เสียงเด็กอ่านบทกวีคลอเสียงกีตาร์ ขณะอีกกลุ่มกำลังเตรียมตัวขึ้นร้องเพลงที่เจ้าตัวแต่งไว้ เป็นบรรยากาศที่ตรึงในความทรงจำของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มรภ.สงขลา ผู้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของค่าย “สร้างสรรค์งานเขียน : สีสันสันติภาพ” จัดขึ้นโดยสถาบันสันติศึกษา ม.อ. ไม่นับรวมถึงการได้กระทบไหล่นักเขียนรางวัลพานแว่นฟ้า เจ้าของผลงานรางวัลมติชนอวอร์ด รวมถึงนักแต่งเพลงจากค่ายดัง ที่มาถ่ายทอดประสบการณ์ตลอด 3 วัน 2 คืน
ผศ.อภิชาติ จันทร์แดง อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ผู้จัดและวิทยากรค่ายสร้างสรรค์งานเขียน : สีสันสันติภาพ ปี 2561 ซึ่งจัดขึ้น ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา เล่าว่า สถาบันสันติศึกษาต้องการใช้ศิลปะในการส่งเสริมและสร้างสรรค์สันติภาพ จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กระดับชั้นมัธยม และชวนนักศึกษามหาวิทยาลัยมาเข้าร่วมด้วย รวมสมาชิกค่ายราว 60 คน เนื่องจากมองว่าในทางการเขียนกลุ่มเด็กที่ต่างระดับชั้น ต่างวัย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ การมีผู้เข้าร่วมที่หลากหลายถือเป็นการเติมเต็มสร้างสีสัน และได้ผลงานเขียนหลายมุมมากขึ้น ทุกคนสามารถทำกิจกรรมไปด้วยกันได้โดยไม่มีความต่างใดๆ
เมื่อเห็นว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) มีการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาไทย เกี่ยวข้องกับงานเขียนทั้งคณะครุศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงชวนมาร่วมออกค่ายในครั้งนี้ด้วย ซึ่งนักศึกษาทั้ง 4 คนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างมุ่งมั่นตั้งใจ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สูง แม้ในส่วนการเขียนอาจยังไม่ค่อยกล้าคิดต่างหรือคิดนอกกรอบ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อคำว่าสร้างสรรค์ที่ค่ายต้องการให้เกิด แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เป็นอยู่เดิมนั้นไม่ดี อย่างน้อยก็เป็นต้นทุนในการเติมเต็มสิ่งอื่นๆ เข้าไป ทำให้ง่ายที่จะชี้แนวทางใหม่ๆ
“ระยะเวลา 3 วันในค่ายไม่กล้าสรุปว่าพวกเขาพัฒนาขึ้นหรือเปล่า ส่วนตัวไม่อยากใช้คำว่าพัฒนาด้วยซ้ำ แต่เราพยายามให้แนวทางหรือวิธีการในการเขียนที่แตกต่างจากเดิมเท่านั้นเอง ซึ่งผลงานของนักศึกษา มรภ.สงขลา ทุกคนที่เข้าร่วม ภาพรวมถือว่าน่าพอใจมาก ทั้งที่ตอนแรกบางคนบอกว่าไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเขียนบทกวีหรือเรื่องสั้นได้มาก่อน แต่ทุกคนก็เขียนได้และเขียนดี ส่วนงานของเด็กคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมสามารถส่งไปตีพิมพ์ตามหน้านิตยสารได้เลย หลังจากนี้พวกเขาคงมีอะไรที่แตกต่างไปจากการรับรู้เดิม น่าจะเป็นผลดีที่ทำให้เห็นความหลากหลายทางการเขียน และรู้จักงานวรรณกรรมจริงๆ ” ผศ.อภิชาติ ในฐานะวิทยากรค่าย เล่า
ดร.กมลทิพย์ กาลพันธ์ อาจารย์ประจำโปรแกรมภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา เล่าบ้างว่า ค่ายนี้ทำให้เด็กๆ ได้ทำความรู้จักกับการเขียนที่หลากหลาย จากที่มองว่าทำไม่ได้แต่สามารถเข้าใจเสียใหม่ด้วยการถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์จากวิทยากรซึ่งเป็นนักเขียนมากความสามารถ รวมถึงนักแต่งเพลงค่ายแกรมมี่ อ.พยัต ภูวิชัย และ อ.ไลลักษณ์ อุปรานนท์ ศิลปินเซอร์แมนติกกับบทเพลงในอัลบั้มรักหลงฤดู มาถ่ายทอดประสบการณ์ตลอด 3 วัน 2 คืน ทำให้ทุกคนกล้าหยิบเรื่องต่างๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวันมาเล่าอย่างสร้างสรรค์มีชั้นเชิงทั้งในกลุ่มของงานเขียนประเภทเรื่องสั้น กวีนิพนธ์ และงานเพลง หลังจากจบค่ายยังมีการเชิญนักเขียน ผศ.อภิชาติ จันทร์แดง นักเขียนรางวัลพานแว่นฟ้า และ นายปรเมศวร์ กาแก้ว เจ้าของผลงานรางวัลมติชนอวอร์ด มาเป็นวิทยากรบรรยายในห้องเรียน เพื่อจุดประกายความคิดเรื่องการอ่านการเขียนให้กับเพื่อนๆ คนอื่นด้วย ส่วนนักศึกษาที่ไปค่ายต่างได้ขยายเครือข่ายรู้จักกลุ่มนักเขียนเพิ่มขึ้น ถึงแม้บางคนไม่ได้อยากเป็นนักเขียน แต่อาจนำประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดในด้านอื่นแทน
ดร.กมลทิพย์ เล่าอีกว่า วรรณกรรมสามารถเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ เพิ่มประการณ์ให้กับชีวิตนอกเหนือจากได้ความบันเทิง ที่สำคัญคือพื้นฐานด้านการอ่านจะช่วยพัฒนาด้านความคิดและช่วยให้สื่อสารได้ดีขึ้นทั้งในแง่การพูดและการเขียน เพราะมีคลังคำและตัวอย่างวิธีนำเสนอที่หลากหลาย เมื่อมีการอ่านสะสมนักอ่านหลายคนจะเริ่มอยากมีก้าวต่อไปคือการเขียน ซึ่งค่ายสีสันสันติภาพเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความสนใจด้านการเขียนอยู่แล้ว มีพื้นที่แสดงออกทางความคิดและรู้จักดึงศักยภาพของตนเองมาใช้ โดยได้รับคำแนะนำจากวิทยากรที่เป็นนักเขียนและนักแต่งเพลงมืออาชีพระดับประเทศ ยิ่งทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นยิ่งขึ้นว่าการเป็นนักเขียนไม่ได้ยากอีกต่อไป
ด้าน จุฑามาศ บัวเนียม นักศึกษาโปรแกรมภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา เผยความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมค่ายครั้งนี้ว่า รู้สึกดีใจมากเพราะเป็นสิ่งที่อยากทำมานานแล้ว ก่อนไปก็คาดหวังไว้แล้วว่าจะได้พบกับนักเขียนมากประสบการณ์มาสอนฝึกเขียนงานในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายขึ้น เมื่อได้ไปเป็นสมาชิกคนหนึ่งของค่ายจริงๆ ยิ่งประทับใจมาก เพราะบรรยากาศสนุก ไม่เครียด และสามารถสร้างอารมณ์ในการทำงานงานได้จนมีผลงานออกมาหลายชิ้น ซึ่งทำให้รู้ถึงศักยภาพของตนมากขึ้นจากคำแนะนำของวิทยากร นี่นับเป็นการเริ่มต้นสานฝันตัวเอง และจะนำสิ่งที่ได้ไปพัฒนางานเขียนให้มีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
ปิดท้ายด้วย สุนทรียา ลาสสวัสดิ์ นักศึกษาโปรแกรมภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา เล่าถึงความประทับใจในฐานะผู้เข้าร่วมค่ายว่า เมื่อก่อนตนมองว่าวรรณกรรมเป็นการอ่านเพื่อความบันเทิงเท่านั้น จนกระทั่งเลือกเรียนหลักสูตรภาษาไทยในระดับมหาวิทยาลัย ด้วยความคิดว่าคงเป็นสาขาที่ทำให้ได้อ่านหนังสือมากที่สุด เพราะมีการเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวกับหนังสือวรรณกรรม รวมทั้งวิชาที่ต้องอาศัยทักษะการเขียน เมื่อตัดสินใจไปค่ายนี้จึงนับเป็นความโชคดีอย่างมาก เพราะนอกเหนือจากประสบการณ์คือความกล้าคิดกล้าเขียนที่เพิ่มขึ้น วิทยากรทุกท่านทั้งกลุ่มงานเขียนและกลุ่มงานเพลงมีความใส่ใจคอยสังเกตจุดอ่อนจุดแข็งในตัวเด็กทุกคน พยายามดึงภาพความคิดของพวกเราให้ออกมาเรียบเรียงเป็นงานเขียนได้ จนกระทั่งทุกคนมีผลงานลงในหนังสือรวมเล่มชื่อ “แต่เราก็อยู่ร่วมกัน” สร้างความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจในการเขียนงานต่อไปได้เป็นอย่างดี
“หลังจบค่ายมีเวลาทบทวนตัวเองทำให้รับรู้ได้ถึงโลกที่เปิดกว้าง ขณะที่ความรู้สึกภายในกลับยิ่งลึกซึ้ง วรรณกรรมจึงไม่ใช่แค่หนังสือที่ปิดหน้าสุดท้ายแล้วจบอีกต่อไป เช่นเดียวกับการเขียนที่มาพร้อมพลังสร้างสรรค์กว่าเก่า แม้เราจะไม่ได้คิดอยากเป็นนักเขียนหรือกวีก็ตาม” สุนทรียา กล่าวทิ้งท้าย
หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม แม้สมาชิกต่างแยกย้ายกันไป ทว่า ยังมี “แต่เราก็อยู่ร่วมกัน” หนังสือรวมเล่มผลงานเขียน ผลผลิตตกทอดทางความคิดที่ชาวค่ายแต่ละคนต้องการบอกเล่าแง่มุมหนึ่งของชีวิต ให้กลายเป็นวรรณกรรมที่มีพลังสะท้อนภาพสังคม ก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวเพื่อนมนุษย์มากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้สามารถอยู่รวมกันอย่างสงบสุข และเกิดสันติภาพในสังคม.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ปิดโลกวรรณกรรมร่วมสมัย ปลุกไฟหัวใจคนอยากเขียน ประสบการณ์ใหม่ นศ.ภาษาไทย มรภ.สงขลา ค่าย “สีสันสันติภาพ”
เสียงเด็กอ่านบทกวีคลอเสียงกีตาร์ ขณะอีกกลุ่มกำลังเตรียมตัวขึ้นร้องเพลงที่เจ้าตัวแต่งไว้ เป็นบรรยากาศที่ตรึงในความทรงจำของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มรภ.สงขลา ผู้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของค่าย “สร้างสรรค์งานเขียน : สีสันสันติภาพ” จัดขึ้นโดยสถาบันสันติศึกษา ม.อ. ไม่นับรวมถึงการได้กระทบไหล่นักเขียนรางวัลพานแว่นฟ้า เจ้าของผลงานรางวัลมติชนอวอร์ด รวมถึงนักแต่งเพลงจากค่ายดัง ที่มาถ่ายทอดประสบการณ์ตลอด 3 วัน 2 คืน
ผศ.อภิชาติ จันทร์แดง อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ผู้จัดและวิทยากรค่ายสร้างสรรค์งานเขียน : สีสันสันติภาพ ปี 2561 ซึ่งจัดขึ้น ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา เล่าว่า สถาบันสันติศึกษาต้องการใช้ศิลปะในการส่งเสริมและสร้างสรรค์สันติภาพ จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กระดับชั้นมัธยม และชวนนักศึกษามหาวิทยาลัยมาเข้าร่วมด้วย รวมสมาชิกค่ายราว 60 คน เนื่องจากมองว่าในทางการเขียนกลุ่มเด็กที่ต่างระดับชั้น ต่างวัย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ การมีผู้เข้าร่วมที่หลากหลายถือเป็นการเติมเต็มสร้างสีสัน และได้ผลงานเขียนหลายมุมมากขึ้น ทุกคนสามารถทำกิจกรรมไปด้วยกันได้โดยไม่มีความต่างใดๆ
เมื่อเห็นว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) มีการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาไทย เกี่ยวข้องกับงานเขียนทั้งคณะครุศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงชวนมาร่วมออกค่ายในครั้งนี้ด้วย ซึ่งนักศึกษาทั้ง 4 คนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างมุ่งมั่นตั้งใจ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สูง แม้ในส่วนการเขียนอาจยังไม่ค่อยกล้าคิดต่างหรือคิดนอกกรอบ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อคำว่าสร้างสรรค์ที่ค่ายต้องการให้เกิด แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เป็นอยู่เดิมนั้นไม่ดี อย่างน้อยก็เป็นต้นทุนในการเติมเต็มสิ่งอื่นๆ เข้าไป ทำให้ง่ายที่จะชี้แนวทางใหม่ๆ
“ระยะเวลา 3 วันในค่ายไม่กล้าสรุปว่าพวกเขาพัฒนาขึ้นหรือเปล่า ส่วนตัวไม่อยากใช้คำว่าพัฒนาด้วยซ้ำ แต่เราพยายามให้แนวทางหรือวิธีการในการเขียนที่แตกต่างจากเดิมเท่านั้นเอง ซึ่งผลงานของนักศึกษา มรภ.สงขลา ทุกคนที่เข้าร่วม ภาพรวมถือว่าน่าพอใจมาก ทั้งที่ตอนแรกบางคนบอกว่าไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเขียนบทกวีหรือเรื่องสั้นได้มาก่อน แต่ทุกคนก็เขียนได้และเขียนดี ส่วนงานของเด็กคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมสามารถส่งไปตีพิมพ์ตามหน้านิตยสารได้เลย หลังจากนี้พวกเขาคงมีอะไรที่แตกต่างไปจากการรับรู้เดิม น่าจะเป็นผลดีที่ทำให้เห็นความหลากหลายทางการเขียน และรู้จักงานวรรณกรรมจริงๆ ” ผศ.อภิชาติ ในฐานะวิทยากรค่าย เล่า
ดร.กมลทิพย์ กาลพันธ์ อาจารย์ประจำโปรแกรมภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา เล่าบ้างว่า ค่ายนี้ทำให้เด็กๆ ได้ทำความรู้จักกับการเขียนที่หลากหลาย จากที่มองว่าทำไม่ได้แต่สามารถเข้าใจเสียใหม่ด้วยการถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์จากวิทยากรซึ่งเป็นนักเขียนมากความสามารถ รวมถึงนักแต่งเพลงค่ายแกรมมี่ อ.พยัต ภูวิชัย และ อ.ไลลักษณ์ อุปรานนท์ ศิลปินเซอร์แมนติกกับบทเพลงในอัลบั้มรักหลงฤดู มาถ่ายทอดประสบการณ์ตลอด 3 วัน 2 คืน ทำให้ทุกคนกล้าหยิบเรื่องต่างๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวันมาเล่าอย่างสร้างสรรค์มีชั้นเชิงทั้งในกลุ่มของงานเขียนประเภทเรื่องสั้น กวีนิพนธ์ และงานเพลง หลังจากจบค่ายยังมีการเชิญนักเขียน ผศ.อภิชาติ จันทร์แดง นักเขียนรางวัลพานแว่นฟ้า และ นายปรเมศวร์ กาแก้ว เจ้าของผลงานรางวัลมติชนอวอร์ด มาเป็นวิทยากรบรรยายในห้องเรียน เพื่อจุดประกายความคิดเรื่องการอ่านการเขียนให้กับเพื่อนๆ คนอื่นด้วย ส่วนนักศึกษาที่ไปค่ายต่างได้ขยายเครือข่ายรู้จักกลุ่มนักเขียนเพิ่มขึ้น ถึงแม้บางคนไม่ได้อยากเป็นนักเขียน แต่อาจนำประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดในด้านอื่นแทน
ดร.กมลทิพย์ เล่าอีกว่า วรรณกรรมสามารถเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ เพิ่มประการณ์ให้กับชีวิตนอกเหนือจากได้ความบันเทิง ที่สำคัญคือพื้นฐานด้านการอ่านจะช่วยพัฒนาด้านความคิดและช่วยให้สื่อสารได้ดีขึ้นทั้งในแง่การพูดและการเขียน เพราะมีคลังคำและตัวอย่างวิธีนำเสนอที่หลากหลาย เมื่อมีการอ่านสะสมนักอ่านหลายคนจะเริ่มอยากมีก้าวต่อไปคือการเขียน ซึ่งค่ายสีสันสันติภาพเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความสนใจด้านการเขียนอยู่แล้ว มีพื้นที่แสดงออกทางความคิดและรู้จักดึงศักยภาพของตนเองมาใช้ โดยได้รับคำแนะนำจากวิทยากรที่เป็นนักเขียนและนักแต่งเพลงมืออาชีพระดับประเทศ ยิ่งทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นยิ่งขึ้นว่าการเป็นนักเขียนไม่ได้ยากอีกต่อไป
ด้าน จุฑามาศ บัวเนียม นักศึกษาโปรแกรมภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา เผยความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมค่ายครั้งนี้ว่า รู้สึกดีใจมากเพราะเป็นสิ่งที่อยากทำมานานแล้ว ก่อนไปก็คาดหวังไว้แล้วว่าจะได้พบกับนักเขียนมากประสบการณ์มาสอนฝึกเขียนงานในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายขึ้น เมื่อได้ไปเป็นสมาชิกคนหนึ่งของค่ายจริงๆ ยิ่งประทับใจมาก เพราะบรรยากาศสนุก ไม่เครียด และสามารถสร้างอารมณ์ในการทำงานงานได้จนมีผลงานออกมาหลายชิ้น ซึ่งทำให้รู้ถึงศักยภาพของตนมากขึ้นจากคำแนะนำของวิทยากร นี่นับเป็นการเริ่มต้นสานฝันตัวเอง และจะนำสิ่งที่ได้ไปพัฒนางานเขียนให้มีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
ปิดท้ายด้วย สุนทรียา ลาสสวัสดิ์ นักศึกษาโปรแกรมภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา เล่าถึงความประทับใจในฐานะผู้เข้าร่วมค่ายว่า เมื่อก่อนตนมองว่าวรรณกรรมเป็นการอ่านเพื่อความบันเทิงเท่านั้น จนกระทั่งเลือกเรียนหลักสูตรภาษาไทยในระดับมหาวิทยาลัย ด้วยความคิดว่าคงเป็นสาขาที่ทำให้ได้อ่านหนังสือมากที่สุด เพราะมีการเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวกับหนังสือวรรณกรรม รวมทั้งวิชาที่ต้องอาศัยทักษะการเขียน เมื่อตัดสินใจไปค่ายนี้จึงนับเป็นความโชคดีอย่างมาก เพราะนอกเหนือจากประสบการณ์คือความกล้าคิดกล้าเขียนที่เพิ่มขึ้น วิทยากรทุกท่านทั้งกลุ่มงานเขียนและกลุ่มงานเพลงมีความใส่ใจคอยสังเกตจุดอ่อนจุดแข็งในตัวเด็กทุกคน พยายามดึงภาพความคิดของพวกเราให้ออกมาเรียบเรียงเป็นงานเขียนได้ จนกระทั่งทุกคนมีผลงานลงในหนังสือรวมเล่มชื่อ “แต่เราก็อยู่ร่วมกัน” สร้างความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจในการเขียนงานต่อไปได้เป็นอย่างดี
“หลังจบค่ายมีเวลาทบทวนตัวเองทำให้รับรู้ได้ถึงโลกที่เปิดกว้าง ขณะที่ความรู้สึกภายในกลับยิ่งลึกซึ้ง วรรณกรรมจึงไม่ใช่แค่หนังสือที่ปิดหน้าสุดท้ายแล้วจบอีกต่อไป เช่นเดียวกับการเขียนที่มาพร้อมพลังสร้างสรรค์กว่าเก่า แม้เราจะไม่ได้คิดอยากเป็นนักเขียนหรือกวีก็ตาม” สุนทรียา กล่าวทิ้งท้าย
หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม แม้สมาชิกต่างแยกย้ายกันไป ทว่า ยังมี “แต่เราก็อยู่ร่วมกัน” หนังสือรวมเล่มผลงานเขียน ผลผลิตตกทอดทางความคิดที่ชาวค่ายแต่ละคนต้องการบอกเล่าแง่มุมหนึ่งของชีวิต ให้กลายเป็นวรรณกรรมที่มีพลังสะท้อนภาพสังคม ก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวเพื่อนมนุษย์มากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้สามารถอยู่รวมกันอย่างสงบสุข และเกิดสันติภาพในสังคม.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024