เมืองพร้าวเป็นเมืองที่มีความเจริญในพระพุทธศาสนา สังเกตุได้ว่ามีวัดและพระธาตุ ต่างๆมากมาย บนดอยที่รกร้างจะมีพระธาตุอยู่ในแต่ละตำบล ถ้าจะย้อนอดีตกลับไป ตอนที่สร้างเมืองพร้าว
#พุทธศักราช 1801 พระเจ้าเม็งรายผู้ครอบครองหิรัญนครเงินยาง (จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน) ใน ขณะทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา มีพระโอรส 3 พระองค์ คือ ขุนเครื่อง,ขุนคราม และขุนเครือ พุทธศักราช 1823 พระเจ้าเม็งรายได้ยกทัพไพร่พลมุ่งสู่เมืองลำพูน(หริภุญชัย)เพื่อเข้าตีเมืองขณะเดิน ทัพมาถึงที่แห่งหนึ่ง พระองค์เห็นว่าท้องที่แห่งนี้เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมตามตำราพิชัย มีพืชพันธุ์ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ จึงหยุดทัพเพื่อสะสมไพร่พลและ เสบียงอาหารเพื่อให้กองทัพมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดย ตั้งค่ายคูประตูหอรบอย่างมั่นคง แข็งแรงอยู่บนสันดอยแห่งหนึ่งชื่อ “เวียงหวาย” และขนานนามว่า “นคร ป้าว” บางตำนานว่า “นครแจ้สัก”หรือ” เมืองป้าววังหิน คำว่า “ป้าว” มาจากคำว่า “ป่าวร้อง กะเกณฑ์ ไพร่พล” ภาษาท้องถิ่นหมายถึง “มะพร้าว” เพราะลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาล้อมรอบกลมกลืนเหมือนลูก มะพร้าว เมืองคงสร้างขึ้นด้วยพลโยธาของพระเจ้าเม็งราย และยังสร้างไม่เสร็จ พระองค์ได้ยกทัพสู่เมือง ลำพูนต่อไป ซึ่งต่อมาในพุทธศักราช 1839 ได้สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น ในขณะที่ท่านพระยามังราย ได้ส่งขุนฟ้าไปเมืองหริภุญชัยเพื่อวางแผนยึดครองเมืองลำพูนแล้ว ก็ให้ราชโอรสองค์ใหญ่ทรงพระนามว่า เจ้าขุนเครื่อง ซึ่งมีพระชนมายุ 13 ปีให้ไปครองเมืองเชียงราย ส่วนพระยามังรายครองราชสมบัติ ณ เมืองฝาง ฝ่ายขุนเครื่อง ราชโอรส เสด็จไปครองเมืองเชียงราย อยู่ไม่นานนัก อำมาตย์ผู้หนึ่งมีชื่อว่า ขุนใสเวียง ได้กราบทูลยุยงให้คิดกบฎต่อพระราชบิดา โดยจะชิงเอาราชสมบัติเมืองเชียงรายเสียและให้ จัดกำลังพลแข็งเมืองอยู่ ฝ่ายพระยามังรายทรงทราบ จึงปรารภว่า ขุนเครื่องผู้มีบุญน้อยจะมาคิด แย่งราช สมบัติ กูเป็นพ่อเช่นนี้ จักละไว้มิได้ จึงมอบให้ขุนอ่องซึ่งเป็นทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัยผู้หนึ่งไปเชิญให้ ขุนเครื่องผู้โอรสให้เข้ามาเข้าเฝ้าที่เมืองฝางในขณะที่ราชโอรสกำลังเดินทางจากเมืองเชียงรายจะมาเข้า เฝ้าพระราชบิดาตามคำบอกเล่าของขุนอ่อง ท่านพระยามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่นธนูได้ดักยิงที่กลาง ทางด้วยธนูอาบยาพิษ และได้เสียชีวิตระหว่างทาง ณ ที่แห่งหนึ่งใน เขตอำเภอพร้าว บริเวณนั้นพระยา มังราย ได้เสด็จมาจัดการพระศพราชโอรส ทรงสถาปนา ณ ที่ขุนเครื่องถูกพิฆาตนั้นเป็นอาราม เรียกว่า “วัดเวียงยิง” มีซากเจดีย์ร้างอยู่แห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัด เชียงใหม่ ชาวบ้าน เรียกว่า “วัดเวียงยิง” หรือ “วัดกู่เวียงยิง” (วัดสันป่าเหียง)
กู่เวียงยิง ถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในอำเภอพร้าว เนื่องจากมีประวัติความ เป็นมาสำคัญและยาวนาน ซึ่งตามหลักฐานที่พบกล่าวถึงประวัติของกู่เวียงยิงไว้ว่า สร้างขึ้นสมัยของพระยามังราย ซึ่ง ในขณะนั้น พระยามังรายมีโอรสอยู่สามพระองค์จึงให้ราชโอรสองค์ใหญ่ ทรงพระนามว่า เจ้าขุนเครื่องซึ่งมีพระชนมายุ 13 ปี ให้ไปครอง เมืองเชียงราย
ส่วนพระยามังรายครองราชสมบัติ ณ เมืองฝาง ทางฝ่ายขุนเครื่องราชโอรสเสด็จ ไปครองเมืองเชียงราย อยู่ไม่นานนัก อำมาตย์ผู้หนึ่งมีชื่อว่า ขุนใสเวียงได้กราบทูลยุยง ให้คิดกบฎต่อพระราชบิดา โดยจะชิงเอาราชสมบัติ เมือง เชียงรายเสีย และให้จัดกำลังพลแข็งเมืองอยู่ ฝ่าย พระยามังรายทรงทราบ จึงปรารภว่า”ขุนเครื่องผู้มีบุญน้อย จะมาคิด แย่งราชสมบัติกูเป็นพ่อเช่นนี้จักละไว้มิได้ ” จึงมอบให้ขุนอ่องซึ่งเป็น ทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัย ผู้หนึ่ง ไปเชิญ ให้ ขุนเครื่อง ผู้โอรสให้เข้ามาสเฝ้าที่เมืองฝาง
ในขณะที่ราชโอรส กำลังเดินทางจากเมืองเชียงรายจะมาเข้า เฝ้าพระราชบิดาตามคำบอกเล่าของขุนอ่อง ท่านพระยามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่นธนูได้ดักยิงที่กลางทางด้วยธนูอาบยาพิษ และได้เสียชีวิตระหว่างทาง ณ ที่แห่งหนึ่งใน เขตอำเภอพร้าว บริเวณนั้นพระยามังรายได้เสด็จมาจัดการพระศพราชโอรส ทรงสถาปนา ณ ที่ ขุนเครื่องถูก พิฆาตนั้นเป็นอาราม เรียกว่า “วัดเวียงยิง” มีซากเจดีย์ร้างอยู่แห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้าน โป่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเวียงยิง หรือวัดกู่เวียงยิง(วัดสันป่าเหียง) ดังปรากฎใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ของ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค.วัยอาจ
พระเจ้าล้านทอง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระเจ้าหลวง ” เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้าง มานานสมัยเวียงพร้าว-วังหิน เป็น พระพุทธรูป ปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก 180 เซนติเมตร สูงรวมทั้งฐาน 274เซนติเมตร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ วัตถุ ตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 2 วันที่ 5 เดือนมกราคม พ.ศ.2528 จากประวัติ ความเป็นมาขององค์พระเจ้าล้านทอง โดยอาศัยหลักฐานจากหนังสือต่างๆ อ้างอิงดัง ต่อไปนี้จาก หนังสือ ตำนานเวียงพร้าว-วังหิน ของนายปวงคำ ตุ้ยเขียว หน้า 10 กล่าวไว้ว่า “พระเจ้า ล้านทองเวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช 888 และเป็น พระพุทธรูป ที่ซึ่ง นับว่ามีความสำคัญทางจิตใจอย่างมากต่อคนเมืองพร้าวและทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 เหนือของทุกปีทาง วัดจะจัดให้มีการสรงน้ำพระขึ้น และตามหนังสือ คนดีเมือง เหนือของคุณสงวน โชติสุขรัตน์ หน้า 98 กล่าวไว้ว่า “พ่อท้าวเกษกุมารได้ครอง เมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ.2068 ทรงมีพระนาม ในการขึ้นครองราชย์ว่า พระ เมืองเกษเกล้า พระองค์ ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมือง พร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. 2069 เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้”
ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า 2 ได้กล่าว ไว้ว่า”พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง ” ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความ จารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่าสนผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า ” ศาสนาพระได 2069 วัสสาแล…888 ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2069 ปีจอ อัฐศก” สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าว วังหิน ตามหลัก ฐานจากหนังสือดัง กล่าว สันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้น่า จะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้นจากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่าหลัง จากเวียงพร้าว วังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของ พระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี 2101 ผู้คนหนีออกจากเมือง หมดคงปล่อยให้องค์ พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง 349 ปีจนมาถึง พ.ศ.2450 ได้มีดาบส นุ่งขาว ห่มขาว เป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า “กาเลยังยัง” จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยัง ท่านดาบสองค์นี้ชอบทานข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ ปลาร้า เป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน
เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ซึ่งบริเวณนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฝั่นเฟือนพูดจา ไม่รู้เรื่อง เดือดร้อง ถึงหมอผี ต้องทำบน บานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี ส่วนท่านกาเลยังยัง ท่านไม่กลัวเดินเที่ยว ชมบริเวณ ได้พบองค์พระพุทธรูป ทองสำริดขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานนิอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่ เผาเศษ ไม้ใบไม้แห้งรอบองค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยัง จึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหา ได้ใน บริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด จนถึงปี พ.ศ. 2459 ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธาได้ช่วยกันสร้างศาลาเสาสี่ต้นมุงด้วย ไม้เกล็ด คร่อมองค์พระพุทธรูปไว ้เพื่อเป็นร่มกันแดดกันฝน จนถึงปี พ.ศ. 2462 ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสัน ขวางของ ท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทองสาเหตุที่ชาว บ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพ อุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่ ท่านครู บาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามาก แต่หลังจากได้ สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบา เป็นอย่าง มาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส “วัดหนองปลามัน ” จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน) ต่อมา พ.ศ. 2512 ได้มิท่านครูบาอินถา แห่ง วัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุข ทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ 80% เมื่อปี พ.ศ. 2515 แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ 11เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ตรงกับเดือน 5 เหนือ ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุน จุลศักราช 1333 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ได้มีการซ่อมแซม วิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมี พล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงิน ใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ 1 ล้านบาทเศษ นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าว – วังหิน เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน
#ประวัติความเป็นมาของอำเภอพร้าว 2 อำเภอพร้าวมีชื่อเรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า “เมืองป้าว” เป็นเมืองโบราณที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณว่า “เวียงพร้าววังหิน” หรือ “เวียงแจ้สัก” ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองพร้าว” มีประวัติความเป็นมาปรากฏตามตำนานโยนก ดังนี้พุทธศักราช 1780 “พระเจ้าราวเม็ง” ผู้ครองนครหิรัญนครเงินยาง(จังหวัดเชียงราย) มีมเหสีทรงพระนามว่า “พระนางเทพคำข่าย” มีโอรสชื่อ “เม็งราย” พ.ศ.1801 พระเจ้าราวเม็งทิวงคต พระเจ้าเม็งรายพระราชโอรสได้ขึ้นครอบราชสืบต่อมา ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา มีพระโอรส 3 พระองค์คือ (1) ขุนเครื่อง (2)ขุนคราม (3)ขุนเครือ พุทธศักราช 1816 พระเจ้าเม็งรายทราบข่าวว่าทางหริภุญชัยนคร(เมืองลำพูน) อุดมสมบูรณ์พูนสุข จึงส่ง ”อ้ายฟ้าจาระบุรุษ” ไปกระทำวิเทโสบายกลศึกทางเมืองลำพูนนานถึง 7 ปี อ้ายฟ้าได้กระทำการสำเร็จ จึงทูลพระเจ้าเม็งรายเพื่อเกณฑ์ไพร่พลยกทัพไปตีเมืองลำพูนพุทธศักราช 1823 พระเจ้าเม็งรายทรงให้ขุนคราม โอรสองค์ที่สอง ครองเมืองเชียงราย และพระองค์ได้ยก ทัพไพร่พลมุ่งสู่เมืองลำพูน การเดินทัพถึงที่แห่งหนึ่ง พระองค์เห็นว่าท้องที่แห่งนี้เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมตามตำราพิชัยสงคราม มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ จึงหยุดทัพเพื่อสะสมไพร่พลและเสบียงอาหารเพื่อให้กองทัพมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยตั้งค่ายคูประตูหอรบ อย่างมั่นคงแข็งแรงอยู่บนสันดอยแห่งหนึ่งชื่อ “เวียงหวาย” และขนานนามว่า “นครป้าว” บางตำนานว่า “นครแจ้สัก” หรือ “เมืองป้าววังหิน” (คำว่า “ป้าว” มาจากคำว่า “ป่าวร้องกะเกณฑ์ไพร่พล” ภาษาท้องถิ่นหมายถึง “มะพร้าว” เพราะลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาล้อมรอบกลมกลืนเหมือนลูกมะพร้าว) เมืองคงสร้างขึ้นด้วยพลโยธาของพระเจ้าเม็งรายและยังสร้างไม่เสร็จพระองค์ได้ยกทัพสู่เมืองลำพูนต่อไป มุ่งทัพลงมาทางใต้เลียบฝั่งแม่น้ำปิงไปพบชัยภูมิอีกแห่งหนึ่ง.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เมืองพร้าวเป็นเมืองที่มีความเจริญในพระพุทธศาสนา
เมืองพร้าวเป็นเมืองที่มีความเจริญในพระพุทธศาสนา สังเกตุได้ว่ามีวัดและพระธาตุ ต่างๆมากมาย บนดอยที่รกร้างจะมีพระธาตุอยู่ในแต่ละตำบล ถ้าจะย้อนอดีตกลับไป ตอนที่สร้างเมืองพร้าว
#พุทธศักราช 1801 พระเจ้าเม็งรายผู้ครอบครองหิรัญนครเงินยาง (จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน) ใน ขณะทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา มีพระโอรส 3 พระองค์ คือ ขุนเครื่อง,ขุนคราม และขุนเครือ พุทธศักราช 1823 พระเจ้าเม็งรายได้ยกทัพไพร่พลมุ่งสู่เมืองลำพูน(หริภุญชัย)เพื่อเข้าตีเมืองขณะเดิน ทัพมาถึงที่แห่งหนึ่ง พระองค์เห็นว่าท้องที่แห่งนี้เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมตามตำราพิชัย มีพืชพันธุ์ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ จึงหยุดทัพเพื่อสะสมไพร่พลและ เสบียงอาหารเพื่อให้กองทัพมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดย ตั้งค่ายคูประตูหอรบอย่างมั่นคง แข็งแรงอยู่บนสันดอยแห่งหนึ่งชื่อ “เวียงหวาย” และขนานนามว่า “นคร ป้าว” บางตำนานว่า “นครแจ้สัก”หรือ” เมืองป้าววังหิน คำว่า “ป้าว” มาจากคำว่า “ป่าวร้อง กะเกณฑ์ ไพร่พล” ภาษาท้องถิ่นหมายถึง “มะพร้าว” เพราะลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาล้อมรอบกลมกลืนเหมือนลูก มะพร้าว เมืองคงสร้างขึ้นด้วยพลโยธาของพระเจ้าเม็งราย และยังสร้างไม่เสร็จ พระองค์ได้ยกทัพสู่เมือง ลำพูนต่อไป ซึ่งต่อมาในพุทธศักราช 1839 ได้สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น ในขณะที่ท่านพระยามังราย ได้ส่งขุนฟ้าไปเมืองหริภุญชัยเพื่อวางแผนยึดครองเมืองลำพูนแล้ว ก็ให้ราชโอรสองค์ใหญ่ทรงพระนามว่า เจ้าขุนเครื่อง ซึ่งมีพระชนมายุ 13 ปีให้ไปครองเมืองเชียงราย ส่วนพระยามังรายครองราชสมบัติ ณ เมืองฝาง ฝ่ายขุนเครื่อง ราชโอรส เสด็จไปครองเมืองเชียงราย อยู่ไม่นานนัก อำมาตย์ผู้หนึ่งมีชื่อว่า ขุนใสเวียง ได้กราบทูลยุยงให้คิดกบฎต่อพระราชบิดา โดยจะชิงเอาราชสมบัติเมืองเชียงรายเสียและให้ จัดกำลังพลแข็งเมืองอยู่ ฝ่ายพระยามังรายทรงทราบ จึงปรารภว่า ขุนเครื่องผู้มีบุญน้อยจะมาคิด แย่งราช สมบัติ กูเป็นพ่อเช่นนี้ จักละไว้มิได้ จึงมอบให้ขุนอ่องซึ่งเป็นทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัยผู้หนึ่งไปเชิญให้ ขุนเครื่องผู้โอรสให้เข้ามาเข้าเฝ้าที่เมืองฝางในขณะที่ราชโอรสกำลังเดินทางจากเมืองเชียงรายจะมาเข้า เฝ้าพระราชบิดาตามคำบอกเล่าของขุนอ่อง ท่านพระยามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่นธนูได้ดักยิงที่กลาง ทางด้วยธนูอาบยาพิษ และได้เสียชีวิตระหว่างทาง ณ ที่แห่งหนึ่งใน เขตอำเภอพร้าว บริเวณนั้นพระยา มังราย ได้เสด็จมาจัดการพระศพราชโอรส ทรงสถาปนา ณ ที่ขุนเครื่องถูกพิฆาตนั้นเป็นอาราม เรียกว่า “วัดเวียงยิง” มีซากเจดีย์ร้างอยู่แห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัด เชียงใหม่ ชาวบ้าน เรียกว่า “วัดเวียงยิง” หรือ “วัดกู่เวียงยิง” (วัดสันป่าเหียง)
กู่เวียงยิง ถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในอำเภอพร้าว เนื่องจากมีประวัติความ เป็นมาสำคัญและยาวนาน ซึ่งตามหลักฐานที่พบกล่าวถึงประวัติของกู่เวียงยิงไว้ว่า สร้างขึ้นสมัยของพระยามังราย ซึ่ง ในขณะนั้น พระยามังรายมีโอรสอยู่สามพระองค์จึงให้ราชโอรสองค์ใหญ่ ทรงพระนามว่า เจ้าขุนเครื่องซึ่งมีพระชนมายุ 13 ปี ให้ไปครอง เมืองเชียงราย
ส่วนพระยามังรายครองราชสมบัติ ณ เมืองฝาง ทางฝ่ายขุนเครื่องราชโอรสเสด็จ ไปครองเมืองเชียงราย อยู่ไม่นานนัก อำมาตย์ผู้หนึ่งมีชื่อว่า ขุนใสเวียงได้กราบทูลยุยง ให้คิดกบฎต่อพระราชบิดา โดยจะชิงเอาราชสมบัติ เมือง เชียงรายเสีย และให้จัดกำลังพลแข็งเมืองอยู่ ฝ่าย พระยามังรายทรงทราบ จึงปรารภว่า”ขุนเครื่องผู้มีบุญน้อย จะมาคิด แย่งราชสมบัติกูเป็นพ่อเช่นนี้จักละไว้มิได้ ” จึงมอบให้ขุนอ่องซึ่งเป็น ทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัย ผู้หนึ่ง ไปเชิญ ให้ ขุนเครื่อง ผู้โอรสให้เข้ามาสเฝ้าที่เมืองฝาง
ในขณะที่ราชโอรส กำลังเดินทางจากเมืองเชียงรายจะมาเข้า เฝ้าพระราชบิดาตามคำบอกเล่าของขุนอ่อง ท่านพระยามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่นธนูได้ดักยิงที่กลางทางด้วยธนูอาบยาพิษ และได้เสียชีวิตระหว่างทาง ณ ที่แห่งหนึ่งใน เขตอำเภอพร้าว บริเวณนั้นพระยามังรายได้เสด็จมาจัดการพระศพราชโอรส ทรงสถาปนา ณ ที่ ขุนเครื่องถูก พิฆาตนั้นเป็นอาราม เรียกว่า “วัดเวียงยิง” มีซากเจดีย์ร้างอยู่แห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้าน โป่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเวียงยิง หรือวัดกู่เวียงยิง(วัดสันป่าเหียง) ดังปรากฎใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ของ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค.วัยอาจ
พระเจ้าล้านทอง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระเจ้าหลวง ” เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้าง มานานสมัยเวียงพร้าว-วังหิน เป็น พระพุทธรูป ปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก 180 เซนติเมตร สูงรวมทั้งฐาน 274เซนติเมตร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ วัตถุ ตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 2 วันที่ 5 เดือนมกราคม พ.ศ.2528 จากประวัติ ความเป็นมาขององค์พระเจ้าล้านทอง โดยอาศัยหลักฐานจากหนังสือต่างๆ อ้างอิงดัง ต่อไปนี้จาก หนังสือ ตำนานเวียงพร้าว-วังหิน ของนายปวงคำ ตุ้ยเขียว หน้า 10 กล่าวไว้ว่า “พระเจ้า ล้านทองเวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช 888 และเป็น พระพุทธรูป ที่ซึ่ง นับว่ามีความสำคัญทางจิตใจอย่างมากต่อคนเมืองพร้าวและทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 เหนือของทุกปีทาง วัดจะจัดให้มีการสรงน้ำพระขึ้น และตามหนังสือ คนดีเมือง เหนือของคุณสงวน โชติสุขรัตน์ หน้า 98 กล่าวไว้ว่า “พ่อท้าวเกษกุมารได้ครอง เมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ.2068 ทรงมีพระนาม ในการขึ้นครองราชย์ว่า พระ เมืองเกษเกล้า พระองค์ ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมือง พร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. 2069 เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้”
ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า 2 ได้กล่าว ไว้ว่า”พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง ” ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความ จารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่าสนผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า ” ศาสนาพระได 2069 วัสสาแล…888 ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2069 ปีจอ อัฐศก” สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าว วังหิน ตามหลัก ฐานจากหนังสือดัง กล่าว สันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้น่า จะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้นจากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่าหลัง จากเวียงพร้าว วังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของ พระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี 2101 ผู้คนหนีออกจากเมือง หมดคงปล่อยให้องค์ พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง 349 ปีจนมาถึง พ.ศ.2450 ได้มีดาบส นุ่งขาว ห่มขาว เป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า “กาเลยังยัง” จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยัง ท่านดาบสองค์นี้ชอบทานข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ ปลาร้า เป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน
เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ซึ่งบริเวณนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฝั่นเฟือนพูดจา ไม่รู้เรื่อง เดือดร้อง ถึงหมอผี ต้องทำบน บานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี ส่วนท่านกาเลยังยัง ท่านไม่กลัวเดินเที่ยว ชมบริเวณ ได้พบองค์พระพุทธรูป ทองสำริดขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานนิอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่ เผาเศษ ไม้ใบไม้แห้งรอบองค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยัง จึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหา ได้ใน บริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด จนถึงปี พ.ศ. 2459 ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธาได้ช่วยกันสร้างศาลาเสาสี่ต้นมุงด้วย ไม้เกล็ด คร่อมองค์พระพุทธรูปไว ้เพื่อเป็นร่มกันแดดกันฝน จนถึงปี พ.ศ. 2462 ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสัน ขวางของ ท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทองสาเหตุที่ชาว บ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพ อุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่ ท่านครู บาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามาก แต่หลังจากได้ สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบา เป็นอย่าง มาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส “วัดหนองปลามัน ” จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน) ต่อมา พ.ศ. 2512 ได้มิท่านครูบาอินถา แห่ง วัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุข ทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ 80% เมื่อปี พ.ศ. 2515 แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ 11เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ตรงกับเดือน 5 เหนือ ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุน จุลศักราช 1333 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ได้มีการซ่อมแซม วิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมี พล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงิน ใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ 1 ล้านบาทเศษ นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าว – วังหิน เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน
#ประวัติความเป็นมาของอำเภอพร้าว 2
อำเภอพร้าวมีชื่อเรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า “เมืองป้าว” เป็นเมืองโบราณที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณว่า “เวียงพร้าววังหิน” หรือ “เวียงแจ้สัก” ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองพร้าว” มีประวัติความเป็นมาปรากฏตามตำนานโยนก ดังนี้พุทธศักราช 1780 “พระเจ้าราวเม็ง” ผู้ครองนครหิรัญนครเงินยาง(จังหวัดเชียงราย) มีมเหสีทรงพระนามว่า “พระนางเทพคำข่าย” มีโอรสชื่อ “เม็งราย” พ.ศ.1801 พระเจ้าราวเม็งทิวงคต พระเจ้าเม็งรายพระราชโอรสได้ขึ้นครอบราชสืบต่อมา ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา มีพระโอรส 3 พระองค์คือ (1) ขุนเครื่อง (2)ขุนคราม (3)ขุนเครือ พุทธศักราช 1816 พระเจ้าเม็งรายทราบข่าวว่าทางหริภุญชัยนคร(เมืองลำพูน) อุดมสมบูรณ์พูนสุข จึงส่ง ”อ้ายฟ้าจาระบุรุษ” ไปกระทำวิเทโสบายกลศึกทางเมืองลำพูนนานถึง 7 ปี อ้ายฟ้าได้กระทำการสำเร็จ จึงทูลพระเจ้าเม็งรายเพื่อเกณฑ์ไพร่พลยกทัพไปตีเมืองลำพูนพุทธศักราช 1823 พระเจ้าเม็งรายทรงให้ขุนคราม โอรสองค์ที่สอง ครองเมืองเชียงราย และพระองค์ได้ยก
ทัพไพร่พลมุ่งสู่เมืองลำพูน การเดินทัพถึงที่แห่งหนึ่ง พระองค์เห็นว่าท้องที่แห่งนี้เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมตามตำราพิชัยสงคราม มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ จึงหยุดทัพเพื่อสะสมไพร่พลและเสบียงอาหารเพื่อให้กองทัพมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยตั้งค่ายคูประตูหอรบ อย่างมั่นคงแข็งแรงอยู่บนสันดอยแห่งหนึ่งชื่อ “เวียงหวาย” และขนานนามว่า “นครป้าว” บางตำนานว่า “นครแจ้สัก” หรือ “เมืองป้าววังหิน” (คำว่า “ป้าว” มาจากคำว่า “ป่าวร้องกะเกณฑ์ไพร่พล” ภาษาท้องถิ่นหมายถึง “มะพร้าว” เพราะลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาล้อมรอบกลมกลืนเหมือนลูกมะพร้าว) เมืองคงสร้างขึ้นด้วยพลโยธาของพระเจ้าเม็งรายและยังสร้างไม่เสร็จพระองค์ได้ยกทัพสู่เมืองลำพูนต่อไป มุ่งทัพลงมาทางใต้เลียบฝั่งแม่น้ำปิงไปพบชัยภูมิอีกแห่งหนึ่ง.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024