุกร์ – วันอาทิตย์ จะมีประชาชนจากหลายอำเภอในจังหวัดสงขลา และชาวบ้านใน อ.นาทวี ทั้งชาวจีน ไทยพุทธ และมุสลิม จะพากันมาชม-เที่ยว และมีการถ่ายภาพและถ่ายเชลฟี่ที่แห่งนี้กันเป็นจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งไทยพุทธและมุสลิม ที่นำสินค้ามาวางจำหน่ายกัน ซึ่งนาแห่งนี้ ทั้งชาวจีน ไทยพุทธและมุสลิม จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อยู่แบบพี่น้อง และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่มีการหวาดระแวงแต่อย่างใด
…..■>>>“หลวงพ่อภัตร อริโย” เจ้าอาวาสวัดนาทวี และเกจิดังภาคใต้ กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้เป็นศูนย์ร่วมแห่งพหุวัฒนธรรม อาตมาก็ตั้งเป็นพหุวัฒนธรรม นวัตกรรมชุมชน เรียกว่าชุมชนต้นแบบ เพราะว่าที่ตรงนี้เป็นชุมชนที่หลายหลากศาสนา ที่เราอยู่กันมาเนิ่นนานแล้ว ตรงนี้เป็นตัวต้นแบบตั้งแต่พี่น้องชาวพุทธ พี่น้องชาวอิสลาม ที่ได้มาเที่ยวกันที่มาช่วยเหลือกันตรงนี่จะพูดได้ว่าพี่น้องอิสลามถึง 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ ที่เราได้มาช่วยเหลือกันได้ทำมาเหมือนที่ท่องเที่ยว แล้วก็เป็นศูนย์เรียนรู้พี่น้องแถวๆนี้ก็จะได้ขายของ ก็มีความสุข
…..■>>>“เมื่อก่อนก็เป็นที่ร้างมาเป็นเวลานาน 20 ปี วันนี้เราก็ได้ผลรวมก็คือพี่น้องแถวๆนี้ได้มาทำมหากินได้มาขายของ อยู่กันอย่างมีความสุข ไม่ต้องหวาดระแวงกันอะไรกัน ถือว่าเป็นชุมชนชาวพุทธเป็นชุมชนที่พี่น้องอิสลามที่อยู่ในสามจังหวัด 4 อำเภอนี้ ที่ไม่มีเหตุการณ์ร้ายอะไรเลย ไม่มีการหวาดระแวงซึ่งกันและกัน”
…..■>>>ในส่วนของพระเอง เราพยายามเมตตา อภัย ให้โอกาส แล้วก็ที่มีอยู่มีแต่มีไว้ให้ ได้ไว้แจก แบกไว้ให้ผู้อื่นใช้ ถือคดีอยู่อย่างนี้ อาตมาก็ทำทุกๆวันนี้ จน ณ วันนี้ชุมชนตรงนี้กลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งมาก และเป็นชุมชนต้นแบบก็ว่าได้ โดยมีเจ้าหน้าที่มาดูงานกันเยอะ ก็คือผลผลิตในเรื่องข้าว อะไรก็ดีเป็นส่วนหนึ่ง แต่ส่วนหนึ่งเอาเรื่องของความเป็นอยู่ของชุมชนระหว่างพี่น้องไทยพุทธกับอิสลามให้เขาอยู่กันอย่างมีความสุขของเราอยู่กันแบบนี้มานานแล้ว
…..■>>>ที่นี่ถ้าเราอยู่กันอย่างหวาดระแวงกันเกิดเหตุอะไรกันในสามจังหวัดทำให้เกิดมีปัญหาต่อกันสังคมเสียหาย ดังนั้นเราต้องแยกให้ถูกว่าระหว่างคนที่ทำร้ายประเทศ ทำร้ายพระ ทำร้ายคนอื่น ผู้อื่นก็ดี พูดแบบบ้านเราเขาเรียกว่าโจร แต่พี่น้องทางพุทธ อิสลามก็ดีเพราะเขาอยู่กันมาดีมีความสุข ทุกศาสนาก็โดนทำร้ายหมด แถวนี้
…..■>>>ดังนั้นถ้าเรามีความเข้มแข็ง ชุมชนของเรามีความเข้มแข็งเราก็มีความสามัคคีให้เรายึดหลักของความรักความสามัคคี ในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ณ วันนี้ ที่ชุมชนตรงนี้ มีความสุขมีความสบายใจ” หลวงพ่อภัตร กล่าว.
[▪Naewna▪]
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024